คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 19
ได้เห็นกระทู้โดย มีผู้ แสดง พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ เรื่องอัญญมัญญปัจจัย จากความเห็น 6-1 โดย จขกท คุณหัวหอม5447057 และมีผู้มาร่วมอธิบายเพิ่มเติม พร้อมกล่าวว่าพระไตรปิฏกแปลไทย แปลไว้ผิด ที่ความเห็น 6-3 โดยคุณ 6631551
เห็นว่า สมควรชี้แจงให้ข้อมูลเพิ่มเติมอันจะเป็นประโยชน์ต่อ ความเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปปบาท สำหรับท่านที่ได้อ่านค่ะ
ปฏิจจนสมุปปบาท เป็น เส้นสายแห่งความสัมพันธ์อันเป็นเหตุปัจจัยต่อกันของธรรมทั้งหลาย เมื่อศึกษาไปก็จะพบว่า แต่ละธรรมก็เป็นปัจจัยแก่ธรรมอื่นๆ ในหลายนัยด้วยกัน รวมถึงอัญญมัญญปัจจัยด้วย ในบางที่ ท่านก็แสดงโดยอวิชชาเป็นมูล บางที่ท่านก็แสดงโดยสังขารเป็นมูล เป็นต้น
การจะทำความเข้าใจพระไตรปิฏก ควรดูสารบัญ ให้เห็นโครงร่างเนื้อความที่กำลังจะศึกษา และ อ่านอรรถกถาประกอบเสมอ
เริ่มที่ เรามาทำความรู้จัก "อัญญมัญญปัจจัย" ว่าหมายถึงอะไรนะคะ
อัญญมัญญปัจจัย คือความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
เป็นปัจจัยแก่กันและกันอย่างไร ลองดูในกถาวัตถุนี้นะคะ
(กถาวัตถุ เป็นการแสดงธรรมโดยการถามตอบ ซักซ้อม ระหว่าง ๑.สกวาที :สก เป็นฝ่ายสัมมาทิฏฐิ และ ๒.ปรวาที : ปร เป็นฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ)
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=20925&w=%CD%D1%AD%AD%C1%D1%AD%AD
จะเห็นว่า อัญญมัญญปัจจัย คือ ความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เป็นคู่ๆ โดย ธรรมที่หนึ่งเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สอง และธรรมที่สองก็เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่หนึ่งในขณะเดียวกัน
ในพระอภิธรรมปิฏก ข้อ286-289 ท่านแสดงปฏิจจสมุปปบาท อวิชชามูล โดยอัญญมัญญปัจจัย ตามภาพค่ะ
(ดูเปรียบเทียบเลขข้อนะคะ)
ท่านตรัสในวาระ 1 และ 2ข้อที่ 286-287 คือ ในอรูปภพ ,
ท่านตรัสวาระ 3 ข้อที่ 288 คือ รูปภพ,
ท่านตรัสวาระ 4 ข้อที่ 289 คือ กามภพ
โดยจะสังเกตุได้ ที่ ธรรมคือ นามรูป และอายตะ ในวาระทั้งสี่ มีความแตกต่างกัน
และวาระทั้งสี่ ท่านตรัสโดย มีอวิชชาเป็นมูล
https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=274&items=17
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=274&items=17
จะเห็นว่า ท่านแสดงความเป็นอัญญมัญญปัจจัยโดยแสดง อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร และพร้อมกันนั้น สังขารก็เป็นปัจจัยแก่อวิชชาในขณะเดียวกัน
ธรรมอื่นก็เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่กันโดยนัยนี้เช่นกัน (ยกเว้น อุปาทาน->ภพ->ชาติ-> ชรา-> มรณะ : ดูคำอธิบายตามภาพค่ะ)
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=274
พระอภิธรรม ที่แสดง อัญญมัญญจตุกกะ อวิชชามูลนัย เริ่มที่ ข้อ 286จบที่ข้อ 289
ส่วนข้อที่ 290 ท่านแสดง ปฏิจจสมุปบาท นัย ๘ (มีสังขารมูลกนัยเป็นต้น) ไม่เกี่ยวกับ อัญญมัญญจตุกกนัยแล้ว
--------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับข้อ [๒๙๐] ท่านแสดง "นัย ๘ มีสังขารเป็นมูลกนัยเป็นต้น" (นัย ๘ มีสังขาร( เป็นต้น) เป็นมูล)
เครื่องหมาย ฯเปฯ ในบาลี ก็เหมือน ฯลฯ ในภาษาไทย
ท่านใช้สัญญลักษณ์ ฯเปฯ เพื่อย่อ ละไว้ให้เป็นที่เข้าใจ
ท่านย่ออะไรไว้?
