ม.อ.วิจัยเศรษฐีภูเก็ตส่อเป็นยาจก พิษโควิดส่อทำรายได้ต่ำกว่า “เส้นความยากจน”
https://www.prachachat.net/local-economy/news-608154
“ภูเก็ต” หนึ่งในจังหวัดที่อาศัยรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหลักถึงปีละกว่า 4 แสนล้านบาท เมื่อเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่รอบแรกต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ซ้ำเติมให้ผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่ทรุดหนัก เพราะลูกค้าหลักต่างชาติยังเข้ามาไม่ได้ ขณะที่คนไทยหยุดการเดินทาง
รายได้เกือบเส้นความยากจน
ล่าสุด นางสาว
เชิญพร กาญจนสายะ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า รายงานการศึกษาขั้นต้นของสถานการณ์การลดลงอย่างเฉียบพลันของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัวของจังหวัดภูเก็ต และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างมุ่งเป้า
โดย ผศ.ดร.
ชยานนท์ ภู่เจริญ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นางสาว
ณิชาพัชร สังข์แก้ว, นาย
ณัฐพัฒน์ เหลืองเลิศไพบูลย์ และ นางสาว
สาวิตรี ศรีอนันต์ ระบุว่า มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่รายได้ของคนภูเก็ตระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กันยายน 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 1,984 บาทต่อเดือน
ในขณะที่เส้นความยากจนของประเทศไทยถูกระบุที่ 3,044 บาทต่อเดือน เรียกได้ว่าคนภูเก็ตกำลังประสบ “
วิกฤตฉับพลัน” เพราะรายได้ของคนในจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศ
โดยขอสรุปใจความสำคัญของร่างบทสรุปผู้บริหารรายงานฉบับดังกล่าวได้ว่า การลดลงของรายได้จากการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยปี 2562 จังหวัดภูเก็ตมีรายได้จากการท่องเที่ยว 442,891 ล้านบาท
แต่ในปี 2563 ลดเหลือเพียง 108,464 ล้านบาท โดย 98,835 ล้านบาท หรือร้อยละ 91 เป็นรายได้ในช่วงก่อนการล็อกดาวน์ (เดือนมกราคม-มีนาคม 2563)
หลังจากมาตรการผ่อนคลายจังหวัดภูเก็ตมีรายได้จากการท่องเที่ยวเฉลี่ยเพียงเดือนละ 1,299 ล้านบาท (เดือนมิถุนายน-ธันวาคม) ซึ่งในช่วงเดียวกันของปี 2562 จังหวัดภูเก็ตมีรายได้ดังกล่าวเฉลี่ยเดือนละกว่า 32,752 ล้านบาท(ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 96)
โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจอุตสาหกรรมการบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวถึงร้อยละ84 ซึ่งการลดลงอย่างเฉียบพลันของรายได้จากการท่องเที่ยว
ส่งผลให้เศรษฐกิจของภูเก็ตมีความเปราะบางสูงและจากการระบาดระลอกใหม่มีแนวโน้มจะยกระดับความรุนแรงในปัญหาทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตอย่างมีนัยสำคัญ
คณะผู้จัดทำเร่งศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจเนื่องจากการหยุดชะงักการเดินทางระหว่างจังหวัดของชาวไทย โดยการจำลองสถานการณ์ ประยุกต์ใช้ข้อมูลทางสถิติและข้อมูล input output table ของกลุ่มการท่องเที่ยวเขตอันดามัน ค่าเฉลี่ยรายได้จากการท่องเที่ยวช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564
อาจเหลือเพียงเดือนละ 1,024 ล้านบาท หากสถานการณ์การท่องเที่ยวภายในจังหวัดภูเก็ตแย่กว่าการคลายล็อกครั้งแรก2 ขั้นค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 1,518 ล้านบาท
หากสถานการณ์การท่องเที่ยวภายในจังหวัดภูเก็ตดีกว่าการคลายล็อกครั้งแรก 2 ขั้นค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หากพิจารณาตามสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด (GPP) คิดเป็นร้อยละ 52 ต่อรายได้การท่องเที่ยว
จะพบว่า GPP ต่อประชากรเป็นผลมาจากรายได้จากการท่องเที่ยวจะมีมูลค่า 1,325-1,963 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นรายได้ที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของจังหวัดภูเก็ตในปี 2562 ซึ่งมีค่า 3,068 บาท
