ช่วงตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมาย อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่แล้ว ว่าแม่จะต้องแบ่งเเคลเซียมในร่างกายไปให้เด็กในครรภ์ด้วย ฉะนั้น แคลเซียมในร่างกายของคุณแม่ ก็คงมีน้อยลง และอาจทำให้กระดูกของคุณแม่อ่อนแอขึ้น จนเสี่ยงต่อการแตกหัก จะมีวิธีไหนบ้าง ที่ช่วยป้องกันไม่ให้คุณแม่หกล้ม กระดูกหัก หรือบาดเจ็บได้ง่ายในช่วงที่ตั้งครรภ์ เรามาดูไปพร้อม ๆ กัน
วิธีช่วยลดความเสี่ยง ไม่ให้กระดูกหักง่ายระหว่างตั้งครรภ์
เมื่อตั้งครรภ์อยู่ คุณแม่ควรระมัดระวัง และใส่ใจตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจนหกล้ม กระดูกหัก หรือบาดเจ็บรุนแรง ซึ่งอาจทำได้ ดังนี้
1. ออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เพศไหน ก็ออกกำลังกายได้ตลอด แม้กระทั่งคนท้องเอง แต่ในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะไม่สามารถเล่นกีฬาที่ต้องมีการเคลื่อนไหวได้เยอะ ๆ แต่ก็ให้ลองลุกขึ้นมาเดินในบ้าน รำมวยไทย ขยับแขนขา ลองยกเวท หรือดัมเบลเบา ๆ เพื่อให้กระดูกแข็งแรงขึ้นได้
2. รับประทานวิตามินดี และแคลเซียม
แน่นอนว่าการรับประทานอาหารเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะช่วยให้คุณแม่ได้ประโยชน์โดยตรง ซึ่งอาหารที่ควรรับประทานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ได้แก่ เนื้อปลาซาร์ดีน บร็อคโคลี่ นมที่มีไขมันต่ำ และโยเกิร์ต
3. ดูผลข้างเคียงของยาที่จะรับประทาน
ยาบางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หากประทานเข้าไปอาจทำให้หกล้มหรือเดินเซได้ คุณแม่ควรศึกษาผลกระทบหรือผลข้างเคียงของยา ก่อนที่จะกินยาทุกชนิด และควรปรึกษาหมอก่อนทุกครั้งที่จะรับประทานยา เพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการรับประทานที่ถูกต้องและปลอดภัย
4. อยู่ให้ห่างจากบุหรี่ และแอลกอฮอล์
ควันบุหรี่และแอลกอฮอล์เป็นสิ่งอันตรายต่อกระดูกของคนท้อง แถมกลิ่นบุหรี่ก็ยังทำให้เด็กพิการแต่กำเนิดและทำให้แม่ครรภ์เป็นพิษได้ด้วย ดังนั้น คุณแม่ที่ท้องไม่ควรดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ หรืออยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ หรือสูบบุหรี่เองโดยเด็ดขาด
5. อย่าปล่อยให้สายตาของตัวเองพร่ามัว
หากสายตาสั้นหรือสายตายาว ให้หาแว่นสายตามาใส่เพื่อให้ตัวเองมองเห็นได้ชัด หากสายตาพร่ามัว มองอะไรไม่ค่อยเห็น อาจทำให้หกล้มอย่างรุนแรงเมื่อกำลังเดินอยู่ได้ จนอาจทำให้กระดูกหักหรือเป็นอันตรายต่อลูกในท้อง
6. ตรวจดูของใช้ในบ้าน
ของใช้ในบ้านบางอย่าง ทำให้คุณแม่หกล้มได้ง่าย เช่น พรมเช็ดเท้าในห้องน้ำ พรมตามห้องรับแขก สายไฟที่อยู่ตามพื้นบ้าน เป็นต้น หากมีสิ่งของเหล่านี้อยู่ในบ้าน อาจจะต้องเก็บให้พ้นจากทางเดินของคุณแม่ก่อนไปในช่วงนี้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิด แต่หากยังอยากใช้พรมอยู่ ให้เปลี่ยนมาใช้พรมทำจากยาง แทนพรมที่ทำจากผ้า ทั้งนี้ คุณแม่ควรรักษาความสะอาดบ้านอยู่เสมอ ไม่ให้ห้องรกเกะกะ หรือมีของวางอยู่ตามพื้นเยอะเกินไป เพราะสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามพื้นบ้าน ก็อาจทำให้สะดุดหรือหกล้มได้
7. สวมใส่รองเท้าที่ไม่ลื่น
