พระจอมเกล้ากับพระอภัยมณี
มีคำอธิบายมากมายเกี่ยวกับการแต่งพระอภัยมณี บ้างเชื่อว่าเริ่มแต่งตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สอง
บ้างเชื่อว่าแต่งถวายพระองต์เจ้าลักขณานุคุณ จนสิ้นพระชนม์ แล้วมาแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ผู้เป็นพระเชษฐภคินีต่อมา
ผมได้พบว่า ในรูปถ่ายโบราณชิ้นหนึ่ง แสดงภายในโรงละคอนของเจ้าพระยามหินทร์ศักดิ์ธำรง เล่นเรื่องพระอภัยมณี
รู้ได้เพราะมีตัวละคอนนอนสลบอยู่เกลื่อนกลาด มีแตพระอภัยมณีเท่านั้น ที่มีเนื้อเรื่องเช่นนี้
https://pbs.twimg.com/media/CqMfBipUAAEM3RR.jpg
จากหนังสือของ Ernst von Hesse Wartegg : Siam, das Reich des weiben Elefanten. Leipzig. 1899
สันนิษฐานนี้ คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ก็ดูเหมือนจะไม่คัดค้าน ท่านว่า
อ่านสนุก แต่เหนือความสนุกคือได้ความรู้และความคิดต่างจากที่เคยรู้เคยคิดเคยเขียน โดยเฉพาะเรื่องพระอภัยมณี ที่ชวนให้น่าเชื่อว่าจะเคยเล่นเป็นละคร
ที่นึกไม่ถึงคือคุณพิพัฒน์บอกว่ามีรูปถ่ายที่ควรเป็นละครพระอภัยมณีแสดงครั้งรัชกาลที่ ๕ ด้วย จะขอยกรูปและคำอธิบายจากหนังสือมาให้ดูทั่วๆ กัน จะได้ร่วมกันพิจารณา
ผมไม่เคยรู้ว่านอกจากพระอภัยมณีแล้ว ยังมีวรรณคดีไทยเรื่องอะไรบ้างที่ตัวละครนอนสลบ เท่าที่รู้ก็มีแต่พระอภัยมณีเป่าปี่ให้คนได้ยินเพลิดเพลินจนสลบหลายหน
เมื่อเห็นรูปละครที่คุณพิพัฒน์เลือกมาให้ดู เลยคล้อยตามไปแล้ว และอัศจรรย์ใจยิ่งนัก
แต่ก็เผื่อใจไว้ฟังผู้รู้ท่านอื่นๆ จะเห็นเป็นอื่นว่ามีวรรณคดีเรื่องอื่นอีกหรือไม่?
http://www.sujitwongthes.com/2011/10/siam05102554/ (ลิ้งค์ตายไปแล้ว)
การที่เรื่องพระอภัยมณีเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่สี่นั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก
ในรัชกาลนี้ พระเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนประเทศให้กลายเป็นสังคมเอกสาร ผ่านระบบการพิมพ์และเผยแพร่
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๑ โปรดให้โรงอักษรพิมพการ ตีพิมพ์ “ราชกิจจานุเบกษา” เป็นหนังสือของทางการ
“เพื่อให้รู้ทั่วกัน มิให้เล่าฦาผิดๆ ไปต่างๆ ขาดๆ เกินๆ เปนเหตุให้เสียราชการและเสียพระเกียติยศแผ่นดินได้”
ส่วนการเสพย์สาระทางอักษรนั้น มีการพิมพ์นิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย สดๆ ร้อนๆ หลังคณะฑูตกลับมา ในปี ๒๔๐๐
และเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง อีกทั้งโรงละคอนของเจ้าพระยามหินทร์ฯ ก็สร้างขึ้นต่อเนื่องกันตามตัวอย่างที่ท่านเห็นจากลอนดอน
ในฐานะที่ท่านเป็นอุปฑูต เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี ในการเจริญทางพระราชไมตรีครั้งนั้น
เรื่องพระอภัยมณี จึงเป็นผลงานที่สอดคล้องกับพระราชนิยมรัชกาลที่สี่ ยิ่งกว่ารัชกาลใดๆ
แม้กระนั้น ก็ไม่พบว่ามีผู้ใดสนใจความสัมพันธ์ระหว่างพระจอมเกล้ากับพระอภัยมณีเลย
โชคดีที่คุณ boranbook และคุณแสนอักษร สมาชิกพันทิบ เสนอการค้นพบครั้งสำคัญออกมา
https://topicstock.ppantip.com/library/topicstock/2006/08/K4607692/K4607692.html
คือหนังสือ "พระอะไภยมะณี" ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๒ สำหรับแจกในงานพระเมรุพระจอมเกล้า
หมอสมิทผู้พิมพ์ แถลงว่า
แจ้งความให้รู้ทั่วกัน
ข้าพเจ้าครูสมิท ขอแจ้งความมายังท่านให้ได้ทราบว่า หนังสือ
พระอะไภยมะณี ที่พิมพ์ขึ้นในครั้งนี้ พิมพ์ตามความปราถนาของสมเด็จ
พระพุทธิเจ้าหลวงอยู่หัวที่สี่ ซึ่งพระองค์ทรงต้องการเห็นหนังสือ
ได้ถูกพิมพ์ขึ้นทั่วไปสำหรับคนไทในสยามจะได้มีหนังสืออย่างไทไว้
อ่านเล่น ซึ่งก็จะเปนหนังสืออย่างไทครั้งแรกที่ได้จัดพิมพ์ขึ้น แลใน
การพิมพ์ขึ้นนั้น ได้พิมพ์ขึ้นในครั้งเดียวไปจนจบเล่มที่แปดสิบสมุด
ไท ได้พิมพ์ขึ้นหนึ่งร้อยยี่สิบจบ แลให้บริบูรณ์สำเร็จลงกัน เป็นหนัง
สือแจกในงานพระเมรุสมเด็จพระพุททธิเจ้าหลวงอยู่หัวที่สี่ แห่งกรุง
สยาม แลจึ่งหวังว่าในเบื้องน่า จะได้หาโอกาสพิมพ์จำหน่ายทั่วไป
ที่โรงพิมพ์บางคอแหลม จุลศักราช ๑๒๓๐
(วรรคตอนและอักขระวิธีตามต้นฉบับ)
ในคำแถลงนี้ มีประเด็นปลีกย่อยต้องพิจารณาอยู่มาก แต่เมื่อสรุปความก็ได้ข้อเท็จจริงสำคัญออกมาหลายประการ
๑ การพิมพ์หนังสือนี้ เป็นพระประสงค์ของพระจอมเกล้า
๒ ทรงต้องการให้มีหนังสืออ่านเล่น "อย่างไท" แพร่หลายออกไป
๓ หลังจากนี้ จะมีการพิมพ์จำหน่ายทั่วไป
สรุปให้ชัดเจนก็ต้องบอกว่า วรรณกรรมมหากาพย์เรื่องนี้ แท้ที่จริง เป็นของพระราชทานจากรัชกาลที่สี่
ให้สังคมไทยมีทรัพย์ทางปัญญาสะสมเป็นมรดกวรรณกรรมสืบไป
ในการทำเช่นนี้ ลำพังหมอสมิทคนเดียวจะทำสำเร็จหาได้ไม่
เรื่องนี้ต้องใช้คำอธิบายอีกชุดใหญ่ต่อไปข้างหน้า ในที่นี้ขอเน้นให้ชัดเจนก่อนว่า
พระอภัยมณีของสุนทรภู่ เป็นวรรณกรรมในสมัยรัชกาลที่สี่ สร้างขึ้นโดยพระประสงค์ของพระจอมเกล้า
เป็นผลงานที่เปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์สติปัญญาของไทยสู่ยุคใหม่อย่างแท้จริง