การลดลงของรายได้ดังกล่าวอย่างเฉียบพลัน ประกอบกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตที่ไม่มีความยืดหยุ่นในการรองรับปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ (economic shock)
เนื่องจากพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเกือบทั้งหมด จะทำให้ปัญหาทางเศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ตลุกลามและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และอาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา
หากพิจารณาภาคธุรกิจที่ขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต จะพบว่าเศรษฐกิจของจังหวัดมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจในอุตสาหกรรมการบริการถึงร้อยละ 84
โดยธุรกิจบริการดังกล่าวส่วนมากเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการท่องเที่ยวยกตัวอย่าง กว่าร้อยละ 46 ของ GPP เป็นมูลค่าจากธุรกิจบริการที่พักและร้านอาหาร ซึ่งแตกต่างจากจังหวัดท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีความหลากหลาย ดังนั้น
รายได้จากการท่องเที่ยวจึงมีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจของภูเก็ตมาก โดยเฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติคิดเป็นร้อยละ 89.6 ของรายได้จากการท่องเที่ยวภายในจังหวัดทั้งหมด
สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2563 ลดลงกว่าร้อยละ 75.51 แม้ว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายการเดินทางระหว่างจังหวัดหรือนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวตลอดช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา
และยิ่งการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2563 ส่งผลให้มียอดผู้ติดเชื้อสูงกว่า 12,000 คน ทางภาครัฐมีมาตรการที่ส่งผลต่อการเดินทางภายในประเทศ
ฝ่ายวิจัยคณะการบริการและการท่องเที่ยวจึงได้ประเมินผลความเสียหายทางเศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ตช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม ปี 2564 โดยคาดการณ์การกลับมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเดือนมิถุนายน 2563
โดยใช้การจำลองสถานการณ์ภายใต้สมมุติฐานการกระจายตัวแบบ normal distribution จำนวน 1,000 ครั้ง เพื่อประเมินอัตราการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ปี 2564 เป็นต้นไป
โดยคาดว่าทางภาครัฐจะผ่อนคลายมาตรการควบคุมในปลายเดือนมกราคม 2564 หลังจากมีการระบาดระลอกใหม่ แบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ
1) ช่วงที่นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในการเดินทางต่ำ ใน 3 เดือนแรกหลังจากมาตรการผ่อนคลาย (ใช้ตัวเลขในการจำลองจากเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2563) มีค่าเฉลี่ยอัตราการเดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวไทยเพียงร้อยละ 31.8 ของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2562
หรือประมาณ 2,820 คนต่อวัน อาจมีสาเหตุมาจากนักท่องเที่ยวส่วนมากยังไม่มีความพร้อมและขาดความเชื่อมั่นในการเดินทางมาจังหวัดภูเก็ต
2) ช่วงที่นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในการเดินทางสูงในเดือนที่ 4-6 แรกหลังจากมาตรการผ่อนคลาย (ใช้ตัวเลขในการจำลองจากเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2563)
มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้ามาในจังหวัดเฉลี่ยวันละ 5,998 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562
จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนี้นักท่องเที่ยวมีความพร้อมและมีความเชื่อมั่นในการเดินทางมากขึ้นกว่า 3 เดือนแรก อย่างไรก็ตาม ยังคงไม่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยกลับมาได้ทั้งหมด
เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจในปี 2564 หลังจากมีการระบาดระลอกใหม่ และกลับมาใช้มาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างจังหวัดอีกครั้งในเดือนมกราคม 2564
และคาดว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายการเดินทางและสามารถเดินทางระหว่างจังหวัดได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จึงสามารถเทียบเคียงสถานการณ์เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2564 ได้กับเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2563 คือเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในการเดินทางต่ำ
และสามารถเทียบเคียงสถานการณ์เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2564 ได้กับเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2563 คือเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในการเดินทางสูง
โดยประเมินความเป็นไปได้ของอัตราการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตโดยการแจกแจงความน่าจะเป็นของค่าตัวแปรสุ่มที่เป็นค่าแบบต่อเนื่องตามทฤษฎีการแจกแจงปกติ (normal distribution) ออกมา 3 ระดับ
จากการจำลองสถานการณ์ในข้างต้นสามารถประเมินรายได้จากการท่องเที่ยวในเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564 แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1) หากสถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศแย่กว่าการคลายล็อกครั้งแรก จะมีรายได้จากการท่องที่ยว 6,146 ล้านบาท
2) สถานการณ์คล้ายกับการคลายล็อกครั้งแรก จะมีรายได้จากการท่องที่ยว 7,651 ล้านบาท
3) สถานการณ์ดีกว่าการคลายล็อกครั้งแรก จะมีรายได้จากการท่องที่ยว 9,109 ล้านบาท ซึ่งรายได้จากการคาดการณ์นี้ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2562 กว่าร้อยละ 96-97 จากรายได้ที่ลดลงเป็นผลให้ GPP และ GDP ต่อประชากรลดลงตามไปด้วย
ทั้งนี้ GPP ของภูเก็ตตามสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2562 มีมูลค่า 234,028 ล้านบาท คิดเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อประชากร 403,534 บาทต่อปี หรือประมาณ 33,628 บาทต่อเดือน
และจากตารางที่ 3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในปี 2563 ซึ่งคำนวณจากรายได้การท่องเที่ยวและนำมาเทียบบัญญัติไตรยางค์บนพื้นฐานข้อมูล input output table พบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากรอันเป็นผลมาจากรายได้การท่องเที่ยวเหลือมูลค่า 8,303 บาทต่อเดือน
และด้วยการประเมินสถานการณ์การท่องเที่ยวในปี 2564 เพื่อคาดการณ์จำนวนและรายได้จากการท่องเที่ยว นำไปสู่การคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดด้วยวิธีเดียวกันกับการคำนวณของปี 2563 สามารถคาดการณ์ได้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากรตามสำมะโนอันเป็นผลมาจากรายได้การท่องเที่ยวในปี 2564 จะเหลือเพียง 1,963 บาทต่อเดือน
หากสถานการณ์การท่องเที่ยวดีกว่าการคลายล็อกครั้งแรก 1,649 บาทต่อเดือน หากสถานการณ์การท่องเที่ยวคล้ายกับการคลายล็อกครั้งแรก และ 1,325 บาทต่อเดือน หากสถานการณ์การท่องเที่ยวแย่กว่าการคลายล็อกครั้งแรก ซึ่งตัวเลขจากการจำลองสถานการณ์ทั้ง 3 ระดับ มีค่าต่ำกว่าเส้นความยากจนในปี 2562 ซึ่งมีค่า 3,068 บาท
“
สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันของจังหวัดภูเก็ตหากไม่ได้รับการบริหารจัดการที่ทันและมียุทธศาสตร์ที่ดีพอ จะทำให้เกิดความรุนแรงของปัญหา คนภูเก็ตกำลังประสบ “วิกฤตฉับพลัน” ที่รายได้คนในจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศ” นางสาว
เชิญพรกล่าวทิ้งท้าย
