สภาพัฒน์เผยจีดีพีไตรมาส 1 ติดลบ 2.6% แนะเร่งฉีดวัคซีน ฟื้นเศรษฐกิจ
https://www.matichon.co.th/economy/news_2727289
สภาพัฒน์เผยจีดีพีไตรมาส 1 ติดลบ 2.6% แนะเร่งฉีดวัคซีน ฟื้นเศรษฐกิจ
นาย
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แถลงข่าวรายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1 ประจำปี2564 ระบุว่า จีดีพีติดลบ 2.6% ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2563 ที่ติดลบ 4.2% และเมื่อปรับผลฤดูกาลออกแล้ว จีดีพีขยายตัวดีขึ้นขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 0.2%
เมื่อดูด้านการใช้จ่ายพบว่า การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน หดตัวติดลบ 0.5% ภาครัฐ ขยายตัว 2.1% การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 3.0% การลงทุนภาครัฐ ขยายตัว 19.6% ปริมาณการส่งออกภาคสินค้า ขยายตัว 3.2% ปริมาณการส่งออกภาคบริการ หดตัวติดลบ 63.5%
นาย
ดนุชา กล่าวว่า คาดการณ์ว่าจีดีพีปี 2564 จะขยายตัว 1.5 – 2.5 % หรือประมาณ 2.0% ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ และการปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัว 10.3% ขณะที่การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 1.6% และ 4.3% ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัว 9.3% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.0 – 2.0% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.7% ของจีดีพี
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย คือ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความล่าช้าในการกระจายวัคซีน ทำให้มีแนวโน้มการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวมีความล่าช้า ประเมินตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5 แสนคน สร้างรายได้เพียง 1.7 แสนล้านบาท ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก อีกทั้งฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจมีปัญหาสภาพคล่อง ในขณะที่ตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
นาย
ดนุชา กล่าวว่า การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2564 ควรให้ความสำคัญกับ การควบคุมการแพร่ระบาด และการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงในระลอกใหม่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและช่วยเหลือเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด การส่งเสริมส่งออกสินค้า การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ
“วัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยสามารถเคลื่อนตัวไปได้ในระยะถัดไป เพราะฉะนั้นขอความร่วมมือในการรับฟังข้อมูลและกระจายข้อมูล จากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เพื่อที่จะให้การฉีดวัคซีนดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศไทยได้ ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น” นาย
ดนุชา กล่าว
นักท่องเที่ยวไทยปีนี้ต่ำเป้า ร่วงเหลือ‘90ล้านคน-ครั้ง’
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/938325
“ททท.” ประเมินตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศปีนี้ต่ำเป้า คาดนักท่องเที่ยวไทยร่วงเหลือ 90 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ 4.82 แสนล้าน จาก 100-120 ล้านคน-ครั้ง รายได้ 5.5 แสนล้าน เตรียมพร้อมแผนกระตุ้นทันทีหลังสถานการณ์คลี่คลาย
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.ประเมินแนวโน้มตลาดท่องเที่ยวในประเทศปี 2564 คาดมีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยอยู่ที่ 90 ล้านคน-ครั้ง หรือขอไม่น้อยกว่าปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 90.52 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ 4.82 แสนล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การใช้จ่ายด้านท่องเที่ยวของคนไทยน่าจะลดน้อยลง หลังจากช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไม่ถึง 20 ล้านคน-ครั้ง
“แม้อาจจะไม่ได้ตามเป้าหมายใหม่ที่จำนวนนักท่องเที่ยวไทย 100-120 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ 5.5 แสนล้านบาท ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ททท. เพิ่งปรับเป้าไปล่าสุดเมื่อปลายเดือน เม.ย. แต่อยากขอไม่น้อยกว่าปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 90.52 ล้านคน-ครั้ง ซึ่ง ททท.เตรียมกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศทันทีที่สถานการณ์โควิดระลอก 3 คลี่คลาย หลังจากคนไทยอัดอั้น เดินทางไปไหนไม่ได้ ต้องเร่งให้เกิดกระแสการเดินทางและใช้จ่ายมากขึ้น”
