‘
ณัฐวุฒิ’ ชี้ ใช้ 5 หมื่นชื่อ ไม่สอดรับหลักมีส่วนร่วมประชาธิปไตย
https://www.matichon.co.th/politics/news_2656390
‘ณัฐวุฒิ’ ชี้ ใช้ 5 หมื่นชื่อ ไม่สอดรับหลักมีส่วนร่วมประชาธิปไตย เผย กมธ.รัฐบาล กังวล ปชช. 2 กลุ่ม ทำประชามติชนกัน
เมื่อวันที่ 3 เมษายน นาย
ณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. … รัฐสภา กล่าวว่า กมธ.เสียงข้างน้อย ได้ตั้งข้อสงวนความเห็นต่อการปรับแก้ไขมาตรา 11 ที่กำหนดให้ประชาชน จำนวน 50,000 คนเข้าชื่อเสนอเรื่องทำประชามติ เพราะถือว่าเป็นจำนวนที่มากเกินไป จึงควรใช้จำนวน 10,000 รายชื่อแทน โดยจะนำข้อสงวนนี้ไปอภิปรายในรัฐสภาในวันที่ 7 เมษายนนี้
นาย
ณัฐวุฒิกล่าวว่า กมธ.เสียงข้างมากในสัดส่วนของรัฐบาล รวมถึง ส.ว. ที่เสนอให้ใช้ จำนวน 50,000 คนเข้าชื่อเสนอเรื่องทำประชามติ ได้ให้เหตุผลกังวลอยู่ 3 เรื่องคือ
1. กมธ.เสียงข้างมาก มีความกังวลว่าข้อกฎหมายที่ใช้อ้างอิงเรื่องจำนวนประชากร 10,000 คน มาจากไหน ซึ่ง กมธ.เสียงข้างน้อยได้ชี้แจงว่า เป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เข้าชื่อเสนอกฎหมายที่ผ่านความเห็นของรัฐสภาไปก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามกมธ. เสียงข้างมากเห็นว่า ไม่ใช่ข้ออ้างที่มีน้ำหนัก เพราะข้ออ้างอิงที่น่าจะเทียบเคียงกันควรจะใช้การเข้าชื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ต้องใช้ 50,000 คนขึ้นไป
2. กมธ.เสียงข้างมาก มองว่า การทำประชามติจะต้องเป็นเรื่องระดับชาติเท่านั้น แต่ตนมองว่า คำว่าเรื่องระดับชาติยังมีข้อถกเถียงในรายละเอียด เพราะ ประเด็นระดับชาติ กับพื้นที่ระดับชาติ ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างกรณีข้อพิพาทการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จ.สงขลา ก็สามารถมองเป็นประเด็นระดับชาติได้ เพราะส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนภาคใต้ทั้งหมด
นาย
ณัฐวุฒิ กล่าวว่า และ 3.กมธ.เสียงข้างมาก มีความเห็นว่า หากใช้ 10,000 รายชื่อ อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งในเรื่องที่จะเสนอการทำประชามติก่อนที่จะทำประชามติด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนัก เช่น หากมีประชาชนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าเรื่องนี้ควรทำประชามติ ก็จะเข้าชื่อ 10,000 คน แต่ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งมองเรื่องเดียวกันแตกต่างออกไป จึงเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ควรทำประชามติ ก็ไปเข้าชื่อมาอีก 10,000 คนมาเช่นเดียวกัน สุดท้ายจะสร้างความยุ่งยากให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการพิจารณาว่าควรจะทำประชามติหรือไม่ นอกจากนี้ กมธ.เสียงข้างมาก ได้ระบุในที่ประชุมว่า ในการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 11 ได้มีการเพิ่มให้ใช้ระบบดิจิทัลต่างๆ เข้ามาช่วยในการรวบรวมรายชื่อ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อาจจะใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาออกแบบในหลักเกณฑ์การเข้าชื่อในการรวบรวมรายชื่อ 50,000 รายชื่อ ทำให้การรวบรวมรายชื่อทำได้ง่ายขึ้น
นาย
ณัฐวุฒิ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม กรณีที่ตน และนาย
ชูศักดิ์ ศิรินิล ตั้งข้อสงวนเรื่องจำนวนการเข้าชื่อของประชาชน 10,000 คนนั้น เป็นไปตามความเห็นร่วมกันของพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม ดังนั้นก่อนถึงการประชุมรัฐสภา สมัยวิสามัญในวันที่ 7 เมษายนนี้ หากพรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นไปในทิศทางอื่น เราก็อาจจะพิจารณาเรื่องจำนวนกันอีกครั้ง เพราะยังไม่ถึงขั้นปิดตายในมาตรา 11 เพียงแต่เห็นว่าหากใช้จำนวนประชากรที่มากไปจะไม่สมกับเจตนารมณ์ ที่ต้องการให้จดหมายฉบับนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในประชาธิปไตยแบบทางตรงมากยิ่งขึ้น
