"ก้าวหน้า" โชว์ครบหนึ่งปี ห้องตรวจโรคติดเชื้อ - เตียงแรงดันลบ ปลื้มใช้งานได้จริง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2684659
“ก้าวหน้า” โชว์ครบหนึ่งปี ห้องตรวจโรคติดเชื้อ – เตียงแรงดันลบ ปลื้มใช้งานได้จริง
เมื่อวันที่ 22 เมษายน เพจคณะก้าวหน้า – Progressive Movement เผยแพร่ข้อเขียนเกี่ยวกับครบรอบ 1 ปี เปิดตัว “ห้องตรวจโรคติดเชื้อ – เตียงแรงดันลบ” โดย ระบุว่า ยังใช้งานปกติ ปัจจุบันยังใช้ได้จริง
เพจดังกล่าว ระบุว่า เป็นโครงการโดยความร่วมมือของ คณะก้าวหน้า, บริษัท จรูญรัตน์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด, ศิษย์เก่าวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมผลิตอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อมอบแก่โรงพยาบาลที่แสดงความประสงค์ต้องการใช้อุปกรณ์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
โดย 2 รายการที่ทำการผลิตและส่งมอบโรงพยาบาล 14 แห่งทั่วประเทศ ไปตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วได้แก่ 1.Modular ARI Clinic : ห้องตรวจโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลัน และ 2. Patient Transportation Chamber : อุปกรณ์ติดเสริมเตียงเคลื่อนย้าย ด้วยระบบแรงดันลบ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ในระหว่างเคลื่อนย้าย
ปรากฏหลังจากการเผยแพร่ข้อเขียนดังกล่าว มีชาว จ.กระบี่ ได้ส่งภาพบรรยากาศประชาชนเข้าใช้บริการมาให้ดู โดยบอกว่า ถ่ายไว้ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี่เอง ถือเป็นการ “
อัพเดท” ข่าวคราว และทำให้คณะทำงานมีแรงใจที่ได้เห็นว่าอุปกรณ์การแพทย์ที่ผลิตมานั้น เกิดประโยชน์กับโรงพยาบาล
ทั้งนี้ สำหรับ รายชื่อ 14 โรงพยาบาลที่ได้รับมอบและยังใช้บริการเพื่อประชาชน ได้แก่
1. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี ARI คลินิก 7 ห้องคู่, PTC 2 เตียง
2. โรงพยาบาลชลบุรี PTC 1 เตียง
3. โรงพยาบาลพุทธโสธร จ.ฉะเชิงเทรา ARI คลินิก 3 ห้องคู่, PTC 1 เตียง
4. โรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่ ARI คลินิก 5 ห้องคู่, PTC 3 เตียง
5. โรงพยาบาลสนามศูนย์โควิด19 จ.เชียงใหม่ (ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่) ARI คลินิก 5 ห้องคู่, PTC 2 เตียง
6. โรงพยาบาลวชิระ จ.ภูเก็ต PTC 2 เตียง
7. โรงพยาบาลยะลา ARI คลินิก 4 ห้องคู่, PTC 1 เตียง
8. ยะรัง จ.ปัตตานี ARI คลินิก 5 ห้องคู่, PTC 2 เตียง
9. โรงพยาบาลสงขลา PTC 2 เตียง
10. โรงพยาบาลคลองหอยโข่ง จ.สงขลา ARI คลินิก 3 ห้องคู่
11. โรงพยาบาลเขาพนมกระบี่ ARI คลินิก 3 ห้องคู่, PTC 1 เตียง
12. โรงพยาบาลกงหรา จ.พัทลุง ARI คลินิก 4 ห้องคู่, PTC 1 เตียง
13. โรงพยาบาลสงขลานครินทร์หาดใหญ่ PTC 1 เตียง
14. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ARI คลินิก 5 ห้องคู่
https://www.facebook.com/ThailandProgressiveMovement/posts/349143526721916
https://www.facebook.com/ThailandProgressiveMovement/posts/349632953339640
กรุงไทยคอมพาส ชี้ไทยฉีดวัคซีนล่าช้ากว่ามาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว ค่อนข้างมาก
https://www.matichon.co.th/economy/news_2685707
กรุงไทยคอมพาส ชี้ไทยฉีดวัคซีนล่าช้ากว่ามาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว ค่อนข้างมาก
รายงานข่าวจาก Krungthai COMPASS ระบุว่า ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวในกรอบ 1.5-3.0% การระบาดรอบนี้อาจกระทบเศรษฐกิจอย่างต่ำ 3 เดือน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการควบคุมโรคว่าจะทำได้รวดเร็วเพียงใด โดยมองว่าสามารถควบคุมการระบาดได้ดีอาจกระทบเศรษฐกิจเพียง 3 เดือน แต่หากมีการเกิดการระบาดซ้ำซ้อน (Double-dip) ก็อาจจะกระทบเศรษฐกิจยาวนานถึง 6 เดือน พร้อมจับตา 3 ปัจจัยที่จะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
