กป.อพช. แถลง 6 ข้อ ขอรัฐบาลไทยกดดันกองทัพเมียนมายุติความรุนแรง ติงปมส่งตัวแทนร่วมวันกองทัพ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2648706
กป.อพช. รวมชื่อ 45 องค์กร 61 บุคคล แถลง 6 ข้อ ขอรัฐบาลไทย กดดันกองทัพเมียนมายุติความรุนแรง ติงไทยส่งตัวแทนร่วมวันกองทัพเมียนมา
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) แถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยใช้ความพยายามทุกวิถีทาง เพื่อหยุดความรุนแรงในเมียนมา โดยระบุว่า
พวกเรากลุ่มประชาสังคมอันประกอบด้วยประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ นักธุรกิจ สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ราชการมีความห่วงใยสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศเมียนมาเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่กองทัพเมียนมานำโดยนายพลมิน อ่อง ลาย ได้ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา และจับกุมนางอองซานซูจี ผู้นำพรรคเอ็นเอลดี
ประชาชนพลเมืองเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทั่วประเทศได้ลุกขึ้นมาคัดค้านต่อต้านเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างสันติ แต่กลับถูกกองทัพปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม ใช้อาวุธสังหาร ใช้เครื่องบินถล่ม สังหารกระทั่งเด็ก คนไร้ทางสู้อย่างไร้มนุษยธรรม เพียงในวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา ก็สังหารประชาชนไป 114 ศพ จนปัจจุบันมียอดผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 400 ศพ และถูกจับกุมนับพันคน มีประชาชนจำนวนมากกำลังหนีความรุนแรงอพยพข้ามฝั่งมาประเทศไทย แต่หลายคนก็ยังปักหลักชุมนุมประท้วงต่อไป ขณะที่กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ก็กำลังปะทะกับกองทัพพม่าเพื่อปกป้องชีวิตประชาชน สถานการณ์ในขณะนี้กำลังเข้าใกล้สู่สงครามกลางเมืองแล้ว
ความรุนแรงที่ชาวเมียนมากำลังเผชิญในเวลานี้เป็นโศกนาฏกรรมที่รุนแรงที่สุดของภูมิภาคอาเซียนในรอบหลายสิบปี กระทบต่อภูมิภาคอาเซียนทั้งในทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจอย่างรุนแรง แต่อาเซียนกลับยังไม่มีท่าทีชัดเจนในการต่อต้านการใช้ความรุนแรงของกองทัพพม่าอย่างรุนแรงเพียงพอ โดยยังยึดหลักนโยบายการฑูต “พัวพันอย่างสร้างสรรค์” (Constructive Engagement) ที่จะไม่แทรกแซงการเมืองภายในของประเทศสมาชิก
โดยเฉพาะรัฐบาลไทยที่เป็นผู้นำก่อตั้งอาเซียน และเคยมีบทบาทเจรจาสันติภาพในภูมิภาคตลอดมา กลับมาท่าทีที่เฉยเมย ไม่กล่าวประณามการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยเกรงว่าหากแสดงบทบาทประณามหรือต่อต้านกองทัพพม่า รัฐบาลไทยจะสูญเสียบทบาทตัวกลางในการเจรจากับกองทัพเมียนมา แต่เหตุผลดังกล่าวก็หาใช่ข้ออ้างที่รัฐบาลไทยต้องไปสนับสนุนกองทัพเมียนมา ดังที่ถูกสงสัยว่าส่งข้าวสาร เสบียงอาหารให้ทหารเมียนมาตามแนวชายแดน คอยสอดส่องจับตัวแกนนำต่อต้านรัฐประหารที่หลบหนีเข้า ประเทศไทย
และยังส่งตัวแทนเข้าร่วมในงานวันกองทัพเมียนมา ขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างพากันบอยคอตและประณามการใช้ความรุนแรงของกองทัพเมียนมา ท่าทีของรัฐบาลไทยดังกล่าวไม่เพียงแต่เมินเฉยต่อความรุนแรงที่ชาวเมียนมาประสบ แต่ยังเป็นการส่งเสริมการใช้ความรุนแรงของกองทัพเมียนมายิ่งขึ้น และจะทำให้ประเทศไทยเสียภาพลักษณ์ในสายตาโลกยิ่งขึ้นไปอีก
พวกเรามีความห่วงใยว่า สถานการณ์ความรุนแรงในขณะนี้เข้าใกล้ภาวะสงครามกลางเมือง และจะนำมาสู่การล่มสลายของความเป็นชาติเมียนมาและประชาคมอาเซียนด้วย เกินเลยไปกว่าที่จะยึดมั่นในนโยบายพัวพันอย่างสร้างสรรค์แล้ว เพราะเหนือกว่านโยบายภูมิภาคดังกล่าว ยังมีข้อตกลงระดับโลกที่ประเทศไทยยังมีพันธะผูกพันคือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2491
พวกเราจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยและประชาชนคนไทยให้ช่วยกดดันรัฐบาลให้ดำเนินการยุติความรุนแรงที่กองทัพเมียนมากระทำต่อประชาชนโดยทันที ดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลไทยร่วมกับอาเซียน ต้องสื่อสารและกดดันกองทัพเมียนมาอย่างตรงไปตรงมา ให้หยุดการใช้ความรุนแรงกับประชาชนโดยทันที
2. รัฐบาลไทยร่วมกับอาเซียนต้องเข้าแทรกแซงอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการเป็นตัวกลางเจรจายุติความรุนแรง โดยให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งเข้าร่วมเจรจาสันติภาพ
3. รัฐบาลไทยร่วมกับอาเซียนต้องยืนหยัดสนับสนุนหลักการสิทธิมนุษยชน โดยสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กลุ่มประชาชนที่คัดค้านได้แสดงออกอย่างสันติ โดยไม่จับกุม ปราบปราม
4. รัฐบาลไทยร่วมกับอาเซียนยืนหยัดในหลักการประชาธิปไตย เรียกร้องและส่งเสริมให้ฟื้นฟูประชาธิปไตยในเมียนมากลับคืนมา
5. รัฐบาลไทยควรเตรียมมาตรการความช่วยเหลือมนุษยธรรมแก่ผู้ที่ได้รับความรุนแรงจากการปราบปราม หากมีผู้ลี้ภัยข้ามพรมแดนมาฝั่งไทย ควรทำความเข้าใจกับคนไทยถึงความจำเป็นที่ต้องช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ไม่รังเกียจ หรือเห็นเป็นผู้แพร่เชื้อโควิด และควรยับยั้งความคิดเหยียดเชื้อชาติ
6. หากจำเป็นที่สหประชาชาติต้องส่งกองกำลังสันติภาพเข้าคุ้มครองประชาชนเมียนมา รัฐบาลไทยก็ควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง
พวกเราหวังว่า ประชาชนคนไทยทั่วประเทศจะช่วยกันกดดันให้รัฐบาลไทยเร่งกอบกู้สันติภาพในประเทศเมียนมาให้กลับคืนมาโดยด่วนที่สุด อย่าให้ประชาชนเมียนมาล้มตายหรือถูกใช้ความรุนแรงไปมากกว่านี้ เพราะแท้ที่จริงแล้ว ประชาคมอาเซียนคือ ประชาคมของประชาชนในภูมิภาคร่วมกันที่ร่วมทุกข์สุข และต้องดูแลและรับผิดชอบซึ่งกัน
ผู้ประท้วงสู้ไม่ถอย แม้ยอดตายเมียนมาทะลุ 510 ศพ
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2648784
การประท้วงต่อต้านการยึดอำนาจโดยกองทัพเมียนมาของประชาชนยังคงมีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้สังหารพลเรือนไปแล้วมากกว่า 510 รายก็ตาม
สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองของเมียนมาระบุว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมามีพลเรือนถูกสังหารเพิ่มเติมอีก 14 ราย ขณะเดียวกันได้มีการปรับเพิ่มยอดผู้เสียชีวิตเมื่อวันเสาร์ซึ่งถือเป็นวันที่นองเลือดที่สุดขึ้นเป็น 141 ราย
ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้ใช้อาวุธหนักเพื่อสลายถุงทรายที่นำมาเป็นเครื่องกีดขวาง แต่ไม่ได้มีการระบุชัดเจนว่าอาวุธที่นำมาใช้คืออะไร อย่างไรก็ดีชาวบ้านได้มีการเผยแพร่ภาพทหารที่ถือเครื่องยิงระเบิดออกมา
ด้านสถานีโทรทัศน์ของทางการเมียนมารายงานว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้ใช้อาวุธปราบจราจลเพื่อสลายการชุมนุมของกลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรง ซึ่งได้ทำลายบาทวิถีและมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ 1 คน
สื่อท้องถิ่นเมียนมารายงานว่า แม้จะมีการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงอย่างหนักและมีความรุนแรงเกิดขึ้น แต่ผู้คนจำนวนมากอย่างคนออกมาประท้วงต่อต้านการยึดอำนาจโดยกองทัพทั่วประเทศ
ทำเนียบขาวของสหรัฐได้ออกมาประณามการสังหารพลเรือนในเมียนมาว่าเป็นพฤติกรรมที่น่าขยะแขยงที่มีการใช้อาวุธร้ายแรง พร้อมทั้งเรียกร้องอีกครั้งให้มีการฟื้นคืนประชาธิปไตยในเมียนมา ขณะที่นายอันโตนิอู กุแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติร้องขอให้นายพลเมียนมายุติการสังหารและปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วง