ศาลปกครองรับคำฟ้องมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กรณี กขค. ให้ ซี.พี. ควบรวม เทสโก้
https://www.prachachat.net/economy/news-642136
ศาลปกครองมีคำสั่งรับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอีก 36 องค์กรผู้บริโภค กรณี กขค. อนุมัติให้ ซี.พี.ฯ ควบรวม เทสโก้ ที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วันที่ 3 เมษายน 2564
เว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยแพร่ข้อมูลระบุว่า ศาลปกครองมีคำสั่งลงวันที่ 22 มีนาคม 2564 รับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอีก 36 องค์กรผู้บริโภค รวมถึงผู้บริโภคจากทั่วประเทศ กรณีคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) มีมติอนุมัติให้บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวล ลอปเม้นท์จำกัด ควบรวมกิจการกับ บริษัท เทสโก้ สโตร์ส จำกัด ที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้พิจารณาโดยเร่งด่วน และสั่งให้ทำคำชี้แจง รวมถึงส่งเอกสารประกอบว่า หากไม่มีคำสั่งให้ชะลอหรือระงับตามคำสั่งทางปกครองในเหตุพิพาทไว้เป็นการชั่วคราวก่อนนั้นจะเกิดความเสียหายและยากแก่การเยียวยาแก้ไขอย่างไร
ทั้งนี้ ศาลได้เรียกบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และ บริษัท โลตัส สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัดเข้ามาเป็นคู่กรณีฝ่ายที่สาม โดยกำหนดให้บริษัท ซี.พี. ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัดเป็นผู้ร้องสอดที่ 1 และบริษัท โลตัส สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ร้องสอดที่ 2 (ซึ่ง บริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โลตัส สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564
ส่วนในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษานั้น ศาลขอให้ผู้ฟ้องจัดทำคำชี้แจง พร้อมเอกสารหลักฐานเพื่อยื่นต่อศาลภายใน 7 วัน หลังจากที่ได้รับหมาย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอีก 36 องค์กรผู้บริโภค รวมถึงผู้บริโภคทั่วประเทศได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ในกรณีคณะกรรมการแข่งขันทางการค้ามีมติอนุญาติให้บริษัท ซีพี และบริษัทเทสโก้ควบรวม ต่อศาลปกครองในวันที่ 15 มีนาคม 2564 โดยสาระสำคัญของการฟ้องมีเนื้อหา ดังนี้
มตินี้อาจขัดต่อ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ที่มุ่งเน้นกำกับดูแลการประกอบธุรกิจให้มีแข่งขันทางการค้ามากที่สุดภายใต้หลักเสรีและเป็นธรรม ปล่อยให้บริษัทที่มีส่วนแบ่งในตลาดอยู่แล้วมากถึงร้อยละ 69.3 ก่อนการควบรวม ให้ได้มีอำนาจเหนือตลาดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83.97 หลังการควบรวม ซึ่งมตินี้จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
เนื่องจากทำให้เกิดการผูกขาดสินค้าที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบ ที่ขาดอำนาจการต่อรอง และทำลายโอกาสการแข่งขันอย่างเป็นธรรมกับคู่แข่งเดิมและคู่แข่งหน้าใหม่ และเมื่อจำนวนผู้แข่งขันลดลง ย่อมทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าน้อยลง จนทำให้ผู้บริโภคอาจตกอยู่ในภาวะที่ต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงอย่างเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนั้นแล้ว คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าไม่ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไป ซึ่งถือได้ว่าไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มีการกำหนดกรอบในการลงมติของคณะกรรมการเป็นการกำหนดกรอบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีเงื่อนไขว่าคณะกรรมการที่ลงมติไม่เห็นชอบ จะไม่มีสิทธิกำหนดเงื่อนไขเชิงโครงสร้างและเงื่อนไขเชิงพฤติกรรม
