นี่คือเคล็ดลับ 8 ข้อที่อ้างอิงตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
คนบางคนเกิดมามีความสุขกว่าคนอื่น ๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นคนที่ร้องเพลงในห้องน้ำและเต้นรำในสายฝน หรือมีแนวโน้มที่เคร่งเครียดมากกว่าคนอื่น ความพึงพอใจในชีวิตไม่ใช่แค่สิ่งที่เกิดกับเราคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
แต่ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อดึงดูดความพึงพอใจให้กับชีวิตเรามากขึ้น
นี่คือสุดยอดเคล็ดลับสำหรับปีใหม่นี้
1. โอบกอดมิตรภาพเมื่อแก่ตัวขึ้น
มิตรภาพมีประโยชน์ต่อคนทุกวัย แต่สำหรับวัยบั้นปลายของชีวิต มิตรภาพอาจเป็นแหล่งความสุขที่สำคัญสำหรับคนวัยนี้
โดยทั่วไปแล้วคนที่สูงวัยขึ้นมักจะมีวงสังคมที่แคบลงเพื่อให้ความสำคัญในเรื่องเวลากับคนที่รู้จักพวกเขาดี แต่งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า เป็นความคิดที่ดีหากยังคงเปิดรับมิตรภาพใหม่ ๆ เพราะว่ามิตรภาพที่เกิดใหม่เหล่านี้จะให้ประโยชน์ที่แตกต่างไปจากความสัมพันธ์ที่เรามีกับความครัวอยู่เล็กน้อย ซึ่งบางครั้งอาจเป็นไปด้วยความรับผิดชอบตามหน้าที่
แต่หากเป็นมิตรภาพที่เกิดจากความสมัครใจ ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่เป็นภาระผูกพันที่อาจจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้ มิตรภาพแบบนี้จึงมักเป็นความสนุกสนาน มีความตึงเครียดหรือวิตกกังวลน้อยกว่า
ถึงแม้ว่าคนวัยผู้ใหญ่อาจเผชิญกับอุปสรรคหลายอย่างที่ทำให้การพบปะผู้คนใหม่ ๆ เป็นเรื่องยาก แต่ในบางวิธีมันควรเป็นเรื่องง่ายที่เราจะมีทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ เมื่อบุคลิกภาพของเราเติบโตจนมีวุฒิภาวะมากขึ้น เราจะมีทักษะทางสังคมใหม่ ๆ มุมมองของเราจะมุ่งไปที่ความสุขมากขึ้น และเรามักจะกลายเป็นคนที่ยอมรับและเห็นพ้องกับผู้อื่นมากขึ้น นอกจากนี้ ความพยายามในการรักษามิตรภาพที่มีคุณภาพเมื่อมีอายุมากขึ้นจะยิ่งทำให้มิตรภาพเหล่านั้นยิ่งมีค่ากับเรา เพราะนอกจากประโยชน์ทางใจแล้ว มิตรภาพยังช่วยเสริมการทำงานของสมองและสุขภาพทางกายของเราด้วย
ในเชิงข้อเท็จจริง มีงานวิจัยที่บ่งชี้อยู่เสมอว่า มิตรภาพนั้นสำคัญพอ ๆ กับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ที่จะกำหนดความเป็นอยู่ที่ดีในยามเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และวัยชรา
และหากคุณเป็นคนที่ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ได้ยาก การแบ่งปันช่วงเวลาที่น่าทึ่ง อย่างเช่น เหตุการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่เคลื่อนผ่านทวีปอเมริกาเหนือเมื่อปีที่แล้ว เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยทำให้คุณรู้สึกใกล้ชิดกับผู้คนรอบตัว ในขณะเดียวกันก็ช่วยกระตุ้นอารมณ์เชิงบวกไปพร้อม ๆ กัน
