อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 7.1
ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย และท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย สำหรับเวลานี้ ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อนี้ไปก็เป็นโอกาสที่ท่านทั้งหลายจะได้รับการศึกษาในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน สำหรับในระยะนี้เป็นระยะที่ท่านทั้งหลายศึกษาในด้านอานาปานุสสติกรรมฐาน ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงสนใจกับอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นปกติ สำหรับกรรมฐานกองนี้ผมจะพูดละเอียดกว่ากองอื่นๆ เพราะว่าเป็นแบบแผนที่มีความสำคัญ สำหรับกองต่อไปก็จะพูดโดยย่อ
คำว่า สนใจกับอานาปานุสสติกรรมฐาน ก็หมายความว่า จะนั่งอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะยืนก็ดี จะนอนก็ดี เอาจิตไปสนใจกับลมหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เวลาหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ อย่างนี้เป็นแบบหนึ่งของ
มหาสติปัฏฐานสูตร
สำหรับในแบบกรรมฐาน 40 เวลาหายใจเข้า มีความรู้สึกว่าลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกลมกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูก หรือว่าริมฝีปาก ถ้าคนมีริมฝีปากเชิดจะมีความรู้สึกว่าลมกระทบริมฝีปาก ถ้าริมฝีปากงุ้มจะมีความรู้สึกว่าลมกระทบจมูก ถ้ามีความรู้สึก 3 ฐาน ก็แสดงว่าการทรงอานาปานุสสติกรรมฐานของท่านเริ่มใช้ได้ ผมใช้คำว่า เริ่มใช้ได้ เพราะว่ายังใช้ไม่ได้เต็มที่ ถ้าจะใช้ให้ได้เต็มที่ก็ต้องมีความรู้สึกว่าลมหายใจเบาลง แต่ก็อย่าไปผ่อนลมหายใจ ให้เกิดความรู้สึกเอง และก็ในที่สุดไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ถ้าไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ นี่เป็นอาการของฌาน 4
ฉะนั้น อาการที่ท่านทั้งหลาย พากันพยายามรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกกันเป็นปกติ ก็จะเป็นการห้ามจิตไม่ให้ไปยุ่งกับนิวรณ์ 5 ประการ และก็จะเป็นการห้ามจิตหรือว่าป้องกันจิตไม่ให้ไปยุ่งกับอารมณ์ที่เป็นอกุศลทั้งหมด หลังจากนั้นจิตของท่านก็จะประกอบไปด้วยปัญญา ต่อนี้ไปจิตก็ก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้เข้าถึงวิปัสสนาญาน ฉะนั้นขอท่านพระโยคาวจรทุกท่าน จงอย่าทิ้งอารมณ์การรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกเสีย ถึงแม้ว่าท่านจะทำกองอื่นก็ตาม ต้องขึ้นอานาปานุสสติก่อนเสมอ
ความจริงเรื่องของพระโสดาบัน ผมก็คิดว่าจะหยุดตั้งแต่เมื่อคืนที่แล้ว แต่มาวันนี้มาคิดได้ว่า
ความจริงเรื่องการเป็นพระโสดาบันนี่เป็นยาก ที่ว่าเป็นยากก็เพราะว่าจิตดวงเดิมของเรา มีการคบหาสมาคมกับอารมณ์ที่เป็นอกุศลอยู่เสมอ ฉะนั้นจึงขอย้ำอีกสักครั้งหนึ่ง และก็ย้ำอีกวาระหนึ่ง คือการย้ำนี่ผมจะขอเอาความประพฤติ หรือการแนะนำของลัทธิฝ่ายตรงกันข้ามมาใช้ ความจริงเขาจะเป็นลัทธิอะไรก็ตาม ถ้าของเขาดีเราก็ควรนำมาใช้ ลัทธิอันนี้เขาจะเรียกว่าลัทธิอะไรไม่สำคัญ สำคัญอยู่ตรงที่การประพฤติปฎิบัติ เขาแนะนำกันว่าอย่างนี้
เด็กๆ ในสมาคมนั้นเขาแนะนำว่า