JJNY : 4in1 ณัฐวุฒิชี้ 5หมื่นชื่อไม่สอดรับหลักส่วนร่วม│ศาลปค.รับฟ้องควบรวมเทสโก้│ทหารพม่ายิงดับผู้ชุมนุม│นทม.ชมพิมรี่พาย
https://www.matichon.co.th/politics/news_2656390
‘ณัฐวุฒิ’ ชี้ ใช้ 5 หมื่นชื่อ ไม่สอดรับหลักมีส่วนร่วมประชาธิปไตย เผย กมธ.รัฐบาล กังวล ปชช. 2 กลุ่ม ทำประชามติชนกัน
เมื่อวันที่ 3 เมษายน นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. … รัฐสภา กล่าวว่า กมธ.เสียงข้างน้อย ได้ตั้งข้อสงวนความเห็นต่อการปรับแก้ไขมาตรา 11 ที่กำหนดให้ประชาชน จำนวน 50,000 คนเข้าชื่อเสนอเรื่องทำประชามติ เพราะถือว่าเป็นจำนวนที่มากเกินไป จึงควรใช้จำนวน 10,000 รายชื่อแทน โดยจะนำข้อสงวนนี้ไปอภิปรายในรัฐสภาในวันที่ 7 เมษายนนี้
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า กมธ.เสียงข้างมากในสัดส่วนของรัฐบาล รวมถึง ส.ว. ที่เสนอให้ใช้ จำนวน 50,000 คนเข้าชื่อเสนอเรื่องทำประชามติ ได้ให้เหตุผลกังวลอยู่ 3 เรื่องคือ
1. กมธ.เสียงข้างมาก มีความกังวลว่าข้อกฎหมายที่ใช้อ้างอิงเรื่องจำนวนประชากร 10,000 คน มาจากไหน ซึ่ง กมธ.เสียงข้างน้อยได้ชี้แจงว่า เป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เข้าชื่อเสนอกฎหมายที่ผ่านความเห็นของรัฐสภาไปก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามกมธ. เสียงข้างมากเห็นว่า ไม่ใช่ข้ออ้างที่มีน้ำหนัก เพราะข้ออ้างอิงที่น่าจะเทียบเคียงกันควรจะใช้การเข้าชื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ต้องใช้ 50,000 คนขึ้นไป
2. กมธ.เสียงข้างมาก มองว่า การทำประชามติจะต้องเป็นเรื่องระดับชาติเท่านั้น แต่ตนมองว่า คำว่าเรื่องระดับชาติยังมีข้อถกเถียงในรายละเอียด เพราะ ประเด็นระดับชาติ กับพื้นที่ระดับชาติ ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างกรณีข้อพิพาทการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จ.สงขลา ก็สามารถมองเป็นประเด็นระดับชาติได้ เพราะส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนภาคใต้ทั้งหมด
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า และ 3.กมธ.เสียงข้างมาก มีความเห็นว่า หากใช้ 10,000 รายชื่อ อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งในเรื่องที่จะเสนอการทำประชามติก่อนที่จะทำประชามติด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนัก เช่น หากมีประชาชนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าเรื่องนี้ควรทำประชามติ ก็จะเข้าชื่อ 10,000 คน แต่ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งมองเรื่องเดียวกันแตกต่างออกไป จึงเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ควรทำประชามติ ก็ไปเข้าชื่อมาอีก 10,000 คนมาเช่นเดียวกัน สุดท้ายจะสร้างความยุ่งยากให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการพิจารณาว่าควรจะทำประชามติหรือไม่ นอกจากนี้ กมธ.เสียงข้างมาก ได้ระบุในที่ประชุมว่า ในการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 11 ได้มีการเพิ่มให้ใช้ระบบดิจิทัลต่างๆ เข้ามาช่วยในการรวบรวมรายชื่อ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อาจจะใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาออกแบบในหลักเกณฑ์การเข้าชื่อในการรวบรวมรายชื่อ 50,000 รายชื่อ ทำให้การรวบรวมรายชื่อทำได้ง่ายขึ้น
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม กรณีที่ตน และนายชูศักดิ์ ศิรินิล ตั้งข้อสงวนเรื่องจำนวนการเข้าชื่อของประชาชน 10,000 คนนั้น เป็นไปตามความเห็นร่วมกันของพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม ดังนั้นก่อนถึงการประชุมรัฐสภา สมัยวิสามัญในวันที่ 7 เมษายนนี้ หากพรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นไปในทิศทางอื่น เราก็อาจจะพิจารณาเรื่องจำนวนกันอีกครั้ง เพราะยังไม่ถึงขั้นปิดตายในมาตรา 11 เพียงแต่เห็นว่าหากใช้จำนวนประชากรที่มากไปจะไม่สมกับเจตนารมณ์ ที่ต้องการให้จดหมายฉบับนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในประชาธิปไตยแบบทางตรงมากยิ่งขึ้น
