รวม(อย่างน้อย) ๔๒ พระสูตร : ให้เสพคบและฟังคำของพุทธสาวกได้ โดยมิจำเป็นต้องตรัสรับรองก่อน หรือทรงจำ(ก๊อปปี้เป๊ะๆ)มา

.

ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง




------------------



(๑)
"ท่านผู้นี้ย่อมกล่าวธรรมใด ท่านผู้นี้เป็นผู้สามารถ
เพื่อจะบอก เพื่อแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
กระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้น
ทั้งโดยย่อหรือพิสดารได้ ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญา
ท่านผู้นี้หาใช่เป็นผู้มีปัญญาทรามไม่"

มหาวรรคที่ ๕
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=4991&Z=5844&pagebreak=0




(๒)
"สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร"

สัจจวิภังคสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9020&Z=9160&pagebreak=0




(๓)
"ดูกรมารผู้มีบาป
ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา.....
ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา....
อุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา.....
อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา......
จักยังไม่เฉียบแหลม
ไม่ได้รับแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต
ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ
ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว
ยังบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้
ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด
เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น"

มหาปรินิพพานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915&pagebreak=0




(๔)
"ดูกรกัจจานะ
สัญญาที่ประณีต ทิฐิที่ประณีต วิตกที่ประณีต
เจตนาที่ประณีต ความปรารถนาที่ประณีต
ความตั้งใจที่ประณีต บุคคลที่ประณีต วาจาที่ประณีต
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ประณีต
บุคคลที่ประณีตนั้น
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง
ย่อมเปิดเผยย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่ประณีต
เรากล่าวว่า อุปบัติของบุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมประณีต"

คิญชกาวสถสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4043&Z=4068&pagebreak=0




(๕)
"บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลาย
เพื่อบรรลุนิพพาน เป็นผู้ไม่ประมาท
มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ฟังอยู่ด้วยดี
ย่อมได้ปัญญา"

อาฬวกสูตรที่ ๑๐
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=7513&Z=7570&pagebreak=0




(๖)
"ดูกรอานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต สารีบุตรมีปัญญามาก
ได้จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง"

ทุสีลยสูตรที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=9064&Z=9160&pagebreak=0




(๗)
"ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะพูด พึงพูดว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะถ้อยคำนี้ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ
ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้
นิพพาน"

วิคคาหิกกถาสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10001&Z=10013&pagebreak=0




(๘)
"ดูกรจุนทะ ก็บัดนี้ ภิกษุสาวกของเราเป็นเถระ
เป็นผู้เชี่ยวชาญ ได้รับแนะนำแล้ว
เป็นผู้แกล้วกล้า บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว
สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ
สามารถเพื่อจะแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์
ข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยดี โดยชอบธรรมมีอยู่
ดูกรจุนทะ บัดนี้ ภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้เป็นเถระก็มีอยู่
ผู้ปานกลางก็มีอยู่ ผู้ใหม่ก็มีอยู่
ดูกรจุนทะ บัดนี้ ภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเราผู้เป็นเถรีก็มีอยู่
ผู้ปานกลางก็มีอยู่ ผู้ใหม่ก็มีอยู่
ดูกรจุนทะ อุบาสกสาวกทั้งหลายของเราผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ บริโภคกามก็มีอยู่
ดูกรจุนทะ บัดนี้ อุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเราผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ บริโภคกามก็มีอยู่
ดูกรจุนทะ อนึ่ง ในบัดนี้
พรหมจรรย์ของเราก็สำเร็จผลแพร่หลายกว้างขวาง
ชนเป็นอันมากรู้ได้ เป็นปึกแผ่น
พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดีแล้ว"

ปาสาทิกสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=2537&Z=3181&pagebreak=0




(๙)
"ดูกรเกวัฏฏ์ ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า
ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น
จงทำในใจอย่างนี้ อย่าทำในใจอย่างนั้น
จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด นี้เรียก อนุสาสนีปาฏิหาริย์"

เกวัฏฏสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=9&A=7317&Z=7898&pagebreak=0




(๑๐)
"ดูกรพราหมณ์ ไม่ใช่มีร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย
ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย
ที่แท้ภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้
มีอยู่มากมายทีเดียว"

สังคารวสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=4426&Z=4570&pagebreak=0




(๑๑)
"ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอน
ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถา
อันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอน พร่ำสอน
ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถา
อันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์

พระเทวทัตหาพรรคพวก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=3864&Z=3958&pagebreak=0




(๑๒)
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตร
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว
ให้เป็นไปตามโดยชอบเทียว
ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใครในโลก จะคัดค้านไม่ได้
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
พระสารีบุตรในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้รู้จักผล ๑  รู้จักเหตุ ๑
รู้จักประมาณ ๑ รู้จักกาล ๑  รู้จักบริษัท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว
ให้เป็นไปตามโดยชอบเทียว
ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใครๆ ในโลก จะคัดค้านไม่ได้"

อนุวัตตนสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=3483&Z=3502&pagebreak=0




(๑๓)
ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ
ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้"

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1358&Z=1513&pagebreak=0


พระอัสสชิ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ามาก่อนหน้านี้ 2 พระสูตร คือ
ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=4&A=355&w=%B8%D1%C1%C1
และ อนัตลักขณะสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=479&Z=575&pagebreak=0

พระพุทธเจ้าไม่ได้สั่ง พระอัสสชิ ว่า ต้องแสดงธรรม ตามที่พระองค์ตรัส ไว้เท่านั้น !
ขอบคุณข้อมูลจากท่านยามประจำวัน




(๑๔)
"ดูกรอานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ
สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้สอนนางภิกษุณี
ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑
เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีท้วยทิฐิ ๑
จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ได้โดยพิสดาร จำแนก
แจกแจงวินิจฉัยได้ถูกต้อง ทั้งโดยสูตรและโดยพยัญชนะ ๑
เป็นผู้มีวาจางามกล่าวถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย
ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑
เป็นผู้สามารถเพื่อชี้แจงภิกษุณีสงฆ์ให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทานให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา ๑
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของภิกษุณีทั้งหลายโดยมาก ๑
ไม่เคยต้องอาบัติหนัก กับนางภิกษุณีผู้บวชอุทิศเฉพาะ
พระผู้มีพระภาคนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ๑
เป็นผู้มีพรรษา ๒๐ หรือเกินกว่า ๑
ดูกรอานนท์ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล
สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้สอนนางภิกษุณี"

โอวาทสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=5888&Z=5907&pagebreak=0




(๑๕)
"พระอรหันต์ทั้งหลายละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท
พูดแต่คำสัตย์ ส่งเสริมคำจริง มั่นคง ควรเชื่อถือได้
ไม่กล่าวให้คลาดจากความจริงแก่โลกตลอดชีวิต"

สังขิตตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=5168&Z=5232&pagebreak=0




(๑๖)
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว...เพราะละการเจรจาเพ้อเจ้อ
จึงเป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
กล่าวถูกกาละ กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย
เป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาล"

ฉวิโสธนสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=2445&Z=2669&pagebreak=0




(๑๗)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และ
เป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑
ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และ
เป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑
ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และ
เป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑
ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และ
เป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑
ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง
และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหา
ที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย"

สากัจฉสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=1876&Z=1888&pagebreak=0


(มีต่อ)

ข้อมูลจาก
นพบุรี ศรีนคร
https://www.facebook.com/groups/antikukrit/permalink/1775322529393673/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่