รองเท้าบางชนิดใส่แล้วลื่นได้ง่าย โดยเฉพาะรองเท้าใส่ในบ้าน หรือรองเท้าที่มีดอกยางน้อย ซึ่งช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ไม่ควรสวมใส่รองเท้าเหล่านี้ เพื่อป้องกันการหกล้ม หรือข้อเท้าพลิก รวมทั้งไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง เพื่อไม่ให้เดินหรือยืนไม่ถูกท่า
8. ไม่เดินในที่มืด
เมื่อต้องตื่นไปเข้าห้องน้ำ หรือลงบันไดบ้านในตอนกลางคืน ควรเปิดไฟให้สว่างเพื่อให้มองเห็นทางเดินชัด หรือจะเปิดไฟอ่อน ๆ ไว้ในที่ใดที่หนึ่งของบ้านในตอนกลางคืน เพื่อให้มองเห็นทางเดิน นอกจากนี้ หากเตียงนอนอยู่ไกลจากสวิตช์ไฟ คุณแม่ก็ควรพกไฟฉายไว้ใกล้ ๆ ตัวอยู่เสมอ โดยอาจจะวางไว้ที่หัวเตียง หรือโต๊ะข้างเตียงก็ได้
9. ยืนอาบน้ำแทน
แม้ว่าคุณแม่จะอยากนั่งอาบน้ำในอ่างสบาย ๆ แต่นั่นก็อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในช่วงที่ตั้งครรภ์ เพราะคุณแม่อาจล้มได้ในขณะที่พยายามลุกขึ้นมาจากอ่างอาบน้ำ หากเป็นไปได้ ให้ยืนอาบน้ำจะดีที่สุดนะคะ
นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว อาจจะมีวิธีอื่น ๆ อีกที่ช่วยลดความเสี่ยง และทำให้แม่ ๆ ไม่กระดูกหักได้ง่าย ซึ่งคุณแม่สามารถขอเข้ารับคำปรึกษาได้กับคุณหมอเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้รู้ ว่าจะดูแลตัวเองให้ปลอดภัยในช่วงที่ตั้งครรภ์ และหากเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกอยู่แล้ว ก็ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้กระดูกหักด้วย
กระดูกหัก สังเกตได้ยังไงบ้าง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือหกล้ม คุณแม่สามารถเฝ้าสังเกตตัวเองได้ ว่ามีอาการต่อไปนี้หรือไม่
- อวัยวะดูผิดรูป ซึ่งอาจเกิดจากการที่กระดูกหักจนทิ่มออกมา
- ปวดบริเวณที่ได้รับอุบัติเหตุ กดแล้วรู้สึกเจ็บ
- บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บปูดบวม
- ได้ยินเสียงกระดูกเคลื่อน
อาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของปัญหากระดูกหัก หากพบว่าตัวเองหกล้มและมีอาการดังกล่าว คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์ทันที แต่หากไม่ได้มีอาการดังกล่าว แต่ก็สงสัยและกังวลว่าตัวเองอาจกระดูกหัก ก็ควรเข้าพบแพทย์ด้วยเช่นกัน เพื่อเข้ารับการตรวจเช็คร่างกาย และรักษาได้ทันท่วงทีหากกระดูกเกิดความเสียหาย
วิธีระมัดระวังเมื่อต้องใช้ชีวิตนอกบ้าน
คุณแม่จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากเราต้องออกไปข้างนอกบ่อย ๆ ก็ควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้หกล้มจนกระดูกหักหรือเป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง
- ค่อย ๆ เดินไม่ต้องวิ่ง หรือรีบเดิน เพราะอาจทำให้สะดุดเท้าตัวเองจนหกล้ม
- หมั่นสำรวจและมองทางเดิน ว่ามีหลุมบ่อ หรือพื้นผิวขรุขระอยู่หรือไม่
- ไม่เดินบนพรม เพราะอาจทำให้ลื่นล้มได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงการเดินตามทางที่มีสิ่งของระเกะระกะ หรือคนพลุกพล่าน
- เมื่อต้องขึ้นลงบันได ควรจับราวบันไดทุกครั้ง และค่อย ๆ เดินอย่างช้า ๆ
แม้ว่าคุณแม่จะสุขภาพแข็งแรงดีอยู่แล้ว แต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากเราพึงระมัดระวัง และใช้ชีวิตทุกย่างก้าวอย่างมีสติ ก็จะช่วยให้เราอุ้มท้องลูกน้อยได้อย่างปลอดภัย แถมตัวเราเองยังปลอดภัยและไม่บาดเจ็บอีกด้วย
วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้ !
