คำสอนของพุทธสาวก เป็น คำกวี เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน อักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว อย่างไร ?

บางส่วน จากอาณิสูตร
....แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้
อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร
มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นของภายนอก
เป็นสาวกภาษิต อยู่ ...
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%CD%D2%B3%D4%CA%D9%B5%C3&book=9&bookZ=33&original=1

อนาคตสูตร
...แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี
มีอักษรสละสลวย
มีพยัญชนะสละสลวย
เป็นพาหิรกถา
เป็นสาวกภาษิต
... ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2397&Z=2459



ตัวอย่างที่พุทธสาวกแสดงธรรมไว้ในพระไตรปิฏก
๒. เทวทหสูตร
ว่าด้วยการกำจัดฉันทราคะในขันธ์ ๕

             [๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้;-
             สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมเทวทหะของศากยะทั้งหลายในสักกชนบท.
ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

             พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบท
เพื่อสำเร็จการอยู่อาศัยในปัจฉาภูมชนบท. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายลาสารีบุตรแล้วหรือ?
            ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ยังมิได้ลาท่านพระสารีบุตร.
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปลาสารีบุตรเถิด.
            สารีบุตรเป็นบัณฑิตอนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารี.
            ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
             [๗] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ในมณฑปเล็กๆ แห่งหนึ่งที่มุงด้วยตะใคร่น้ำไม่ไกลพระผู้มีพระภาค.
             ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคแล้ว พากันเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
กล่าวคำปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว
จึงนั่งอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า
           ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาจะไปปัจฉาภูมชนบท
           เพื่อสำเร็จการอยู่อาศัยในปัจฉาภูมชนบท.
           ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
           ท่านทั้งหลาย กราบทูลลาพระศาสดาแล้วหรือ?
           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
           พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
           คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
           สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
           เป็นผู้ถามปัญหากะภิกษุผู้ไปไพรัชชประเทศต่างๆ มีอยู่
           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
           ก็พวกมนุษย์ที่เป็นบัณฑิตทดลองถามว่า
           พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร?
           ตรัสสอนอย่างไร?
           ธรรมทั้งหลายพวกท่านฟังดีแล้ว เรียบร้อยดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว  
           ทรงจำดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญาบ้างหรือ?
           ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพยากรณ์อย่างไร? จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.
             
          ภิ. ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มาแม้แต่ที่ไกล
เพื่อจะรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร

ดีละหนอ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด.
           [๘] ส. ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์เป็นบัณฑิตบ้าง
คฤหบดีเป็นบัณฑิตบ้าง
สมณะเป็นบัณฑิตบ้าง
เป็นผู้ถามปัญหากะภิกษุผู้ไปไพรัชชประเทศต่างๆ มีอยู่
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต
จะทดลองถามว่า
พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มีวาทะว่าอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร?

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ.
เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว
กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า
ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งอะไร.
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พระศาสดาตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว
กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป
ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า
ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลายทรงเห็นโทษอะไร
จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ?

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เมื่อบุคคลมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก
ความกระหาย ความกระวนกระวาย
ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ยังไม่ปราศจากไปแล้ว
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อมเกิดขึ้น
เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายทรงเห็นโทษนี้แล
จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ.

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล
กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง  
คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า
ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ทรงเห็นอานิสงส์อะไร?  
จึงตรัสสอนให้กำจัดให้ฉันทราคะในรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก
ความกระหาย ความกระวนกระวาย
ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณปราศจากไปแล้ว
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อมไม่เกิดขึ้น
เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป.
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลาย ทรงเห็นอานิสงส์นี้แล
จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ.
             [๙] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
จักได้มีการอยู่สบาย ไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้
และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังสุคติไซร้
พระผู้มีพระภาคก็จะไม่พึงทรงสรรเสริญ การละอกุศลธรรมทั้งหลาย.

ก็เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมมีการอยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก มีความ
คับแค้น มีความเดือดร้อน ในปัจจุบัน และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้ทุคติ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาค จึงทรงสรรเสริญ การละอกุศลธรรมทั้งหลาย.
             [๑๐] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
จักได้มีการอยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้
และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้ทุคติไซร้
พระผู้มีพระภาค ก็จะไม่พึงทรงสรรเสริญ  การเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย.  
ก็เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่  มีการอยู่สบาย  ไม่มีความลำบาก
ไม่มีความคับแค้น  ไม่มีความเดือดร้อน  ในปัจจุบันนี้  
และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้สุคติ
ฉะนั้นพระผู้มีพระภาค  จึงทรงสรรเสริญ การเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย.  
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว.  
ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๒.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๑๐๖ - ๑๘๐.  หน้าที่  ๕ - ๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=106&Z=180&pagebreak=0