ประการที่ 1: ความสามารถในการควบคุมโรคระบาดกลายพันธุ์ที่ต้องมีประสิทธิภาพและรัดกุม หากการควบคุมการระบาดขาดประสิทธิภาพหรือผ่อนคลายมาตรการเร็วเกินไป อาจทำให้ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมโรคที่เข้มข้นกว่าเดิม และต่อเนื่องไปจนกว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ ดังเช่นการระบาดแบบ 2 ระลอกติดกันหรือ Double-dip ในเคสของประเทศอังกฤษ
สำหรับกรณีอังกฤษ พบเชื้อ COVID-19 กลายพันธุ์ (B.117) ครั้งแรก หลังเห็นสัญญาณตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่เร่งตัวขึ้นอย่างมากในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. จากไม่ถึง 1 หมื่นรายต่อวัน จนพุ่งแตะ 3 หมื่นรายต่อวัน ก่อนอังกฤษจะ Lockdown ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ดี อังกฤษกลับต้องเผชิญการระบาดแบบ Double-dip หลังยอดผู้ติดเชื้อรายวันกลับมาพุ่งทำสถิติสูงสุดถึงเกือบ 7 หมื่นราย ซึ่งในครั้งนี้อังกฤษต้องยกระดับมาตรการควบคุมโรคให้ยาวนานขึ้นกว่าครั้งก่อน พร้อมกันนี้ยังเร่งระดมฉีดวัคซีนจนได้สัดส่วนผู้ฉีดวัคซีนสะสมเกินครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถควบคุมเชื้อกลายพันธุ์ได้เป็นผลสำเร็จ ก่อนจะประกาศทยอยผ่อนคลาย Lockdown ไปเมื่อไม่นานนี้
ประการที่ 2: การแจกกระจายวัคซีนในประเทศที่ต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยที่สร้างเสริมความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและประชาชนได้มากที่สุด และจะทำให้ภาพของอุปสงค์ในประเทศกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยจากข้อมูล Our world in data.org พบว่า ส่วนใหญ่ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว (GDP per capita) สูง จำนวนประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนสะสมก็จะสูงตามไปด้วยเมื่อเทียบกับประเทศรายได้ปานกลาง-ต่ำอย่างแถบอาเซียน
อย่างไรก็ดี ไทยซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายได้สูงกว่าหลายประเทศในอาเซียน แต่กลับพบว่า จำนวนโดสสะสมของไทยอยู่ที่เพียง 1.0% ซึ่งต่ำกว่าเพื่อนบ้านเราอย่างมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาวค่อนข้างมาก ซึ่งก็ยิ่งจะทำให้โอกาสที่วัคซีนจะกลายเป็น Game Changer จนสร้างเป็นภูมิคุ้มกันหมู่ได้และพร้อมเปิดประเทศอาจต้องล่าช้าออกไป
ประการที่ 3: เม็ดเงินพยุงเศรษฐกิจที่ต้องเป็นไปอย่าง “ตามเป้า-ต่อเนื่อง-ตรงจุด” ตามเม็ดเงินจาก พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ที่ยังคงเหลืออยู่ราว 2.2 แสนล้านบาท ที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้ต่อยอดจากโครงการเดิมที่มีกระแสตอบรับดี เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน หรือเราชนะ เป็นต้น ซึ่งจะเข้ามาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เสริมให้เศรษฐกิจอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ถึง 1.5%
นอกจากนี้ ยังมีเม็ดเงินที่สามารถจัดสรรจากงบกลางได้อีกจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ภาครัฐยังต้องคำนึงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน (K-shape Recovery) โดยเฉพาะการขยายระยะเวลามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและแรงงานที่ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรค
โควิดระลอก 3 ทุบตลาดท่องเที่ยว กสิกรไทยมองต่างชาติเหลือ 2.5 แสนคน
https://www.prachachat.net/finance/news-653541
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินโควิด-19 ระลอก 3 ฉุดแผนการเปิดประเทศล่าช้า-ภาคการท่องเที่ยวยังเปราะบาง กระทบจำนวนนักท่องเที่ยวเหลือ 2.5 แสนคน-1.2 ล้านคน เม็ดเงินรายได้ 1.2 แสนล้านบาท จากเดิมมองอยู่ที่ 2 ล้านคน ชี้ ครึ่งปีแรกเข้ามา 3.5 หมื่นคน