จงลืมพ่อ จงลืมแม่ จงลืมครูบาอาจารย์ ลืมพระมหากษัตริย์ ลืมทุกอย่างเสีย เรามีความต้องการอย่างเดียวคือสังคมนิยม
ทีนี้ประการที่ 2 โตขึ้นมาแล้วเมื่อถือปืนเข้าต่อสู้หวังจะยึดพื้นที่ เขาก็แนะนำว่า
จงติดเกาะติดประชาชน หมายความว่าประชาชนอยู่ที่ไหนเกาะติดที่นั่น ไม่ทำตนให้เป็นศัตรูกับประชาชน ทำตนให้เป็นมิตรกับประชาชน
ประการที่ 3
เกาะติดพื้นที่ พื้นที่ที่ใดที่เรารักษาอยู่ พื้นที่นั้นเราจะไม่ยอมให้เป็นที่อยู่ของข้าศึก หมายความว่าจะไม่ยอมให้ฝ่ายตรงกันข้าม เข้ามายุ่งกับพื้นที่นั้นได้
ประการที่ 4
เกาะติดกองทัพ คือหมายความว่าคู่ต่อสู้ของเราอยู่ที่ไหน เราจะเกาะติดที่นั่นไม่ยอมถอยเด็ดขาด
แล้วต่อมาคติของเขาก็มีว่า
มากูมุด หยุดกูแหย่ แย่กูตี หนีกูตาม อันนี้เป็นคติของเขา ถึงแม้ว่าจะเป็นคติการเมืองหรืออะไรก็ช่าง เรามีความต้องการอย่างเดียว นำนโยบายของเขามาใช้ในด้านธรรมะของเรา อันนี้ผมจะพูดเฉพาะขั้นพระโสดาบัน
คำว่า ลืม อันดับแรกเราก็จงลืมความทรงชีวิตตลอดกาลตลอดสมัยเสีย นี่ความรู้สึกเดิมของเรามีอยู่ว่าเราเกิดมาแล้วเราจะไม่ตาย อารมณ์อย่างนี้เราลืมเสียให้หมด จงมีความรู้สึกใหม่ว่า ความเกิดมีขึ้นมาได้ ความแก่ความแปรปรวนมันก็มีได้เหมือนกัน ความป่วยไข้ไม่สบายมันก็มีได้ ความตายมันก็มีได้ ฉะนั้นเราจะต้องตายแน่ อันนี้เราไม่ลืม เราลืมความรู้สึกที่คิดว่าจะไม่ตายเสีย หันเข้ามาหาความรู้สึกว่าเราจะต้องตายแน่ แต่ก่อนที่เราจะตาย เราก็ต้องเกาะติด เกาะติดอะไร เกาะติดความดี ให้ทำความรู้สึกไว้เสมอว่า ถ้าเราเป็นคนดี ถ้าตายจากคนเป็นผีเราก็เป็นผีดี ผีดีผีอะไร คือผีเทวดา ผีพรหม และผีพระนิพพาน เป็นอันว่าดินแดนที่เราจะไปอยู่ เป็นดินแดนที่มีความสุขมาก ถ้าดีมากก็สุขมาก ดีปานกลางสุขปานกลาง ดีน้อยสุขน้อย ดีน้อยสุขน้อยหมายถึงว่า เกิดบนสวรรค์เป็นเทวดา ดีปานกลางหมายถึงว่า เกิดเป็นพรหมอยู่ชั้นพรหม ดีถึงที่สุดดีมากก็หมายถึงว่า ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานไปพระนิพพาน นี่เราต้องเกาะติดความดี เมื่อเกาะติดความดีแล้ว ความดีที่เราจะพึงเกาะติดตามที่ผมพูดมาแล้วก็คือ
1. เราไม่ลืมใช้ปัญญาวินิจฉัยคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านี่เราจะเชื่อโดยที่เราไม่ใช้ปัญญาพิจารณาไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่ชอบ พระพุทธเจ้าทรงชอบคนที่ฟังแล้วนำไปคิด และก็ทดลองในการปฏิบัติ ในเมื่อทดลองมีผลแล้วจริงค่อยเชื่อท่าน ฉะนั้น อันดับแรก เราจะเชื่อพระพุทธเจ้า ก็ต้องอาศัยการพิจารณาเสียก่อนว่า คำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรมีผลจริงหรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าดีแน่ เราก็เชื่อพระพุทธเจ้า คือยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า ยอมรับพระธรรม ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์ที่พยายามร้อยกรองพระธรรมวินัยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำไว้ เพื่อให้เราศึกษากัน
อันนี้เราก็หมายความว่าเราเกาะติดพระพุทธเจ้า เราเกาะติดพระธรรม เราเกาะติดพระอริยสงฆ์ คำว่าเกาะติดพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า
1.