2. ฝึกยินดีและมีความสุขกับผู้อื่น หรือ มีมุทิตาจิต
ความเห็นอกเห็นใจถือเป็นบ่อเกิดของมิตรภาพที่แท้จริง คำ ๆ นี้มีรากมาจากภาษาละตินที่แปลว่า "ความเจ็บปวดร่วมกัน" ความเห็นอกเห็นใจเช่นนี้ช่วยให้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งเมื่อเพื่อนของเราต้องการความช่วยเหลือ ทว่ามีสภาวะอีกอย่างที่ตรงกันข้ามกับความเห็นใจและยังค่อนข้างยังไม่เป็นที่รู้จักแต่ก็สำคัญไม่แพ้กันคือ การมีมุทิตาจิต (confelicity) หรือความรู้สึกร่วมยินดีกับความสุขของผู้อื่น ตามที่บทความของเดวิด ร็อบสัน เขียนไว้บนเว็บไซต์บีบีซี
จากงานศึกษาหลายชิ้นบ่งชี้ว่า "ความสุขร่วมกัน" เป็นแง่มุมที่ถูกประเมินค่าต่ำเกินไปในการมีความสัมพันธ์ที่ดี แต่มันมีความสำคัญเท่า ๆ กับเรื่องความเห็นอกเห็นใจในการรักษามิตรภาพ
การพูดคุยถึงข่าวดีและการไต่ถามถึงเรื่องนั้น เป็นพื้นฐานสำคัญของการเป็นเพื่อนที่ดี หากตอบสนองไปในทางที่เฉยเมยเกินไป หรือพยายามลดความสำคัญต่อความสำเร็จของเพื่อนคุณลงไป คุณอาจเสี่ยงที่จะทำลายความสัมพันธ์นั้นได้
3. ทำงานอาสาเมื่อมีโอกาส
ดูเหมือนเกือบจะเป็นเรื่องซ้ำซากเมื่อพูดว่า การได้ทำอะไรให้กับคนอื่นจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นกว่าการตอบแทนตัวเอง แต่หากยิ่งเรียนรู้เกี่ยวกับความไม่เห็นแก่ตัวเองมากขึ้นเท่าไหร่ ดูเหมือนว่าประโยคข้างต้นนี้จะยิ่งดูเป็นจริง
ในความเป็นจริงแล้ว มีงานศึกษาหลายชิ้นที่พบว่า การทำงานอาสาสมัครสามารถช่วยได้แม้กระทั่งความเจ็บป่วยอย่างเช่น อาการปวดเรื้อรัง หรือภาวะซึมเศร้า
ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยเมื่อปี 2002 ซึ่งออกแบบการวิจัยให้อาสาสมัครกลุ่มตัวอย่างให้การช่วยเหลือผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง ผลการศึกษาพบว่าระดับความเจ็บปวดลดลงของพวกเขาลดลงขณะที่อาสาสมัครกำลังเข้าช่วยเหลือ งานวิจัยอีกหลายชิ้นยังแสดงให้เห็นด้วยว่า การดูแลสัตว์ช่วยทำให้สุขภาพของเราดีขึ้น และการดูแลต้นไม้ในบ้านสามารถช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในวัยชรา
ปัจจุบัน บุคลากรทางการแพทย์ในบางประเทศมีการรักษาผู้ป่วย ด้วยการสั่งจ่ายยาเป็นการให้ไปทำงานอาสาสมัคร หรือที่เรียกว่า การจ่ายยาด้วยกิจกรรมทางสังคม (social prescribing) ซึ่งหมายถึงการแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ชั้นเรียนศิลปะ ไปจนถึงกิจกรรมปั่นจักรยาน หรือแม้กระทั่งการช่วยเหลือค่าอาหารและค่าน้ำมันสำหรับเครื่องความร้อน ทั้งหมดนี้ได้รับการพิสูจน์เพิ่มมากขึ้นว่าเป็นการแทรกแซงทางสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยลดความกดดันต่อบริการสุขภาพได้
4. เชื่อมต่อกับบรรพบุรษ
มีบางหนทางที่อดีตอาจช่วยชีวิตของคุณในปัจจุบัน งานวิจัยชี้ว่า การมีส่วนร่วมกับบรรพบุรุษรากเหง้าของเราอาจมีประโยชน์ในทางจิตวิทยาอย่างลึกซึ้ง ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราวของครอบครัวที่สามารถเอาชนะความทุกข์ยากอาจช่วยส่งพลังใจมาให้แก่คนรุ่นหลัง