วันที่ 22 เมษายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าภายใต้ความเสี่ยงที่การควบคุมการระบาดระลอก 3 ที่น่าจะใช้ระยะเวลานานกว่ารอบก่อนหน้า เนื่องจากพบผู้ติดเชื้อสูงและการแพร่เชื้อที่เร็ว ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างซาติในช่วงที่เหลือของปีนี้ ประกอบกับสภาพแวดล้อมการท่องเที่ยวที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากการระบาดของโรคโควิดยังไม่ยุติลงในระยะเวลาอันใกล้ทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ น่าจะต่ำกว่าที่ประเมิน
โดยมองว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยทั้งปี 2564 จะมีจำนวนประมาณ 2.5 แสนคน – 1.2 ล้านคน เป็นการปรับลดประมาณการจากเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่มองไว้ 2 ล้านคน
ทั้งนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 คงจะใช้ระยะเวลานานกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา กว่าที่สถานการณ์จะกลับมาผ่อนคลายลง เนื่องจากการระบาดครั้งนี้จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันสูงกว่าการระบาดในรอบก่อน และเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งคงจะส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติบางกลุ่มซึ่งมีแผนที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยในช่วงไตรมาส 2 นี้
และผลจากการระบาดของโควิดระลอกที่ 2 และ 3 ส่งผลกระทบทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ยังอยู่ระดับต่ำ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 น่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 3.5 หมื่นคน และแนวโน้มตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติครึ่งหลังปี 2564 ยังมีความเปราะบางสูง จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการระบาดของโควิด-19 ในประเทศระลอกใหม่นี้ที่มีความรุนแรงกว่ารอบก่อน ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบถึงความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายผ่อนคลายการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทางการได้วางแผนไว้ให้มีความล่าช้าออกไปอีกครั้ง หลังจากที่แผนงานต่างๆ ต้องถูกเลื่อนไปจากการระบาดในช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา
ขณะที่ประเด็นการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศก็น่าจะยังสามารถทำได้จำกัด เนื่องจากตามแผนการจัดหาวัคซีนที่จะเริ่มฉีดให้กับประชาชนทั่วไปจะเริ่มทยอยนำส่งมาในช่วงครึ่งหลังของปีนี้นอกจากนี้ แม้ในประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดในประเทศได้ แต่ยังต้องขึ้นอยู่กับการระบาดของโควิดในต่างประเทศอีกเช่นกัน รวมถึงนโยบายการสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศในแต่ละประเทศเช่นกัน และที่สำคัญเหตุการณ์โควิดที่ระบาดเป็นระยะเวลานานส่งผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชนในประเทศ
และทำให้ความสามารถในการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวบางกลุ่มลดลง แม้มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ทางการคงจะมีการเร่งฉีดวัคซีนให้กับคนในพื้นทีท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ตตามแผน เพื่อที่จะสามารถปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยตามแผนที่วางไว้ แต่เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปและปัจจัยแวดล้อมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังมีความท้าทายดังที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้น่าจะต่ำกว่าที่ประเมิน โดยมองว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยทั้งปี 2564 จะมีจำนวนประมาณ 2.5 แสนคน – 1.2 ล้านคน เป็นการปรับลดประมาณการจากเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่มองว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างซาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 2.0 ล้านคน
