ช่วงนี้งานเยอะมากจนทำแทบไม่ทัน บางทีก็ยุ่งเกินจนทำงานผิดพลาด แล้วแทนที่จะเสร็จก็ต้องเสียเวลาไปกับการแก้ไขงาน บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่าหัวหน้าแบ่งงานได้ไม่เป็นธรรมหรือเปล่า
หลายคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้มักจะเกรงใจและเก็บความอัดอั้นตันใจไว้ ซึ่งในกรณีแบบนี้สิ่งที่เราควรทำคือการพูดคุยกับหัวหน้าโดยตรง แต่ก่อนที่เราจะเดินไปบอกหัวหน้าว่างานเราเยอะเกินไป เราจะต้องพิจารณาสถานการณ์ให้ดีก่อน ไม่อย่างนั้นเราอาจจะกลายเป็นคนไม่มีสปิริตในสายตาของหัวหน้าไปเลย JobThai Tips เลยอยากให้คนทำงานลองทบทวนอีกครั้งผ่านเหตุผลและปัจจัยเหล่านี้
มีหลายเหตุผลและหลายปัจจัย ที่ทำให้เรารู้สึกว่าหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาของเราเลือกที่จะมอบหมายงานให้เรามากกว่าเพื่อนในทีมหรือคนในแผนก ซึ่งความจริงแล้วเหตุผลส่วนใหญ่อาจเกิดจาก
- เราเป็นคนที่หัวหน้าไว้ใจเพราะเราอาจมีผลงานที่ดีอยู่เสมอ
- มีคนลาออกไป และยังไม่มีคนมาทำงานแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
- องค์กรมีการขยายตัว งานเยอะขึ้น แต่ยังไม่ได้รับสมัครพนักงานเพิ่ม
- มีสมาชิกในทีมไม่สามารถทำงานได้เป็นเวลานาน เช่น ลาคลอด ลาบวช หรือลาป่วย
- หัวหน้างานแบ่งงานได้ไม่เป็นธรรมจริง ๆ (แต่เขาไม่รู้ตัว)
แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเดินเข้าไปคุยกับหัวหน้าว่างานมาอยู่กับเราเยอะเกินไป ก็มีหนึ่งปัจจัยที่เราต้องพิจารณาให้ดีก่อนนั่นก็คือ เรางานเยอะกว่าคนอื่นจริง ๆ ไหม หรือที่จริงแล้วเราไม่สามารถจัดการและบริหารเวลาในการทำงานของตัวเองได้ ทำให้เราทำงานช้า หากเป็นเพราะเหตุผลนี้ วิธีแก้ไขคือการสังเกตเพื่อนคนอื่นว่าเขามีงานอะไรบ้าง หรือมีเทคนิคอะไรเป็นพิเศษที่ทำให้พวกเขาทำงานเสร็จเร็วไหม
ถ้ามั่นใจแล้วว่างานเยอะเกินไป ก็เตรียมข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้ครบก่อนคุยกับหัวหน้า
- งานที่เราต้องรับผิดชอบ โดยจัดลำดับความสำคัญของงานไว้ให้พร้อม แบ่งเป็นงานปกติที่ต้องทำประจำอยู่แล้ว กับงานที่ได้รับมอบหมายมาเพิ่มเติม เพื่อให้เห็นชัดเจนว่ามีงานอะไรที่เพิ่มขึ้นมาบ้าง
- ระยะเวลาในการทำของแต่ละชิ้นงาน เพราะบางครั้งแต่ละงานก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน เลยไม่สามารถใช้จำนวนของชิ้นงานมาวัดความมากน้อยของงานในแต่ละวันของเราได้
- งานที่คิดว่าเป็นปัญหาและกินเวลามากที่สุด หากงานชิ้นใหม่ที่เราได้รับมอบหมายเป็นงานที่เราไม่ถนัดหรือเป็นงานที่เรายังไม่ชำนาญ ก็สามารถอธิบายให้หัวหน้ารับรู้เพื่อหาวิธีแก้ไขกันต่อไป
ได้เวลาเปิดอกคุยกับเจ้านาย
ถ้าพิจารณาจากปัจจัยและเหตุผลต่าง ๆ แล้วรู้สึกว่างานที่เรากำลังถืออยู่หรือกำลังรับผิดชอบอยู่เป็นงานที่ล้นเกินไปจริง ๆ ก็ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องอธิบายเหตุผลต่าง ๆ ให้หัวหน้าเห็นว่างานตรงส่วนไหนที่เป็นปัญหาและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเรา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อไปถึงเพื่อนร่วมงานและองค์กรด้วย
แต่ข้อควรระวังคือ อย่าพูดว่างานของเราควรแบ่งให้ใครหรือบอกหัวหน้าว่าเพื่อนร่วมทีมบางคนงานเบาเกินไป เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เราตัดสินได้ นอกจากนี้มันจะทำให้เราดูไม่ดีด้วย
พยายามคิดในแง่บวกเข้าไว้
