วิธีใช้ "นิพพาน" ในชีวิตประจำวัน
เราจะเอานิพพานไปทำไม?
คนเข้าใจผิดว่า ตายแล้วถึงจะไปนิพพาน
คุณทุกวันนี้ต้องมีนิพพาน คุณไม่มีนิพพานจะเลยเถิด ถ้าเราไม่มีนิพพานกิเลสจะหนา เราจะไม่ยอมรับความจริงของธรรม
จะยอมได้ยังไงก็ในเมื่อเราเอาแล้ว มีอัตตา คือตัวตนเยอะๆ แล้วเราจะยอมตรงไหน เพราะคุณบอกว่าไม่มีประโยชน์กับตนเอง
เราต้องบอกว่า นิพพานมีประโยชน์ต่อตนเอง ไม่มีตัวตน สุดท้ายก็ไม่มีอะไร คนก็จะยอมลดอัตตา ฉะนั้น นิพพานไม่ใช่ใช้เวลาตาย ให้ใช้เวลาเป็น
คุณเข้าใจผิดหมด เวลาตายแล้วถึงจะมาใช้นิพพาน มาใช้อนัตตา อย่างนี้ไม่ใช่ เวลานี้เราจะต้องรู้อนัตตา รู้นิพพาน จึงจะทำให้ตัวตัณหาไม่แรงขึ้น ถ้าไม่เช่นนั้น เราป้อนอาหารผิด ตัวตัณหามันก็จะแรงขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าเราเอาอนัตตาไปใส่ ตัวอัตตาก็จะลดลง ตัณหาก็จะลดลง ความต้องการก็จะลดลง
คำว่า ปรินิพพานเข้าสู่ธรรม แล้วเราจะอธิบายตรงนี้ได้ยังไง?
เวลานี้เราสามารถเข้าสู่นิพพานได้เรื่อยๆ คือ "เราไม่ไปละโมบเกิน สามารถควบคุมได้" นี่คือ "นิพพาน"
ปัจจุบันพุทธทาสจึงมาใช้คำว่า "นิพพานลองชิม" นี่แหละ นิพพานก็ต้องมีเป็นขั้นๆ เหมือนกัน เช่น นิพพานระดับคนทั่วไป นิพพานของผู้บำเพ็ญ นิพพานของพระโสดาบัน นิพพานของพระสกิทาคามี นิพพานของพระอนาคามี และนิพพานของพระอรหันต์ แต่ปัจจุบันคนคิดว่า นิพพานมีได้เฉพาะของพระอรหันต์เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น เพราะนิพพานก็เหมือนระดับการศึกษา เช่น นิพพานระดับอนุบาล นิพพานระดับปฐมศึกษา นิพพานระดับมัธยมศึกษา และนิพพานระดับอุดมศึกษา เป็นต้น ถ้าหากว่าบางคนบอกว่าไม่มีเป็นขั้นๆ อยู่ๆ ปฏิบัติได้ก็เป็นนิพพานของพระอรหันต์เลย อันนี้ก็ขัดกับหลักของธรรม ขัดกับหลักของพระพุทธเจ้าสอน
เราต้องนิพพานบ่อยๆ ก็จะยกระดับสูงขึ้นๆ เหมือนแม่แรง
นี่แหละ นิพพานเป็นระดับอย่างนี้ ปัจจุบันพุทธทาสไม่รู้จะเรียกชื่อว่ายังไง ท่านก็เลยใช้คำว่า "นิพพานลองชิม"
นิพพานก็เอามาใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่นี่แหละ เช่น เรามีตัณหาเยอะเหลือเกิน อะไรก็อยากได้หมด แต่ถ้าเรามีนิพพานก็จะทำให้ตัวละโมบลดน้อยลงเป็นขั้นๆ
เวลานี้เราต้องมีนิพพาน จะต้องมีอนัตตา มีปัญญาต่างๆ จึงมาคุยกับตัวตัณหาลดลง ถ้าไม่อยากนั้น เราไปใส่เชื้อเฟิงทางรุนแรงอยู่เรื่อยๆ ก็จะขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเรามีนิพพานตัณหาก็จะลดลงเรื่อยๆ
