หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา) เป็นพ่อค้าชาวจีน เป็นบุตรของนายต้อย นางแว่น แซ่ฉั่ว
ต้นตระกูลคือ นายซ้อและนางหงส์ แซ่แต้ เป็นคนจีนอพยพขึ้นเหนือไปอยู่นครสวรรค์เป็นแห่งแรก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒
และต่อมาค่อยๆ ย้ายไปอยู่ลำปาง ลำพูน ในที่สุดตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เชียงใหม่เป็นการถาวรจนบัดนี้
.
หลวงอนุสารฯ อุตสาหะทำการค้าขายโดยนำสินค้าบรรทุกเรือค้ำถ่อหางแมงป่องจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ
นอกจากนี้ยังเปิดห้างซัวย่งเส็ง ขายเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่หมอสอนศาสนาชาวต่างชาติ เจ้านายฝ่ายเหนือและราชนิกูลจากสยาม
รวมถึงการเปิดสตูดิโอ "ซัวย่งเส็ง" รับถ่ายภาพแห่งแรกๆ ของเชียงใหม่
.
หลวงอนุสารฯ สนใจการถ่ายภาพ
ได้เรียนทักษะการถ่ายภาพจาก พระยาเจริญราชไมตรี (จำนง อมาตยกุล) อดีตข้าหลวงอธิบดี ผู้พิพากษาและข้าหลวงพิเศษ จัดการศาลมณฑลพายัพในสมัยนั้น
ภาพถ่ายผลงานหลวงอนุสารฯ บันทึกเรื่องราวในช่วงรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 8 (ประมาณปี พ.ศ.2440-2470)
ผลงานภาพถ่ายโดยหลวงอนุสารฯ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน บันทึกเรื่องราวการค้าขายทางเรือ ตลาด เจ้านายฝ่ายเหนือและข้าราชการ จากสยาม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภาพถ่ายบุคคล
ภาพถ่ายบันทึกเหตุการณ์สำคัญในสมัยล้านนาผนึกเข้ากับสยาม ได้แก่ ภาพถ่ายจอมพลสมเด็จพระอะหนุชาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จประพาสเชียงใหม่ พ.ศ.2455
ภาพถ่ายขบวนช้างสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเชียงใหม่ พ.ศ.2468
ภาพถ่ายการล่องเรือแม่ปะ หรือเรือหางแมงป่องเดินทางไปค้าขายยังคลองบางกอกน้อย ธนบุรี ภาพถ่ายข้าราชการศาลจากสยาม ภาพถ่ายขบวนแห่พระศพเจ้าอินทวิชยานนท์
รวมถึงภาพถ่ายการแห่ครัวทาน ภาพถ่ายการค้าขายที่ตลาดในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแสดงวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นในสมัยนั้น
ฟิล์มกระจกจำนวนกว่า 400 แผ่น negative ขนาด 8.5 x 6.5, 6.5 x 4.75, 4.5 x 3 นิ้ว และ positive ขนาด 3.5 x 2.5 นิ้ว scan ต้นฉบับเป็นไฟล์ digital
ปัจจุบันทายาทครอบครอง และเก็บรักษาในกล่องกันความชื้นที่อาคารอนุรักษ์บ้านตึก เลขที่ 10, 12, 14 ถนนวิชยานนท์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งเป็นบ้านเดิมของหลวงอนุสารฯ
เชียงใหม่-นำชมภาพถ่ายฟิล์มกระจก โดยหลวงอนุสารสุนทร บันทึกเรื่องราวในช่วงรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 8
หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา) เป็นพ่อค้าชาวจีน เป็นบุตรของนายต้อย นางแว่น แซ่ฉั่ว
ต้นตระกูลคือ นายซ้อและนางหงส์ แซ่แต้ เป็นคนจีนอพยพขึ้นเหนือไปอยู่นครสวรรค์เป็นแห่งแรก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒
และต่อมาค่อยๆ ย้ายไปอยู่ลำปาง ลำพูน ในที่สุดตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เชียงใหม่เป็นการถาวรจนบัดนี้
.
หลวงอนุสารฯ อุตสาหะทำการค้าขายโดยนำสินค้าบรรทุกเรือค้ำถ่อหางแมงป่องจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ
นอกจากนี้ยังเปิดห้างซัวย่งเส็ง ขายเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่หมอสอนศาสนาชาวต่างชาติ เจ้านายฝ่ายเหนือและราชนิกูลจากสยาม
รวมถึงการเปิดสตูดิโอ "ซัวย่งเส็ง" รับถ่ายภาพแห่งแรกๆ ของเชียงใหม่
.
หลวงอนุสารฯ สนใจการถ่ายภาพ
ได้เรียนทักษะการถ่ายภาพจาก พระยาเจริญราชไมตรี (จำนง อมาตยกุล) อดีตข้าหลวงอธิบดี ผู้พิพากษาและข้าหลวงพิเศษ จัดการศาลมณฑลพายัพในสมัยนั้น
ภาพถ่ายผลงานหลวงอนุสารฯ บันทึกเรื่องราวในช่วงรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 8 (ประมาณปี พ.ศ.2440-2470)
ผลงานภาพถ่ายโดยหลวงอนุสารฯ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน บันทึกเรื่องราวการค้าขายทางเรือ ตลาด เจ้านายฝ่ายเหนือและข้าราชการ จากสยาม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภาพถ่ายบุคคล
ภาพถ่ายบันทึกเหตุการณ์สำคัญในสมัยล้านนาผนึกเข้ากับสยาม ได้แก่ ภาพถ่ายจอมพลสมเด็จพระอะหนุชาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จประพาสเชียงใหม่ พ.ศ.2455
ภาพถ่ายขบวนช้างสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเชียงใหม่ พ.ศ.2468
ภาพถ่ายการล่องเรือแม่ปะ หรือเรือหางแมงป่องเดินทางไปค้าขายยังคลองบางกอกน้อย ธนบุรี ภาพถ่ายข้าราชการศาลจากสยาม ภาพถ่ายขบวนแห่พระศพเจ้าอินทวิชยานนท์
รวมถึงภาพถ่ายการแห่ครัวทาน ภาพถ่ายการค้าขายที่ตลาดในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแสดงวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นในสมัยนั้น
ฟิล์มกระจกจำนวนกว่า 400 แผ่น negative ขนาด 8.5 x 6.5, 6.5 x 4.75, 4.5 x 3 นิ้ว และ positive ขนาด 3.5 x 2.5 นิ้ว scan ต้นฉบับเป็นไฟล์ digital
ปัจจุบันทายาทครอบครอง และเก็บรักษาในกล่องกันความชื้นที่อาคารอนุรักษ์บ้านตึก เลขที่ 10, 12, 14 ถนนวิชยานนท์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งเป็นบ้านเดิมของหลวงอนุสารฯ