///คนที่พูดว่า มี " อัตตาที่ไม่เที่ยง\\ พระศาสดาตรัสว่า เป็นคำพูดที่คนนอกศาสนา ที่บอกว่า มีอัตตา ควรพูด ไม่ถูกต้อง

.
"
ที่จริงขันธ์๕...หรือ..อุปาทานขันธ์๕ <---นี่หละ...ที่เรียกว่า " ตน "..หรือ.." อัตตา "...

แต่เป็น " ขันธ์๕ที่ไม่เที่ยง - ตนที่ไม่เที่ยง - อัตตาที่ไม่เที่ยง "...

สรุป   อนัตตา = อัตตาที่ไม่เที่ยง - อัตตาที่เกิดขึ้นและเสื่อมไป
         ตน..หรือ...อัตตา  ที่พระศาสดากล่าวในพระสูตรที่ผมยกมานี้ 
         หมายถึง " อัตตา "

https://m.ppantip.com/topic/41058897?
---------------

              ใน  พระสูตร  ที่ผู้กล่าว อ้าง 

              ที่แท้  พระศาสดา ตรัสสอนว่า ร่างกายและจิตใจ(ขันธ์5) ไม่ใช่อัตตา(ไม่ใช่ตัวตน)

                ผู้ที่เห็นผิดกล่าวว่า มี อัตตา (ที่คงที่ คงทน)
                    แต่ความจริง สิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นอัตตานั้นไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและเสื่อม                  
                   ดังนั้น พระศาสดา จึงตรัส ความว่า 
                    ถ้าจะพูดว่ามีอัตตา 
                    เขาเหล่านั้น ต้องพูดว่า
                        " อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป '

     

            พระศาสดา ตรัสสอนว่า  คำพูดว่าเป็น อัตตา ไม่ถูกต้อง

             และตรัสสอนว่า  ร่างกายและจิตใจ(ขันธ์5) ไม่ใช่ตัวตน (ไม่ใช่อัตตา)


**********
           " ...เพราะฉะนั้น 
คำของผู้ที่กล่าวว่า
เวทนาเป็นอัตตา นั้น

จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ 

จักษุจึงเป็นอนัตตา
รูปจึงเป็นอนัตตา
จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา
จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา
เวทนาจึงเป็นอนัตตา
"

**********

        พระสูตร (พระธรรม ที่รวบรวมไว่ใน พระสุตตันตปิฎก)

**********
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=14&item=818&items=1&preline=&pagebreak=1

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

           
             [๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร

จักษุย่อมปรากฏแม้ความเกิด 
แม้ความเสื่อม 

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้
ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป 
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร
ด้วยประการฉะนี้
จักษุจึงเป็นอนัตตา

             ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร

รูปย่อมปรากฏแม้ความ
เกิด แม้ความเสื่อม 

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้น
ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป 

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่
กล่าวว่า รูปเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร
ด้วยประการฉะนี้ 
จักษุจึงเป็นอนัตตา
รูปจึงเป็นอนัตตา

             ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร

จักษุวิญญาณ
ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น

คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร

ด้วยประการฉะนี้ 
จักษุจึงเป็นอนัตตา
รูปจึงเป็นอนัตตา
จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

             ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร

จักษุสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม 

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นแลเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร
ด้วยประการฉะนี้ 
จักษุจึงเป็นอนัตตา 
รูปจึงเป็นอนัตตา 
จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา 
จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา

             ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร

เวทนาย่อมปรากฏ
แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป 

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร 
ด้วยประการฉะนี้ 
จักษุจึงเป็นอนัตตา
รูปจึงเป็นอนัตตา
จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา
จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา
เวทนาจึงเป็นอนัตตา

             ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร

ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม 

สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป 

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร
ด้วยประการฉะนี้
จักษุจึงเป็นอนัตตา
รูปจึงเป็นอนัตตา
จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา
จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา
เวทนาจึงเป็นอนัตตา
ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ

***************

.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่