ซูซาน เอ็ม มัวร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสวินเบิร์นในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย พบว่าผู้คนที่รู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ของครอบครัวตัวเองมากกว่าจะยิ่งมีระดับความพึงพอใจและความเป็นอยู่ในชีวิตที่ดีกว่า
การค้นหาเครือญาติของตัวเองอาจนำไปสู่การมีความรู้สึกที่สามารถควบคุมชีวิตตัวเองได้ ควบคู่ไปกับการเข้าใจความเป็นมาของตัวเราเองในโลกใบนี้ได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังสามารถทำให้คุณมีความรู้สึกถึงความกตัญญูและมุมมองที่มั่นคง จากการได้รับรู้ว่า ชีวิตของคุณในปัจจุบันอยู่มาได้ เพราะความยากลำบากและความแข็งแกร่งของบรรพบุรุษที่ทำเพื่อคนรุ่นหลัง
5. จดบัญชีรายการสิ่งดี ๆ
การลองนับว่ามีสิ่งดี ๆ อะไรเกิดขึ้นบ้างในแต่ละวันของคุณ คือหนึ่งในคำแนะนำโบราณที่เคยพูดกัน แต่มันเป็นพื้นฐานของการแทรกแซงที่ง่ายแต่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วเป็นอย่างดี
กลายเป็นว่า การจดบัญชีรายการสิ่งดี ๆ 3 เรื่องที่เกิดขึ้นกับเรานั้นช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เปลี่ยนชีวิตอย่างเช่น การสอบผ่านครั้งสำคัญ การมีลูก หรือบางอย่างที่ดูไม่สำคัญ อย่างการบังเอิญเจอเพื่อเก่า หรือการดื่มด่ำกับแสงตอนเย็นอันงดงามตอนเดินเล่น
ปัจจุบันมีงานวิจัยมากขึ้นที่บอกว่า การจดบันทึกเรื่องแบบนี้สามารถช่วยปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้นได้
6. ตั้งตารอคอยกิจกรรมสนุก ๆ
แทบจะไม่มีกิจกรรมอะไรที่เหมือนกับการขับรถเล่นชมวิว ลมที่พัดเส้นผมปลิว เสียงเพลงในเครื่องสเตอริโอ หรืออิสรภาพบนถนนโล่ง ๆ ด้านหน้า ตอนนี้สัตว์อย่างหนูตัวเล็ก ๆ สามารถสัมผัสประสบการณ์แห่งสวรรค์บนท้องถนนนี้ได้แล้ว
หลังจากที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยริชมอนด์ในเวอร์จิเนีย ได้สอนหนูที่มีจมูกดุกดิกน่ารักให้ขับรถยนต์พลาสติกขนาดเล็กในห้องปฏิบัติการ
หนูกลุ่มนี้เรียนรู้ทักษะใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และต่อมาพวกมันก็กระโดดขึ้นรถอย่างกระตือรือร้นเพื่อเตรียมตัวสำหรับการเดินทางครั้งถัดไป
ท้ายที่สุดทีมนักวิจัยได้สังเกตเห็นว่าหนูบางตัวมีอาการกระโดดเล็กน้อยราวกับว่าพวกมันรู้สึกสนุกสนานกับความพึงพอใจที่ใกล้จะเกิดขึ้น
นี่นำไปสู่แนวทางการวิจัยใหม่ทั้งหมด อาจเป็นไปได้หรือไม่ว่า ความคาดหวังที่จะสนุกสนานอาจให้ผลตอบแทนเทียบเท่ากับการทำกิจกรรมนั้นเอง
ในการทดลองอีกชุดหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ได้ฝึกหนูบางตัวให้รอรางวัล ในขณะที่อีกกลุ่มได้รับรางวัลทันที จากนั้นพวกเขาได้ประเมินหนูที่นำมาทดลองโดยดูที่พฤติกรรมเชิงบวก พบว่าหนูที่ได้รับการฝึกให้รอรางวัลมีการมองโลกในแง่ดีมากกว่า