นิพพานต้องใช้ในปัจจุบัน ไม่ใช่ตายแล้วค่อยไปใช้
เพราะนิพพานนี้ตายไปแล้วก็ไม่จำเป็น ไม่มีประโยชน์ เราต้องทำให้มีนิพพานปัจจุบันนี้ดีกว่า
ถ้าเรามีนิพพาน จะทำให้เกิดมัชฌิมมาปฏิปทา ทางสายกลาง
เราจะมีมัชฌิมมาปฏิปทา เราจะต้องรู้ทั้ง ๒ ด้าน เราจะต้องรู้จักด้านนี้เพื่อจะไปลดกำลังแรงของตัณหา ถ้าไม่เช่นนั้นถ้าเรามีตัณหามากขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะทุกข์ขึ้นเรื่อยๆใช่หรือเปล่า? ถ้าหากว่าตัณหาเบาบางลงอยู่ในความพอดี เราก็จะสันติสุข
ตัณหาจะต้องอยู่ในความสมดุล พอดี ก็จะเกิดสันติสุข
วิธีที่จะทำให้ตัณหาลดลง เราจะต้องมีธรรมะข้อ "อนัตตา" และ "นิพพาน" ก็จะทำให้ "อัตตา" ลดลง เมื่ออัตตาลดลง ตัณหาก็จะลดลงตาม ถ้าไม่ทำเช่นนั้นแรงของตัณหาจะมากขึ้นเรื่อยๆ นี่คือวิธีการควบคุมตัณหา
เวลาคนทั่วไปพูดคุยเกี่ยวกับตัณหาเยอะเลย แต่ไม่รู้จักวิธีอะไรแก้ ไม่รู้จะใช้ธรรมะข้อไหน สิ่งที่จะใช้ธรรมะแก้ก็คือ "นิพพาน"
เพราะในนิพพานมีหลักอธิบายถึงคำว่า "ทำไมเราไม่จำเป็นจะต้องเอาเยอะขนาดนั้น"
ไม่เช่นนั้น เราจะต้องตอบสนองตัณหาตลอด หรือไม่ตอบสนองตัณหาเยอะเกินไปจนขาดความสมดุล เราก็ลำบากเพราะตัณหา เพราะขาดความสมดุล เกิดความโลภมากเกินไป
แต่เรามีเหตุผลเพียงพอว่าแค่นี้เพียงพอแล้ว ตัณหาก็จะลดลง ฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่า ตายไปแล้วถึงจะเข้าสู่นิพพาน ถึงจะมาคิดถึงนิพพาน บางคนบอกว่าแก่แล้วค่อยมาคิดถึงนิพพาน ไม่จำเป็น เราจะต้องมีวิธีการคิดแบบนิพพานตลอดเวลา ใครคิดก่อนคนนั้นก็จะสามารถควบคุมตัณหาได้ คุณก็ไม่ตกเป็นทาสของตัณหา
สมมติว่า เราเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายผลไม้ เราจะมีนิพพานได้ยังไง?
เป็นพ่อค้าแม่ค้าก็มีนิพพานได้ เช่น ถ้าคุณโลภมาก เห็นผลไม้ตรงนี้ราคาถูก ซื้อมาทีละเยอะๆ ไปเลย แล้วเราขายไม่ออก เราก็เจ๊ง!!
นิพพานจะเตือนเราให้ระวัง ไม่ประมาท มีความไม่แน่นอน
"ความไม่แน่นอน" เราจะต้องเข้าใจคำนี้ ถ้าเราเข้าใจในในหลักความไม่แน่นอน เราก็จะรู้จักระมัดระวัง ถ้าไม่อย่างนั้น เราซื้อทีละเยอะๆ ขายไม่ออกเราก็เจ๊งเลย นิพพานจะช่วยเหลือตรงนี้ไม่ให้เราทุกข์มาก เพราะว่า เราซื้อมากเกินไป แล้วเราขายไม่ออกก็จะลำบาก
ยกตัวอย่าง มหาเศรษฐี เช่น เจ้าสัวซีพี จะใช้นิพพานยังไง?
