ศาลปกครองสูงสุดรับคำฟ้อง ผู้บริโภคขอให้เพิกถอนมติ กสทช. ควบรวม ทรู-ดี แทค เหตุเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและกระทบประชาชนในวงกว้าง
เมื่อวานนี้ (25 มีนาคม 2567) ศาลปกครองสูงสุดมีมติให้กลับคำสั่งของศาล ปกครองชั้นต้น โดยให้รับคำฟ้องของผู้บริโภค 5 รายในคดีขอให้เพิกถอนมติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กรณีรับทราบการควบรวม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และขอให้เพิกถอนประกาศ กสทช.กำหนด มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ไว้พิจารณา
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าแม้การยื่นฟ้องคดีจะพ้นกำหนดระยะเวลาฟ้องคดี แล้ว แต่คดีนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาล ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ศาลปกครองจึงมีอำนาจรับค่า ฟ้องของผู้บริโภคทั้ง 5 รายไว้พิจารณาพิพากษาได้ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
ข้อเท็จจริงของคดีปรากฏว่า กสทช.อาศัยอำนาจตามมาตรา 27(11) (24) และมาตรา 81 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ประกอบมาตรา 21 และมาตรา 22 (3) (4) (5) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ.2544 ออกประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวม ธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2560
เดิมมติในการประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 รับทราบการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทค ทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส และผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ กสทช. จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนประกาศและมติของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าว
การที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 กล่าวว่า ประกาศ กสทช. ทั้งการออกมาตรการ กำกับดูแล การควบรวมรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม และการรับทราบการรวมธุรกิจระ หว่างทรูและดีแทคไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้ทรูกลายเป็นผู้ดำเนินกิจการที่ อยู่เหนือตลาด หรือดำเนินกิจการโทรคมนาคมเพียงรายเดียว ย่อมจะส่งผลให้ อัตราค่าบริการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และย่อมส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถเลือกรับ หรือตัดสินใจในการรับบริการโทรคมนาคมได้ กรณีจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า บริการโทรคมนาคมเป็นบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่มี ผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณคลื่นความถี่ ที่มีจำนวนจำกัด อีกทั้ง การลงทุนในการประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องใช้เงิน ทุนจำนวนมาก ตลาดหรืออุตสาหกรรมโทรคมนาคม จึงมีผู้ประกอบการจำนวน น้อยราย ทำให้มีลักษณะเป็นการกึ่งผูกขาดโดยธรรมชาติการที่ผู้ประกอบการ ในกิจการโทรคมนาคมจะควบรวมธุรกิจหรือไม่ จึงกระทบต่อการแข่งขันโดยเสรี อย่างเป็นธรรม และมีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการในวงกว้างด้วย ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงต้องถือว่า เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ศาลปกครองจึงมีอำนาจ รับคำฟ้องนี้ของผู้ฟ้องคดีทั้งห้าไว้พิจารณาพิพากษาได้
ศาลปกครองสูงสุดรับคำฟ้อง ผู้บริโภคขอให้เพิกถอน มติ กสทช. ควบรวม ทรู-ดีแทค เหตุเป็นประโยชน์
ศาลปกครองสูงสุดรับคำฟ้อง ผู้บริโภคขอให้เพิกถอนมติ กสทช. ควบรวม ทรู-ดี แทค เหตุเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและกระทบประชาชนในวงกว้าง
เมื่อวานนี้ (25 มีนาคม 2567) ศาลปกครองสูงสุดมีมติให้กลับคำสั่งของศาล ปกครองชั้นต้น โดยให้รับคำฟ้องของผู้บริโภค 5 รายในคดีขอให้เพิกถอนมติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กรณีรับทราบการควบรวม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และขอให้เพิกถอนประกาศ กสทช.กำหนด มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ไว้พิจารณา
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าแม้การยื่นฟ้องคดีจะพ้นกำหนดระยะเวลาฟ้องคดี แล้ว แต่คดีนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาล ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ศาลปกครองจึงมีอำนาจรับค่า ฟ้องของผู้บริโภคทั้ง 5 รายไว้พิจารณาพิพากษาได้ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
ข้อเท็จจริงของคดีปรากฏว่า กสทช.อาศัยอำนาจตามมาตรา 27(11) (24) และมาตรา 81 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ประกอบมาตรา 21 และมาตรา 22 (3) (4) (5) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ.2544 ออกประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวม ธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2560
เดิมมติในการประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 รับทราบการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทค ทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส และผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ กสทช. จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนประกาศและมติของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าว
การที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 กล่าวว่า ประกาศ กสทช. ทั้งการออกมาตรการ กำกับดูแล การควบรวมรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม และการรับทราบการรวมธุรกิจระ หว่างทรูและดีแทคไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้ทรูกลายเป็นผู้ดำเนินกิจการที่ อยู่เหนือตลาด หรือดำเนินกิจการโทรคมนาคมเพียงรายเดียว ย่อมจะส่งผลให้ อัตราค่าบริการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และย่อมส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถเลือกรับ หรือตัดสินใจในการรับบริการโทรคมนาคมได้ กรณีจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า บริการโทรคมนาคมเป็นบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่มี ผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณคลื่นความถี่ ที่มีจำนวนจำกัด อีกทั้ง การลงทุนในการประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องใช้เงิน ทุนจำนวนมาก ตลาดหรืออุตสาหกรรมโทรคมนาคม จึงมีผู้ประกอบการจำนวน น้อยราย ทำให้มีลักษณะเป็นการกึ่งผูกขาดโดยธรรมชาติการที่ผู้ประกอบการ ในกิจการโทรคมนาคมจะควบรวมธุรกิจหรือไม่ จึงกระทบต่อการแข่งขันโดยเสรี อย่างเป็นธรรม และมีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการในวงกว้างด้วย ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงต้องถือว่า เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ศาลปกครองจึงมีอำนาจ รับคำฟ้องนี้ของผู้ฟ้องคดีทั้งห้าไว้พิจารณาพิพากษาได้