ทีมนักวิจัยคาดการณ์ว่าผลการทดลองนี้อาจใช้ได้กับมนุษย์เช่นกัน การคาดหวังกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่น่าพึงพอใจอย่างสม่ำเสมอ อาจทำให้เราสามารถโปรแกรมสมองของเราใหม่ให้มีทัศนคติเชิงบวกมากขึ้น
นักวิจัยสอนหนูทดลองขับรถ จนค้นพบวิธีบำบัดความเครียดโดยไม่ต้องใช้ยา
7. ไม่ต้องทำอะไรเลย
หากคุณอ่านมาถึงจุดนี้ ข้อนี้อาจทำให้คุณประหลาดใจบ้าง แต่งานวิจัยแนะนำว่า การกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับการมีความสุขอาจเป็นอุปสรรคที่ทำให้เราไม่รู้สึกถึงมัน
การทดลองที่กระตุ้นให้ผู้คนปรารถนาความสุขที่มากขึ้น อาจด้วยวิธีการให้อ่านบทความเกี่ยวกับความสุขที่พวกเขาสามารถมีได้ ก่อนที่จะดูหนังที่สร้างแรงบันดาลใจ ทั้งสองกิจกรรมนี้ กลับทำให้พวกเขารู้สึกผิดหวังมากกว่ารู้สึกตื่นเต้น ทฤษฎีในกรณีนี้คือ การตั้งความคาดหวังเอาไว้ การอ่านและความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความสำคัญของความสุข อาจทำให้ผู้คนรู้สึกผิดหวังแทน
คุณอาจจะเคยพบเจอประสบการณ์แบบนี้ระหว่างร่วมงานกิจกรรมใหญ่ ๆ หรืองานเลี้ยงที่คุณตั้งตารอจะเข้าร่วม ซึ่งเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วคุณกลับพบว่ามันไม่สนุกเท่าที่คุณคาดหวังไว้
ไอริส มัส นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ ชี้ด้วยว่าความปรารถนาและความใฝ่หาความสุขอาจเพิ่มความรู้สึกโดดเดี่ยวและขาดการเชื่อมโยงติดต่อได้เช่นกัน เธอแนะนำให้ลองนำแนวคิดแบบสโตอิก (Stoic) มาใช้ และยอมรับการขึ้นลงของชีวิตให้มากขึ้น
8. อย่าดื่มคาเฟอีนมากไป
การดื่มกาแฟหนึ่งถ้วยอาจช่วยเพิ่มพลังให้กับสมองและร่างกายที่กำลังต้องการอย่างมาก การบริโภคคาเฟอีนทำให้เรารู้สึกตื่นตัว
เนื่องจากคาเฟอีนจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วและสามารถแข่งขันกับอะดีโนซีน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เรารู้สึกง่วงนอนได้
งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการดื่มคาเฟอีนมีหลายอย่าง เช่น การลดความเสี่ยงต่อมะเร็งรูปแบบต่าง ๆ โรคหัวใจ เบาหวานประเภทที่สอง และช่วยปรับปรุงการทำงานของร่างกายรวมถึงการป้องกันภาวะซึมเศร้า
แต่การดื่มในช่วงเวลาไหน ก็เป็นกุญแจสำคัญ พราะมันอาจใช้เวลานานกว่าจะเริ่มออกฤทธิ์และใช้เวลานานกว่าจะหมดฤทธิ์
นักวิทยาศาสตร์แนะนำให้ดื่มคาเฟอีนครั้งสุดท้ายประมาณ 8 ชั่วโมง 48 นาทีก่อนเข้านอน นอกจากนี้เราก็ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป ตามคำแนะนำคือไม่เกิน 400 มิลลิกรัม หรือประมาณ 2-3 ถ้วย ขึ้นอยู่กับความเข้มข้น เพื่อหลีกเลี่ยงการนอนหลับไม่เต็มอิ่ม อาการปวดหัว คลื่นไส้ และความวิตกกังวล
https://www.bbc.com/thai/articles/cdx90px7772o