ตรุษจีนกร่อย 'ม.หอค้า' ชี้ใช้จ่ายหดรอบ 13 ปี ลบ 21.8% สะพัดแค่ 4.5 หมื่นล้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2567889
ตรุษจีนกร่อย ‘ม.หอค้า’ ชี้ใช้จ่ายหดรอบ 13 ปี ลบ 21.8% สะพัดแค่ 4.5 หมื่นล้าน
นาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2564 ที่ตรงกับช่วง 10-12 กุมภาพันธ์ ที่สำรวจวันที่ 25 มกราคมถึง 3 กุมภาพันธ์ 2564 จากประชาชน 1,215 ราย พบว่า 62.7% ระบุบรรยากาศตรุษจีนปีนี้คึกคักน้อยลง 25.2% ระบุคึกคักเท่าเดิม เพียง 12.1% ระบุมากกว่าปีก่อน โดย 42.2% ระบุใช้จ่ายลดลงและ 33.2% ใช้จ่ายเท่าเดิม เพราะเศรษฐกิจแย่ลง รายได้ลดลง ลดค่าใช้จ่ายและวิตกโควิดระบาดกระทบต่อรายได้และจ้างงานในอนาคต จึงทำให้ 80% ระบุซื้อสินค้าในปริมาณและมูลค่าเท่าเดิมหรือลดลงบ้าง และ 91.5% ระบุไม่มีแผนเดินทางท่องเที่ยวในวันหยุดตรุษจีน แต่ส่วนที่จะท่องเที่ยว 75% จะขับรถไปเอง งดเดินทางด้วยรถโดนสารสาธารณะ
“
ตรุษจีนปีนี้ถือว่ากร่อย คาดเงินสะพัดจะเหลือ 4.5 หมื่นล้านบาท ติดลบถึง 21.8% เทียบตรุษจีนปีก่อน ที่มีมูลค่า 5.7 หมื่นล้านบาท และติดลบ 1.30% ถือว่าปีนี้ติดลบมากสุดในรอบ 13 ปีนับจากทำการสำรวจปี 2552 และติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งมูลค่าเงินที่สะพัดที่ลดลงกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทนั้น กระทบต่อจีดีพี 0.05-0.07% แต่สะท้อนถึงความกังวลต่อรายได้และการใช้จ่ายของประชาชนสูงขึ้นมาก ดูจากปีก่อนที่เกิดโควิดรอบแรก กระทบต่อจีดีพีลบ 6.3% ใช้จ่ายตรุษจีนลด 1.30% แต่ปีนี้คาดจีดีพีโต 2.8% บนพื้นฐานรัฐออกมาตรการกระตุ้นบริโภค 4 โครงการ อาทิ คนละครึ่ง เราชนะ ม.33 เรารักกัน เที่ยวด้วยกัน ที่ช่วยกระตุ้นจีพีดีถึง 1.2-1.5% แต่การใช้จ่ายตรุษจีนยังลบถึง 21.8% จึงเป็นประเด็นสะท้อนมาตรการและงบประมาณรัฐมีช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้มากขึ้น” นาย
ธนวรรธน์ กล่าว
JJNY : 5in1 เศรษฐีภูเก็ตส่อเป็นยาจก│ตรุษจีนกร่อย│ไฟลต์ตรุษจีนหงอย!│หลาน'อู ถั่น'มองรปห.ไม่ง่าย│102องค์กรประณามรัฐราชการ
https://www.prachachat.net/local-economy/news-608154
“ภูเก็ต” หนึ่งในจังหวัดที่อาศัยรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหลักถึงปีละกว่า 4 แสนล้านบาท เมื่อเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่รอบแรกต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ซ้ำเติมให้ผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่ทรุดหนัก เพราะลูกค้าหลักต่างชาติยังเข้ามาไม่ได้ ขณะที่คนไทยหยุดการเดินทาง
รายได้เกือบเส้นความยากจน
ล่าสุด นางสาวเชิญพร กาญจนสายะ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า รายงานการศึกษาขั้นต้นของสถานการณ์การลดลงอย่างเฉียบพลันของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัวของจังหวัดภูเก็ต และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างมุ่งเป้า
โดย ผศ.ดร.ชยานนท์ ภู่เจริญ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นางสาวณิชาพัชร สังข์แก้ว, นายณัฐพัฒน์ เหลืองเลิศไพบูลย์ และ นางสาวสาวิตรี ศรีอนันต์ ระบุว่า มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่รายได้ของคนภูเก็ตระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กันยายน 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 1,984 บาทต่อเดือน
ในขณะที่เส้นความยากจนของประเทศไทยถูกระบุที่ 3,044 บาทต่อเดือน เรียกได้ว่าคนภูเก็ตกำลังประสบ “วิกฤตฉับพลัน” เพราะรายได้ของคนในจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศ
โดยขอสรุปใจความสำคัญของร่างบทสรุปผู้บริหารรายงานฉบับดังกล่าวได้ว่า การลดลงของรายได้จากการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยปี 2562 จังหวัดภูเก็ตมีรายได้จากการท่องเที่ยว 442,891 ล้านบาท
