จันทบุรี ตรวจสถานที่ #มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน #โรงงาน #อุตสาหกรรม พ.ย.-ธ.ค. 2567

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567
         นายอภิรักษ์ อ่ำสุริยะ อุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี มอบหมายให้ นางศิริธนญาพร ศรีประสงค์ นักวิชาการมาตรฐาน และนางสาวพัณณิตา พวงศรี เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ออกตรวจสถานที่ผลิตเพื่อการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 8 ราย
        ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี


 

วันพุธที่ 20-21 พฤศจิกายน 2567
            นายอภิรักษ์ อ่ำสุริยะ อุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนายยุทธพงษ์ แก้วปัน หัวหน้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับอำเภอมะขาม ทต.มะขามเมืองใหม่ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6
             เข้าตรวจสอบโรงงานบริษัท ทีเคเค จันทบุรี ฟู้ดส์ จำกัด ประกอบกิจการผลิตผลไม้อบแห้ง ในพื้นที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จากกรณีประชาชนได้รับเหตุเดือดร้อนรำคาญเรื่องกลิ่นจากการประกอบกิจการ 

 พบว่า บริเวณระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น จึงได้สั่งการในการแก้ไขปัญหา และดำเนินการตามข้อกฎหมายเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องตามพ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไป

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2567
       นายอภิรักษ์ อ่ำสุริยะ อุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี มอบหมายให้นายยุทธพงษ์ แก้วปัน หัวหน้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม
       เข้าตรวจ โรงงานบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบกิจการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไข่,คัดแยกขนาดและคุณภาพ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 33 หมู่ที่ 4 ตำบลเขาวงกต อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัดจันทบุรี เพื่อตรวจติดตามการได้รับมาตรฐาน GAP และตรวจติดตามการประกอบกิจการโรงงาน โดยได้แนะนำและเน้นย้ำให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด


วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น.
              นายอภิรักษ์ อ่ำสุริยะ อุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี มอบหมายให้ นายยุทธพงษ์ แก้วปัน หัวหน้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีเรื่องร้องเรียนว่ามีการประกอบกิจการหลอมตะกั่วขนาดย่อม ทำให้เกิดปัญหาด้านมลพิษ ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ตำบลวังแซ้ม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ร่วมกับ อำเภอมะขาม เทศบาลตำบลวังแซ้ม สาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ และ ทสจ.จันทบุรี
            จากการตรวจสอบพบว่า มี การเผาขยะซึ่งเป็นกระดาษห่อกล้วยที่มีฟอยด์อลูมิเนียมติดอยู่ โดยพบคนงานจำนวน 2 คน และไม่พบเครื่องจักรแต่อย่างใด จึงไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน ตามพ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งลักษณะการเผาขยะจะเป็นการเผาบนพื้นดินในที่เปล่า เมื่อเผาเสร็จ ผู้เผาได้นำฟอยด์อลูมิเนียมไปจำหน่ายต่อ เจ้าหน้าที่จึงได้กำชับไม่ให้มีการเผาในลักษณะดังกล่าวอีก และแต่ละหน่วยงานจะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตนเองต่อไป


วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 10.30 น
        นางสาวธิดารัตน์ นามณีย์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนางศิริธนญาพร ศรีประสงค์ นักวิชาการมาตรฐาน และนางสาวพัณณิตา พวงศรี เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
        ได้ร่วมตรวจสถานประกอบการ เพื่อรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส การบริการทำความสะอาดรถยนต์ ( มอก.เอส 23-2561) และการบริการติดฟิล์มรถยนต์ (มอก.เอส 120-2563) ณ บริษัท พีเจ เอ็กซ์คลูซีฟ คาร์ ดีเทลลิ่ง จำกัด

 โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ตรวจประเมินฯ



วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00 น.
               นายอภิรักษ์ อ่ำสุริยะ อุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี มอบหมายให้นายยุทธพงษ์ แก้วปัน หก.รอ. ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ สภ.มะขาม เข้าตรวจสถานประกอบการแต่ง ดัดแปลงสภาพรถ ชื่อทางเพจว่า เต้ บ้านสวน ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ หมู่ที่ 7 ต.ฉมัน อ.มะขาม จ.จันทบุรี จากกรณีกลุ่มน้ำไม่อาบ ที่มีการขับขี่รถแต่งซิ่งเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ และมีการเกิดอุบัติเหตุ โดยขยายผลถึงผู้ที่มีกาผลิต ดัดแปลงแต่งรถต่างๆ และออกมีสื่อทางโซเชียล
               จากการตรวจสอบพบว่า สถานประกอบการดังกล่าวมีการประกอบกิจการแต่ง ซ่อม ดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์เพื่อใช้แข่งขัน และเป็นสถานที่จำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์แต่ง โดยมีครื่องจักรกำลังแรงม้ารวม 22 แรงม้า ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน ตามพรบ.โรงงาน 2535 โดยได้มีการอายัดของกลางซึ่งเป็นสินค้าของร้านบางส่วนที่ไม่พบสัญลักษณ์แสดงมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อมาพิสูจน์และดำเนินการตามกฎหมายต่อไป



วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 09.30 น.
               นายอภิรักษ์ อ่ำสุริยะ อุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนายยุทธพงษ์ แก้วปัน หัวหน้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม
 เข้าตรวจติดตามการประกอบกิจการโรงงาน ลำดับที่ 105 จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1. สถานีรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์จันทบุรี
2. วงษ์พาณิชย์ สาขาท่าช้าง
3. บริษัท พันธมิตร (2004) จำกัด
4. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ดี.ซี.ซี พลาสติก
เพื่อกำกับดูแลและเฝ้าระวังการประกอบกิจการที่อาจก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญได้ โดยได้แนะนำให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานอย่างเคร่งครัด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่