ธปท.เผยเศรษฐกิจไตรมาส 2/67 ขยายตัวโตเนื่อง หลังไตรมาสแรกขยายตัว 1.5% ดีกว่าคาดการณ์ ชี้ตัวเลขกลับมาบวกหลายตัว ระบุ เศรษฐกิจเดือน เม.ย.ปรับดีขึ้น อานิสงส์ภาคท่องเที่ยว-รายรับยังดี ด้านการส่งออกส่งสัญญาณฟื้นตัว คาดทั้งปียังโต 2% ส่วนเงินเฟ้อกลับเข้ากรอบหลังพลิกบวก 0.19% ส่วนค่าเงินบาทเดือน พ.ค.แข็งค่าเฉลี่ย 36.61 บาทต่อดอลลาร์
วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/2567 ที่ตัวเลขออกมาขยายตัว 1.5% ถือว่าดีกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ 0.8% และสูงกว่าที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มองไว้ที่ระดับ 1% ซึ่งมองว่าเป็นจุดตั้งต้นของปีที่ค่อนข้างดีและสูงกว่าคาด
อย่างไรก็ดี อาจจะต้องติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2567 ต่อไป แต่เชื่อว่าจะเป็นจุดเปลี่ยน (Turning Point) เนื่องจากตัวเลขหลายตัวกลับมาเป็นบวกแล้ว
“หากดูตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 1/67 ออกมา 1.5% สูงกว่าตลาดคาดและ กนง.คาดไว้ที่ระดับ 1% เรียกว่าอุ่นใจ แต่เราต้องดูจุด Turning Point ในไตรมาสที่ 2/67 แต่เชื่อว่าเทียบ YoY น่าจะดีกว่า Q1/67 ตามที่มีการแถลงครั้งก่อน”
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจและการเงินเดือนเมษายน 2567 ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคบริการที่ยังขยายตัว สอดคล้องกับรายรับและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแรงส่งต่อเนื่อง และการส่งออกมีสัญญาณปรับดีขึ้น แต่อาจจะไม่ได้ปรับดีขึ้นทุกมิติ เนื่องจากยังมีปัจจัยเชิงโครงสร้าง
โดยภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าจะเข้าช่วง Low Season แต่รายรับยังปรับเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามา 3 ล้านคน มีอัตราการเติบโต 4.4% มาจากกลุ่มมุสลิม เช่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง และจีนที่กลับเข้ามาเพิ่มขึ้น ส่วนรายรับเพิ่มขึ้น 7.1% เทียบเดือนต่อเดือน มองไปในเดือนพฤษภาคมคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวยังปรับเพิ่มขึ้น และเป็นแรงส่งภาคบริการขยายตัว 3.0% ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งภาคการค้าและยอดขายรถยนต์ โรงแรม-อาหาร-ขนส่งปรับดีขึ้น
ส่วนการบริโภคเอกชนยังปรับดีขึ้นขยายตัว 2.6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และขยายตัว 1.6% เดือนก่อนหน้า (MoM) โดยเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า เช่น สินค้าคงทนตามยอดขายรถยนต์ที่มีการส่งมอบจากงานมอเตอร์โชว์ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้น 3.6% (YoY) และเติบโต 5.0% (MoM) เพิ่มในส่วนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ การก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง มองไปข่างหน้าความเชื่อมั่นการลงทุนอยู่ในระดับทรงตัวไม่ได้เปลี่ยนแปลง
ด้านภาคการส่งออกปรับเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนที่รวมและไม่รวมทองคำ โดยไม่รวมขยายตัว 8.6% (YoY) และขยายตัว 4.8% (MoM) ซึ่งปรับดีขึ้นในหลายหมวดสินค้า เช่น อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว 18% สะท้อนสัญญาณการฟื้นตัวตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นไปตามคาดของ ธปท.