ทั้งนี้ ยังมีโครงการรัฐส่งเสริมท่องเที่ยวภายในประเทศอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 ซึ่งเพิ่มจำนวนสิทธิอีก 2 ล้านสิทธิใหม่ (จากเดิม 6 ล้านสิทธิ เป็น 8 ล้านสิทธิ) และโครงการทัวร์เที่ยวไทย จำนวน 1 ล้านสิทธิ เบื้องต้นคาดว่าน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงปลายเดือน มิ.ย.หรือต้นเดือน ก.ค.นี้ แต่ต้องขอหารือกับนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอีกครั้ง เพื่อสรุประยะเวลาดำเนินการโครงการอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ททท.ได้ยื่นหนังสือแจ้งต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เรื่องขอเลื่อนทั้ง 2 โครงการออกไปก่อน เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณ พรก.เงินกู้ฯ ตามเงื่อนไขต้องใช้ให้เสร็จภายในปีปฏิทิน 2564 และต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือนเพื่อจัดการงานธุรการหลังสิ้นสุดทั้ง 2 โครงการ เพราะฉะนั้นเมื่อต้องเลื่อนจากกำหนดเดิมตั้งแต่เดือน พ.ค.-31 ส.ค.นี้ สามารถเลื่อนได้เต็มที่ให้สิ้นสุดโครงการได้ไม่เกินวันที่ 31 ต.ค.นี้
โดยโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 และทัวร์เที่ยวไทยน่าจะช่วยผลักดันเพิ่มความถี่การเดินทาง เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเดินทาง 95-100 ล้านคน-ครั้ง ส่วนรายได้จากตลาดในประเทศคงต้องไปลุ้นอีกทีปลายปีนี้
ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) ได้หารือกับ ททท.ถึงความเป็นไปได้ในการปรับเงื่อนไขโครงการทัวร์เที่ยวไทยให้คนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สามารถซื้อแพ็คเกจทัวร์ท่องเที่ยวผ่านบริษัทนำเที่ยวได้ในทุกๆ วัน ไม่จำกัดเฉพาะวันธรรมดาตามเงื่อนไขเดิม เพื่อขอให้เกิดการท่องเที่ยวจริง จะเป็นวันธรรมดาหรือช่วงสุดสัปดาห์ก็ได้
นอกเหนือจาก 2 โครงการรัฐดังกล่าวแล้ว ททท.ยังได้เตรียมแคมเปญกระตุ้นท่องเที่ยวไว้หลายโครงการ เช่น แคมเปญเปิดตัวแหล่งท่องเที่ยวอันซีน 25 แห่ง
“Unseen New Series” ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่เป็นรู้จักอยู่แล้วไม่น่าจะกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวได้ จำเป็นต้องมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ออกมาดึงดูด
“ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามอีกอย่าง หากไทยสามารถเปิดประเทศตามไทม์ไลน์ ผ่านโมเดลแซนด์บ็อกซ์ นำร่องภูเก็ต วันที่ 1 ก.ค.นี้ ก็น่าจะเห็นคนไทยกลุ่มกระเป๋าหนักออกเดินทางเที่ยวต่างประเทศได้เช่นกัน และยังต้องพิจารณาถึงซีนาริโอต่างๆ ประกอบ เช่น เมื่อประเทศไทยเปิดแซนด์บ็อกซ์ในบางพื้นที่อย่างภูเก็ต หรือ สมุย ในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ นักท่องเที่ยวไทยบางส่วนอาจกังวลไม่กล้าเดินทางหรือไม่ เมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาแม้จะเป็นกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้วก็ตาม”
JJNY : จีดีพีไตรมาส1ติดลบ2.6%│นทท.ไทยปีนี้ต่ำเป้า│ชัชชาติอึ้งงบสู้โควิดเรือนจำทั่วปท.แค่7.5 แสน│ส.ส.พท.ส่งสับปะรดแจก
https://www.matichon.co.th/economy/news_2727289
สภาพัฒน์เผยจีดีพีไตรมาส 1 ติดลบ 2.6% แนะเร่งฉีดวัคซีน ฟื้นเศรษฐกิจ
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แถลงข่าวรายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1 ประจำปี2564 ระบุว่า จีดีพีติดลบ 2.6% ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2563 ที่ติดลบ 4.2% และเมื่อปรับผลฤดูกาลออกแล้ว จีดีพีขยายตัวดีขึ้นขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 0.2%
เมื่อดูด้านการใช้จ่ายพบว่า การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน หดตัวติดลบ 0.5% ภาครัฐ ขยายตัว 2.1% การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 3.0% การลงทุนภาครัฐ ขยายตัว 19.6% ปริมาณการส่งออกภาคสินค้า ขยายตัว 3.2% ปริมาณการส่งออกภาคบริการ หดตัวติดลบ 63.5%
นายดนุชา กล่าวว่า คาดการณ์ว่าจีดีพีปี 2564 จะขยายตัว 1.5 – 2.5 % หรือประมาณ 2.0% ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ และการปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัว 10.3% ขณะที่การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 1.6% และ 4.3% ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัว 9.3% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.0 – 2.0% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.7% ของจีดีพี
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย คือ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความล่าช้าในการกระจายวัคซีน ทำให้มีแนวโน้มการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวมีความล่าช้า ประเมินตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5 แสนคน สร้างรายได้เพียง 1.7 แสนล้านบาท ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก อีกทั้งฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจมีปัญหาสภาพคล่อง ในขณะที่ตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
นายดนุชา กล่าวว่า การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2564 ควรให้ความสำคัญกับ การควบคุมการแพร่ระบาด และการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงในระลอกใหม่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและช่วยเหลือเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด การส่งเสริมส่งออกสินค้า การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ
“วัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยสามารถเคลื่อนตัวไปได้ในระยะถัดไป เพราะฉะนั้นขอความร่วมมือในการรับฟังข้อมูลและกระจายข้อมูล จากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เพื่อที่จะให้การฉีดวัคซีนดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศไทยได้ ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น” นายดนุชา กล่าว
นักท่องเที่ยวไทยปีนี้ต่ำเป้า ร่วงเหลือ‘90ล้านคน-ครั้ง’
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/938325
“ททท.” ประเมินตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศปีนี้ต่ำเป้า คาดนักท่องเที่ยวไทยร่วงเหลือ 90 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ 4.82 แสนล้าน จาก 100-120 ล้านคน-ครั้ง รายได้ 5.5 แสนล้าน เตรียมพร้อมแผนกระตุ้นทันทีหลังสถานการณ์คลี่คลาย
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.ประเมินแนวโน้มตลาดท่องเที่ยวในประเทศปี 2564 คาดมีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยอยู่ที่ 90 ล้านคน-ครั้ง หรือขอไม่น้อยกว่าปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 90.52 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ 4.82 แสนล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การใช้จ่ายด้านท่องเที่ยวของคนไทยน่าจะลดน้อยลง หลังจากช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไม่ถึง 20 ล้านคน-ครั้ง
“แม้อาจจะไม่ได้ตามเป้าหมายใหม่ที่จำนวนนักท่องเที่ยวไทย 100-120 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ 5.5 แสนล้านบาท ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ททท. เพิ่งปรับเป้าไปล่าสุดเมื่อปลายเดือน เม.ย. แต่อยากขอไม่น้อยกว่าปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 90.52 ล้านคน-ครั้ง ซึ่ง ททท.เตรียมกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศทันทีที่สถานการณ์โควิดระลอก 3 คลี่คลาย หลังจากคนไทยอัดอั้น เดินทางไปไหนไม่ได้ ต้องเร่งให้เกิดกระแสการเดินทางและใช้จ่ายมากขึ้น”
ทั้งนี้ ยังมีโครงการรัฐส่งเสริมท่องเที่ยวภายในประเทศอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 ซึ่งเพิ่มจำนวนสิทธิอีก 2 ล้านสิทธิใหม่ (จากเดิม 6 ล้านสิทธิ เป็น 8 ล้านสิทธิ) และโครงการทัวร์เที่ยวไทย จำนวน 1 ล้านสิทธิ เบื้องต้นคาดว่าน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงปลายเดือน มิ.ย.หรือต้นเดือน ก.ค.นี้ แต่ต้องขอหารือกับนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอีกครั้ง เพื่อสรุประยะเวลาดำเนินการโครงการอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ททท.ได้ยื่นหนังสือแจ้งต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เรื่องขอเลื่อนทั้ง 2 โครงการออกไปก่อน เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณ พรก.เงินกู้ฯ ตามเงื่อนไขต้องใช้ให้เสร็จภายในปีปฏิทิน 2564 และต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือนเพื่อจัดการงานธุรการหลังสิ้นสุดทั้ง 2 โครงการ เพราะฉะนั้นเมื่อต้องเลื่อนจากกำหนดเดิมตั้งแต่เดือน พ.ค.-31 ส.ค.นี้ สามารถเลื่อนได้เต็มที่ให้สิ้นสุดโครงการได้ไม่เกินวันที่ 31 ต.ค.นี้
โดยโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 และทัวร์เที่ยวไทยน่าจะช่วยผลักดันเพิ่มความถี่การเดินทาง เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเดินทาง 95-100 ล้านคน-ครั้ง ส่วนรายได้จากตลาดในประเทศคงต้องไปลุ้นอีกทีปลายปีนี้
ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) ได้หารือกับ ททท.ถึงความเป็นไปได้ในการปรับเงื่อนไขโครงการทัวร์เที่ยวไทยให้คนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สามารถซื้อแพ็คเกจทัวร์ท่องเที่ยวผ่านบริษัทนำเที่ยวได้ในทุกๆ วัน ไม่จำกัดเฉพาะวันธรรมดาตามเงื่อนไขเดิม เพื่อขอให้เกิดการท่องเที่ยวจริง จะเป็นวันธรรมดาหรือช่วงสุดสัปดาห์ก็ได้
นอกเหนือจาก 2 โครงการรัฐดังกล่าวแล้ว ททท.ยังได้เตรียมแคมเปญกระตุ้นท่องเที่ยวไว้หลายโครงการ เช่น แคมเปญเปิดตัวแหล่งท่องเที่ยวอันซีน 25 แห่ง “Unseen New Series” ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่เป็นรู้จักอยู่แล้วไม่น่าจะกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวได้ จำเป็นต้องมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ออกมาดึงดูด
“ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามอีกอย่าง หากไทยสามารถเปิดประเทศตามไทม์ไลน์ ผ่านโมเดลแซนด์บ็อกซ์ นำร่องภูเก็ต วันที่ 1 ก.ค.นี้ ก็น่าจะเห็นคนไทยกลุ่มกระเป๋าหนักออกเดินทางเที่ยวต่างประเทศได้เช่นกัน และยังต้องพิจารณาถึงซีนาริโอต่างๆ ประกอบ เช่น เมื่อประเทศไทยเปิดแซนด์บ็อกซ์ในบางพื้นที่อย่างภูเก็ต หรือ สมุย ในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ นักท่องเที่ยวไทยบางส่วนอาจกังวลไม่กล้าเดินทางหรือไม่ เมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาแม้จะเป็นกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้วก็ตาม”