การทำวิปัสสนา ว่าด้วยหลักการและวิธีปฏิบัติ (โดยย่อ) อธิบายว่าอย่างไร (ภาคสอง)

การทำวิปัสสนา จากที่ผมตั้งกระทู้ครั้งก่อน มีผู้มาร่วมแสดงความคิดเห็นมากมาย ก็ขอบคุณทุกท่าน บางท่านก็คงไม่อยากมา แสดงเพราะ เวที่อาจเล็กไป
ส่วนว่าใครผิดหรือถูก เสียดายเราไม่มีอาจารย์มาเฉลย เพราะอาจารย์เราท่าน เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว
   เอาละครับภาคแรกผมยังไม่ได้เสนอความคิดเห็นของผม วันนี้เลยมาซ้ำอีกที เผื่อ ผิดถูกอย่างไร คอมเม้นท์มาได้เต็มที่ 
การทำวิปัสสนา ก็คือการทำ  การทำให้เกิด ภาวนามยะปัญญานั้นเอง
การเกิดปัญญา คำว่าปัญญา ก็หมายถึงความรู้  มีสามอย่างคือ
  1.  สุตมยะปัญญา  ปัญญาเกิดจากการฟัง  และการอ่าน เช่นการฟังการอ่าน พระสูตร เป็นต้น
  2.  จินตมยะปัญญา ปัญญา เกิดจากการตรึกพินิจวิเคราะห์จากสิ่งที่เราฟังจากข้อหนึ่ง 
  3. ภาวนามยะปัญญา ปัญญา เกิดจากการบำเพ็ญเพียรภาวนา 
สุตมยะปัญญา  และ จินตมยะปัญญา เป็นความรู้ในระดับจิต  ต่างจาก ภาวนามยะปัญญา ซึ่งเกิดในระดับญาณ
จิต กับญาณ มีความหมายอย่างไร
ผมเคยกล่าวว่า ในกรอบ ปรมัตถธรรม สี่ประการ ประกอบด้วย จิต เจตสิก รูป นิพพาน  ซึ่ง ถ้าเราศึกษาก็ต้องศึกษาในกรอบนี้ จิต เจตสิก รูป  ถือว่า เป็นขันธ์ห้า
ขันธ์ห้า เป็นสังขตะธรรม สามารถปรุงแต่งได้ต่างๆนาๆ  
ส่วน นิพพาน ในที่นี้ เป็นชื่อของนามธาตุอันหนึ่ง ซึ่งเป็นอสังขตะธรรม ไม่สามารถปรุงแต่งได้  
ทั้งสี่อย่างนี้ จิต เป็นตัวรับรู้อารมณ์  และ นิพพานธาตุก็ถือว่า เป็นตัวรู้ อีกตัวหนึ่งซึ่ง รู้เฉยๆ ทำอะไรไม่ได้  
ผมเคยได้ยินที่เขาว่า พระวัดป่าท่านบอกว่า  ของจริงพูดไม่ได้ พูดได้ไม่ใช่ของจริง  ประมาณนั้น  
เรื่อง ตัวผู้รู้สองตัวนี้ มีคนแย้งผมอย่างมาก
กลับมาที่ สุตมยะปัญญา และจินตะมยะปัญญา ทั้งสองนี้เป็นความรู้ระดับจิต สมมุตินะ ถ้านาย กอไก่ เป็นคนระดับมันสมอง ไอคิว 180 เก่งมาก อ่านพระไตรปิฏกทุลุปรุโปร่ง เข้าใจหมด
รู้ว่า ขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา  รู้แบบรู้ซ้ำ รู้ซาก จนจิต ยอมรับ เห็นกับหูกับตาว่า จิตก็เป็นอนัตตา จิตคิดเองได้ 
รู้ว่า ไม่มีตนในขันธ์ห้า ไม่มีขันธ์ห้าในตน  รู้อริยสัจสี่อย่าง ถึ่งแก่น  ประมาณนั้น
ท่านเชื่อหรือไม่  นาย กอไก่ ไม่สามารถ บรรลุธรรมได้ ถ้านาย กอไม่ภาวนา คือการบำเพ็ญเพียรทางใจ
การทำ ภาวนามยะปัญญานั้น 
ก็คือการป้อน ข้อมูลที่ได้จากความรู้ จาก สุตมยะปัญญา และจินตมยะปัญญา เพื่อที่มาป้อนให้กับตัวญาณ  ซึ่งการป้อนข้อมูลนี้ท่านเรียกว่าการน้อมจิต
ตัวญาณสร้างได้อย่างไร
ก็เป็นหลักสากลทุกสำนักวิปัสสนา สอนกันก็คือการทำ สติปัฏฐานสี่ นั้นเอง
ไม่ว่าซึ่งแต่ละสำนัก ก็เลือกเอาที่ชอบ เช่น การทำอานาปานสติ บางสำนัก ก็ดูจิต