วิธีช่วยลดความเสี่ยง ไม่ให้กระดูกหักง่ายระหว่างตั้งครรภ์
เมื่อตั้งครรภ์อยู่ คุณแม่ควรระมัดระวัง และใส่ใจตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจนหกล้ม กระดูกหัก หรือบาดเจ็บรุนแรง ซึ่งอาจทำได้ ดังนี้
1. ออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เพศไหน ก็ออกกำลังกายได้ตลอด แม้กระทั่งคนท้องเอง แต่ในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะไม่สามารถเล่นกีฬาที่ต้องมีการเคลื่อนไหวได้เยอะ ๆ แต่ก็ให้ลองลุกขึ้นมาเดินในบ้าน รำมวยไทย ขยับแขนขา ลองยกเวท หรือดัมเบลเบา ๆ เพื่อให้กระดูกแข็งแรงขึ้นได้
2. รับประทานวิตามินดี และแคลเซียม
แน่นอนว่าการรับประทานอาหารเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะช่วยให้คุณแม่ได้ประโยชน์โดยตรง ซึ่งอาหารที่ควรรับประทานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ได้แก่ เนื้อปลาซาร์ดีน บร็อคโคลี่ นมที่มีไขมันต่ำ และโยเกิร์ต
3. ดูผลข้างเคียงของยาที่จะรับประทาน
ยาบางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หากประทานเข้าไปอาจทำให้หกล้มหรือเดินเซได้ คุณแม่ควรศึกษาผลกระทบหรือผลข้างเคียงของยา ก่อนที่จะกินยาทุกชนิด และควรปรึกษาหมอก่อนทุกครั้งที่จะรับประทานยา เพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการรับประทานที่ถูกต้องและปลอดภัย
4. อยู่ให้ห่างจากบุหรี่ และแอลกอฮอล์
ควันบุหรี่และแอลกอฮอล์เป็นสิ่งอันตรายต่อกระดูกของคนท้อง แถมกลิ่นบุหรี่ก็ยังทำให้เด็กพิการแต่กำเนิดและทำให้แม่ครรภ์เป็นพิษได้ด้วย ดังนั้น คุณแม่ที่ท้องไม่ควรดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ หรืออยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ หรือสูบบุหรี่เองโดยเด็ดขาด
5. อย่าปล่อยให้สายตาของตัวเองพร่ามัว
หากสายตาสั้นหรือสายตายาว ให้หาแว่นสายตามาใส่เพื่อให้ตัวเองมองเห็นได้ชัด หากสายตาพร่ามัว มองอะไรไม่ค่อยเห็น อาจทำให้หกล้มอย่างรุนแรงเมื่อกำลังเดินอยู่ได้ จนอาจทำให้กระดูกหักหรือเป็นอันตรายต่อลูกในท้อง
6. ตรวจดูของใช้ในบ้าน
ของใช้ในบ้านบางอย่าง ทำให้คุณแม่หกล้มได้ง่าย เช่น พรมเช็ดเท้าในห้องน้ำ พรมตามห้องรับแขก สายไฟที่อยู่ตามพื้นบ้าน เป็นต้น หากมีสิ่งของเหล่านี้อยู่ในบ้าน อาจจะต้องเก็บให้พ้นจากทางเดินของคุณแม่ก่อนไปในช่วงนี้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิด แต่หากยังอยากใช้พรมอยู่ ให้เปลี่ยนมาใช้พรมทำจากยาง แทนพรมที่ทำจากผ้า ทั้งนี้ คุณแม่ควรรักษาความสะอาดบ้านอยู่เสมอ ไม่ให้ห้องรกเกะกะ หรือมีของวางอยู่ตามพื้นเยอะเกินไป เพราะสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามพื้นบ้าน ก็อาจทำให้สะดุดหรือหกล้มได้
7. สวมใส่รองเท้าที่ไม่ลื่น
รองเท้าบางชนิดใส่แล้วลื่นได้ง่าย โดยเฉพาะรองเท้าใส่ในบ้าน หรือรองเท้าที่มีดอกยางน้อย ซึ่งช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ไม่ควรสวมใส่รองเท้าเหล่านี้ เพื่อป้องกันการหกล้ม หรือข้อเท้าพลิก รวมทั้งไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง เพื่อไม่ให้เดินหรือยืนไม่ถูกท่า