8 คำแนะนำใช้ชีวิตเป็นสุขยิ่งขึ้น อิงตามหลักวิทยาศาสตร์
คนบางคนเกิดมามีความสุขกว่าคนอื่น ๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นคนที่ร้องเพลงในห้องน้ำและเต้นรำในสายฝน หรือมีแนวโน้มที่เคร่งเครียดมากกว่าคนอื่น ความพึงพอใจในชีวิตไม่ใช่แค่สิ่งที่เกิดกับเราคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
แต่ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อดึงดูดความพึงพอใจให้กับชีวิตเรามากขึ้น
นี่คือสุดยอดเคล็ดลับสำหรับปีใหม่นี้
1. โอบกอดมิตรภาพเมื่อแก่ตัวขึ้น
มิตรภาพมีประโยชน์ต่อคนทุกวัย แต่สำหรับวัยบั้นปลายของชีวิต มิตรภาพอาจเป็นแหล่งความสุขที่สำคัญสำหรับคนวัยนี้
โดยทั่วไปแล้วคนที่สูงวัยขึ้นมักจะมีวงสังคมที่แคบลงเพื่อให้ความสำคัญในเรื่องเวลากับคนที่รู้จักพวกเขาดี แต่งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า เป็นความคิดที่ดีหากยังคงเปิดรับมิตรภาพใหม่ ๆ เพราะว่ามิตรภาพที่เกิดใหม่เหล่านี้จะให้ประโยชน์ที่แตกต่างไปจากความสัมพันธ์ที่เรามีกับความครัวอยู่เล็กน้อย ซึ่งบางครั้งอาจเป็นไปด้วยความรับผิดชอบตามหน้าที่
แต่หากเป็นมิตรภาพที่เกิดจากความสมัครใจ ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่เป็นภาระผูกพันที่อาจจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้ มิตรภาพแบบนี้จึงมักเป็นความสนุกสนาน มีความตึงเครียดหรือวิตกกังวลน้อยกว่า
ถึงแม้ว่าคนวัยผู้ใหญ่อาจเผชิญกับอุปสรรคหลายอย่างที่ทำให้การพบปะผู้คนใหม่ ๆ เป็นเรื่องยาก แต่ในบางวิธีมันควรเป็นเรื่องง่ายที่เราจะมีทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ เมื่อบุคลิกภาพของเราเติบโตจนมีวุฒิภาวะมากขึ้น เราจะมีทักษะทางสังคมใหม่ ๆ มุมมองของเราจะมุ่งไปที่ความสุขมากขึ้น และเรามักจะกลายเป็นคนที่ยอมรับและเห็นพ้องกับผู้อื่นมากขึ้น นอกจากนี้ ความพยายามในการรักษามิตรภาพที่มีคุณภาพเมื่อมีอายุมากขึ้นจะยิ่งทำให้มิตรภาพเหล่านั้นยิ่งมีค่ากับเรา เพราะนอกจากประโยชน์ทางใจแล้ว มิตรภาพยังช่วยเสริมการทำงานของสมองและสุขภาพทางกายของเราด้วย
ในเชิงข้อเท็จจริง มีงานวิจัยที่บ่งชี้อยู่เสมอว่า มิตรภาพนั้นสำคัญพอ ๆ กับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ที่จะกำหนดความเป็นอยู่ที่ดีในยามเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และวัยชรา
และหากคุณเป็นคนที่ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ได้ยาก การแบ่งปันช่วงเวลาที่น่าทึ่ง อย่างเช่น เหตุการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่เคลื่อนผ่านทวีปอเมริกาเหนือเมื่อปีที่แล้ว เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยทำให้คุณรู้สึกใกล้ชิดกับผู้คนรอบตัว ในขณะเดียวกันก็ช่วยกระตุ้นอารมณ์เชิงบวกไปพร้อม ๆ กัน
2. ฝึกยินดีและมีความสุขกับผู้อื่น หรือ มีมุทิตาจิต
