การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้นมักจะเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกจะบางกว่าคนหนุ่มสาว ซึ่งการหกล้มในผู้สูงวัยจึงไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามไปได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป เพราะถ้าเกิดการหกล้มส่วนใหญ่อาการจะรุนแรง เช่น กระดูกข้อมือหัก กระดูกสะโพกหัก ถ้าเกิดศีรษะฟาดพื้นก็อาจทำให้เลือดออกในสมอง จนทำให้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะครับ
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป จะมีแน้วโน้มหกล้มร้อยละ 28-35 ต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 32-42 ต่อปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ซึ่งความเสี่ยงของการหกล้มจะมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีโรคประจำตัว เช่น อัมพฤกษ์อัมพาต หรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว จากการศึกษาวิจัยพบว่าการป้องกันการหกล้มที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกาย เพราะจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของ กระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยป้องกันการหกล้มได้อย่างแท้จริง
ท่าออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ
ท่าที่ 1 ท่าบริหารศีรษะ ยืนตรงมองไปข้างหน้า ค่อยๆ หันศีรษะไปทางขวาให้สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นค่อยๆ หันศีรษะไปทางซ้ายให้สุด ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 ท่าบริหารคอ ยืนตรงมองไปข้างหน้า เอาปลายนิ้วมือข้างที่ถนัดแตะบริเวณคางใช้มือค่อยๆ ดันให้ศรีษะหงายขึ้นช้าๆ จนสุด แล้วกลับมาหน้าตรง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 ท่ายืดหลัง ยืนตรงมองไปข้างหน้า กางเท้ากว้างเท่าช่วงไหล่ วางฝ่ามือไว้ตรงบั้นเอวด้านหลัง ค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลังจนรู้สึกตึง จากนั้นกลับมาท่ายืนตรง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 4 ท่าบริหารลำตัว ยืนตรงมองไปข้างหน้า มือจับเอว บิดลำตัวช่วงบนไปด้านขวาให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้โดยไม่บิดสะโพก จากนั้นบิดลำตัวช่วงบนไปด้านซ้ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำซ้ำ 10 ครั้ง
การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยเรื่องการทรงตัว ป้องกันการหกล้มแล้ว ยังช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อม ชะลอความเสื่อมของวัยได้ประมาณ 20 -30 % เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หันมาออกกำลังกายกันเยอะๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเองนะครับ
สูงวัยไม่ล้ม...ด้วย 4 ท่าบริหารง่ายๆ
เมื่ออายุมากขึ้นมักจะเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกจะบางกว่าคนหนุ่มสาว ซึ่งการหกล้มในผู้สูงวัยจึงไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามไปได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป เพราะถ้าเกิดการหกล้มส่วนใหญ่อาการจะรุนแรง เช่น กระดูกข้อมือหัก กระดูกสะโพกหัก ถ้าเกิดศีรษะฟาดพื้นก็อาจทำให้เลือดออกในสมอง จนทำให้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะครับ
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป จะมีแน้วโน้มหกล้มร้อยละ 28-35 ต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 32-42 ต่อปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ซึ่งความเสี่ยงของการหกล้มจะมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีโรคประจำตัว เช่น อัมพฤกษ์อัมพาต หรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว จากการศึกษาวิจัยพบว่าการป้องกันการหกล้มที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกาย เพราะจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของ กระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยป้องกันการหกล้มได้อย่างแท้จริง
ท่าออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ
ท่าที่ 1 ท่าบริหารศีรษะ ยืนตรงมองไปข้างหน้า ค่อยๆ หันศีรษะไปทางขวาให้สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นค่อยๆ หันศีรษะไปทางซ้ายให้สุด ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 ท่าบริหารคอ ยืนตรงมองไปข้างหน้า เอาปลายนิ้วมือข้างที่ถนัดแตะบริเวณคางใช้มือค่อยๆ ดันให้ศรีษะหงายขึ้นช้าๆ จนสุด แล้วกลับมาหน้าตรง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 ท่ายืดหลัง ยืนตรงมองไปข้างหน้า กางเท้ากว้างเท่าช่วงไหล่ วางฝ่ามือไว้ตรงบั้นเอวด้านหลัง ค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลังจนรู้สึกตึง จากนั้นกลับมาท่ายืนตรง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 4 ท่าบริหารลำตัว ยืนตรงมองไปข้างหน้า มือจับเอว บิดลำตัวช่วงบนไปด้านขวาให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้โดยไม่บิดสะโพก จากนั้นบิดลำตัวช่วงบนไปด้านซ้ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำซ้ำ 10 ครั้ง
การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยเรื่องการทรงตัว ป้องกันการหกล้มแล้ว ยังช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อม ชะลอความเสื่อมของวัยได้ประมาณ 20 -30 % เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หันมาออกกำลังกายกันเยอะๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเองนะครับ