ไปเจอพระสูตรเรื่องการพยากรณ์ปัญหาที่พระศาสดาบัญญัติ เลยนำมาฝากเพื่อนสมาชิก ใครเจอพระสูตรอื่นๆ
ที่เกี๋ยวเนื่องกัน สามารถนำมาลงเพิ่มเติมได้ครับ
อนึ่ง ในพระสูตรนี้พระศาสดาทรงให้ความหมายของ "บัณฑิต" ไว้ในนัยยะหนึ่ง ใครพบความหมายของ "บัณฑิต"
ในนัยยะอื่น สามารถนำมาลงได้ครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ปัญหา
ที่พึงพยากรณ์โดยส่วนเดียวมีอยู่ ๑ ปัญหาที่พึงจำแนกพยากรณ์มีอยู่ ๑ ปัญหาที่ต้องสอบถามแล้ว
พยากรณ์มีอยู่ ๑ ปัญหาที่ควรงดมีอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง นี้แล ฯ
๑. กล่าวแก้โดยส่วนเดียว
๒. จำแนกกล่าวแก้
๓. ย้อนถาม กล่าวแก้
๔. การงดกล่าวแก้
อนึ่ง ภิกษุใดย่อมรู้ความสมควรแก่ธรรมในฐานะนั้นๆ
แห่งปัญญาเหล่านั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวภิกษุอย่างนั้นว่า เป็นผู้ฉลาดต่อปัญหาทั้ง ๔
ภิกษุผู้ที่ใครๆ ไล่ปัญหาได้ยาก ครอบงำได้ยาก เป็นผู้ลึกซึ้ง
ให้พ่ายแพ้ได้ยาก และเป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์ทั้ง ๒
คือ ทั้งในด้านเจริญและในด้านเสื่อม ย่อมเป็นผู้ฉลาดงดเว้นทางเสื่อม
ถือเอาทางเจริญ เป็นธีรชนเพราะรู้จักประโยชน์ ชาวโลกขนานนามว่า บัณฑิต ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง
ที่เกี๋ยวเนื่องกัน สามารถนำมาลงเพิ่มเติมได้ครับ
อนึ่ง ในพระสูตรนี้พระศาสดาทรงให้ความหมายของ "บัณฑิต" ไว้ในนัยยะหนึ่ง ใครพบความหมายของ "บัณฑิต"
ในนัยยะอื่น สามารถนำมาลงได้ครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ปัญหา
ที่พึงพยากรณ์โดยส่วนเดียวมีอยู่ ๑ ปัญหาที่พึงจำแนกพยากรณ์มีอยู่ ๑ ปัญหาที่ต้องสอบถามแล้ว
พยากรณ์มีอยู่ ๑ ปัญหาที่ควรงดมีอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง นี้แล ฯ
๑. กล่าวแก้โดยส่วนเดียว
๒. จำแนกกล่าวแก้
๓. ย้อนถาม กล่าวแก้
๔. การงดกล่าวแก้
อนึ่ง ภิกษุใดย่อมรู้ความสมควรแก่ธรรมในฐานะนั้นๆ
แห่งปัญญาเหล่านั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวภิกษุอย่างนั้นว่า เป็นผู้ฉลาดต่อปัญหาทั้ง ๔
ภิกษุผู้ที่ใครๆ ไล่ปัญหาได้ยาก ครอบงำได้ยาก เป็นผู้ลึกซึ้ง
ให้พ่ายแพ้ได้ยาก และเป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์ทั้ง ๒
คือ ทั้งในด้านเจริญและในด้านเสื่อม ย่อมเป็นผู้ฉลาดงดเว้นทางเสื่อม
ถือเอาทางเจริญ เป็นธีรชนเพราะรู้จักประโยชน์ ชาวโลกขนานนามว่า บัณฑิต ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------