อย่างไรก็ดี มีบางหมวดสินค้าที่ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น ฮาร์ดดิกส์ไดร์ฟที่ต่ำต่อเนื่อง โดยการส่งออกขยายตัวดี คาดว่าทั้งปีจะอยู่ที่ 2% เป็นผลให้ภาคการผลิต (PMI) ปรับดีขึ้น 3.4% (YoY) และ 3.5% (MoM) ทั้งในหมวดยานยนต์ และอาหารและเครื่องดื่ม
ส่วนตลาดแรงงานภาพรวมปรับดีขึ้นมาจากภาคการบริการที่มีการจ้างงานมากขึ้น และผู้รับสิทธิว่างงานปรับสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในหมวดภาคการผลิต เช่น โลหะแปรรูป ซึ่งสอดคล้องกับภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่ยังได้รับผลกระทบ ส่วนการลงทุนภาครัฐ ในส่วนของรายจ่ายประจำ -3.0% (YoY) และตัวที่ลดลงต่อเนื่องจะเป็นรายจ่ายลงทุนที่มาจากงบประมาณที่มีความล่าช้า โดย -45% ขณะที่รัฐวิสาหกิจขยายตัว 58.6%
โดยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายนกลับมาเป็นบวก 0.19% หลังจากติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน ทั้งนี้ เงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายนอยู่ที่ 0.19% จากเดือนก่อนหดตัว -0.4% มาจากราคาอาหารสดติดลบน้อยจาก -1.9% มาอยู่ที่ -0.2% และพลังงานติดลบน้อยลงจากเดือนก่อน -2.25% มาอยู่ที่ 0.9% มาจากราคาน้ำมันเบนซินปรับขึ้น และมาตรการลดค่าครองชีพ
ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานใกล้เคียงเดือนก่อนอยู่ที่ 0.37% ทั้งนี้ ธปท.มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะกลับเข้ากรอบล่างได้ โดยทั้งปี 2567 กนง.มีการประเมินเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 0.6% จากกรอบเป้าหมายเงินเฟ้ออยู่ที่ 1-3%
สำหรับเงินดุลบัญชีเดินสะพัดค่อนข้างสมดุล โดยดุลการค้าเกินดุล 0.3 พันล้านดอลลาร์ ดุลบริการขาดดุล -0.3 พันล้านดอลลาร์ ดุลการชำระเงินอยู่ที่ 900 ล้านดอลลาร์ โดยรวมทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนเมษายนค่อนข้างทรงตัว
ด้านค่าเงินบาทเดือนเมษายนอยู่ในทิศทางอ่อนค่าเฉลี่ย 36.77 บาทต่อดอลลาร์ หรือคิดเป็นการอ่อนค่า 2% ซึ่งมาจากปัจจัยภายนอกจากตลาดที่มีการปรับคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจและการจ้างงานของสหรัฐออกมาค่อนข้างดี และบางช่วงตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับสงคราม
อย่างไรก็ดี ในเดือนพฤษภาคมเงินบาทกลับมาแข็งค่าเฉลี่ย 36.61 บาทต่อดอลลาร์ เป็นไปตามสถานการณ์ Risk On ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาค รวมถึงปัจจัยภายในประเทศที่ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1/2567 ออกมาค่อนข้างดี
“
เดือน เม.ย.ปรับตัวดีขึ้น โดยธีมหลักมาจากภาคการบริการ นักท่องเที่ยวและรายรับ มองไปข้างหน้า 1-2 เดือนกิจกรรมภาคการท่องเที่ยวยังคงมีอยู่ และการบริโภคเอกชนเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การส่งออกมีการฟื้นตัวมากขึ้น แม้จะค่อย ๆ ฟื้นช้า ๆ ซึ่งก็ต้องรอดูว่าจะได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจโลกแค่ไหน”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1576842
ธปท.มองจีดีพี Q2/67 โตต่อ ชี้ แรงส่งท่องเที่ยว-ส่งออกส่งสัญญาณฟื้นตัว...
วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/2567 ที่ตัวเลขออกมาขยายตัว 1.5% ถือว่าดีกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ 0.8% และสูงกว่าที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มองไว้ที่ระดับ 1% ซึ่งมองว่าเป็นจุดตั้งต้นของปีที่ค่อนข้างดีและสูงกว่าคาด
อย่างไรก็ดี อาจจะต้องติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2567 ต่อไป แต่เชื่อว่าจะเป็นจุดเปลี่ยน (Turning Point) เนื่องจากตัวเลขหลายตัวกลับมาเป็นบวกแล้ว
“หากดูตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 1/67 ออกมา 1.5% สูงกว่าตลาดคาดและ กนง.คาดไว้ที่ระดับ 1% เรียกว่าอุ่นใจ แต่เราต้องดูจุด Turning Point ในไตรมาสที่ 2/67 แต่เชื่อว่าเทียบ YoY น่าจะดีกว่า Q1/67 ตามที่มีการแถลงครั้งก่อน”
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจและการเงินเดือนเมษายน 2567 ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคบริการที่ยังขยายตัว สอดคล้องกับรายรับและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแรงส่งต่อเนื่อง และการส่งออกมีสัญญาณปรับดีขึ้น แต่อาจจะไม่ได้ปรับดีขึ้นทุกมิติ เนื่องจากยังมีปัจจัยเชิงโครงสร้าง
โดยภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าจะเข้าช่วง Low Season แต่รายรับยังปรับเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามา 3 ล้านคน มีอัตราการเติบโต 4.4% มาจากกลุ่มมุสลิม เช่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง และจีนที่กลับเข้ามาเพิ่มขึ้น ส่วนรายรับเพิ่มขึ้น 7.1% เทียบเดือนต่อเดือน มองไปในเดือนพฤษภาคมคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวยังปรับเพิ่มขึ้น และเป็นแรงส่งภาคบริการขยายตัว 3.0% ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งภาคการค้าและยอดขายรถยนต์ โรงแรม-อาหาร-ขนส่งปรับดีขึ้น
ส่วนการบริโภคเอกชนยังปรับดีขึ้นขยายตัว 2.6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และขยายตัว 1.6% เดือนก่อนหน้า (MoM) โดยเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า เช่น สินค้าคงทนตามยอดขายรถยนต์ที่มีการส่งมอบจากงานมอเตอร์โชว์ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้น 3.6% (YoY) และเติบโต 5.0% (MoM) เพิ่มในส่วนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ การก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง มองไปข่างหน้าความเชื่อมั่นการลงทุนอยู่ในระดับทรงตัวไม่ได้เปลี่ยนแปลง
ด้านภาคการส่งออกปรับเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนที่รวมและไม่รวมทองคำ โดยไม่รวมขยายตัว 8.6% (YoY) และขยายตัว 4.8% (MoM) ซึ่งปรับดีขึ้นในหลายหมวดสินค้า เช่น อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว 18% สะท้อนสัญญาณการฟื้นตัวตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นไปตามคาดของ ธปท.