ทั้งนี้ กรณีเลวร้าย แม้คาดว่าทางการไทยจะสามารถควบคุมการระบาดระลอกนี้ได้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการระบาดในประเทศได้อีก เนื่องจากโรคโควิดทั้งในและต่างประเทศยังไม่ยุติลงในระยะเวลาอันใกล้ ขณะที่การฉีดวัคซีนในประเทศยังทำได้จำกัดฉพาะพื้นที่
ทำให้ทางการไทยยังต้องระมัดระวังในการผ่อนคลายเงื่อนไขการลดจำนวนวันกักตัวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในไทย ภายใต้สมมติฐานนี้ คาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 แสนคน ขณะที่รายได้ท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.5หมื่นล้านบาท
กรณีดีสุด ภายใต้สมมติฐานในกรณดีสุดนี้ นับเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทายค่อนข้างมาก โดยมองว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ประเทศไทยจะไม่มีการระบาดระลอกใหม่ ขณะที่ในต่างประเทศการระบาดของโรคมีจำนวนลดลงต่อเนื่อง การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศได้ครอบคลุมมากที่สุด และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งน่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และทางการคงจะดำเนินมาตรการผ่อนคลายเงื่อนไขการกักตัวและเปิดรับให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการทำ Travel Bubble กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนาม เป็นต้น
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กรณีดังกล่าวนี้อาจจะเห็นจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านคน ขณะที่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.2 แสนล้านบาท
JJNY : 4in1 ก้าวหน้าโชว์ครบหนึ่งปี│กรุงไทยคอมพาสชี้ฉีดวัคซีนช้า│กสิกรมองต่างชาติเหลือ2.5แสน│สุทินเตือนอย่ารื้อคดีค่าโง่
https://www.matichon.co.th/politics/news_2684659
“ก้าวหน้า” โชว์ครบหนึ่งปี ห้องตรวจโรคติดเชื้อ – เตียงแรงดันลบ ปลื้มใช้งานได้จริง
เมื่อวันที่ 22 เมษายน เพจคณะก้าวหน้า – Progressive Movement เผยแพร่ข้อเขียนเกี่ยวกับครบรอบ 1 ปี เปิดตัว “ห้องตรวจโรคติดเชื้อ – เตียงแรงดันลบ” โดย ระบุว่า ยังใช้งานปกติ ปัจจุบันยังใช้ได้จริง
เพจดังกล่าว ระบุว่า เป็นโครงการโดยความร่วมมือของ คณะก้าวหน้า, บริษัท จรูญรัตน์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด, ศิษย์เก่าวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมผลิตอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อมอบแก่โรงพยาบาลที่แสดงความประสงค์ต้องการใช้อุปกรณ์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
โดย 2 รายการที่ทำการผลิตและส่งมอบโรงพยาบาล 14 แห่งทั่วประเทศ ไปตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วได้แก่ 1.Modular ARI Clinic : ห้องตรวจโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลัน และ 2. Patient Transportation Chamber : อุปกรณ์ติดเสริมเตียงเคลื่อนย้าย ด้วยระบบแรงดันลบ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ในระหว่างเคลื่อนย้าย
ปรากฏหลังจากการเผยแพร่ข้อเขียนดังกล่าว มีชาว จ.กระบี่ ได้ส่งภาพบรรยากาศประชาชนเข้าใช้บริการมาให้ดู โดยบอกว่า ถ่ายไว้ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี่เอง ถือเป็นการ “อัพเดท” ข่าวคราว และทำให้คณะทำงานมีแรงใจที่ได้เห็นว่าอุปกรณ์การแพทย์ที่ผลิตมานั้น เกิดประโยชน์กับโรงพยาบาล
ทั้งนี้ สำหรับ รายชื่อ 14 โรงพยาบาลที่ได้รับมอบและยังใช้บริการเพื่อประชาชน ได้แก่
1. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี ARI คลินิก 7 ห้องคู่, PTC 2 เตียง