ความเห็นอกเห็นใจถือเป็นบ่อเกิดของมิตรภาพที่แท้จริง คำ ๆ นี้มีรากมาจากภาษาละตินที่แปลว่า "ความเจ็บปวดร่วมกัน" ความเห็นอกเห็นใจเช่นนี้ช่วยให้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งเมื่อเพื่อนของเราต้องการความช่วยเหลือ ทว่ามีสภาวะอีกอย่างที่ตรงกันข้ามกับความเห็นใจและยังค่อนข้างยังไม่เป็นที่รู้จักแต่ก็สำคัญไม่แพ้กันคือ การมีมุทิตาจิต (confelicity) หรือความรู้สึกร่วมยินดีกับความสุขของผู้อื่น ตามที่บทความของเดวิด ร็อบสัน เขียนไว้บนเว็บไซต์บีบีซี
จากงานศึกษาหลายชิ้นบ่งชี้ว่า "ความสุขร่วมกัน" เป็นแง่มุมที่ถูกประเมินค่าต่ำเกินไปในการมีความสัมพันธ์ที่ดี แต่มันมีความสำคัญเท่า ๆ กับเรื่องความเห็นอกเห็นใจในการรักษามิตรภาพ
การพูดคุยถึงข่าวดีและการไต่ถามถึงเรื่องนั้น เป็นพื้นฐานสำคัญของการเป็นเพื่อนที่ดี หากตอบสนองไปในทางที่เฉยเมยเกินไป หรือพยายามลดความสำคัญต่อความสำเร็จของเพื่อนคุณลงไป คุณอาจเสี่ยงที่จะทำลายความสัมพันธ์นั้นได้
3. ทำงานอาสาเมื่อมีโอกาส
ดูเหมือนเกือบจะเป็นเรื่องซ้ำซากเมื่อพูดว่า การได้ทำอะไรให้กับคนอื่นจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นกว่าการตอบแทนตัวเอง แต่หากยิ่งเรียนรู้เกี่ยวกับความไม่เห็นแก่ตัวเองมากขึ้นเท่าไหร่ ดูเหมือนว่าประโยคข้างต้นนี้จะยิ่งดูเป็นจริง
ในความเป็นจริงแล้ว มีงานศึกษาหลายชิ้นที่พบว่า การทำงานอาสาสมัครสามารถช่วยได้แม้กระทั่งความเจ็บป่วยอย่างเช่น อาการปวดเรื้อรัง หรือภาวะซึมเศร้า
ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยเมื่อปี 2002 ซึ่งออกแบบการวิจัยให้อาสาสมัครกลุ่มตัวอย่างให้การช่วยเหลือผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง ผลการศึกษาพบว่าระดับความเจ็บปวดลดลงของพวกเขาลดลงขณะที่อาสาสมัครกำลังเข้าช่วยเหลือ งานวิจัยอีกหลายชิ้นยังแสดงให้เห็นด้วยว่า การดูแลสัตว์ช่วยทำให้สุขภาพของเราดีขึ้น และการดูแลต้นไม้ในบ้านสามารถช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในวัยชรา
ปัจจุบัน บุคลากรทางการแพทย์ในบางประเทศมีการรักษาผู้ป่วย ด้วยการสั่งจ่ายยาเป็นการให้ไปทำงานอาสาสมัคร หรือที่เรียกว่า การจ่ายยาด้วยกิจกรรมทางสังคม (social prescribing) ซึ่งหมายถึงการแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ชั้นเรียนศิลปะ ไปจนถึงกิจกรรมปั่นจักรยาน หรือแม้กระทั่งการช่วยเหลือค่าอาหารและค่าน้ำมันสำหรับเครื่องความร้อน ทั้งหมดนี้ได้รับการพิสูจน์เพิ่มมากขึ้นว่าเป็นการแทรกแซงทางสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยลดความกดดันต่อบริการสุขภาพได้
4. เชื่อมต่อกับบรรพบุรษ
มีบางหนทางที่อดีตอาจช่วยชีวิตของคุณในปัจจุบัน งานวิจัยชี้ว่า การมีส่วนร่วมกับบรรพบุรุษรากเหง้าของเราอาจมีประโยชน์ในทางจิตวิทยาอย่างลึกซึ้ง ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราวของครอบครัวที่สามารถเอาชนะความทุกข์ยากอาจช่วยส่งพลังใจมาให้แก่คนรุ่นหลัง