เราไม่สามารถคาดหวังว่าทุกคนจะได้งานที่เท่าเทียมกันจริง ๆ เพราะงานบางอย่างต้องการความสามารถและประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจง โดยเราอาจเป็นคนที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้น ซึ่งถ้าคิดว่าเรายังสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ได้พัฒนาตัวเอง ฝึกฝนทักษะ และเป็นการสร้างผลงาน เพื่อต่อยอดไปสู่งานที่ใหญ่ขึ้นในอนาคตด้วย
รู้สึกไหมว่าหัวหน้าแบ่งงานให้เรามากเกินไป
- เราเป็นคนที่หัวหน้าไว้ใจเพราะเราอาจมีผลงานที่ดีอยู่เสมอ
- มีคนลาออกไป และยังไม่มีคนมาทำงานแทนในตำแหน่งนั้น ๆ
- องค์กรมีการขยายตัว งานเยอะขึ้น แต่ยังไม่ได้รับสมัครพนักงานเพิ่ม
- มีสมาชิกในทีมไม่สามารถทำงานได้เป็นเวลานาน เช่น ลาคลอด ลาบวช หรือลาป่วย
- หัวหน้างานแบ่งงานได้ไม่เป็นธรรมจริง ๆ (แต่เขาไม่รู้ตัว)
แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเดินเข้าไปคุยกับหัวหน้าว่างานมาอยู่กับเราเยอะเกินไป ก็มีหนึ่งปัจจัยที่เราต้องพิจารณาให้ดีก่อนนั่นก็คือ เรางานเยอะกว่าคนอื่นจริง ๆ ไหม หรือที่จริงแล้วเราไม่สามารถจัดการและบริหารเวลาในการทำงานของตัวเองได้ ทำให้เราทำงานช้า หากเป็นเพราะเหตุผลนี้ วิธีแก้ไขคือการสังเกตเพื่อนคนอื่นว่าเขามีงานอะไรบ้าง หรือมีเทคนิคอะไรเป็นพิเศษที่ทำให้พวกเขาทำงานเสร็จเร็วไหม
ถ้ามั่นใจแล้วว่างานเยอะเกินไป ก็เตรียมข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้ครบก่อนคุยกับหัวหน้า
- งานที่เราต้องรับผิดชอบ โดยจัดลำดับความสำคัญของงานไว้ให้พร้อม แบ่งเป็นงานปกติที่ต้องทำประจำอยู่แล้ว กับงานที่ได้รับมอบหมายมาเพิ่มเติม เพื่อให้เห็นชัดเจนว่ามีงานอะไรที่เพิ่มขึ้นมาบ้าง
- ระยะเวลาในการทำของแต่ละชิ้นงาน เพราะบางครั้งแต่ละงานก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน เลยไม่สามารถใช้จำนวนของชิ้นงานมาวัดความมากน้อยของงานในแต่ละวันของเราได้
- งานที่คิดว่าเป็นปัญหาและกินเวลามากที่สุด หากงานชิ้นใหม่ที่เราได้รับมอบหมายเป็นงานที่เราไม่ถนัดหรือเป็นงานที่เรายังไม่ชำนาญ ก็สามารถอธิบายให้หัวหน้ารับรู้เพื่อหาวิธีแก้ไขกันต่อไป
ได้เวลาเปิดอกคุยกับเจ้านาย
ถ้าพิจารณาจากปัจจัยและเหตุผลต่าง ๆ แล้วรู้สึกว่างานที่เรากำลังถืออยู่หรือกำลังรับผิดชอบอยู่เป็นงานที่ล้นเกินไปจริง ๆ ก็ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องอธิบายเหตุผลต่าง ๆ ให้หัวหน้าเห็นว่างานตรงส่วนไหนที่เป็นปัญหาและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเรา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อไปถึงเพื่อนร่วมงานและองค์กรด้วย
แต่ข้อควรระวังคือ อย่าพูดว่างานของเราควรแบ่งให้ใครหรือบอกหัวหน้าว่าเพื่อนร่วมทีมบางคนงานเบาเกินไป เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เราตัดสินได้ นอกจากนี้มันจะทำให้เราดูไม่ดีด้วย
พยายามคิดในแง่บวกเข้าไว้
เราไม่สามารถคาดหวังว่าทุกคนจะได้งานที่เท่าเทียมกันจริง ๆ เพราะงานบางอย่างต้องการความสามารถและประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจง โดยเราอาจเป็นคนที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้น ซึ่งถ้าคิดว่าเรายังสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ได้พัฒนาตัวเอง ฝึกฝนทักษะ และเป็นการสร้างผลงาน เพื่อต่อยอดไปสู่งานที่ใหญ่ขึ้นในอนาคตด้วย