จากตัวอย่างพระสูตรที่นำมาแสดง เป็นคำสอนของพุทธสาวก
คือพระสารีบุตร มีคำไหนเข้าอยู่ในลักษณะ

        
         เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนอย่างไร .....1
         อักษรสละสลวยอย่างไร ......2
         มีพยัญชนะอันวิจิตร อย่างไร ....3
         เป็นเรื่องนอกแนว อย่างไร....4

สาวก สมาชิกพันทิป และผู้ที่เลื่อมใส ในนักบวช คึกฤทธิ์
ผู้ไม่ยินดีในคำสอนพุทธสาวก
(จึงได้ตัดคำสอนของพุทธสาวก ออกจาก การจัดทำพระไตรปิฏกฉบับวัดนาป่าพง)
ช่วยอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง เพื่อให้เป็นที่เข้าใจด้วยครับ


วันที่ 1 กันยายน 2557   เวลา 19.06 น
แก้ไขคำว่า
(จึงได้ตัดคำสอนของพุทธสาวก ออกจาก การจัดทำพระไตรปิฏกฉบับวัดนาป่าพง)
แก้ไขเป็น
(จึงได้ตัดคำสอนของพุทธสาวก ออกจาก การจัดทำ พุทธวจน ธรรมและวินัย ฉบับวัดนาป่าพง)



ตัวอย่างอีกพระสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๘. โคปกโมคคัลลานสูตร (๑๐๘)
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=14&A=1735

ขอคำอธิบายได้ไหมครับว่า พระสูตรนี้
จัดว่าเป็น สุตตันตะ ที่ ...
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว ด้วยไหมครับ
ช่วยอธิบาย

หรือหากท่านพบพระสูตรอื่นๆ ที่พุทธสาวก กล่าวไว้ในพระไตรปิฏก และอรรถกถา
ถ้าเข้าข่ายว่า และหรือจัดว่าเป็น สุตตันตะ ที่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว

ขอให้ท่านช่วยนำหลักฐานมาแสดง พร้อมกับเหตุผลประกอบ
(ขอ งดเว้น ความชอบ ไม่ชอบ)


ร่วมกันศึกษา เพื่อรักษาพุทธศาสนาเถรวาท
ขอบคุณครับ
ยามประจำวัน


แก้ไขเพิ่มเติม วันที่ 2 กันยายน 2557 เวลา 13.17 น

เนื่องจากผมได้รับไฟล์หนังสือ
พุทธวจนปิฏกเล่มที่ 19 (สุตตันตะปิฏกเล่มที่ 11)
และได้เปิดอ่าน พระสูตรข้างในเล่ม
พบว่า สำนักวัดนาป่าพง ได้จัดพิมพ์ครบทุกพระสูตร
ไม่ได้นำ คำของพุทธสาวก ออกดังที่ผมตั้งข้อสงสัย
คำใดที่เป็นคำของพระพุทธศาสดา จะใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เห็นชัดเจน
ส่วนคำใดที่เป็นคำของพุทธสาวก พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดเล็ก
   สืบค้นได้ที่     https://docs.com/Y56Q

อย่างไรก็ตาม ในหนังสือดังกล่าว มีคำชี้แนะ ใน คำนำ และ ในหน้า 13
ปรากฏอักษรชัดเจนว่า...ดังภาพ



ที่ผมนำมาลงแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เพื่อนสมาชิกที่ติดตามอ่านกระทู้นี้
ได้รับทราบตรงกันในเบื้องต้น
ว่า ใน พุทธวจน ปิฏก เล่มที่ 19 นั้น
จัดพิมพ์ ลงพระสูตรครบทุกพระสูตร

หากการสื่อสารใดที่กระผม ยามประจำวันได้กระทำลงไป
ทำให้เพื่อนสมาชิกที่ติดตามอ่านเข้าใจผิดว่า
ตัดพระสูตรที่เป็นคำกล่าวของพุทธสาวก  ออกจากเล่มที่สำนักวัดนาป่าพง จัดพิมพ์
ผม ยามประจำวัน ต้องกราบขออภัย


แต่ อย่างไรก็ตาม
พระสูตรต่างๆที่เป็นคำของพุทธสาวก
ในพระไตรปิฏกทุกเล่ม นั้น จัดว่าเป็น ...หรือไม่.


...เย ปน เต สุตฺตนฺตา กวิกตา กาเวยฺยา จิตฺตกฺขรา จิตฺตพฺยญฺชนา พาหิรกา สาวกภาสิตา...
(ทุกเล่ม หมายรวมถึงเล่มที่ 1-45 รวมทั้งเล่มที่ไม่ได้ดำเนินการจัดพิมพ์)

ยังคงต้องการคำตอบ
ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่