8. ไม่เดินในที่มืด
เมื่อต้องตื่นไปเข้าห้องน้ำ หรือลงบันไดบ้านในตอนกลางคืน ควรเปิดไฟให้สว่างเพื่อให้มองเห็นทางเดินชัด หรือจะเปิดไฟอ่อน ๆ ไว้ในที่ใดที่หนึ่งของบ้านในตอนกลางคืน เพื่อให้มองเห็นทางเดิน นอกจากนี้ หากเตียงนอนอยู่ไกลจากสวิตช์ไฟ คุณแม่ก็ควรพกไฟฉายไว้ใกล้ ๆ ตัวอยู่เสมอ โดยอาจจะวางไว้ที่หัวเตียง หรือโต๊ะข้างเตียงก็ได้
9. ยืนอาบน้ำแทน
แม้ว่าคุณแม่จะอยากนั่งอาบน้ำในอ่างสบาย ๆ แต่นั่นก็อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในช่วงที่ตั้งครรภ์ เพราะคุณแม่อาจล้มได้ในขณะที่พยายามลุกขึ้นมาจากอ่างอาบน้ำ หากเป็นไปได้ ให้ยืนอาบน้ำจะดีที่สุดนะคะ
นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว อาจจะมีวิธีอื่น ๆ อีกที่ช่วยลดความเสี่ยง และทำให้แม่ ๆ ไม่กระดูกหักได้ง่าย ซึ่งคุณแม่สามารถขอเข้ารับคำปรึกษาได้กับคุณหมอเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้รู้ ว่าจะดูแลตัวเองให้ปลอดภัยในช่วงที่ตั้งครรภ์ และหากเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกอยู่แล้ว ก็ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้กระดูกหักด้วย
กระดูกหัก สังเกตได้ยังไงบ้าง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือหกล้ม คุณแม่สามารถเฝ้าสังเกตตัวเองได้ ว่ามีอาการต่อไปนี้หรือไม่
- อวัยวะดูผิดรูป ซึ่งอาจเกิดจากการที่กระดูกหักจนทิ่มออกมา
- ปวดบริเวณที่ได้รับอุบัติเหตุ กดแล้วรู้สึกเจ็บ
- บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บปูดบวม
- ได้ยินเสียงกระดูกเคลื่อน
อาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของปัญหากระดูกหัก หากพบว่าตัวเองหกล้มและมีอาการดังกล่าว คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์ทันที แต่หากไม่ได้มีอาการดังกล่าว แต่ก็สงสัยและกังวลว่าตัวเองอาจกระดูกหัก ก็ควรเข้าพบแพทย์ด้วยเช่นกัน เพื่อเข้ารับการตรวจเช็คร่างกาย และรักษาได้ทันท่วงทีหากกระดูกเกิดความเสียหาย
วิธีระมัดระวังเมื่อต้องใช้ชีวิตนอกบ้าน
คุณแม่จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากเราต้องออกไปข้างนอกบ่อย ๆ ก็ควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้หกล้มจนกระดูกหักหรือเป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง
- ค่อย ๆ เดินไม่ต้องวิ่ง หรือรีบเดิน เพราะอาจทำให้สะดุดเท้าตัวเองจนหกล้ม
- หมั่นสำรวจและมองทางเดิน ว่ามีหลุมบ่อ หรือพื้นผิวขรุขระอยู่หรือไม่
- ไม่เดินบนพรม เพราะอาจทำให้ลื่นล้มได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงการเดินตามทางที่มีสิ่งของระเกะระกะ หรือคนพลุกพล่าน
- เมื่อต้องขึ้นลงบันได ควรจับราวบันไดทุกครั้ง และค่อย ๆ เดินอย่างช้า ๆ
แม้ว่าคุณแม่จะสุขภาพแข็งแรงดีอยู่แล้ว แต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากเราพึงระมัดระวัง และใช้ชีวิตทุกย่างก้าวอย่างมีสติ ก็จะช่วยให้เราอุ้มท้องลูกน้อยได้อย่างปลอดภัย แถมตัวเราเองยังปลอดภัยและไม่บาดเจ็บอีกด้วย