หลักการทำสติปัฏฐานสี่ มีอยู่ว่า 
ใช้ฐานทั้งสี่อันไดอันหนึ่ง ในการสร้าง สติ  เมื่อมีสติ ก็สามารถสร้างสัมปชัญญะ ตาม
สัมปชัญญะ จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ ต้องมีสติก่อน  ส่วน สติที่เกิดบางอย่างก็ไม่มีสัมปชัญญะก็มี เช่นการเพ่งกสิณ แม้แต่ การทำอานาปานสติ ถ้าไม่ฝึกให้เกิดสัมปชัญญะ
ก็จะไม่เกิด ส่วนการดูจิต นั้น เมื่อมีสติจากการที่เกิด สภาวะจิตที่เคลื่อนไปเช่น เกิดความโกรธ มีสติ ซึ่งต้องมีการฝึกให้มีสติหลังโกรธ แล้ว ตัวสัมปชัญญะก็จะเกิดตามตัวสติ
อย่างอัตโนมัติ
สติ หมายถึงอะไร  สติหมายถึงการระลึกได้ของจิต เช่นเมื่อลมหายใจผ่านเข้ามากระทบปลายจมูก ก็ระลึกได้ว่า เช่นนี้คือลมหายใจเข้า  ลมหายใจออกก็เช่นกัน การดูจิต ก็ต้องฝึก
ในการจดจำว่า เมื่อเกิด จิต ที่มีโลภะ โทสะ โมหะ ต้องจำแบบเน้นๆ พอเกิดอีกครั้งจิตมันจะจำอัตโนมัติ  ต้องไปฟังวิธีจากสำนักพระอาจารย์ปราโมทย์ครับ
สติ จึงหมายถึง จิต ที่ระลึกได้ นั้นเอง
ส่วน สัมปชัญญะ คือการรู้สึกตัว  อันนี้อธิบายยาก ถ้าท่านเคยดูจิตมาก่อน  ขณะมีสติ มันจะตามด้วยรู้สึกตัวทันที แปบเดียว หรืออาจหลายแปบก็ได้
ถ้าเราฝึก สติจาก ลมหายใจเข้าออก  อันนี้เราต้องฝึกมีสัมปชัญญะ รู้สึกตัว ว่า นี้เรากำลังนั่งอยู่ ลมหายใจเข้า สั้น เราก็รู้ ลมหายใจออกสั้นก็รู้ อันนี้ลองไปอ่านจากพระสูตร ว่าด้วยการทำอานาปานสติครับ
สัมปชัญญะไม่ได้มาจากจิต อันนี้เถียงกันหลายกระทู้ ถ้าไม่เชื่อตรงนี้ก็ข้ามไป
สัมปชัญญะ คือการรู้สึกตัว เป็นการรับรู้ของ นิพพานธาตุ  
สมมุตินะครับ ถ้าเราทำอานาปานสติ 
เราสร้างสติอย่างต่อเนื่อง จากลมหายใจ สติที่มีกับสิ่งเดียวอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นจิตที่มีสมาธิ บางท่านก็เรียกว่าจิตตั้งมั้น
ขณะที่ สร้างสติอยู่ ก็ต้องสร้างสัมปชัญญะตาม สัมปชัญญะที่มีอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายไปเป็นญาณ
ท่านเคยได้ยินคำว่า  สุตมยะญาณ หรือไม่  ผมเคยอ่าน จากกระทู้ท่านหนึ่ง เอามาจากพระสูตร
ผมเข้าใจว่าอย่างนี้นะครับ
สมัยพระพุทธกาล ผู้ที่ฟังพระพุทธเจ้าเทศนาอยู่  สังเกตุพระสูตรมักจะมีคำซ้ำๆ กัน และยังเป็นคำถามซ้ำๆกันก็มี
ผมเข้าใจว่า คงเป็น การสกดให้คนฟัง คิดตาม และ ขณะคิด การฟังก็ต้องฟังอย่างมีสัมปชัญญะ  ด้วยอนุภาพของความศรัทธาที่อยู่ใกล้พระองค์ จิตก็นิ่ง สัมปชัญญะก็พร้อม
จนกลายไปเป็นญาณ 
การป้อนข้อมูลจากเสียงเทศนา สู่จิตมีสมาธิ  ส่งต่อญาณที่เกิด สามทอดแบบรวดเร็ว ก็เกิดวิปัสสนาญาณ คือรู้ในระดับญาณขณะที่ฟังพระพุทธเจ้าเทศนานั้นเอง
การทำวิปัสสนา ก็คือการป้อน ข้อมูล จากสุตมยะปัญญา และจิตมยะปัญญา เข้าสู่ญาณ ซึ่งตัวญาณก็คือมาจากการภาวนาด้วยสติปัฏฐานอันไดอันหนึ่ง
