อาชินสูตร
[๑๑๖] ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าอาชินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
...อมฺหากํ โภ โคตม ปณฺฑิโต นาม สพฺรหฺมจารี เตน ปญฺจมตฺตานิ จิตฺตฏฺฐานสตานิ ....
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เพื่อนพรหมจรรย์ของ ข้าพเจ้าทั้งหลายชื่อว่าบัณฑิต เพราะคิดจิตตุปบาทได้ ๕๐๐ ดวง
ซึ่งเป็นเครื่องซักถามอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์ทั้งหลายเป็นผู้ถูกข่มขี่แล้วรู้ตัวว่าถูกข่มขี่ ฯ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลาย ทรงจำเหตุแห่งความเป็นบัณฑิตได้หรือไม่
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคกาลนี้เป็นกาลควร ข้าแต่พระสุคต
กาลนี้เป็นกาลควรที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงภาษิต
ภิกษุ ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี พระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
1. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่ บีบคั้นวาทะอันไม่เป็นธรรมด้วยวาทะอันไม่เป็นธรรม
และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วยวาทะอันไม่เป็นธรรม
บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึง เพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า
ดูกรท่านผู้เจริญท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ
2. อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม
และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม
บริษัทผู้ไม่ประกอบ ด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า
ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ
3. อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมและวาทะที่ไม่เป็นธรรม
ด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะไม่เป็นธรรม
บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า
ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ
4. อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่ไม่เป็นธรรมด้วยวาทะที่เป็นธรรม
และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรม
บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วย ธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันเป็นธรรมนั้นว่า
ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้ เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ
5. อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่เป็นธรรม
และย่อมยังบริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรม
บริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะที่เป็นธรรมนั้นว่า
ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย......
สิ่งที่ไม่เป็นธรรม..........และ.....สิ่งที่เป็นธรรม............บุคคลควรทราบ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์....และ.....สิ่งที่เป็นประโยชน์.....บุคคลควรทราบ
ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว
พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมตามสิ่งที่ เป็นประโยชน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรมเป็นไฉน
สิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉนและสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย....
ความเห็นผิด......เป็นสิ่งที่....ไม่เป็นธรรม
ความเห็นชอบ....เป็นสิ่งที่....เป็นธรรม
อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็น ประโยชน์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดำริผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความดำริชอบเป็นสิ่งที่เป็น ธรรม ... ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเจรจาผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเจรจาชอบเป็นสิ่งที่เป็น ธรรม ... ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การงานชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีพผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเลี้ยงชีพชอบเป็นสิ่งที่เป็น ธรรม ... ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพยายามชอบเป็นสิ่งที่เป็น ธรรม ... ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความระลึกผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความระลึกชอบเป็นสิ่งที่เป็น ธรรม ... ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความตั้งใจชอบเป็นสิ่งที่เป็น ธรรม ... ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความรู้ชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพ้นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพ้นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความพ้นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความพ้นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ เป็นประโยชน์
ดูกรภิกษุทั้งหลายสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ
ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม และสิ่งที่ เป็นธรรมสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว
พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมตาม สิ่งที่เป็นประโยชน์ คำที่เรากล่าวดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยเหตุนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๔
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=5350&Z=5422
สรุป... ( ..ยังไม่สรุปครับ...)
ปริพาชก... คิดค้น " รูปแบบของจิต...ได้ 500 ดวง..เลยนะ " ....คือกะว่าจะเอาไว้ข่มชาวบ้านเขา..นะ
[๑๑๖] ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าอาชินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
...อมฺหากํ โภ โคตม ปณฺฑิโต นาม สพฺรหฺมจารี เตน ปญฺจมตฺตานิ จิตฺตฏฺฐานสตานิ ....
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เพื่อนพรหมจรรย์ของ ข้าพเจ้าทั้งหลายชื่อว่าบัณฑิต เพราะคิดจิตตุปบาทได้ ๕๐๐ ดวง
ซึ่งเป็นเครื่องซักถามอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์ทั้งหลายเป็นผู้ถูกข่มขี่แล้วรู้ตัวว่าถูกข่มขี่ ฯ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=5350&Z=5422
สรุป... ( ..ยังไม่สรุปครับ...)