ข้อ [๒๙๐] ท่านแสดง ปฏิจจสมุปปบาทโดยนัยที่มีสังขาร เป็นต้น เป็นมูล ข้อความที่ย่อไว้ คือ "แม้นัยที่มีวิญญาณ เป็นมูล ก็เหมือนกับนัยที่มีสังขารเป็นมูล นี้"
--------------------------------------
Note:
[๒๘๖]อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร แปลว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สงฺขารปจฺจยาปิ อวิชฺชา แปลว่า อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย (แม้อวิชชาก็เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย)
ถ้าปฏิเสธการเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ก็เท่ากับปฏิเสธ อัญญมัญญปัจจัย ไปเลยทีเดียว
----------------------------------------------------------------------------------
ท่านที่นำภาพนี้มาคงจะเข้าใจผิด บางอย่าง หวังว่าคงจะช่วยคลี่คลายได้นะคะ
(ความเห็นที่ 6-1 6-3 6-4)
----------------------------------------------------------------
ปฏิจจสมุปปบาท เกิดได้หลายนัย เกี่ยวข้องกันลึกซึ้งจริงๆ นะคะ
ขออนุโมทนาแก่ทุกท่านที่สนใจศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎก ค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ
เห็นว่า สมควรชี้แจงให้ข้อมูลเพิ่มเติมอันจะเป็นประโยชน์ต่อ ความเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปปบาท สำหรับท่านที่ได้อ่านค่ะ
ปฏิจจนสมุปปบาท เป็น เส้นสายแห่งความสัมพันธ์อันเป็นเหตุปัจจัยต่อกันของธรรมทั้งหลาย เมื่อศึกษาไปก็จะพบว่า แต่ละธรรมก็เป็นปัจจัยแก่ธรรมอื่นๆ ในหลายนัยด้วยกัน รวมถึงอัญญมัญญปัจจัยด้วย ในบางที่ ท่านก็แสดงโดยอวิชชาเป็นมูล บางที่ท่านก็แสดงโดยสังขารเป็นมูล เป็นต้น
การจะทำความเข้าใจพระไตรปิฏก ควรดูสารบัญ ให้เห็นโครงร่างเนื้อความที่กำลังจะศึกษา และ อ่านอรรถกถาประกอบเสมอ
เริ่มที่ เรามาทำความรู้จัก "อัญญมัญญปัจจัย" ว่าหมายถึงอะไรนะคะ
อัญญมัญญปัจจัย คือความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
เป็นปัจจัยแก่กันและกันอย่างไร ลองดูในกถาวัตถุนี้นะคะ
(กถาวัตถุ เป็นการแสดงธรรมโดยการถามตอบ ซักซ้อม ระหว่าง ๑.สกวาที :สก เป็นฝ่ายสัมมาทิฏฐิ และ ๒.ปรวาที : ปร เป็นฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ)
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=20925&w=%CD%D1%AD%AD%C1%D1%AD%AD
จะเห็นว่า อัญญมัญญปัจจัย คือ ความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เป็นคู่ๆ โดย ธรรมที่หนึ่งเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สอง และธรรมที่สองก็เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่หนึ่งในขณะเดียวกัน
ในพระอภิธรรมปิฏก ข้อ286-289 ท่านแสดงปฏิจจสมุปปบาท อวิชชามูล โดยอัญญมัญญปัจจัย ตามภาพค่ะ
(ดูเปรียบเทียบเลขข้อนะคะ)
ท่านตรัสในวาระ 1 และ 2ข้อที่ 286-287 คือ ในอรูปภพ ,
ท่านตรัสวาระ 3 ข้อที่ 288 คือ รูปภพ,
ท่านตรัสวาระ 4 ข้อที่ 289 คือ กามภพ
โดยจะสังเกตุได้ ที่ ธรรมคือ นามรูป และอายตะ ในวาระทั้งสี่ มีความแตกต่างกัน
และวาระทั้งสี่ ท่านตรัสโดย มีอวิชชาเป็นมูล