ซูซาน เอ็ม มัวร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสวินเบิร์นในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย พบว่าผู้คนที่รู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ของครอบครัวตัวเองมากกว่าจะยิ่งมีระดับความพึงพอใจและความเป็นอยู่ในชีวิตที่ดีกว่า
การค้นหาเครือญาติของตัวเองอาจนำไปสู่การมีความรู้สึกที่สามารถควบคุมชีวิตตัวเองได้ ควบคู่ไปกับการเข้าใจความเป็นมาของตัวเราเองในโลกใบนี้ได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังสามารถทำให้คุณมีความรู้สึกถึงความกตัญญูและมุมมองที่มั่นคง จากการได้รับรู้ว่า ชีวิตของคุณในปัจจุบันอยู่มาได้ เพราะความยากลำบากและความแข็งแกร่งของบรรพบุรุษที่ทำเพื่อคนรุ่นหลัง
5. จดบัญชีรายการสิ่งดี ๆ
การลองนับว่ามีสิ่งดี ๆ อะไรเกิดขึ้นบ้างในแต่ละวันของคุณ คือหนึ่งในคำแนะนำโบราณที่เคยพูดกัน แต่มันเป็นพื้นฐานของการแทรกแซงที่ง่ายแต่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วเป็นอย่างดี
กลายเป็นว่า การจดบัญชีรายการสิ่งดี ๆ 3 เรื่องที่เกิดขึ้นกับเรานั้นช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เปลี่ยนชีวิตอย่างเช่น การสอบผ่านครั้งสำคัญ การมีลูก หรือบางอย่างที่ดูไม่สำคัญ อย่างการบังเอิญเจอเพื่อเก่า หรือการดื่มด่ำกับแสงตอนเย็นอันงดงามตอนเดินเล่น
ปัจจุบันมีงานวิจัยมากขึ้นที่บอกว่า การจดบันทึกเรื่องแบบนี้สามารถช่วยปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้นได้
6. ตั้งตารอคอยกิจกรรมสนุก ๆ
แทบจะไม่มีกิจกรรมอะไรที่เหมือนกับการขับรถเล่นชมวิว ลมที่พัดเส้นผมปลิว เสียงเพลงในเครื่องสเตอริโอ หรืออิสรภาพบนถนนโล่ง ๆ ด้านหน้า ตอนนี้สัตว์อย่างหนูตัวเล็ก ๆ สามารถสัมผัสประสบการณ์แห่งสวรรค์บนท้องถนนนี้ได้แล้ว
หลังจากที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยริชมอนด์ในเวอร์จิเนีย ได้สอนหนูที่มีจมูกดุกดิกน่ารักให้ขับรถยนต์พลาสติกขนาดเล็กในห้องปฏิบัติการ
หนูกลุ่มนี้เรียนรู้ทักษะใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และต่อมาพวกมันก็กระโดดขึ้นรถอย่างกระตือรือร้นเพื่อเตรียมตัวสำหรับการเดินทางครั้งถัดไป
ท้ายที่สุดทีมนักวิจัยได้สังเกตเห็นว่าหนูบางตัวมีอาการกระโดดเล็กน้อยราวกับว่าพวกมันรู้สึกสนุกสนานกับความพึงพอใจที่ใกล้จะเกิดขึ้น
นี่นำไปสู่แนวทางการวิจัยใหม่ทั้งหมด อาจเป็นไปได้หรือไม่ว่า ความคาดหวังที่จะสนุกสนานอาจให้ผลตอบแทนเทียบเท่ากับการทำกิจกรรมนั้นเอง
ในการทดลองอีกชุดหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ได้ฝึกหนูบางตัวให้รอรางวัล ในขณะที่อีกกลุ่มได้รับรางวัลทันที จากนั้นพวกเขาได้ประเมินหนูที่นำมาทดลองโดยดูที่พฤติกรรมเชิงบวก พบว่าหนูที่ได้รับการฝึกให้รอรางวัลมีการมองโลกในแง่ดีมากกว่า
