วันนี้ผมได้นั้งสมาธิเปิดฟังธรรมแต่เช้า
สายมาเริ่มง่วงเพราะยังไม่ได้นอนแต่เมื่อคืน
ก่อนนอนก็เปิดฟังเสียงเทศน์ หลวงปู่ดุลย์
แต่พลอยหลับไปก่อนเลยฟังไม่จบ ตื่นอีกทีก็เย็นจะมืดค่ำเลยเปิดฟังใหม่ ได้ พิจารณา เรื่องความ"ว่าง"ตามได้ยินได้ฟังเสียงท่าน
เลยได้เข้าใจข้อหนึ่ง
ว่างนั้นว่างจาก ตัวตน ตัวตนนี้ไม่ได้หมายเอาเฉพาะ กาย แต่รวมทั้ง ใจ ด้วย หากเพียงว่า กายว่าง ใจว่าง ก็เป็นเพียง ทิฐิ ว่างแบบมืดๆ
1.มโน ก็คือ ใจ
2.จิต ก็คือ คิด
3.วิญญาณ ก็คือ รู้
หากใช้สามสิ่งนี้เข้ารับความ ว่าง ก็เป็น ทิฐิ คือว่างแบบมี ทิฐิ
ว่างแท้จริงคือ"ไม่มีอะไร เมื่อไม่มีอะไร ก็ไม่ต้องยึดอะไร ไม่ยึดอะไร ก็ไม่ทุกข์อะไร" เพราะ เหนือกาย เหนือใจ เหนือรูป เหนือนาม เหนือภายนอก(อายตนะ) เหนือภายใน(อายตนะ)
กล่าวคือ อารมณ์ที่เที่ยวมาอาศัยเกิดในใจ เป็น อารมณ์ว่างก็ดี หากเรายึดถือนั้นคือ ทิฐิ
หากกล่าวให้เข้าใจง่ายๆก็คือ "กายก็สักว่ากาย จิตก็สักว่าจิต" กายก็เป็นทิฐิตัวตน จิตก็เป็นทิฐิตัวตน ไม่ควรเข้าไปยึดถือ
ที่ทุกข์เพราะไป ยึดถือกาย ยึดถือจิต เมื่อ"มี"อะไรมา เกิดกับกาย เกิดกับจิต เลยทุกข์เพราะไป ยึดถือกาย ยึดถือจิต "กายก็เป็นทิฐิอันหนึ่ง จิตก็เป็นทิฐิอันหนึ่ง"
ไม่มีสุขในโลกิยะ มีแต่ทุกข์บีบคั้น หากจะกล่าวว่ามีสุข เหตุนั้นยิ่งสุขมากยิ่งทุกข์มาก เพราะติดสุข ห่วงอาลัยสุข เมื่อสุขถูกพรากด้วยธรรมชาติอนิจจัง จึงทุกข์มาก
ละกาย ละจิต ก็เบาสบาย ไม่หนักหน่วง รุ่มร้อน อยู่เป็นปกติสุข สุขแบบไม่ต้องยึดถืออะไรให้ลำบาก กายก็ปกติ จิตก็ปกติ
สิ่งที่มาอาศัยเกิดกับกายกับจิต ก็ให้มันเกิดไปแต่ไม่ติดในสิ่งที่มาเกิดนั้น แม้สิ่งที่มาเกิดนั้นจะเป็นความ"ว่าง"ก็ตาม จะติดในสิ่งที่ละแล้วทำไมกัน
เสียงเทศน์หลวงปู่ดุลย์
https://youtu.be/W28wHD3lfyA
ทิฐิกับว่าง
สายมาเริ่มง่วงเพราะยังไม่ได้นอนแต่เมื่อคืน
ก่อนนอนก็เปิดฟังเสียงเทศน์ หลวงปู่ดุลย์
แต่พลอยหลับไปก่อนเลยฟังไม่จบ ตื่นอีกทีก็เย็นจะมืดค่ำเลยเปิดฟังใหม่ ได้ พิจารณา เรื่องความ"ว่าง"ตามได้ยินได้ฟังเสียงท่าน
เลยได้เข้าใจข้อหนึ่ง
ว่างนั้นว่างจาก ตัวตน ตัวตนนี้ไม่ได้หมายเอาเฉพาะ กาย แต่รวมทั้ง ใจ ด้วย หากเพียงว่า กายว่าง ใจว่าง ก็เป็นเพียง ทิฐิ ว่างแบบมืดๆ
1.มโน ก็คือ ใจ
2.จิต ก็คือ คิด
3.วิญญาณ ก็คือ รู้
หากใช้สามสิ่งนี้เข้ารับความ ว่าง ก็เป็น ทิฐิ คือว่างแบบมี ทิฐิ
ว่างแท้จริงคือ"ไม่มีอะไร เมื่อไม่มีอะไร ก็ไม่ต้องยึดอะไร ไม่ยึดอะไร ก็ไม่ทุกข์อะไร" เพราะ เหนือกาย เหนือใจ เหนือรูป เหนือนาม เหนือภายนอก(อายตนะ) เหนือภายใน(อายตนะ)
กล่าวคือ อารมณ์ที่เที่ยวมาอาศัยเกิดในใจ เป็น อารมณ์ว่างก็ดี หากเรายึดถือนั้นคือ ทิฐิ
หากกล่าวให้เข้าใจง่ายๆก็คือ "กายก็สักว่ากาย จิตก็สักว่าจิต" กายก็เป็นทิฐิตัวตน จิตก็เป็นทิฐิตัวตน ไม่ควรเข้าไปยึดถือ
ที่ทุกข์เพราะไป ยึดถือกาย ยึดถือจิต เมื่อ"มี"อะไรมา เกิดกับกาย เกิดกับจิต เลยทุกข์เพราะไป ยึดถือกาย ยึดถือจิต "กายก็เป็นทิฐิอันหนึ่ง จิตก็เป็นทิฐิอันหนึ่ง"
ไม่มีสุขในโลกิยะ มีแต่ทุกข์บีบคั้น หากจะกล่าวว่ามีสุข เหตุนั้นยิ่งสุขมากยิ่งทุกข์มาก เพราะติดสุข ห่วงอาลัยสุข เมื่อสุขถูกพรากด้วยธรรมชาติอนิจจัง จึงทุกข์มาก
ละกาย ละจิต ก็เบาสบาย ไม่หนักหน่วง รุ่มร้อน อยู่เป็นปกติสุข สุขแบบไม่ต้องยึดถืออะไรให้ลำบาก กายก็ปกติ จิตก็ปกติ
สิ่งที่มาอาศัยเกิดกับกายกับจิต ก็ให้มันเกิดไปแต่ไม่ติดในสิ่งที่มาเกิดนั้น แม้สิ่งที่มาเกิดนั้นจะเป็นความ"ว่าง"ก็ตาม จะติดในสิ่งที่ละแล้วทำไมกัน
เสียงเทศน์หลวงปู่ดุลย์
https://youtu.be/W28wHD3lfyA