เจ้าสัวซีพียิ่งจะต้องใช้นิพพานมากเลย เพราะความเป็นตัณหามีตั้งแต่เล็กระดับอนุบาลไปถึงระดับใหญ่ เวลานี้เขามีตัณหาใหญ่ ความผิดพลาดนิดเดียวจะเสียหายเยอะเลย ฉะนั้น เจ้าสัวจะต้องใช้นิพพานมากเลย และมีหลัก "อนัตตา" และวิธีการคิดของท่านจะแฝงคำว่า "ไม่แน่นอนอยู่ตลอด" ท่านจะไม่ยอมประมาท สังเกตได้
อะไรๆ ก็จะต้องให้ชัวร์ๆ ถึงจะออก ถึงจะทำ คำว่า "ชัวร์ๆ" หมายความว่ามั่นใจ ผสมด้วยสายกลาง ถ้าไม่มีสายกลางก็เสร็จเลย เราประมาทเกินเราก็จะถูกหลอก ถ้าเราระแวงเกินไปก็จะถูกหลอกเหมือนกัน บางครั้งถ้าระแวงจะเสียโอกาส ของท่านจะต้องหาสิ่งที่พอดี
ถ้าท่านเสียนิดเดียว ท่านก็จะเสียเยอะ เพราะอาณาจักรธุรกิจของท่านใหญ่ ของเราแค่นิดเดียวไม่ถึงหมื่น
พอเราเข้าใจ การที่เรามีธรรมะ มีธรรมะสุญญตา มีความไม่แน่นอน รู้พระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือแม้แต่รู้นิพพาน มีประโยชน์เป็นอย่างมากในชีวิตประจำวันของเรา ทีนี้เราจะเห็นคุณค่าไหมล่ะ?
บางคนไม่เห็นคุณค่าถึงไม่เอา ถึงเกิดความเดือดร้อนอยู่นั่นแหละ ถ้าเราเอาก็จะเกิดความไม่ประมาท
ฉะนั้น นิพพาน จะทำให้เราไม่ประมาท ทำให้เราไม่หลงทาง ทำให้เราไม่เตลิด
จิตผยองเกินไปก็จะหลงทาง เตลิด ชีวิตคุณแย่
ถ้าจิตอ่อนแอ่เกินไป ระแวงเกินไป จะทำให้คุณเสียโอกาส
บางคนส่วนใหญ่เห็นว่านิพพาน สุญญตา ฯลฯ เป็นเรื่องเหลวไหล หรือบางคนคิดว่านิพพาน สุญญตา อนัตตาสูงเกินไป ปัจจุบันนี้เราต้องมีนิพพาน สุญญตา อนัตตา เราจะต้องใช้ตัวนี้ น้อยคนจะถูกสอนมาให้เข้าใจใช้
การที่เราจะใช้นิพพาน ก็คือ เราจะต้องใช้ตัณหาให้พอเหมาะ พอใช้ พอควร ให้เราเห็นทั้ง ๒ ฝั่ง ไม่โลภเอาแต่ได้จนเกินไป และไม่ต้องกลัวเสียหายจนเกินไป คือให้เราพิจารณารอบคอบได้
นิพพานใช้ในชีวิตประจำวันได้
นิพพานเป็นชั้นๆ เป็นขั้นๆ เราจะต้องมีนิพพาน ถ้าเราไม่มีนิพพานก็จะสะสม แล้วเราก็จะไม่สามารถไปลดตัณหาได้
ถามว่าปัจจุบันเราทำให้ดี ส่วนอดีตให้เอามาเป็นอุทาหรณ์ ส่วนอนาคตจะเอานิพพานไว้เป็นอุดมการณ์ หมายความว่ายังไง?
ปัจจุบันนี้ จะต้องให้รู้จักเอาหลักนิพพานมาผสมกับปัจจุบัน เพราะว่าเราภูมิถึงแล้ว ต้องมารู้ที่เหตุว่าเราจะลดตัณหาได้ยังไง เราจะลดกิเลสตัณหาเราเอาได้แต่บีบคั้นเท่านั้นเอง เพราะว่า ไม่มีเหตุผลอันเพียงพอว่าทำไม? ทำไมเราจะต้องลด? เกิดประโยชน์อะไร?
อันนี้รู้ถึงต้นตอของเหตุเลย แล้วเราควรบอกตัวเองได้เลยว่า ไม่ใช่ทำไปเพื่อบีบคั้นตัวเองแล้วไม่มีคำตอบ แล้วเราจะเอานิพพานไปทำไม? แล้วทำไมเราจึงไม่เอาตัณหา พอเรารู้ว่าตัณหามันอันตรายแล้วเราจะเอาอะไรมาลดล่ะ ในนิพพานก็มีวิธีการให้ทำ ให้เราได้ปฏิบัติ
หลักใหญ่ๆ ของนิพพานก็คือว่า ไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมาครอบงำ ไม่ให้ความจริงของธรรมมาครอบงำ ความจริงธรรมมันแค่นี้หรือแค่ไหน เราอย่าไปอุปโลกน์จนเลอะเทอะ
วิธีการของนิพพานคืออะไร?
วิธีการของนิพพานคือรู้ความจริงของธรรม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างมีตัวตน ทุกอย่างเราไม่สามารถที่จะเป็นเจ้าของควบคุมได้ พอเรามีความเข้าใจตรงนี้แล้วเรามาเอาเยอะกว่านั้นมันเป็นไปได้ไหม? สมมติว่า เรามีแรงยกได้แค่ ๕๐ กิโลกรัม เราจะยก ๑๐๐ กิโลกรัมจะได้ไหม? เราก็ทำไม่ได้นี่ พอเราทำไม่ได้เราก็จะยอมรับความจริงของเหตุ เราก็ไม่หลงกลไปทู่ซี้จะเอาให้ได้ อันนี้เป็นวิธีการของความคิด และนี่เป็นหลักการของความจริง ความจริงเราไม่ได้แล้วเราจะเอาไปทำไม
วิธีปฏิบัติต่อนิพพาน ก็คือ เรารู้ความจริง เราจะต้องเอาวิธีไปปฏิบัติ ถ้าเรารู้ความจริงว่าจะเอาไม่ได้ แล้วยังจะไปทู่ซี้จะไปเอาไปยก เราก็จะมีแต่เจ็บ
สรุป เราจะต้องรู้จักนำเอานิพพานมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา วิธีการใช้หลักของนิพพานก็คือ รู้ความจริงของธรรมว่า ทุกสรรพสิ่งเป็นอนิจจัง จะต้องแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย "ทุกขัง" ทุกสรรพสิ่งล้วนทนอยู่ในสภาพนั้นๆ ให้คงตลอดไป ถาวรตลอดไม่ได้ และ "อนัตตา" มีตัวตน แต่ว่าเราจะยึดว่าเป็นตัวตนตลอดไปไม่ได้ เพราะจะต้องแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย
เราจะต้องลดอัตตา ตัวตน ด้วยการใช้กิเลสตัณหาไปในทางสัมมา ที่ถูกต้อง และไม่ประมาท ไม่ระแวง ไม่ผยอง ไม่อำเภอใจ จะต้องอยู่ในทางสายกลาง มัชฌิมาปะฏิปะทา ในการเข้าใจภาวะธรรมนั้นๆ บริหารจัดการสมควรแก่เหตุ ในภูมิภาวะธรรมนั้นๆ ให้พอเหมาะ พอดี
วิธีใช้ "นิพพาน" ในชีวิตประจำวัน
เราจะเอานิพพานไปทำไม?
