คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 48
ด่วน! เปิดตัวเลข GDP annual growth rate ไตรมาส 2/2564
+7.5% ปรับตัวดีขึ้นจาก -2.6% ในไตรมาสที่ 1/2564 เฉพาะไตรมาสแรกนี้โต +0.4%
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 2/2564 ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากการลดลงร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 1/2564 ทั้งนี้ เป็นผลจาก ปัจจัยฐานต่ำในไตรมาสที่ 2/2563 ที่หดตัวร้อยละ 12.1 จากมาตรการของภาครัฐเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกแรก ที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
สำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ ปัจจัยสำคัญมาจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูงเป็นหลัก ด้านการผลิต ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.0 ตามผลผลิตพืชสำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง เป็นต้น
ภาคนอกเกษตร การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการขยายตัวร้อยละ 14.2 และร้อยละ 5.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.3 และร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน และการลงทุน ขยายตัวร้อยละ 4.6 และร้อยละ 8.1 จากปัจจัยฐานต่ำเช่นกัน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลชะลอตัวลง
การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 27.5 จากที่ลดลงร้อยละ 10.5 ส่วนการนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 31.4 เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า
หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2564 ขยายตัวร้อยละ 0.4 (QoQ SA)
https://www.facebook.com/ThaiDevReport/posts/2204102469732032
ด่วน! เปิดตัวเลข GDP annual growth rate ไตรมาส 2/2564
+7.5% ปรับตัวดีขึ้นจาก -2.6% ในไตรมาสที่ 1/2564 เฉพาะไตรมาสแรกนี้โต +0.4%
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 2/2564 ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากการลดลงร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 1/2564 ทั้งนี้ เป็นผลจาก ปัจจัยฐานต่ำในไตรมาสที่ 2/2563 ที่หดตัวร้อยละ 12.1 จากมาตรการของภาครัฐเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกแรก ที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
สำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ ปัจจัยสำคัญมาจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูงเป็นหลัก ด้านการผลิต ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.0 ตามผลผลิตพืชสำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง เป็นต้น
ภาคนอกเกษตร การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการขยายตัวร้อยละ 14.2 และร้อยละ 5.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.3 และร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน และการลงทุน ขยายตัวร้อยละ 4.6 และร้อยละ 8.1 จากปัจจัยฐานต่ำเช่นกัน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลชะลอตัวลง
การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 27.5 จากที่ลดลงร้อยละ 10.5 ส่วนการนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 31.4 เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า
หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2564 ขยายตัวร้อยละ 0.4 (QoQ SA)
https://www.facebook.com/ThaiDevReport/posts/2204102469732032
แสดงความคิดเห็น
💛มาลาริน/อุ๊ย! ไตรมาส2 เศรษฐกิจดี้ดี...‘สภาพัฒน์'เผยจีดีพีไตรมาส 2 โต 7.5% คาดการณ์ทั้งปีโต 0.7 - 1.2%
16 ส.ค.2564 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2564 และแนวโน้มปี 2564 ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน 4.6% การลงทุนรวม 8.1% ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 27.5% สาขาอุตสาหกรรมขยายตัว 16.8% สาขาขนส่งขยายตัว 11.6%
สำหรับเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 2% ซึ่งเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว รวมทั้งเป็นการขยายตัวในภาคการส่งออก การให้การบริการด้านอาหาร ขณะที่การท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 1.5 แสนคน จากประมาณการเดิม 5 แสนคน อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มีโมเมนตั้มที่ทำให้การขยายตัวลดลงจากการระบาดช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ยังได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ 0.7-1.2% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 1% ภายใต้สมมติฐานที่คาดว่าตัวเลขการติดเชื้อไวรัสโควิดจะผ่านจุดสูงสุดได้ปลายเดือน ส.ค.นี้ และจะลดลงช่วงปลายเดือน ก.ย. 64 โดยช่วงไตรมาส 4 จะเริ่มเปิดให้ผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสามารถที่จะไม่มีการระบาดที่รุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ฐานการผลิต ทั้งนี้คาดว่าการกระจายวัคซีนภายในปีนี้จะสามารถทำได้ได้ 85 ล้านโดส
นอกจากนี้สศช.ยังเสนอแนะประเด็นบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2564 ใน 7 ประเด็นสำคัญในการบริหารเศรษฐกิจมหภาคได้แก่ .....👇
1.การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัด รวมทั้งการเร่งรัดจัดหาและการกระจายวัคซีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง
2.การช่วยเหลือเยียวยาประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจในช่วงที่การระบาดของโรคมีความรุนแรงและมีการดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวด ควบคู่ไปกับการปรับมาตรการและดำเนินมาตรการเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม เข้าถึงเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลง โดยให้ความสำคัญกับมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ
4.การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ควบคุมการแพร่ระบาดในฐานการผลิตที่สำคัญ การเร่งรัดแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อจำกัดและอุปสรรคในการขนส่งสินค้า การแก้ไขปัญหาการขาดแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต การขับเคลื่อนการส่งออกไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน
5.การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
6.การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน
และ 7.การรักษาบรรยากาศทางการเมืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
https://www.thaipost.net/main/detail/113452
จะสิ้นไตรมาสที่ 2 แล้ว หากโควิดลดลง
เศรษฐกิจจะฟื้นอย่างไตรมาส 2 ในไตรมาสที่ 3
รัฐบาลจะได้ฟื้นฟูประเทศกันเสียที ให้พวกมือไม่พายดีแต่พูด น้ำท่วมปากไปเลย
พวกม็อบถูพื้นใช้ความรุนแรง จะโดนไล่ต้อนเข้าคุกไปอยู่สงบๆให้คนทำมาหากินได้เดินทางสะดวกๆไม่ต้องรถติดเพราะคาร์ม็อบ