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง ซึ่งแปลว่า “เธอทั้งหลายจงอย่าทำความชั่วทั้งหมด ทั้งกาย วาจาและใจ” เราเกาะติดคำนี้ เราไม่ทำความชั่วทุกอย่าง
2.
กุสะลัสสูปะสัมปะทา พระองค์ทรงสอนว่า “เมื่อเราไม่ทำความชั่วแล้ว เราจงประพฤติแต่ความดี” เราก็เกาะติดตัวนี้สร้างความดีให้เกิดขึ้นในทุกด้านที่พระองค์ทรงสั่งสอนทั้งกายวาจาใจ
3.
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “เธอจงทำใจของเธอให้ผ่องใสจากกิเลส” อันนี้เราก็ต้องเกาะติดสมถะและวิปัสสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ 3 เป็นด้านของวิปัสสนา ข้อสองเป็นด้านของศีลและสมาธิ ข้อ 1 เป็นด้านการทำจิตให้มีความรู้สึกว่า ความชั่วเป็นโทษ เป็นทุกข์ เป็นภัย
เอตัง พุทธานะสาสะนัง พระพุทธเจ้าตรัสว่า “พระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสเหมือนกันอย่างนี้หมด” คำสอนอย่างนี้ที่เราจะรู้ได้ เพราะอาศัยพระสงฆ์เป็นผู้นำมา พระสงฆ์รับคำสอนจากพระพุทธเจ้าแล้วจำมา แล้วก็นำมาสอนพวกเรา ท่านประพฤติปฏิบัติได้แล้ว
ฉะนั้น เราจึงเกาะติด ลืมความชั่วเสียทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าความชั่วในอดีตที่มีมาแล้วทั้งหมดเราลืมมันเสีย คือว่าเราไม่หันไปประพฤติความชั่วใดๆ ทั้งหมด ทั้งกาย วาจา และใจ เราเข้ามาเกาะติดความดี คือคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ดูจริยาของพระพุทธเจ้าที่ทรงปฏิบัติมาอย่างไร เราเกาะติดจริยาแบบนั้น เป็นอันว่าเราเกาะติด แล้วก็ดูพระสงฆ์ทั้งหลายที่เป็นพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ ว่าท่านปฏิบัติอย่างไร เราก็เกาะติดจริยาอย่างนั้น อันนี้เป็นการเกาะติด
ต่อมาเราก็เกาะติดอีก เกาะติดอะไร คือเกาะติดศีล ศีลพระมีเท่าไหร่ 227 ศีลเณรมี 10 ศีลฆราวาสเอา 5 เป็นสำคัญ จะปฏิบัติศีล 8 ก็ได้ แต่ว่าศีล 8 ต้องถือเป็นสำคัญ เพราะว่าพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ฆราวาสก็ทรงแค่ศีล 5 เท่านั้น สำหรับพระเณรต้องถือว่าศีล 227 หรือศีล 10 เป็นศีลปรกติที่เราจะต้องปฏิบัติ จะไปปฏิบัติศีล 5 ไม่ได้ และก็จงระวังว่าถ้าเราบกพร่องในศีล 5 ก็หมายถึงว่าศีล 10 หรือศีล 227 ไม่มีสำหรับเรา เราเป็นผู้ไม่คู่ควรกับผ้ากาสาวพัสตร์ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุมัติให้กับเรา ฉะนั้นเมื่อเราจะเกาะติดศีล เราจะเกาะติดศีล เราก็ต้องลืม ลืมอะไร อันนี้คุณฟังไว้แล้วก็จำไว้นะ ให้มันเป็นนิทัศนะประจำใจของเรา เราฟังคำสอนกันมากกว่าที่อื่นทั้งหมด แต่ทว่าถ้าจิตใจของท่านไม่สามารถจะลดความชั่ว ทรงความเป็นพระโสดาบันได้ ผมจะเสียดายเวลาที่ผมแนะนำอย่างยิ่ง
( มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 7.2 https://ppantip.com/topic/43122021 )
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 7.1
ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย และท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย สำหรับเวลานี้ ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อนี้ไปก็เป็นโอกาสที่ท่านทั้งหลายจะได้รับการศึกษาในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน สำหรับในระยะนี้เป็นระยะที่ท่านทั้งหลายศึกษาในด้านอานาปานุสสติกรรมฐาน ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงสนใจกับอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นปกติ สำหรับกรรมฐานกองนี้ผมจะพูดละเอียดกว่ากองอื่นๆ เพราะว่าเป็นแบบแผนที่มีความสำคัญ สำหรับกองต่อไปก็จะพูดโดยย่อ
คำว่า สนใจกับอานาปานุสสติกรรมฐาน ก็หมายความว่า จะนั่งอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะยืนก็ดี จะนอนก็ดี เอาจิตไปสนใจกับลมหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เวลาหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ อย่างนี้เป็นแบบหนึ่งของ มหาสติปัฏฐานสูตร
สำหรับในแบบกรรมฐาน 40 เวลาหายใจเข้า มีความรู้สึกว่าลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกลมกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูก หรือว่าริมฝีปาก ถ้าคนมีริมฝีปากเชิดจะมีความรู้สึกว่าลมกระทบริมฝีปาก ถ้าริมฝีปากงุ้มจะมีความรู้สึกว่าลมกระทบจมูก ถ้ามีความรู้สึก 3 ฐาน ก็แสดงว่าการทรงอานาปานุสสติกรรมฐานของท่านเริ่มใช้ได้ ผมใช้คำว่า เริ่มใช้ได้ เพราะว่ายังใช้ไม่ได้เต็มที่ ถ้าจะใช้ให้ได้เต็มที่ก็ต้องมีความรู้สึกว่าลมหายใจเบาลง แต่ก็อย่าไปผ่อนลมหายใจ ให้เกิดความรู้สึกเอง และก็ในที่สุดไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ถ้าไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ นี่เป็นอาการของฌาน 4
ฉะนั้น อาการที่ท่านทั้งหลาย พากันพยายามรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกกันเป็นปกติ ก็จะเป็นการห้ามจิตไม่ให้ไปยุ่งกับนิวรณ์ 5 ประการ และก็จะเป็นการห้ามจิตหรือว่าป้องกันจิตไม่ให้ไปยุ่งกับอารมณ์ที่เป็นอกุศลทั้งหมด หลังจากนั้นจิตของท่านก็จะประกอบไปด้วยปัญญา ต่อนี้ไปจิตก็ก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้เข้าถึงวิปัสสนาญาน ฉะนั้นขอท่านพระโยคาวจรทุกท่าน จงอย่าทิ้งอารมณ์การรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกเสีย ถึงแม้ว่าท่านจะทำกองอื่นก็ตาม ต้องขึ้นอานาปานุสสติก่อนเสมอ
ความจริงเรื่องของพระโสดาบัน ผมก็คิดว่าจะหยุดตั้งแต่เมื่อคืนที่แล้ว แต่มาวันนี้มาคิดได้ว่า ความจริงเรื่องการเป็นพระโสดาบันนี่เป็นยาก ที่ว่าเป็นยากก็เพราะว่าจิตดวงเดิมของเรา มีการคบหาสมาคมกับอารมณ์ที่เป็นอกุศลอยู่เสมอ ฉะนั้นจึงขอย้ำอีกสักครั้งหนึ่ง และก็ย้ำอีกวาระหนึ่ง คือการย้ำนี่ผมจะขอเอาความประพฤติ หรือการแนะนำของลัทธิฝ่ายตรงกันข้ามมาใช้ ความจริงเขาจะเป็นลัทธิอะไรก็ตาม ถ้าของเขาดีเราก็ควรนำมาใช้ ลัทธิอันนี้เขาจะเรียกว่าลัทธิอะไรไม่สำคัญ สำคัญอยู่ตรงที่การประพฤติปฎิบัติ เขาแนะนำกันว่าอย่างนี้