พระจอมเกล้ากับพระอภัยมณี
มีคำอธิบายมากมายเกี่ยวกับการแต่งพระอภัยมณี บ้างเชื่อว่าเริ่มแต่งตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สอง
บ้างเชื่อว่าแต่งถวายพระองต์เจ้าลักขณานุคุณ จนสิ้นพระชนม์ แล้วมาแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ผู้เป็นพระเชษฐภคินีต่อมา
ผมได้พบว่า ในรูปถ่ายโบราณชิ้นหนึ่ง แสดงภายในโรงละคอนของเจ้าพระยามหินทร์ศักดิ์ธำรง เล่นเรื่องพระอภัยมณี
รู้ได้เพราะมีตัวละคอนนอนสลบอยู่เกลื่อนกลาด มีแตพระอภัยมณีเท่านั้น ที่มีเนื้อเรื่องเช่นนี้
https://pbs.twimg.com/media/CqMfBipUAAEM3RR.jpg
จากหนังสือของ Ernst von Hesse Wartegg : Siam, das Reich des weiben Elefanten. Leipzig. 1899
สันนิษฐานนี้ คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ก็ดูเหมือนจะไม่คัดค้าน ท่านว่า
อ่านสนุก แต่เหนือความสนุกคือได้ความรู้และความคิดต่างจากที่เคยรู้เคยคิดเคยเขียน โดยเฉพาะเรื่องพระอภัยมณี ที่ชวนให้น่าเชื่อว่าจะเคยเล่นเป็นละคร
ที่นึกไม่ถึงคือคุณพิพัฒน์บอกว่ามีรูปถ่ายที่ควรเป็นละครพระอภัยมณีแสดงครั้งรัชกาลที่ ๕ ด้วย จะขอยกรูปและคำอธิบายจากหนังสือมาให้ดูทั่วๆ กัน จะได้ร่วมกันพิจารณา
ผมไม่เคยรู้ว่านอกจากพระอภัยมณีแล้ว ยังมีวรรณคดีไทยเรื่องอะไรบ้างที่ตัวละครนอนสลบ เท่าที่รู้ก็มีแต่พระอภัยมณีเป่าปี่ให้คนได้ยินเพลิดเพลินจนสลบหลายหน
เมื่อเห็นรูปละครที่คุณพิพัฒน์เลือกมาให้ดู เลยคล้อยตามไปแล้ว และอัศจรรย์ใจยิ่งนัก
แต่ก็เผื่อใจไว้ฟังผู้รู้ท่านอื่นๆ จะเห็นเป็นอื่นว่ามีวรรณคดีเรื่องอื่นอีกหรือไม่?
http://www.sujitwongthes.com/2011/10/siam05102554/ (ลิ้งค์ตายไปแล้ว)
การที่เรื่องพระอภัยมณีเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่สี่นั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก
ในรัชกาลนี้ พระเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนประเทศให้กลายเป็นสังคมเอกสาร ผ่านระบบการพิมพ์และเผยแพร่
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๑ โปรดให้โรงอักษรพิมพการ ตีพิมพ์ “ราชกิจจานุเบกษา” เป็นหนังสือของทางการ
“เพื่อให้รู้ทั่วกัน มิให้เล่าฦาผิดๆ ไปต่างๆ ขาดๆ เกินๆ เปนเหตุให้เสียราชการและเสียพระเกียติยศแผ่นดินได้”
ส่วนการเสพย์สาระทางอักษรนั้น มีการพิมพ์นิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย สดๆ ร้อนๆ หลังคณะฑูตกลับมา ในปี ๒๔๐๐
และเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง อีกทั้งโรงละคอนของเจ้าพระยามหินทร์ฯ ก็สร้างขึ้นต่อเนื่องกันตามตัวอย่างที่ท่านเห็นจากลอนดอน
ในฐานะที่ท่านเป็นอุปฑูต เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี ในการเจริญทางพระราชไมตรีครั้งนั้น
เรื่องพระอภัยมณี จึงเป็นผลงานที่สอดคล้องกับพระราชนิยมรัชกาลที่สี่ ยิ่งกว่ารัชกาลใดๆ
แม้กระนั้น ก็ไม่พบว่ามีผู้ใดสนใจความสัมพันธ์ระหว่างพระจอมเกล้ากับพระอภัยมณีเลย
โชคดีที่คุณ boranbook และคุณแสนอักษร สมาชิกพันทิบ เสนอการค้นพบครั้งสำคัญออกมา
https://topicstock.ppantip.com/library/topicstock/2006/08/K4607692/K4607692.html
คือหนังสือ "พระอะไภยมะณี" ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๒ สำหรับแจกในงานพระเมรุพระจอมเกล้า
หมอสมิทผู้พิมพ์ แถลงว่า
แจ้งความให้รู้ทั่วกัน
ข้าพเจ้าครูสมิท ขอแจ้งความมายังท่านให้ได้ทราบว่า หนังสือ
พระอะไภยมะณี ที่พิมพ์ขึ้นในครั้งนี้ พิมพ์ตามความปราถนาของสมเด็จ
พระพุทธิเจ้าหลวงอยู่หัวที่สี่ ซึ่งพระองค์ทรงต้องการเห็นหนังสือ
ได้ถูกพิมพ์ขึ้นทั่วไปสำหรับคนไทในสยามจะได้มีหนังสืออย่างไทไว้
อ่านเล่น ซึ่งก็จะเปนหนังสืออย่างไทครั้งแรกที่ได้จัดพิมพ์ขึ้น แลใน
การพิมพ์ขึ้นนั้น ได้พิมพ์ขึ้นในครั้งเดียวไปจนจบเล่มที่แปดสิบสมุด
ไท ได้พิมพ์ขึ้นหนึ่งร้อยยี่สิบจบ แลให้บริบูรณ์สำเร็จลงกัน เป็นหนัง
สือแจกในงานพระเมรุสมเด็จพระพุททธิเจ้าหลวงอยู่หัวที่สี่ แห่งกรุง
สยาม แลจึ่งหวังว่าในเบื้องน่า จะได้หาโอกาสพิมพ์จำหน่ายทั่วไป
ที่โรงพิมพ์บางคอแหลม จุลศักราช ๑๒๓๐
(วรรคตอนและอักขระวิธีตามต้นฉบับ)
ในคำแถลงนี้ มีประเด็นปลีกย่อยต้องพิจารณาอยู่มาก แต่เมื่อสรุปความก็ได้ข้อเท็จจริงสำคัญออกมาหลายประการ
๑ การพิมพ์หนังสือนี้ เป็นพระประสงค์ของพระจอมเกล้า
๒ ทรงต้องการให้มีหนังสืออ่านเล่น "อย่างไท" แพร่หลายออกไป
๓ หลังจากนี้ จะมีการพิมพ์จำหน่ายทั่วไป
สรุปให้ชัดเจนก็ต้องบอกว่า วรรณกรรมมหากาพย์เรื่องนี้ แท้ที่จริง เป็นของพระราชทานจากรัชกาลที่สี่
ให้สังคมไทยมีทรัพย์ทางปัญญาสะสมเป็นมรดกวรรณกรรมสืบไป
ในการทำเช่นนี้ ลำพังหมอสมิทคนเดียวจะทำสำเร็จหาได้ไม่
เรื่องนี้ต้องใช้คำอธิบายอีกชุดใหญ่ต่อไปข้างหน้า ในที่นี้ขอเน้นให้ชัดเจนก่อนว่า
พระอภัยมณีของสุนทรภู่ เป็นวรรณกรรมในสมัยรัชกาลที่สี่ สร้างขึ้นโดยพระประสงค์ของพระจอมเกล้า
เป็นผลงานที่เปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์สติปัญญาของไทยสู่ยุคใหม่อย่างแท้จริง