ข้อมูลที่ว่า นั้นก็คือ ความเป็นไตรลักษณ์ ของขันธ์ห้าอันไดก็ได้  ถ้าเป็นอนัตตา ก็ป้อนว่า ไม่มีตนในจิต ไม่มีจิตในตน ประมาณนั้น
การทำวิปัสสนา เท่าที่ผมเคยศึกษามา ที่นิยมกันก็คือการทำอานาปานสติ และการดูจิต
ถ้าในความเห็นผม การลงมือปฏิบัติ เราก็เอามาผสมกัน
ตอนแรก เราก็ฝึกดูจิตก่อน ให้ชำนาญ
การดูจิต ตอนแรก ก็ จับที่ลมหายใจเบาๆ  แล้วเมื่อ จิต เกิด โลภ อยากได้, จิตโกรธ , จิต ใจลอย เป็นต้น เราก็พยายามจำสภาวะเหล่านี้ให้หลายๆรอบ และเมื่อมันเกิดอีกจิตจำได้
ก็จะเกิดสติอัตโนมัติ ขณะเกิดสติจากการดูจิตข้อดี จะมีสัมปชัญญะเกิดตามมาเสมอ แล้วเราต้องดึงจิตมาอยู่กับลมหายใจอีกเป็นราวเกาะ เขาสอนกันอย่างนั้น
ต่อมา เมื่อเราฝึกดูจิต เป็นแล้ว คราวนี้ เราจับที่ลมหายใจเป็นหลักเลย  ลมออก มีสติ  ลมเข้า มีสติ ทุกครั้งต้องมีสัมปชัญญะตามเสมอ รู้ลมสั้น รู้ลมยาว  เมื่อจิตเกิดใจลอยเราก็มีสติ
จากการฝึกดูจิต แล้วเราก็ดึงกลับมาอยู่ที่ ลมหายใจ การเอาลมหายใจเป็นหลัก ก็เพราะเราสามารถทำจิตให้เป็นสมาธิ และสัมปชัญญะต่อเนื่อง ถ้าเราดูจิตล้วนๆ ใจเราก็จะไม่ตั้งมั้น
ถ้าเราฝึกจนถึงระดับจิตได้ฌาน ยากนอกจากผู้ที่เก่งจริงๆ  ชาวบ้านเราก็เอาแค่รู้สึกตัว มีสติ ตามด้วยสัมปชัญญะ ถ้าใจมันออกไปเช่นใจลอย เราก็มีสติ ดึงกลับมา
ทำจนชิน มันจะเห็นสิ่งต่างๆ เพราะการป้อนข้อมูลจากจิต สู่สัมปชัญญะ ก็ได้ เขาเรียกว่าการน้อมจิต
ถ้าอ่านพระสูตร ท่านก็กล่าวว่า 
"  [๑๓๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไป
อันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่ง
ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน
๔ ประการ. ๔ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑."
คือถ้าเรามี สติ และสัมปชัญญะ กำจัด อภิชฌา และ โทมสัสในโลกเสียได้  คือขณะรู้สึกตัว ก็ไม่ยินดียินร้าย กำจัดความอยากได้ใคร่มี ทิ้งให้หมด
ประมาณนั้น ตลอด 7 ปี พระสูตรรับประกันว่าได้บรรลุธรรมแน่นอน
ผมเข้าใจว่า ถ้ามีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ตลอดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ การป้อนข้อมูลให้ตัวญาณ หรือตัวสัมปชัญญะ ก็มีความเข้มข้นขึ้น สักวันมันต้อง
 เกิดปากเหมาะเคราะห์ดีเกิดบรรลุธรรมได้  อย่าลืมว่า ต้องมีระบบการน้อมจิต ขณะจิตเป็นสมาธิ ด้วย 
การเกิดอะไรขึ้นขณะบรรลุธรรมผมเคยเสนอกระทู้นี้ไปนานแล้วคงไม่มาเขียนอีก
ครับ บางอันก็รวบรัดเพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องพื้นๆ จึงนำมาร้อยเรียงกันเท่านั้น
อันนี้ยาวไปถ้าใครอ่านหมด นี้คงเป็น fc กันละครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่