คนมีแผนเที่ยวไทยปลายปีเมินร่วมมาตรการรบ.ยุ่งยาก-กลัวโควิด
https://www.innnews.co.th/economy/news_803659/
"กรุงเทพโพลล์" เผย ประชาชนมีแผนท่องเที่ยวช่วงปลายปี แต่ 70.5% ไม่ได้ลงทะเบียนกับมาตรการกระตุ้นของรัฐ 55.0% มองช่วยได้น้อย
“
กรุงเทพโพลล์” ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “
คนไทยกับมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของภาครัฐ” เก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,226 คน พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.9 มีแผนไปท่องเที่ยวในประเทศช่วงปลายปี
อยากไปท่องเที่ยว ทำบุญมากที่สุด ร้อยละ 22.1,
อยากไปดอยภาคเหนือ ร้อยละ 21.1
และอยากไปเกาะ ไปทะเลสวยๆ ร้อยละ 17.0
ขณะที่ ร้อยละ 39.1 ไม่มีแผนท่องเที่ยว
โดยประชาชน
ร้อยละ 43.4 ระบุ สิ่งที่กังวัลมากที่สุดหากต้องท่องเที่ยว คือ กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตก กลัวติด COVID – 19
ร้อยละ 40.9 กลัวความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว
และ ร้อยละ 25.6 กลัวอุบัติเหตุ รถชน รถติด บนท้องถนน
ทั้งนี้เมื่อถามถึง มาตรการช่วยเหลือกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของรัฐที่คาดว่าจะได้ใช้ในช่วงเที่ยวปลายปีพบว่า
ร้อยละ 70.5 ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วม
ส่วนร้อยละ 19.7 ใช้มาตรการคนละครึ่ง ,
ร้อยละ 8.1 ใช้มาตรการเราเที่ยวด้วยกัน
และ ร้อยละ 5.8 ใช้มาตรการช้อปดีมีคืน
อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ซึ่งบางมาตรการ ต้องใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง นั้น
มีเพียงร้อยละ 50.5 ที่พร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้
ขณะที่ร้อยละ 49.5 ไม่พร้อม โดยเหตุผลหลัก
ร้อยละ 77.9 ระบุ ยุ่งยาก สะดวกใช้เงินสดมากกว่า
ขณะที่ ร้อยละ 27.4 ไม่มีสมาร์ทโฟน ใช้สมาร์ทโฟนไม่เป็น
และ ร้อยละ 15.9 กลัวโดนขโมยข้อมูล เงินในบัญชี
นอกจากนี้ ประชาชน
ร้อยละ 45.0 เชื่อว่า มาตรการช่วยเหลือกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของรัฐ จะช่วยทำให้คนออกมาใช้จ่ายค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
แต่ ร้อยละ 55.0 กลับคิดว่า คนออกมาใช้จ่ายได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
สภานายจ้างจับตาเปิดสภากังวลรบ.โต้ตอบผู้ชุมนุม หวั่นการเมืองบานปลายกระทบศก.
https://www.matichon.co.th/economy/news_2409846
นาย
ธนิต โสรัตน์ ในฐานะรองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบให้เปิดการประชุมสภาวิสามัญ วันที่ 26-27 ตุลาคม ตามข้อเรียกร้องของผุ้ชุมนุมทางการเมือง ว่า เป็นสัญญาณที่ดีที่ทางรัฐบาลจะเปิดพื้นที่เจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ในการหาทางออกให้กับประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจเปราะบางจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และกำลังจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ เพราะถ้าหากปล่อยให้มีความรุนแรงของสถานการณ์ทางการเมืองแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ อาจจะทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลาย และกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งไม่อยากให้การเปิดประชุมสภาเป็นเพียงการเตรียมตัวของรัฐบาลเพื่อโต้ตอบกลับทางผู้ชุมนุมทางการเมืองเท่านั้น แต่รัฐบาลต้องแสดงจุดยืนที่จะแก้ไขปัญหาให้กับสถานการณ์ในครั้งนี้ รวมทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมทางการเมืองเองก็ควรจะเน้นที่การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นจุดสำคัญของปัญหาเสียกอ่น ที่จะเรียกร้องเรื่องอื่นๆ
นาย
ธนิต กล่าวว่า ส่วนกรณีการเรียกร้องจากผู้ชุมนุนทางการเมืองให้พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออก ภายใน 3 วัน ในวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา เรื่องนี้เป็นอำนาจทางกฎหมายของนายกรัฐมนตรีที่จะลาออกหรือจะอยู่ต่อจนครบวาระ เป็นเรื่องของกลไกรัฐสภาที่จะเห็นชอบและให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ รวมทั้งการทำประชามติเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ ถ้าหากเกิดกรณีการลาออกจริงไม่ว่าจากกรณีไหนก็ตาม การต้องจัดเลือกตั้งใหม่ ที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน จึงอยากทั้งสองฝ่ายให้เจรจากันมากกว่า เพื่อพยุงเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในช่วงเสี่ยงมีความผันผวนอย่างฉับผลันขณะนี้ และยืนยันว่าการเจรจากันเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาทางการเมืองในครั้งนี้