2. โรงพยาบาลชลบุรี PTC 1 เตียง
3. โรงพยาบาลพุทธโสธร จ.ฉะเชิงเทรา ARI คลินิก 3 ห้องคู่, PTC 1 เตียง
4. โรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่ ARI คลินิก 5 ห้องคู่, PTC 3 เตียง
5. โรงพยาบาลสนามศูนย์โควิด19 จ.เชียงใหม่ (ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่) ARI คลินิก 5 ห้องคู่, PTC 2 เตียง
6. โรงพยาบาลวชิระ จ.ภูเก็ต PTC 2 เตียง
7. โรงพยาบาลยะลา ARI คลินิก 4 ห้องคู่, PTC 1 เตียง
8. ยะรัง จ.ปัตตานี ARI คลินิก 5 ห้องคู่, PTC 2 เตียง
9. โรงพยาบาลสงขลา PTC 2 เตียง
10. โรงพยาบาลคลองหอยโข่ง จ.สงขลา ARI คลินิก 3 ห้องคู่
11. โรงพยาบาลเขาพนมกระบี่ ARI คลินิก 3 ห้องคู่, PTC 1 เตียง
12. โรงพยาบาลกงหรา จ.พัทลุง ARI คลินิก 4 ห้องคู่, PTC 1 เตียง
13. โรงพยาบาลสงขลานครินทร์หาดใหญ่ PTC 1 เตียง
14. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ARI คลินิก 5 ห้องคู่
https://www.facebook.com/ThailandProgressiveMovement/posts/349143526721916
https://www.facebook.com/ThailandProgressiveMovement/posts/349632953339640
กรุงไทยคอมพาส ชี้ไทยฉีดวัคซีนล่าช้ากว่ามาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว ค่อนข้างมาก
https://www.matichon.co.th/economy/news_2685707
กรุงไทยคอมพาส ชี้ไทยฉีดวัคซีนล่าช้ากว่ามาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว ค่อนข้างมาก
รายงานข่าวจาก Krungthai COMPASS ระบุว่า ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวในกรอบ 1.5-3.0% การระบาดรอบนี้อาจกระทบเศรษฐกิจอย่างต่ำ 3 เดือน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการควบคุมโรคว่าจะทำได้รวดเร็วเพียงใด โดยมองว่าสามารถควบคุมการระบาดได้ดีอาจกระทบเศรษฐกิจเพียง 3 เดือน แต่หากมีการเกิดการระบาดซ้ำซ้อน (Double-dip) ก็อาจจะกระทบเศรษฐกิจยาวนานถึง 6 เดือน พร้อมจับตา 3 ปัจจัยที่จะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
ประการที่ 1: ความสามารถในการควบคุมโรคระบาดกลายพันธุ์ที่ต้องมีประสิทธิภาพและรัดกุม หากการควบคุมการระบาดขาดประสิทธิภาพหรือผ่อนคลายมาตรการเร็วเกินไป อาจทำให้ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมโรคที่เข้มข้นกว่าเดิม และต่อเนื่องไปจนกว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ ดังเช่นการระบาดแบบ 2 ระลอกติดกันหรือ Double-dip ในเคสของประเทศอังกฤษ
สำหรับกรณีอังกฤษ พบเชื้อ COVID-19 กลายพันธุ์ (B.117) ครั้งแรก หลังเห็นสัญญาณตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่เร่งตัวขึ้นอย่างมากในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. จากไม่ถึง 1 หมื่นรายต่อวัน จนพุ่งแตะ 3 หมื่นรายต่อวัน ก่อนอังกฤษจะ Lockdown ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ดี อังกฤษกลับต้องเผชิญการระบาดแบบ Double-dip หลังยอดผู้ติดเชื้อรายวันกลับมาพุ่งทำสถิติสูงสุดถึงเกือบ 7 หมื่นราย ซึ่งในครั้งนี้อังกฤษต้องยกระดับมาตรการควบคุมโรคให้ยาวนานขึ้นกว่าครั้งก่อน พร้อมกันนี้ยังเร่งระดมฉีดวัคซีนจนได้สัดส่วนผู้ฉีดวัคซีนสะสมเกินครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถควบคุมเชื้อกลายพันธุ์ได้เป็นผลสำเร็จ ก่อนจะประกาศทยอยผ่อนคลาย Lockdown ไปเมื่อไม่นานนี้
ประการที่ 2: การแจกกระจายวัคซีนในประเทศที่ต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยที่สร้างเสริมความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและประชาชนได้มากที่สุด และจะทำให้ภาพของอุปสงค์ในประเทศกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยจากข้อมูล Our world in data.org พบว่า ส่วนใหญ่ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว (GDP per capita) สูง จำนวนประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนสะสมก็จะสูงตามไปด้วยเมื่อเทียบกับประเทศรายได้ปานกลาง-ต่ำอย่างแถบอาเซียน