คนเข้าใจผิดว่า ตายแล้วถึงจะไปนิพพาน
คุณทุกวันนี้ต้องมีนิพพาน คุณไม่มีนิพพานจะเลยเถิด ถ้าเราไม่มีนิพพานกิเลสจะหนา เราจะไม่ยอมรับความจริงของธรรม
จะยอมได้ยังไงก็ในเมื่อเราเอาแล้ว มีอัตตา คือตัวตนเยอะๆ แล้วเราจะยอมตรงไหน เพราะคุณบอกว่าไม่มีประโยชน์กับตนเอง
เราต้องบอกว่า นิพพานมีประโยชน์ต่อตนเอง ไม่มีตัวตน สุดท้ายก็ไม่มีอะไร คนก็จะยอมลดอัตตา ฉะนั้น นิพพานไม่ใช่ใช้เวลาตาย ให้ใช้เวลาเป็น
คุณเข้าใจผิดหมด เวลาตายแล้วถึงจะมาใช้นิพพาน มาใช้อนัตตา อย่างนี้ไม่ใช่ เวลานี้เราจะต้องรู้อนัตตา รู้นิพพาน จึงจะทำให้ตัวตัณหาไม่แรงขึ้น ถ้าไม่เช่นนั้น เราป้อนอาหารผิด ตัวตัณหามันก็จะแรงขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าเราเอาอนัตตาไปใส่ ตัวอัตตาก็จะลดลง ตัณหาก็จะลดลง ความต้องการก็จะลดลง
คำว่า ปรินิพพานเข้าสู่ธรรม แล้วเราจะอธิบายตรงนี้ได้ยังไง?
เวลานี้เราสามารถเข้าสู่นิพพานได้เรื่อยๆ คือ "เราไม่ไปละโมบเกิน สามารถควบคุมได้" นี่คือ "นิพพาน"
ปัจจุบันพุทธทาสจึงมาใช้คำว่า "นิพพานลองชิม" นี่แหละ นิพพานก็ต้องมีเป็นขั้นๆ เหมือนกัน เช่น นิพพานระดับคนทั่วไป นิพพานของผู้บำเพ็ญ นิพพานของพระโสดาบัน นิพพานของพระสกิทาคามี นิพพานของพระอนาคามี และนิพพานของพระอรหันต์ แต่ปัจจุบันคนคิดว่า นิพพานมีได้เฉพาะของพระอรหันต์เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น เพราะนิพพานก็เหมือนระดับการศึกษา เช่น นิพพานระดับอนุบาล นิพพานระดับปฐมศึกษา นิพพานระดับมัธยมศึกษา และนิพพานระดับอุดมศึกษา เป็นต้น ถ้าหากว่าบางคนบอกว่าไม่มีเป็นขั้นๆ อยู่ๆ ปฏิบัติได้ก็เป็นนิพพานของพระอรหันต์เลย อันนี้ก็ขัดกับหลักของธรรม ขัดกับหลักของพระพุทธเจ้าสอน
เราต้องนิพพานบ่อยๆ ก็จะยกระดับสูงขึ้นๆ เหมือนแม่แรง
นี่แหละ นิพพานเป็นระดับอย่างนี้ ปัจจุบันพุทธทาสไม่รู้จะเรียกชื่อว่ายังไง ท่านก็เลยใช้คำว่า "นิพพานลองชิม"
นิพพานก็เอามาใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่นี่แหละ เช่น เรามีตัณหาเยอะเหลือเกิน อะไรก็อยากได้หมด แต่ถ้าเรามีนิพพานก็จะทำให้ตัวละโมบลดน้อยลงเป็นขั้นๆ
เวลานี้เราต้องมีนิพพาน จะต้องมีอนัตตา มีปัญญาต่างๆ จึงมาคุยกับตัวตัณหาลดลง ถ้าไม่อยากนั้น เราไปใส่เชื้อเฟิงทางรุนแรงอยู่เรื่อยๆ ก็จะขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเรามีนิพพานตัณหาก็จะลดลงเรื่อยๆ
