อยากถามความเห็นของหลายๆท่านครับว่า ระหว่าง "ไทยควรไปได้ไกลกว่านี้" กับ "ไทยมาได้เท่านี้ก็ถือว่าเก่งพอตัว" แนวคิดไหนถูกต้องกว่ากัน
สำหรับ จขกท. นะครับ เท่าที่สังเกตคือ สำหรับคนไทยโดยทั่วๆไป ที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ สังคม การเมืองมาระดับหนึ่ง ทำนองว่าไทยไม่เคยเป็นอาณานิคม มีทรัพยากรที่ดี ไม่เคยมีสงครามใหญ่ กลุ่มนี้มักจะมีแนวคิดแรกคือ "ไทยควรไปได้ไกลกว่านี้" แต่ถ้าเป็นคนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมในระดับที่ลึกยิ่งขึ้น ทั้งของไทยและของต่างประเทศ มักจะพบว่า เมืองไทยมีอยู่หลายจุดที่แม้ดูเผินๆจะดูพร้อมที่จะพัฒนามากกว่าชาติอื่น แต่ถ้ามองในเชิงลึกแล้ว เมืองไทยก็ยังถือว่าขาดหลายๆอย่างไป ทำให้การที่ไทยยกระดับจากประเทศยากจนมาเป็นประเทศรายได้ปานกลาง สถานะของประเทศอยู่ในระดับกลางๆของโลกได้นี่ก็ถือว่า "ไทยมาได้เท่านี้ก็ถือว่าเก่งพอตัว" (อันนี้มีทั้งหลายๆคนที่มองและพูดออกมา และจากการที่ จขกท. สังเกต)
ยกตัวอย่างนะครับ ในกระทู้นี้
https://ppantip.com/topic/40724893 ที่ จขกท. ถามว่า "ทำไมไทยถึงพัฒนาช้ากว่าญี่ปุ่น แม้จะเปิดประเทศพร้อมกัน" ซึ่งน่าจะเป็นคำถามคลาสสิคในใจคนไทยหลายๆคน ซึ่งหลายๆคำตอบนั้นสรุปได้ว่าญี่ปุ่นมีรายละเอียดความพร้อมมากกว่าไทยอยู่หลายด้านเลยทีเดียว ทำให้ไปได้ไกลกว่า แม้จะเปิดประเทศพร้อมกัน
คหสต.ไม่ว่าแนวคิดใดจะถูกต้อง จขกท. ก็มองว่า เราควรที่จะเน้นการปลูกฝังให้คนในชาติใฝ่ฝันถึงอนาคตและมีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ โดยใช้ลักษณะการพูดที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่การพูดในเชิงเปรียบเทียบจนเห็นประเทศอื่นเป็นศัตรู หรือยกแต่ด้านดีของประเทศอื่นมาเทียบกับด้านไม่ดีของไทย คือโดยเจตนามันก็ดีแหละครับสำหรับการที่จะให้คนมีความกระตือรือร้น แต่ก็ควรใช้คำพูดเชิงสร้างสรรค์ ยกจุดเด่นจุดด้อยมาเทียบให้สมดุล และแทนที่จะมีแนวคิดแบบต้องกลัวคนอื่นแซงถึงจะเริ่มพัฒนากัน ก็ควรเป็นการปลูกฝังให้คนพัฒนาอยู่เสมอ แบบนี้น่าจะดีกว่า
ลองมาแสดงความเห็นกันดูครับ ถ้ามีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
ระหว่าง "ไทยควรไปได้ไกลกว่านี้" กับ "ไทยมาได้เท่านี้ก็ถือว่าเก่งพอตัว" แนวคิดไหนถูกต้องกว่ากัน
สำหรับ จขกท. นะครับ เท่าที่สังเกตคือ สำหรับคนไทยโดยทั่วๆไป ที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ สังคม การเมืองมาระดับหนึ่ง ทำนองว่าไทยไม่เคยเป็นอาณานิคม มีทรัพยากรที่ดี ไม่เคยมีสงครามใหญ่ กลุ่มนี้มักจะมีแนวคิดแรกคือ "ไทยควรไปได้ไกลกว่านี้" แต่ถ้าเป็นคนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมในระดับที่ลึกยิ่งขึ้น ทั้งของไทยและของต่างประเทศ มักจะพบว่า เมืองไทยมีอยู่หลายจุดที่แม้ดูเผินๆจะดูพร้อมที่จะพัฒนามากกว่าชาติอื่น แต่ถ้ามองในเชิงลึกแล้ว เมืองไทยก็ยังถือว่าขาดหลายๆอย่างไป ทำให้การที่ไทยยกระดับจากประเทศยากจนมาเป็นประเทศรายได้ปานกลาง สถานะของประเทศอยู่ในระดับกลางๆของโลกได้นี่ก็ถือว่า "ไทยมาได้เท่านี้ก็ถือว่าเก่งพอตัว" (อันนี้มีทั้งหลายๆคนที่มองและพูดออกมา และจากการที่ จขกท. สังเกต)
ยกตัวอย่างนะครับ ในกระทู้นี้ https://ppantip.com/topic/40724893 ที่ จขกท. ถามว่า "ทำไมไทยถึงพัฒนาช้ากว่าญี่ปุ่น แม้จะเปิดประเทศพร้อมกัน" ซึ่งน่าจะเป็นคำถามคลาสสิคในใจคนไทยหลายๆคน ซึ่งหลายๆคำตอบนั้นสรุปได้ว่าญี่ปุ่นมีรายละเอียดความพร้อมมากกว่าไทยอยู่หลายด้านเลยทีเดียว ทำให้ไปได้ไกลกว่า แม้จะเปิดประเทศพร้อมกัน
คหสต.ไม่ว่าแนวคิดใดจะถูกต้อง จขกท. ก็มองว่า เราควรที่จะเน้นการปลูกฝังให้คนในชาติใฝ่ฝันถึงอนาคตและมีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ โดยใช้ลักษณะการพูดที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่การพูดในเชิงเปรียบเทียบจนเห็นประเทศอื่นเป็นศัตรู หรือยกแต่ด้านดีของประเทศอื่นมาเทียบกับด้านไม่ดีของไทย คือโดยเจตนามันก็ดีแหละครับสำหรับการที่จะให้คนมีความกระตือรือร้น แต่ก็ควรใช้คำพูดเชิงสร้างสรรค์ ยกจุดเด่นจุดด้อยมาเทียบให้สมดุล และแทนที่จะมีแนวคิดแบบต้องกลัวคนอื่นแซงถึงจะเริ่มพัฒนากัน ก็ควรเป็นการปลูกฝังให้คนพัฒนาอยู่เสมอ แบบนี้น่าจะดีกว่า
ลองมาแสดงความเห็นกันดูครับ ถ้ามีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