แต่ในปี 2563 ลดเหลือเพียง 108,464 ล้านบาท โดย 98,835 ล้านบาท หรือร้อยละ 91 เป็นรายได้ในช่วงก่อนการล็อกดาวน์ (เดือนมกราคม-มีนาคม 2563)
หลังจากมาตรการผ่อนคลายจังหวัดภูเก็ตมีรายได้จากการท่องเที่ยวเฉลี่ยเพียงเดือนละ 1,299 ล้านบาท (เดือนมิถุนายน-ธันวาคม) ซึ่งในช่วงเดียวกันของปี 2562 จังหวัดภูเก็ตมีรายได้ดังกล่าวเฉลี่ยเดือนละกว่า 32,752 ล้านบาท(ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 96)
โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจอุตสาหกรรมการบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวถึงร้อยละ84 ซึ่งการลดลงอย่างเฉียบพลันของรายได้จากการท่องเที่ยว
ส่งผลให้เศรษฐกิจของภูเก็ตมีความเปราะบางสูงและจากการระบาดระลอกใหม่มีแนวโน้มจะยกระดับความรุนแรงในปัญหาทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตอย่างมีนัยสำคัญ
คณะผู้จัดทำเร่งศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจเนื่องจากการหยุดชะงักการเดินทางระหว่างจังหวัดของชาวไทย โดยการจำลองสถานการณ์ ประยุกต์ใช้ข้อมูลทางสถิติและข้อมูล input output table ของกลุ่มการท่องเที่ยวเขตอันดามัน ค่าเฉลี่ยรายได้จากการท่องเที่ยวช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564
อาจเหลือเพียงเดือนละ 1,024 ล้านบาท หากสถานการณ์การท่องเที่ยวภายในจังหวัดภูเก็ตแย่กว่าการคลายล็อกครั้งแรก2 ขั้นค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 1,518 ล้านบาท
หากสถานการณ์การท่องเที่ยวภายในจังหวัดภูเก็ตดีกว่าการคลายล็อกครั้งแรก 2 ขั้นค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หากพิจารณาตามสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด (GPP) คิดเป็นร้อยละ 52 ต่อรายได้การท่องเที่ยว
จะพบว่า GPP ต่อประชากรเป็นผลมาจากรายได้จากการท่องเที่ยวจะมีมูลค่า 1,325-1,963 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นรายได้ที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของจังหวัดภูเก็ตในปี 2562 ซึ่งมีค่า 3,068 บาท
การลดลงของรายได้ดังกล่าวอย่างเฉียบพลัน ประกอบกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตที่ไม่มีความยืดหยุ่นในการรองรับปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ (economic shock)
เนื่องจากพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเกือบทั้งหมด จะทำให้ปัญหาทางเศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ตลุกลามและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และอาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา
หากพิจารณาภาคธุรกิจที่ขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต จะพบว่าเศรษฐกิจของจังหวัดมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจในอุตสาหกรรมการบริการถึงร้อยละ 84
โดยธุรกิจบริการดังกล่าวส่วนมากเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการท่องเที่ยวยกตัวอย่าง กว่าร้อยละ 46 ของ GPP เป็นมูลค่าจากธุรกิจบริการที่พักและร้านอาหาร ซึ่งแตกต่างจากจังหวัดท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีความหลากหลาย ดังนั้น
รายได้จากการท่องเที่ยวจึงมีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจของภูเก็ตมาก โดยเฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติคิดเป็นร้อยละ 89.6 ของรายได้จากการท่องเที่ยวภายในจังหวัดทั้งหมด
สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2563 ลดลงกว่าร้อยละ 75.51 แม้ว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายการเดินทางระหว่างจังหวัดหรือนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวตลอดช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา
และยิ่งการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2563 ส่งผลให้มียอดผู้ติดเชื้อสูงกว่า 12,000 คน ทางภาครัฐมีมาตรการที่ส่งผลต่อการเดินทางภายในประเทศ
ฝ่ายวิจัยคณะการบริการและการท่องเที่ยวจึงได้ประเมินผลความเสียหายทางเศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ตช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม ปี 2564 โดยคาดการณ์การกลับมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเดือนมิถุนายน 2563
โดยใช้การจำลองสถานการณ์ภายใต้สมมุติฐานการกระจายตัวแบบ normal distribution จำนวน 1,000 ครั้ง เพื่อประเมินอัตราการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ปี 2564 เป็นต้นไป
โดยคาดว่าทางภาครัฐจะผ่อนคลายมาตรการควบคุมในปลายเดือนมกราคม 2564 หลังจากมีการระบาดระลอกใหม่ แบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ
1) ช่วงที่นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในการเดินทางต่ำ ใน 3 เดือนแรกหลังจากมาตรการผ่อนคลาย (ใช้ตัวเลขในการจำลองจากเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2563) มีค่าเฉลี่ยอัตราการเดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวไทยเพียงร้อยละ 31.8 ของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2562
หรือประมาณ 2,820 คนต่อวัน อาจมีสาเหตุมาจากนักท่องเที่ยวส่วนมากยังไม่มีความพร้อมและขาดความเชื่อมั่นในการเดินทางมาจังหวัดภูเก็ต
2) ช่วงที่นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในการเดินทางสูงในเดือนที่ 4-6 แรกหลังจากมาตรการผ่อนคลาย (ใช้ตัวเลขในการจำลองจากเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2563)
มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้ามาในจังหวัดเฉลี่ยวันละ 5,998 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562
จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนี้นักท่องเที่ยวมีความพร้อมและมีความเชื่อมั่นในการเดินทางมากขึ้นกว่า 3 เดือนแรก อย่างไรก็ตาม ยังคงไม่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยกลับมาได้ทั้งหมด
เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจในปี 2564 หลังจากมีการระบาดระลอกใหม่ และกลับมาใช้มาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างจังหวัดอีกครั้งในเดือนมกราคม 2564
และคาดว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายการเดินทางและสามารถเดินทางระหว่างจังหวัดได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จึงสามารถเทียบเคียงสถานการณ์เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2564 ได้กับเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2563 คือเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในการเดินทางต่ำ
และสามารถเทียบเคียงสถานการณ์เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2564 ได้กับเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2563 คือเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในการเดินทางสูง
โดยประเมินความเป็นไปได้ของอัตราการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตโดยการแจกแจงความน่าจะเป็นของค่าตัวแปรสุ่มที่เป็นค่าแบบต่อเนื่องตามทฤษฎีการแจกแจงปกติ (normal distribution) ออกมา 3 ระดับ
จากการจำลองสถานการณ์ในข้างต้นสามารถประเมินรายได้จากการท่องเที่ยวในเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564 แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1) หากสถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศแย่กว่าการคลายล็อกครั้งแรก จะมีรายได้จากการท่องที่ยว 6,146 ล้านบาท
2) สถานการณ์คล้ายกับการคลายล็อกครั้งแรก จะมีรายได้จากการท่องที่ยว 7,651 ล้านบาท