นิพพานต้องใช้ในปัจจุบัน ไม่ใช่ตายแล้วค่อยไปใช้
เพราะนิพพานนี้ตายไปแล้วก็ไม่จำเป็น ไม่มีประโยชน์ เราต้องทำให้มีนิพพานปัจจุบันนี้ดีกว่า
ถ้าเรามีนิพพาน จะทำให้เกิดมัชฌิมมาปฏิปทา ทางสายกลาง
เราจะมีมัชฌิมมาปฏิปทา เราจะต้องรู้ทั้ง ๒ ด้าน เราจะต้องรู้จักด้านนี้เพื่อจะไปลดกำลังแรงของตัณหา ถ้าไม่เช่นนั้นถ้าเรามีตัณหามากขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะทุกข์ขึ้นเรื่อยๆใช่หรือเปล่า? ถ้าหากว่าตัณหาเบาบางลงอยู่ในความพอดี เราก็จะสันติสุข
ตัณหาจะต้องอยู่ในความสมดุล พอดี ก็จะเกิดสันติสุข
วิธีที่จะทำให้ตัณหาลดลง เราจะต้องมีธรรมะข้อ "อนัตตา" และ "นิพพาน" ก็จะทำให้ "อัตตา" ลดลง เมื่ออัตตาลดลง ตัณหาก็จะลดลงตาม ถ้าไม่ทำเช่นนั้นแรงของตัณหาจะมากขึ้นเรื่อยๆ นี่คือวิธีการควบคุมตัณหา
เวลาคนทั่วไปพูดคุยเกี่ยวกับตัณหาเยอะเลย แต่ไม่รู้จักวิธีอะไรแก้ ไม่รู้จะใช้ธรรมะข้อไหน สิ่งที่จะใช้ธรรมะแก้ก็คือ "นิพพาน"
เพราะในนิพพานมีหลักอธิบายถึงคำว่า "ทำไมเราไม่จำเป็นจะต้องเอาเยอะขนาดนั้น"
ไม่เช่นนั้น เราจะต้องตอบสนองตัณหาตลอด หรือไม่ตอบสนองตัณหาเยอะเกินไปจนขาดความสมดุล เราก็ลำบากเพราะตัณหา เพราะขาดความสมดุล เกิดความโลภมากเกินไป
แต่เรามีเหตุผลเพียงพอว่าแค่นี้เพียงพอแล้ว ตัณหาก็จะลดลง ฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่า ตายไปแล้วถึงจะเข้าสู่นิพพาน ถึงจะมาคิดถึงนิพพาน บางคนบอกว่าแก่แล้วค่อยมาคิดถึงนิพพาน ไม่จำเป็น เราจะต้องมีวิธีการคิดแบบนิพพานตลอดเวลา ใครคิดก่อนคนนั้นก็จะสามารถควบคุมตัณหาได้ คุณก็ไม่ตกเป็นทาสของตัณหา
สมมติว่า เราเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายผลไม้ เราจะมีนิพพานได้ยังไง?
เป็นพ่อค้าแม่ค้าก็มีนิพพานได้ เช่น ถ้าคุณโลภมาก เห็นผลไม้ตรงนี้ราคาถูก ซื้อมาทีละเยอะๆ ไปเลย แล้วเราขายไม่ออก เราก็เจ๊ง!!
นิพพานจะเตือนเราให้ระวัง ไม่ประมาท มีความไม่แน่นอน
"ความไม่แน่นอน" เราจะต้องเข้าใจคำนี้ ถ้าเราเข้าใจในในหลักความไม่แน่นอน เราก็จะรู้จักระมัดระวัง ถ้าไม่อย่างนั้น เราซื้อทีละเยอะๆ ขายไม่ออกเราก็เจ๊งเลย นิพพานจะช่วยเหลือตรงนี้ไม่ให้เราทุกข์มาก เพราะว่า เราซื้อมากเกินไป แล้วเราขายไม่ออกก็จะลำบาก
ยกตัวอย่าง มหาเศรษฐี เช่น เจ้าสัวซีพี จะใช้นิพพานยังไง?