เด็กๆ ในสมาคมนั้นเขาแนะนำว่า จงลืมพ่อ จงลืมแม่ จงลืมครูบาอาจารย์ ลืมพระมหากษัตริย์ ลืมทุกอย่างเสีย เรามีความต้องการอย่างเดียวคือสังคมนิยม
ทีนี้ประการที่ 2 โตขึ้นมาแล้วเมื่อถือปืนเข้าต่อสู้หวังจะยึดพื้นที่ เขาก็แนะนำว่า จงติดเกาะติดประชาชน หมายความว่าประชาชนอยู่ที่ไหนเกาะติดที่นั่น ไม่ทำตนให้เป็นศัตรูกับประชาชน ทำตนให้เป็นมิตรกับประชาชน
ประการที่ 3 เกาะติดพื้นที่ พื้นที่ที่ใดที่เรารักษาอยู่ พื้นที่นั้นเราจะไม่ยอมให้เป็นที่อยู่ของข้าศึก หมายความว่าจะไม่ยอมให้ฝ่ายตรงกันข้าม เข้ามายุ่งกับพื้นที่นั้นได้
ประการที่ 4 เกาะติดกองทัพ คือหมายความว่าคู่ต่อสู้ของเราอยู่ที่ไหน เราจะเกาะติดที่นั่นไม่ยอมถอยเด็ดขาด
แล้วต่อมาคติของเขาก็มีว่า มากูมุด หยุดกูแหย่ แย่กูตี หนีกูตาม อันนี้เป็นคติของเขา ถึงแม้ว่าจะเป็นคติการเมืองหรืออะไรก็ช่าง เรามีความต้องการอย่างเดียว นำนโยบายของเขามาใช้ในด้านธรรมะของเรา อันนี้ผมจะพูดเฉพาะขั้นพระโสดาบัน
คำว่า ลืม อันดับแรกเราก็จงลืมความทรงชีวิตตลอดกาลตลอดสมัยเสีย นี่ความรู้สึกเดิมของเรามีอยู่ว่าเราเกิดมาแล้วเราจะไม่ตาย อารมณ์อย่างนี้เราลืมเสียให้หมด จงมีความรู้สึกใหม่ว่า ความเกิดมีขึ้นมาได้ ความแก่ความแปรปรวนมันก็มีได้เหมือนกัน ความป่วยไข้ไม่สบายมันก็มีได้ ความตายมันก็มีได้ ฉะนั้นเราจะต้องตายแน่ อันนี้เราไม่ลืม เราลืมความรู้สึกที่คิดว่าจะไม่ตายเสีย หันเข้ามาหาความรู้สึกว่าเราจะต้องตายแน่ แต่ก่อนที่เราจะตาย เราก็ต้องเกาะติด เกาะติดอะไร เกาะติดความดี ให้ทำความรู้สึกไว้เสมอว่า ถ้าเราเป็นคนดี ถ้าตายจากคนเป็นผีเราก็เป็นผีดี ผีดีผีอะไร คือผีเทวดา ผีพรหม และผีพระนิพพาน เป็นอันว่าดินแดนที่เราจะไปอยู่ เป็นดินแดนที่มีความสุขมาก ถ้าดีมากก็สุขมาก ดีปานกลางสุขปานกลาง ดีน้อยสุขน้อย ดีน้อยสุขน้อยหมายถึงว่า เกิดบนสวรรค์เป็นเทวดา ดีปานกลางหมายถึงว่า เกิดเป็นพรหมอยู่ชั้นพรหม ดีถึงที่สุดดีมากก็หมายถึงว่า ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานไปพระนิพพาน นี่เราต้องเกาะติดความดี เมื่อเกาะติดความดีแล้ว ความดีที่เราจะพึงเกาะติดตามที่ผมพูดมาแล้วก็คือ
1. เราไม่ลืมใช้ปัญญาวินิจฉัยคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านี่เราจะเชื่อโดยที่เราไม่ใช้ปัญญาพิจารณาไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่ชอบ พระพุทธเจ้าทรงชอบคนที่ฟังแล้วนำไปคิด และก็ทดลองในการปฏิบัติ ในเมื่อทดลองมีผลแล้วจริงค่อยเชื่อท่าน ฉะนั้น อันดับแรก เราจะเชื่อพระพุทธเจ้า ก็ต้องอาศัยการพิจารณาเสียก่อนว่า คำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรมีผลจริงหรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าดีแน่ เราก็เชื่อพระพุทธเจ้า คือยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า ยอมรับพระธรรม ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์ที่พยายามร้อยกรองพระธรรมวินัยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำไว้ เพื่อให้เราศึกษากัน