3) สถานการณ์ดีกว่าการคลายล็อกครั้งแรก จะมีรายได้จากการท่องที่ยว 9,109 ล้านบาท ซึ่งรายได้จากการคาดการณ์นี้ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2562 กว่าร้อยละ 96-97 จากรายได้ที่ลดลงเป็นผลให้ GPP และ GDP ต่อประชากรลดลงตามไปด้วย
ทั้งนี้ GPP ของภูเก็ตตามสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2562 มีมูลค่า 234,028 ล้านบาท คิดเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อประชากร 403,534 บาทต่อปี หรือประมาณ 33,628 บาทต่อเดือน
และจากตารางที่ 3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในปี 2563 ซึ่งคำนวณจากรายได้การท่องเที่ยวและนำมาเทียบบัญญัติไตรยางค์บนพื้นฐานข้อมูล input output table พบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากรอันเป็นผลมาจากรายได้การท่องเที่ยวเหลือมูลค่า 8,303 บาทต่อเดือน
และด้วยการประเมินสถานการณ์การท่องเที่ยวในปี 2564 เพื่อคาดการณ์จำนวนและรายได้จากการท่องเที่ยว นำไปสู่การคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดด้วยวิธีเดียวกันกับการคำนวณของปี 2563 สามารถคาดการณ์ได้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากรตามสำมะโนอันเป็นผลมาจากรายได้การท่องเที่ยวในปี 2564 จะเหลือเพียง 1,963 บาทต่อเดือน
หากสถานการณ์การท่องเที่ยวดีกว่าการคลายล็อกครั้งแรก 1,649 บาทต่อเดือน หากสถานการณ์การท่องเที่ยวคล้ายกับการคลายล็อกครั้งแรก และ 1,325 บาทต่อเดือน หากสถานการณ์การท่องเที่ยวแย่กว่าการคลายล็อกครั้งแรก ซึ่งตัวเลขจากการจำลองสถานการณ์ทั้ง 3 ระดับ มีค่าต่ำกว่าเส้นความยากจนในปี 2562 ซึ่งมีค่า 3,068 บาท
“สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันของจังหวัดภูเก็ตหากไม่ได้รับการบริหารจัดการที่ทันและมียุทธศาสตร์ที่ดีพอ จะทำให้เกิดความรุนแรงของปัญหา คนภูเก็ตกำลังประสบ “วิกฤตฉับพลัน” ที่รายได้คนในจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศ” นางสาวเชิญพรกล่าวทิ้งท้าย
ตรุษจีนกร่อย 'ม.หอค้า' ชี้ใช้จ่ายหดรอบ 13 ปี ลบ 21.8% สะพัดแค่ 4.5 หมื่นล้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2567889
ตรุษจีนกร่อย ‘ม.หอค้า’ ชี้ใช้จ่ายหดรอบ 13 ปี ลบ 21.8% สะพัดแค่ 4.5 หมื่นล้าน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2564 ที่ตรงกับช่วง 10-12 กุมภาพันธ์ ที่สำรวจวันที่ 25 มกราคมถึง 3 กุมภาพันธ์ 2564 จากประชาชน 1,215 ราย พบว่า 62.7% ระบุบรรยากาศตรุษจีนปีนี้คึกคักน้อยลง 25.2% ระบุคึกคักเท่าเดิม เพียง 12.1% ระบุมากกว่าปีก่อน โดย 42.2% ระบุใช้จ่ายลดลงและ 33.2% ใช้จ่ายเท่าเดิม เพราะเศรษฐกิจแย่ลง รายได้ลดลง ลดค่าใช้จ่ายและวิตกโควิดระบาดกระทบต่อรายได้และจ้างงานในอนาคต จึงทำให้ 80% ระบุซื้อสินค้าในปริมาณและมูลค่าเท่าเดิมหรือลดลงบ้าง และ 91.5% ระบุไม่มีแผนเดินทางท่องเที่ยวในวันหยุดตรุษจีน แต่ส่วนที่จะท่องเที่ยว 75% จะขับรถไปเอง งดเดินทางด้วยรถโดนสารสาธารณะ
“ตรุษจีนปีนี้ถือว่ากร่อย คาดเงินสะพัดจะเหลือ 4.5 หมื่นล้านบาท ติดลบถึง 21.8% เทียบตรุษจีนปีก่อน ที่มีมูลค่า 5.7 หมื่นล้านบาท และติดลบ 1.30% ถือว่าปีนี้ติดลบมากสุดในรอบ 13 ปีนับจากทำการสำรวจปี 2552 และติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งมูลค่าเงินที่สะพัดที่ลดลงกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทนั้น กระทบต่อจีดีพี 0.05-0.07% แต่สะท้อนถึงความกังวลต่อรายได้และการใช้จ่ายของประชาชนสูงขึ้นมาก ดูจากปีก่อนที่เกิดโควิดรอบแรก กระทบต่อจีดีพีลบ 6.3% ใช้จ่ายตรุษจีนลด 1.30% แต่ปีนี้คาดจีดีพีโต 2.8% บนพื้นฐานรัฐออกมาตรการกระตุ้นบริโภค 4 โครงการ อาทิ คนละครึ่ง เราชนะ ม.33 เรารักกัน เที่ยวด้วยกัน ที่ช่วยกระตุ้นจีพีดีถึง 1.2-1.5% แต่การใช้จ่ายตรุษจีนยังลบถึง 21.8% จึงเป็นประเด็นสะท้อนมาตรการและงบประมาณรัฐมีช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้มากขึ้น” นายธนวรรธน์ กล่าว