อย่างไรก็ดี มีบางหมวดสินค้าที่ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น ฮาร์ดดิกส์ไดร์ฟที่ต่ำต่อเนื่อง โดยการส่งออกขยายตัวดี คาดว่าทั้งปีจะอยู่ที่ 2% เป็นผลให้ภาคการผลิต (PMI) ปรับดีขึ้น 3.4% (YoY) และ 3.5% (MoM) ทั้งในหมวดยานยนต์ และอาหารและเครื่องดื่ม
ส่วนตลาดแรงงานภาพรวมปรับดีขึ้นมาจากภาคการบริการที่มีการจ้างงานมากขึ้น และผู้รับสิทธิว่างงานปรับสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในหมวดภาคการผลิต เช่น โลหะแปรรูป ซึ่งสอดคล้องกับภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่ยังได้รับผลกระทบ ส่วนการลงทุนภาครัฐ ในส่วนของรายจ่ายประจำ -3.0% (YoY) และตัวที่ลดลงต่อเนื่องจะเป็นรายจ่ายลงทุนที่มาจากงบประมาณที่มีความล่าช้า โดย -45% ขณะที่รัฐวิสาหกิจขยายตัว 58.6%
โดยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายนกลับมาเป็นบวก 0.19% หลังจากติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน ทั้งนี้ เงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายนอยู่ที่ 0.19% จากเดือนก่อนหดตัว -0.4% มาจากราคาอาหารสดติดลบน้อยจาก -1.9% มาอยู่ที่ -0.2% และพลังงานติดลบน้อยลงจากเดือนก่อน -2.25% มาอยู่ที่ 0.9% มาจากราคาน้ำมันเบนซินปรับขึ้น และมาตรการลดค่าครองชีพ
ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานใกล้เคียงเดือนก่อนอยู่ที่ 0.37% ทั้งนี้ ธปท.มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะกลับเข้ากรอบล่างได้ โดยทั้งปี 2567 กนง.มีการประเมินเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 0.6% จากกรอบเป้าหมายเงินเฟ้ออยู่ที่ 1-3%
สำหรับเงินดุลบัญชีเดินสะพัดค่อนข้างสมดุล โดยดุลการค้าเกินดุล 0.3 พันล้านดอลลาร์ ดุลบริการขาดดุล -0.3 พันล้านดอลลาร์ ดุลการชำระเงินอยู่ที่ 900 ล้านดอลลาร์ โดยรวมทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนเมษายนค่อนข้างทรงตัว
ด้านค่าเงินบาทเดือนเมษายนอยู่ในทิศทางอ่อนค่าเฉลี่ย 36.77 บาทต่อดอลลาร์ หรือคิดเป็นการอ่อนค่า 2% ซึ่งมาจากปัจจัยภายนอกจากตลาดที่มีการปรับคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจและการจ้างงานของสหรัฐออกมาค่อนข้างดี และบางช่วงตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับสงคราม
อย่างไรก็ดี ในเดือนพฤษภาคมเงินบาทกลับมาแข็งค่าเฉลี่ย 36.61 บาทต่อดอลลาร์ เป็นไปตามสถานการณ์ Risk On ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาค รวมถึงปัจจัยภายในประเทศที่ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1/2567 ออกมาค่อนข้างดี
“เดือน เม.ย.ปรับตัวดีขึ้น โดยธีมหลักมาจากภาคการบริการ นักท่องเที่ยวและรายรับ มองไปข้างหน้า 1-2 เดือนกิจกรรมภาคการท่องเที่ยวยังคงมีอยู่ และการบริโภคเอกชนเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การส่งออกมีการฟื้นตัวมากขึ้น แม้จะค่อย ๆ ฟื้นช้า ๆ ซึ่งก็ต้องรอดูว่าจะได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจโลกแค่ไหน”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1576842