JJNY : กป.อพช.ขอรบ.ไทยกดดันทัพเมียนมา│สู้ไม่ถอย แม้เมียนมาตาย510ศพ│จี้เร่งออกกม.กัญชงให้ชัด│นักวิชาการ ประเมินเกมยุบสภา
https://www.matichon.co.th/politics/news_2648706
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) แถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยใช้ความพยายามทุกวิถีทาง เพื่อหยุดความรุนแรงในเมียนมา โดยระบุว่า
พวกเรากลุ่มประชาสังคมอันประกอบด้วยประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ นักธุรกิจ สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ราชการมีความห่วงใยสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศเมียนมาเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่กองทัพเมียนมานำโดยนายพลมิน อ่อง ลาย ได้ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา และจับกุมนางอองซานซูจี ผู้นำพรรคเอ็นเอลดี
ประชาชนพลเมืองเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทั่วประเทศได้ลุกขึ้นมาคัดค้านต่อต้านเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างสันติ แต่กลับถูกกองทัพปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม ใช้อาวุธสังหาร ใช้เครื่องบินถล่ม สังหารกระทั่งเด็ก คนไร้ทางสู้อย่างไร้มนุษยธรรม เพียงในวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา ก็สังหารประชาชนไป 114 ศพ จนปัจจุบันมียอดผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 400 ศพ และถูกจับกุมนับพันคน มีประชาชนจำนวนมากกำลังหนีความรุนแรงอพยพข้ามฝั่งมาประเทศไทย แต่หลายคนก็ยังปักหลักชุมนุมประท้วงต่อไป ขณะที่กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ก็กำลังปะทะกับกองทัพพม่าเพื่อปกป้องชีวิตประชาชน สถานการณ์ในขณะนี้กำลังเข้าใกล้สู่สงครามกลางเมืองแล้ว
ความรุนแรงที่ชาวเมียนมากำลังเผชิญในเวลานี้เป็นโศกนาฏกรรมที่รุนแรงที่สุดของภูมิภาคอาเซียนในรอบหลายสิบปี กระทบต่อภูมิภาคอาเซียนทั้งในทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจอย่างรุนแรง แต่อาเซียนกลับยังไม่มีท่าทีชัดเจนในการต่อต้านการใช้ความรุนแรงของกองทัพพม่าอย่างรุนแรงเพียงพอ โดยยังยึดหลักนโยบายการฑูต “พัวพันอย่างสร้างสรรค์” (Constructive Engagement) ที่จะไม่แทรกแซงการเมืองภายในของประเทศสมาชิก
โดยเฉพาะรัฐบาลไทยที่เป็นผู้นำก่อตั้งอาเซียน และเคยมีบทบาทเจรจาสันติภาพในภูมิภาคตลอดมา กลับมาท่าทีที่เฉยเมย ไม่กล่าวประณามการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยเกรงว่าหากแสดงบทบาทประณามหรือต่อต้านกองทัพพม่า รัฐบาลไทยจะสูญเสียบทบาทตัวกลางในการเจรจากับกองทัพเมียนมา แต่เหตุผลดังกล่าวก็หาใช่ข้ออ้างที่รัฐบาลไทยต้องไปสนับสนุนกองทัพเมียนมา ดังที่ถูกสงสัยว่าส่งข้าวสาร เสบียงอาหารให้ทหารเมียนมาตามแนวชายแดน คอยสอดส่องจับตัวแกนนำต่อต้านรัฐประหารที่หลบหนีเข้า ประเทศไทย
และยังส่งตัวแทนเข้าร่วมในงานวันกองทัพเมียนมา ขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างพากันบอยคอตและประณามการใช้ความรุนแรงของกองทัพเมียนมา ท่าทีของรัฐบาลไทยดังกล่าวไม่เพียงแต่เมินเฉยต่อความรุนแรงที่ชาวเมียนมาประสบ แต่ยังเป็นการส่งเสริมการใช้ความรุนแรงของกองทัพเมียนมายิ่งขึ้น และจะทำให้ประเทศไทยเสียภาพลักษณ์ในสายตาโลกยิ่งขึ้นไปอีก
พวกเรามีความห่วงใยว่า สถานการณ์ความรุนแรงในขณะนี้เข้าใกล้ภาวะสงครามกลางเมือง และจะนำมาสู่การล่มสลายของความเป็นชาติเมียนมาและประชาคมอาเซียนด้วย เกินเลยไปกว่าที่จะยึดมั่นในนโยบายพัวพันอย่างสร้างสรรค์แล้ว เพราะเหนือกว่านโยบายภูมิภาคดังกล่าว ยังมีข้อตกลงระดับโลกที่ประเทศไทยยังมีพันธะผูกพันคือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2491
พวกเราจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยและประชาชนคนไทยให้ช่วยกดดันรัฐบาลให้ดำเนินการยุติความรุนแรงที่กองทัพเมียนมากระทำต่อประชาชนโดยทันที ดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลไทยร่วมกับอาเซียน ต้องสื่อสารและกดดันกองทัพเมียนมาอย่างตรงไปตรงมา ให้หยุดการใช้ความรุนแรงกับประชาชนโดยทันที
2. รัฐบาลไทยร่วมกับอาเซียนต้องเข้าแทรกแซงอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการเป็นตัวกลางเจรจายุติความรุนแรง โดยให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งเข้าร่วมเจรจาสันติภาพ
3. รัฐบาลไทยร่วมกับอาเซียนต้องยืนหยัดสนับสนุนหลักการสิทธิมนุษยชน โดยสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กลุ่มประชาชนที่คัดค้านได้แสดงออกอย่างสันติ โดยไม่จับกุม ปราบปราม
4. รัฐบาลไทยร่วมกับอาเซียนยืนหยัดในหลักการประชาธิปไตย เรียกร้องและส่งเสริมให้ฟื้นฟูประชาธิปไตยในเมียนมากลับคืนมา
5. รัฐบาลไทยควรเตรียมมาตรการความช่วยเหลือมนุษยธรรมแก่ผู้ที่ได้รับความรุนแรงจากการปราบปราม หากมีผู้ลี้ภัยข้ามพรมแดนมาฝั่งไทย ควรทำความเข้าใจกับคนไทยถึงความจำเป็นที่ต้องช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ไม่รังเกียจ หรือเห็นเป็นผู้แพร่เชื้อโควิด และควรยับยั้งความคิดเหยียดเชื้อชาติ
6. หากจำเป็นที่สหประชาชาติต้องส่งกองกำลังสันติภาพเข้าคุ้มครองประชาชนเมียนมา รัฐบาลไทยก็ควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง
พวกเราหวังว่า ประชาชนคนไทยทั่วประเทศจะช่วยกันกดดันให้รัฐบาลไทยเร่งกอบกู้สันติภาพในประเทศเมียนมาให้กลับคืนมาโดยด่วนที่สุด อย่าให้ประชาชนเมียนมาล้มตายหรือถูกใช้ความรุนแรงไปมากกว่านี้ เพราะแท้ที่จริงแล้ว ประชาคมอาเซียนคือ ประชาคมของประชาชนในภูมิภาคร่วมกันที่ร่วมทุกข์สุข และต้องดูแลและรับผิดชอบซึ่งกัน
ผู้ประท้วงสู้ไม่ถอย แม้ยอดตายเมียนมาทะลุ 510 ศพ
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2648784
การประท้วงต่อต้านการยึดอำนาจโดยกองทัพเมียนมาของประชาชนยังคงมีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้สังหารพลเรือนไปแล้วมากกว่า 510 รายก็ตาม
สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองของเมียนมาระบุว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมามีพลเรือนถูกสังหารเพิ่มเติมอีก 14 ราย ขณะเดียวกันได้มีการปรับเพิ่มยอดผู้เสียชีวิตเมื่อวันเสาร์ซึ่งถือเป็นวันที่นองเลือดที่สุดขึ้นเป็น 141 ราย
ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้ใช้อาวุธหนักเพื่อสลายถุงทรายที่นำมาเป็นเครื่องกีดขวาง แต่ไม่ได้มีการระบุชัดเจนว่าอาวุธที่นำมาใช้คืออะไร อย่างไรก็ดีชาวบ้านได้มีการเผยแพร่ภาพทหารที่ถือเครื่องยิงระเบิดออกมา
ด้านสถานีโทรทัศน์ของทางการเมียนมารายงานว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้ใช้อาวุธปราบจราจลเพื่อสลายการชุมนุมของกลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรง ซึ่งได้ทำลายบาทวิถีและมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ 1 คน
สื่อท้องถิ่นเมียนมารายงานว่า แม้จะมีการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงอย่างหนักและมีความรุนแรงเกิดขึ้น แต่ผู้คนจำนวนมากอย่างคนออกมาประท้วงต่อต้านการยึดอำนาจโดยกองทัพทั่วประเทศ
ทำเนียบขาวของสหรัฐได้ออกมาประณามการสังหารพลเรือนในเมียนมาว่าเป็นพฤติกรรมที่น่าขยะแขยงที่มีการใช้อาวุธร้ายแรง พร้อมทั้งเรียกร้องอีกครั้งให้มีการฟื้นคืนประชาธิปไตยในเมียนมา ขณะที่นายอันโตนิอู กุแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติร้องขอให้นายพลเมียนมายุติการสังหารและปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วง