เจ้าสัวซีพียิ่งจะต้องใช้นิพพานมากเลย เพราะความเป็นตัณหามีตั้งแต่เล็กระดับอนุบาลไปถึงระดับใหญ่ เวลานี้เขามีตัณหาใหญ่ ความผิดพลาดนิดเดียวจะเสียหายเยอะเลย ฉะนั้น เจ้าสัวจะต้องใช้นิพพานมากเลย และมีหลัก "อนัตตา" และวิธีการคิดของท่านจะแฝงคำว่า "ไม่แน่นอนอยู่ตลอด" ท่านจะไม่ยอมประมาท สังเกตได้
อะไรๆ ก็จะต้องให้ชัวร์ๆ ถึงจะออก ถึงจะทำ คำว่า "ชัวร์ๆ" หมายความว่ามั่นใจ ผสมด้วยสายกลาง ถ้าไม่มีสายกลางก็เสร็จเลย เราประมาทเกินเราก็จะถูกหลอก ถ้าเราระแวงเกินไปก็จะถูกหลอกเหมือนกัน บางครั้งถ้าระแวงจะเสียโอกาส ของท่านจะต้องหาสิ่งที่พอดี
ถ้าท่านเสียนิดเดียว ท่านก็จะเสียเยอะ เพราะอาณาจักรธุรกิจของท่านใหญ่ ของเราแค่นิดเดียวไม่ถึงหมื่น
พอเราเข้าใจ การที่เรามีธรรมะ มีธรรมะสุญญตา มีความไม่แน่นอน รู้พระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือแม้แต่รู้นิพพาน มีประโยชน์เป็นอย่างมากในชีวิตประจำวันของเรา ทีนี้เราจะเห็นคุณค่าไหมล่ะ?
บางคนไม่เห็นคุณค่าถึงไม่เอา ถึงเกิดความเดือดร้อนอยู่นั่นแหละ ถ้าเราเอาก็จะเกิดความไม่ประมาท
ฉะนั้น นิพพาน จะทำให้เราไม่ประมาท ทำให้เราไม่หลงทาง ทำให้เราไม่เตลิด
จิตผยองเกินไปก็จะหลงทาง เตลิด ชีวิตคุณแย่
ถ้าจิตอ่อนแอ่เกินไป ระแวงเกินไป จะทำให้คุณเสียโอกาส
บางคนส่วนใหญ่เห็นว่านิพพาน สุญญตา ฯลฯ เป็นเรื่องเหลวไหล หรือบางคนคิดว่านิพพาน สุญญตา อนัตตาสูงเกินไป ปัจจุบันนี้เราต้องมีนิพพาน สุญญตา อนัตตา เราจะต้องใช้ตัวนี้ น้อยคนจะถูกสอนมาให้เข้าใจใช้
การที่เราจะใช้นิพพาน ก็คือ เราจะต้องใช้ตัณหาให้พอเหมาะ พอใช้ พอควร ให้เราเห็นทั้ง ๒ ฝั่ง ไม่โลภเอาแต่ได้จนเกินไป และไม่ต้องกลัวเสียหายจนเกินไป คือให้เราพิจารณารอบคอบได้
นิพพานใช้ในชีวิตประจำวันได้
นิพพานเป็นชั้นๆ เป็นขั้นๆ เราจะต้องมีนิพพาน ถ้าเราไม่มีนิพพานก็จะสะสม แล้วเราก็จะไม่สามารถไปลดตัณหาได้
ถามว่าปัจจุบันเราทำให้ดี ส่วนอดีตให้เอามาเป็นอุทาหรณ์ ส่วนอนาคตจะเอานิพพานไว้เป็นอุดมการณ์ หมายความว่ายังไง?