https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=274&items=17
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=274&items=17
จะเห็นว่า ท่านแสดงความเป็นอัญญมัญญปัจจัยโดยแสดง อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร และพร้อมกันนั้น สังขารก็เป็นปัจจัยแก่อวิชชาในขณะเดียวกัน
ธรรมอื่นก็เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่กันโดยนัยนี้เช่นกัน (ยกเว้น อุปาทาน->ภพ->ชาติ-> ชรา-> มรณะ : ดูคำอธิบายตามภาพค่ะ)
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=274
พระอภิธรรม ที่แสดง อัญญมัญญจตุกกะ อวิชชามูลนัย เริ่มที่ ข้อ 286จบที่ข้อ 289
ส่วนข้อที่ 290 ท่านแสดง ปฏิจจสมุปบาท นัย ๘ (มีสังขารมูลกนัยเป็นต้น) ไม่เกี่ยวกับ อัญญมัญญจตุกกนัยแล้ว
--------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับข้อ [๒๙๐] ท่านแสดง "นัย ๘ มีสังขารเป็นมูลกนัยเป็นต้น" (นัย ๘ มีสังขาร( เป็นต้น) เป็นมูล)
เครื่องหมาย ฯเปฯ ในบาลี ก็เหมือน ฯลฯ ในภาษาไทย
ท่านใช้สัญญลักษณ์ ฯเปฯ เพื่อย่อ ละไว้ให้เป็นที่เข้าใจ
ท่านย่ออะไรไว้?
ข้อ [๒๙๐] ท่านแสดง ปฏิจจสมุปปบาทโดยนัยที่มีสังขาร เป็นต้น เป็นมูล ข้อความที่ย่อไว้ คือ "แม้นัยที่มีวิญญาณ เป็นมูล ก็เหมือนกับนัยที่มีสังขารเป็นมูล นี้"
--------------------------------------
Note:
[๒๘๖]อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร แปลว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สงฺขารปจฺจยาปิ อวิชฺชา แปลว่า อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย (แม้อวิชชาก็เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย)
ถ้าปฏิเสธการเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ก็เท่ากับปฏิเสธ อัญญมัญญปัจจัย ไปเลยทีเดียว
----------------------------------------------------------------------------------
ท่านที่นำภาพนี้มาคงจะเข้าใจผิด บางอย่าง หวังว่าคงจะช่วยคลี่คลายได้นะคะ
(ความเห็นที่ 6-1 6-3 6-4)
----------------------------------------------------------------
ปฏิจจสมุปปบาท เกิดได้หลายนัย เกี่ยวข้องกันลึกซึ้งจริงๆ นะคะ
ขออนุโมทนาแก่ทุกท่านที่สนใจศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎก ค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ
แสดงความคิดเห็น
้ด้วยท่าน Volk-w เรียกร้องข้อให้ตั้งกระทู้.. เห็นว่าควรแก้ไขปฏิจจให้เป็น " อุปาทานมี-สัตว์จึงมี "
จาก...สัตตสูตร
เพระว่า..ผู้ที่ไปมี..อุปาทาน(ฉันทะราคะ-นันทิ)-ตัณหา...ในขันธ์๕...จะถูกเรียกว่า " สัตว์ "
เมื่อไม่มี...อุปาทาน(ฉันทะราคะ-นันทิ)-ตัณหา...ในขันธ์๕...จะไม่ถูกเรียกว่า " สัตว์ "
คราวนี้..ท่านVolk-w...บอกว่า ผมควรแก้ปฏิจจให้เป็น
- เมื่อ..อุปาทานมี...สัตว์จึงมี
-เมื่อ..อุปาทานดับ..สัตส์จึงดับ
☝
ผมก็งง... ใครมันจะเป็นโมฆบุรุส...ที่จะกล้าไปแก้ไข...ปฏิจจสมุปปาท...หละ?
สัตว์...นะ มันกล่าวเอาไว้ใน...ปฏิจจสมุปปาทแล้ว....
แต่กล่าวไว้ในนิยามของ....ชาติ-ชรามรณะ..เป็นไฉน
เอ้าดูหลักฐาน
👇