นาย
ธนิต กล่าวว่า เรื่องที่น่าเป็นกังวลที่สุดขณะนี้ คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เปราะบาง แล้วยิ่งปัญหาที่ซับซ้อนเข้ามา ยิ่งทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจล่าช้าลง ความมั่นใจของนักลงทุนชาวต่างชาติที่จะเข้ามาในประเทศก็ลดลง ธุรกิจท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19อยู่แล้ว แม้ว่าจะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติบ้างแล้ว แต่ยังคงเป็นจำนวนน้อยมากที่จะทดแทนรายได้ที่เสียไป ชาวต่างชาติที่เข้าประเทศก็อาจเป็นเพียงนักลงทุนที่เดินทางมาไทยเพื่อดูแลธุรกิจตนเองเท่านั้น รวมทั้งการขยายเวลาพักชำระหนี้โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ก็เป็นเพียงการแช่แข็งเพื่อให้เกิดหนี้เสียช้าลง ซึ่งในอนาคตอาจมีคนว่างงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมกับนักศึกษาจบใหม่ยังไม่มีงานทำที่ยังคงจากปีที่ผ่านมา และกำลังจะนักศึกษาจบใหม่อีกใน เดือนมีนาคม 2564
นาย
ธนิต กล่าวว่า อย่างไรก็ตามปี 2564 ก็ยังมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยเพียง 9-10 ล้านคน เป็นสัดส่วนแค่ 1 ใน 4 ของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งปี เนื่องจากเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลกก็ประสบปัญหาเช่นกัน คนต่างชาติก็ว่างงานมกขึ้นและไม่มีกำลังใช้จ่าย ดังนั้นการที่จะพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติให้ดันเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นยังเป็นเรื่องยาก ส่วนเศรษฐกิจไทยจะกลับมาปกติได้หรือไม่ คงต้องรอดูสถานการณ์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ต่อไป
JJNY : คนมีแผนเที่ยวเมินมาตรการรบ./สภานายจ้างกังวลรบ.โต้ตอบผู้ชุมนุม/เกาหลีใต้จี้เลิกส่งออกรถฉีดน้ำ/แคมเปญ III In London
https://www.innnews.co.th/economy/news_803659/
"กรุงเทพโพลล์" เผย ประชาชนมีแผนท่องเที่ยวช่วงปลายปี แต่ 70.5% ไม่ได้ลงทะเบียนกับมาตรการกระตุ้นของรัฐ 55.0% มองช่วยได้น้อย
“กรุงเทพโพลล์” ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยกับมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของภาครัฐ” เก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,226 คน พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.9 มีแผนไปท่องเที่ยวในประเทศช่วงปลายปี
อยากไปท่องเที่ยว ทำบุญมากที่สุด ร้อยละ 22.1,
อยากไปดอยภาคเหนือ ร้อยละ 21.1
และอยากไปเกาะ ไปทะเลสวยๆ ร้อยละ 17.0
ขณะที่ ร้อยละ 39.1 ไม่มีแผนท่องเที่ยว
โดยประชาชน
ร้อยละ 43.4 ระบุ สิ่งที่กังวัลมากที่สุดหากต้องท่องเที่ยว คือ กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตก กลัวติด COVID – 19
ร้อยละ 40.9 กลัวความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว
และ ร้อยละ 25.6 กลัวอุบัติเหตุ รถชน รถติด บนท้องถนน
ทั้งนี้เมื่อถามถึง มาตรการช่วยเหลือกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของรัฐที่คาดว่าจะได้ใช้ในช่วงเที่ยวปลายปีพบว่า
ร้อยละ 70.5 ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วม
ส่วนร้อยละ 19.7 ใช้มาตรการคนละครึ่ง ,
ร้อยละ 8.1 ใช้มาตรการเราเที่ยวด้วยกัน
และ ร้อยละ 5.8 ใช้มาตรการช้อปดีมีคืน
อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ซึ่งบางมาตรการ ต้องใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง นั้น
มีเพียงร้อยละ 50.5 ที่พร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้
ขณะที่ร้อยละ 49.5 ไม่พร้อม โดยเหตุผลหลัก
ร้อยละ 77.9 ระบุ ยุ่งยาก สะดวกใช้เงินสดมากกว่า
ขณะที่ ร้อยละ 27.4 ไม่มีสมาร์ทโฟน ใช้สมาร์ทโฟนไม่เป็น
และ ร้อยละ 15.9 กลัวโดนขโมยข้อมูล เงินในบัญชี
นอกจากนี้ ประชาชน
ร้อยละ 45.0 เชื่อว่า มาตรการช่วยเหลือกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของรัฐ จะช่วยทำให้คนออกมาใช้จ่ายค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
แต่ ร้อยละ 55.0 กลับคิดว่า คนออกมาใช้จ่ายได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
สภานายจ้างจับตาเปิดสภากังวลรบ.โต้ตอบผู้ชุมนุม หวั่นการเมืองบานปลายกระทบศก.