ปัจจุบันนี้ จะต้องให้รู้จักเอาหลักนิพพานมาผสมกับปัจจุบัน เพราะว่าเราภูมิถึงแล้ว ต้องมารู้ที่เหตุว่าเราจะลดตัณหาได้ยังไง เราจะลดกิเลสตัณหาเราเอาได้แต่บีบคั้นเท่านั้นเอง เพราะว่า ไม่มีเหตุผลอันเพียงพอว่าทำไม? ทำไมเราจะต้องลด? เกิดประโยชน์อะไร?
อันนี้รู้ถึงต้นตอของเหตุเลย แล้วเราควรบอกตัวเองได้เลยว่า ไม่ใช่ทำไปเพื่อบีบคั้นตัวเองแล้วไม่มีคำตอบ แล้วเราจะเอานิพพานไปทำไม? แล้วทำไมเราจึงไม่เอาตัณหา พอเรารู้ว่าตัณหามันอันตรายแล้วเราจะเอาอะไรมาลดล่ะ ในนิพพานก็มีวิธีการให้ทำ ให้เราได้ปฏิบัติ
หลักใหญ่ๆ ของนิพพานก็คือว่า ไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมาครอบงำ ไม่ให้ความจริงของธรรมมาครอบงำ ความจริงธรรมมันแค่นี้หรือแค่ไหน เราอย่าไปอุปโลกน์จนเลอะเทอะ
วิธีการของนิพพานคืออะไร?
วิธีการของนิพพานคือรู้ความจริงของธรรม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างมีตัวตน ทุกอย่างเราไม่สามารถที่จะเป็นเจ้าของควบคุมได้ พอเรามีความเข้าใจตรงนี้แล้วเรามาเอาเยอะกว่านั้นมันเป็นไปได้ไหม? สมมติว่า เรามีแรงยกได้แค่ ๕๐ กิโลกรัม เราจะยก ๑๐๐ กิโลกรัมจะได้ไหม? เราก็ทำไม่ได้นี่ พอเราทำไม่ได้เราก็จะยอมรับความจริงของเหตุ เราก็ไม่หลงกลไปทู่ซี้จะเอาให้ได้ อันนี้เป็นวิธีการของความคิด และนี่เป็นหลักการของความจริง ความจริงเราไม่ได้แล้วเราจะเอาไปทำไม
วิธีปฏิบัติต่อนิพพาน ก็คือ เรารู้ความจริง เราจะต้องเอาวิธีไปปฏิบัติ ถ้าเรารู้ความจริงว่าจะเอาไม่ได้ แล้วยังจะไปทู่ซี้จะไปเอาไปยก เราก็จะมีแต่เจ็บ
สรุป เราจะต้องรู้จักนำเอานิพพานมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา วิธีการใช้หลักของนิพพานก็คือ รู้ความจริงของธรรมว่า ทุกสรรพสิ่งเป็นอนิจจัง จะต้องแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย "ทุกขัง" ทุกสรรพสิ่งล้วนทนอยู่ในสภาพนั้นๆ ให้คงตลอดไป ถาวรตลอดไม่ได้ และ "อนัตตา" มีตัวตน แต่ว่าเราจะยึดว่าเป็นตัวตนตลอดไปไม่ได้ เพราะจะต้องแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย
เราจะต้องลดอัตตา ตัวตน ด้วยการใช้กิเลสตัณหาไปในทางสัมมา ที่ถูกต้อง และไม่ประมาท ไม่ระแวง ไม่ผยอง ไม่อำเภอใจ จะต้องอยู่ในทางสายกลาง มัชฌิมาปะฏิปะทา ในการเข้าใจภาวะธรรมนั้นๆ บริหารจัดการสมควรแก่เหตุ ในภูมิภาวะธรรมนั้นๆ ให้พอเหมาะ พอดี