ทีมนักวิจัยคาดการณ์ว่าผลการทดลองนี้อาจใช้ได้กับมนุษย์เช่นกัน การคาดหวังกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่น่าพึงพอใจอย่างสม่ำเสมอ อาจทำให้เราสามารถโปรแกรมสมองของเราใหม่ให้มีทัศนคติเชิงบวกมากขึ้น
นักวิจัยสอนหนูทดลองขับรถ จนค้นพบวิธีบำบัดความเครียดโดยไม่ต้องใช้ยา
7. ไม่ต้องทำอะไรเลย
หากคุณอ่านมาถึงจุดนี้ ข้อนี้อาจทำให้คุณประหลาดใจบ้าง แต่งานวิจัยแนะนำว่า การกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับการมีความสุขอาจเป็นอุปสรรคที่ทำให้เราไม่รู้สึกถึงมัน
การทดลองที่กระตุ้นให้ผู้คนปรารถนาความสุขที่มากขึ้น อาจด้วยวิธีการให้อ่านบทความเกี่ยวกับความสุขที่พวกเขาสามารถมีได้ ก่อนที่จะดูหนังที่สร้างแรงบันดาลใจ ทั้งสองกิจกรรมนี้ กลับทำให้พวกเขารู้สึกผิดหวังมากกว่ารู้สึกตื่นเต้น ทฤษฎีในกรณีนี้คือ การตั้งความคาดหวังเอาไว้ การอ่านและความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความสำคัญของความสุข อาจทำให้ผู้คนรู้สึกผิดหวังแทน
คุณอาจจะเคยพบเจอประสบการณ์แบบนี้ระหว่างร่วมงานกิจกรรมใหญ่ ๆ หรืองานเลี้ยงที่คุณตั้งตารอจะเข้าร่วม ซึ่งเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วคุณกลับพบว่ามันไม่สนุกเท่าที่คุณคาดหวังไว้
ไอริส มัส นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ ชี้ด้วยว่าความปรารถนาและความใฝ่หาความสุขอาจเพิ่มความรู้สึกโดดเดี่ยวและขาดการเชื่อมโยงติดต่อได้เช่นกัน เธอแนะนำให้ลองนำแนวคิดแบบสโตอิก (Stoic) มาใช้ และยอมรับการขึ้นลงของชีวิตให้มากขึ้น
8. อย่าดื่มคาเฟอีนมากไป
การดื่มกาแฟหนึ่งถ้วยอาจช่วยเพิ่มพลังให้กับสมองและร่างกายที่กำลังต้องการอย่างมาก การบริโภคคาเฟอีนทำให้เรารู้สึกตื่นตัว
เนื่องจากคาเฟอีนจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วและสามารถแข่งขันกับอะดีโนซีน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เรารู้สึกง่วงนอนได้
งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการดื่มคาเฟอีนมีหลายอย่าง เช่น การลดความเสี่ยงต่อมะเร็งรูปแบบต่าง ๆ โรคหัวใจ เบาหวานประเภทที่สอง และช่วยปรับปรุงการทำงานของร่างกายรวมถึงการป้องกันภาวะซึมเศร้า
แต่การดื่มในช่วงเวลาไหน ก็เป็นกุญแจสำคัญ พราะมันอาจใช้เวลานานกว่าจะเริ่มออกฤทธิ์และใช้เวลานานกว่าจะหมดฤทธิ์
นักวิทยาศาสตร์แนะนำให้ดื่มคาเฟอีนครั้งสุดท้ายประมาณ 8 ชั่วโมง 48 นาทีก่อนเข้านอน นอกจากนี้เราก็ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป ตามคำแนะนำคือไม่เกิน 400 มิลลิกรัม หรือประมาณ 2-3 ถ้วย ขึ้นอยู่กับความเข้มข้น เพื่อหลีกเลี่ยงการนอนหลับไม่เต็มอิ่ม อาการปวดหัว คลื่นไส้ และความวิตกกังวล
https://www.bbc.com/thai/articles/cdx90px7772o