https://www.matichon.co.th/economy/news_2409846
นายธนิต โสรัตน์ ในฐานะรองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบให้เปิดการประชุมสภาวิสามัญ วันที่ 26-27 ตุลาคม ตามข้อเรียกร้องของผุ้ชุมนุมทางการเมือง ว่า เป็นสัญญาณที่ดีที่ทางรัฐบาลจะเปิดพื้นที่เจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ในการหาทางออกให้กับประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจเปราะบางจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และกำลังจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ เพราะถ้าหากปล่อยให้มีความรุนแรงของสถานการณ์ทางการเมืองแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ อาจจะทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลาย และกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งไม่อยากให้การเปิดประชุมสภาเป็นเพียงการเตรียมตัวของรัฐบาลเพื่อโต้ตอบกลับทางผู้ชุมนุมทางการเมืองเท่านั้น แต่รัฐบาลต้องแสดงจุดยืนที่จะแก้ไขปัญหาให้กับสถานการณ์ในครั้งนี้ รวมทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมทางการเมืองเองก็ควรจะเน้นที่การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นจุดสำคัญของปัญหาเสียกอ่น ที่จะเรียกร้องเรื่องอื่นๆ
นายธนิต กล่าวว่า ส่วนกรณีการเรียกร้องจากผู้ชุมนุนทางการเมืองให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออก ภายใน 3 วัน ในวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา เรื่องนี้เป็นอำนาจทางกฎหมายของนายกรัฐมนตรีที่จะลาออกหรือจะอยู่ต่อจนครบวาระ เป็นเรื่องของกลไกรัฐสภาที่จะเห็นชอบและให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ รวมทั้งการทำประชามติเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ ถ้าหากเกิดกรณีการลาออกจริงไม่ว่าจากกรณีไหนก็ตาม การต้องจัดเลือกตั้งใหม่ ที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน จึงอยากทั้งสองฝ่ายให้เจรจากันมากกว่า เพื่อพยุงเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในช่วงเสี่ยงมีความผันผวนอย่างฉับผลันขณะนี้ และยืนยันว่าการเจรจากันเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาทางการเมืองในครั้งนี้
นายธนิต กล่าวว่า เรื่องที่น่าเป็นกังวลที่สุดขณะนี้ คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เปราะบาง แล้วยิ่งปัญหาที่ซับซ้อนเข้ามา ยิ่งทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจล่าช้าลง ความมั่นใจของนักลงทุนชาวต่างชาติที่จะเข้ามาในประเทศก็ลดลง ธุรกิจท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19อยู่แล้ว แม้ว่าจะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติบ้างแล้ว แต่ยังคงเป็นจำนวนน้อยมากที่จะทดแทนรายได้ที่เสียไป ชาวต่างชาติที่เข้าประเทศก็อาจเป็นเพียงนักลงทุนที่เดินทางมาไทยเพื่อดูแลธุรกิจตนเองเท่านั้น รวมทั้งการขยายเวลาพักชำระหนี้โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ก็เป็นเพียงการแช่แข็งเพื่อให้เกิดหนี้เสียช้าลง ซึ่งในอนาคตอาจมีคนว่างงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมกับนักศึกษาจบใหม่ยังไม่มีงานทำที่ยังคงจากปีที่ผ่านมา และกำลังจะนักศึกษาจบใหม่อีกใน เดือนมีนาคม 2564
นายธนิต กล่าวว่า อย่างไรก็ตามปี 2564 ก็ยังมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยเพียง 9-10 ล้านคน เป็นสัดส่วนแค่ 1 ใน 4 ของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งปี เนื่องจากเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลกก็ประสบปัญหาเช่นกัน คนต่างชาติก็ว่างงานมกขึ้นและไม่มีกำลังใช้จ่าย ดังนั้นการที่จะพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติให้ดันเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นยังเป็นเรื่องยาก ส่วนเศรษฐกิจไทยจะกลับมาปกติได้หรือไม่ คงต้องรอดูสถานการณ์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ต่อไป