ศาลปกครองรับคำฟ้องมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กรณี กขค. ให้ ซี.พี. ควบรวม เทสโก้
https://www.prachachat.net/economy/news-642136
ศาลปกครองมีคำสั่งรับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอีก 36 องค์กรผู้บริโภค กรณี กขค. อนุมัติให้ ซี.พี.ฯ ควบรวม เทสโก้ ที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วันที่ 3 เมษายน 2564 เว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยแพร่ข้อมูลระบุว่า ศาลปกครองมีคำสั่งลงวันที่ 22 มีนาคม 2564 รับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอีก 36 องค์กรผู้บริโภค รวมถึงผู้บริโภคจากทั่วประเทศ กรณีคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) มีมติอนุมัติให้บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวล ลอปเม้นท์จำกัด ควบรวมกิจการกับ บริษัท เทสโก้ สโตร์ส จำกัด ที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้พิจารณาโดยเร่งด่วน และสั่งให้ทำคำชี้แจง รวมถึงส่งเอกสารประกอบว่า หากไม่มีคำสั่งให้ชะลอหรือระงับตามคำสั่งทางปกครองในเหตุพิพาทไว้เป็นการชั่วคราวก่อนนั้นจะเกิดความเสียหายและยากแก่การเยียวยาแก้ไขอย่างไร
ทั้งนี้ ศาลได้เรียกบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และ บริษัท โลตัส สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัดเข้ามาเป็นคู่กรณีฝ่ายที่สาม โดยกำหนดให้บริษัท ซี.พี. ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัดเป็นผู้ร้องสอดที่ 1 และบริษัท โลตัส สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ร้องสอดที่ 2 (ซึ่ง บริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โลตัส สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564
ส่วนในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษานั้น ศาลขอให้ผู้ฟ้องจัดทำคำชี้แจง พร้อมเอกสารหลักฐานเพื่อยื่นต่อศาลภายใน 7 วัน หลังจากที่ได้รับหมาย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอีก 36 องค์กรผู้บริโภค รวมถึงผู้บริโภคทั่วประเทศได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ในกรณีคณะกรรมการแข่งขันทางการค้ามีมติอนุญาติให้บริษัท ซีพี และบริษัทเทสโก้ควบรวม ต่อศาลปกครองในวันที่ 15 มีนาคม 2564 โดยสาระสำคัญของการฟ้องมีเนื้อหา ดังนี้
มตินี้อาจขัดต่อ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ที่มุ่งเน้นกำกับดูแลการประกอบธุรกิจให้มีแข่งขันทางการค้ามากที่สุดภายใต้หลักเสรีและเป็นธรรม ปล่อยให้บริษัทที่มีส่วนแบ่งในตลาดอยู่แล้วมากถึงร้อยละ 69.3 ก่อนการควบรวม ให้ได้มีอำนาจเหนือตลาดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83.97 หลังการควบรวม ซึ่งมตินี้จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
เนื่องจากทำให้เกิดการผูกขาดสินค้าที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบ ที่ขาดอำนาจการต่อรอง และทำลายโอกาสการแข่งขันอย่างเป็นธรรมกับคู่แข่งเดิมและคู่แข่งหน้าใหม่ และเมื่อจำนวนผู้แข่งขันลดลง ย่อมทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าน้อยลง จนทำให้ผู้บริโภคอาจตกอยู่ในภาวะที่ต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงอย่างเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนั้นแล้ว คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าไม่ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไป ซึ่งถือได้ว่าไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มีการกำหนดกรอบในการลงมติของคณะกรรมการเป็นการกำหนดกรอบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีเงื่อนไขว่าคณะกรรมการที่ลงมติไม่เห็นชอบ จะไม่มีสิทธิกำหนดเงื่อนไขเชิงโครงสร้างและเงื่อนไขเชิงพฤติกรรม