อันนี้เราก็หมายความว่าเราเกาะติดพระพุทธเจ้า เราเกาะติดพระธรรม เราเกาะติดพระอริยสงฆ์ คำว่าเกาะติดพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า
1.สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง ซึ่งแปลว่า “เธอทั้งหลายจงอย่าทำความชั่วทั้งหมด ทั้งกาย วาจาและใจ” เราเกาะติดคำนี้ เราไม่ทำความชั่วทุกอย่าง
2.กุสะลัสสูปะสัมปะทา พระองค์ทรงสอนว่า “เมื่อเราไม่ทำความชั่วแล้ว เราจงประพฤติแต่ความดี” เราก็เกาะติดตัวนี้สร้างความดีให้เกิดขึ้นในทุกด้านที่พระองค์ทรงสั่งสอนทั้งกายวาจาใจ
3.สะจิตตะปะริโยทะปะนัง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “เธอจงทำใจของเธอให้ผ่องใสจากกิเลส” อันนี้เราก็ต้องเกาะติดสมถะและวิปัสสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ 3 เป็นด้านของวิปัสสนา ข้อสองเป็นด้านของศีลและสมาธิ ข้อ 1 เป็นด้านการทำจิตให้มีความรู้สึกว่า ความชั่วเป็นโทษ เป็นทุกข์ เป็นภัย
เอตัง พุทธานะสาสะนัง พระพุทธเจ้าตรัสว่า “พระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสเหมือนกันอย่างนี้หมด” คำสอนอย่างนี้ที่เราจะรู้ได้ เพราะอาศัยพระสงฆ์เป็นผู้นำมา พระสงฆ์รับคำสอนจากพระพุทธเจ้าแล้วจำมา แล้วก็นำมาสอนพวกเรา ท่านประพฤติปฏิบัติได้แล้ว
ฉะนั้น เราจึงเกาะติด ลืมความชั่วเสียทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าความชั่วในอดีตที่มีมาแล้วทั้งหมดเราลืมมันเสีย คือว่าเราไม่หันไปประพฤติความชั่วใดๆ ทั้งหมด ทั้งกาย วาจา และใจ เราเข้ามาเกาะติดความดี คือคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ดูจริยาของพระพุทธเจ้าที่ทรงปฏิบัติมาอย่างไร เราเกาะติดจริยาแบบนั้น เป็นอันว่าเราเกาะติด แล้วก็ดูพระสงฆ์ทั้งหลายที่เป็นพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ ว่าท่านปฏิบัติอย่างไร เราก็เกาะติดจริยาอย่างนั้น อันนี้เป็นการเกาะติด
ต่อมาเราก็เกาะติดอีก เกาะติดอะไร คือเกาะติดศีล ศีลพระมีเท่าไหร่ 227 ศีลเณรมี 10 ศีลฆราวาสเอา 5 เป็นสำคัญ จะปฏิบัติศีล 8 ก็ได้ แต่ว่าศีล 8 ต้องถือเป็นสำคัญ เพราะว่าพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ฆราวาสก็ทรงแค่ศีล 5 เท่านั้น สำหรับพระเณรต้องถือว่าศีล 227 หรือศีล 10 เป็นศีลปรกติที่เราจะต้องปฏิบัติ จะไปปฏิบัติศีล 5 ไม่ได้ และก็จงระวังว่าถ้าเราบกพร่องในศีล 5 ก็หมายถึงว่าศีล 10 หรือศีล 227 ไม่มีสำหรับเรา เราเป็นผู้ไม่คู่ควรกับผ้ากาสาวพัสตร์ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุมัติให้กับเรา ฉะนั้นเมื่อเราจะเกาะติดศีล เราจะเกาะติดศีล เราก็ต้องลืม ลืมอะไร อันนี้คุณฟังไว้แล้วก็จำไว้นะ ให้มันเป็นนิทัศนะประจำใจของเรา เราฟังคำสอนกันมากกว่าที่อื่นทั้งหมด แต่ทว่าถ้าจิตใจของท่านไม่สามารถจะลดความชั่ว ทรงความเป็นพระโสดาบันได้ ผมจะเสียดายเวลาที่ผมแนะนำอย่างยิ่ง
( มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 7.2 https://ppantip.com/topic/43122021 )