อย่างไรก็ดี ไทยซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายได้สูงกว่าหลายประเทศในอาเซียน แต่กลับพบว่า จำนวนโดสสะสมของไทยอยู่ที่เพียง 1.0% ซึ่งต่ำกว่าเพื่อนบ้านเราอย่างมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาวค่อนข้างมาก ซึ่งก็ยิ่งจะทำให้โอกาสที่วัคซีนจะกลายเป็น Game Changer จนสร้างเป็นภูมิคุ้มกันหมู่ได้และพร้อมเปิดประเทศอาจต้องล่าช้าออกไป
ประการที่ 3: เม็ดเงินพยุงเศรษฐกิจที่ต้องเป็นไปอย่าง “ตามเป้า-ต่อเนื่อง-ตรงจุด” ตามเม็ดเงินจาก พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ที่ยังคงเหลืออยู่ราว 2.2 แสนล้านบาท ที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้ต่อยอดจากโครงการเดิมที่มีกระแสตอบรับดี เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน หรือเราชนะ เป็นต้น ซึ่งจะเข้ามาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เสริมให้เศรษฐกิจอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ถึง 1.5%
นอกจากนี้ ยังมีเม็ดเงินที่สามารถจัดสรรจากงบกลางได้อีกจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ภาครัฐยังต้องคำนึงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน (K-shape Recovery) โดยเฉพาะการขยายระยะเวลามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและแรงงานที่ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรค
โควิดระลอก 3 ทุบตลาดท่องเที่ยว กสิกรไทยมองต่างชาติเหลือ 2.5 แสนคน
https://www.prachachat.net/finance/news-653541
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินโควิด-19 ระลอก 3 ฉุดแผนการเปิดประเทศล่าช้า-ภาคการท่องเที่ยวยังเปราะบาง กระทบจำนวนนักท่องเที่ยวเหลือ 2.5 แสนคน-1.2 ล้านคน เม็ดเงินรายได้ 1.2 แสนล้านบาท จากเดิมมองอยู่ที่ 2 ล้านคน ชี้ ครึ่งปีแรกเข้ามา 3.5 หมื่นคน
วันที่ 22 เมษายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าภายใต้ความเสี่ยงที่การควบคุมการระบาดระลอก 3 ที่น่าจะใช้ระยะเวลานานกว่ารอบก่อนหน้า เนื่องจากพบผู้ติดเชื้อสูงและการแพร่เชื้อที่เร็ว ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างซาติในช่วงที่เหลือของปีนี้ ประกอบกับสภาพแวดล้อมการท่องเที่ยวที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากการระบาดของโรคโควิดยังไม่ยุติลงในระยะเวลาอันใกล้ทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ น่าจะต่ำกว่าที่ประเมิน
โดยมองว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยทั้งปี 2564 จะมีจำนวนประมาณ 2.5 แสนคน – 1.2 ล้านคน เป็นการปรับลดประมาณการจากเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่มองไว้ 2 ล้านคน
ทั้งนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 คงจะใช้ระยะเวลานานกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา กว่าที่สถานการณ์จะกลับมาผ่อนคลายลง เนื่องจากการระบาดครั้งนี้จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันสูงกว่าการระบาดในรอบก่อน และเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งคงจะส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติบางกลุ่มซึ่งมีแผนที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยในช่วงไตรมาส 2 นี้
และผลจากการระบาดของโควิดระลอกที่ 2 และ 3 ส่งผลกระทบทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ยังอยู่ระดับต่ำ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 น่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 3.5 หมื่นคน และแนวโน้มตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติครึ่งหลังปี 2564 ยังมีความเปราะบางสูง จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการระบาดของโควิด-19 ในประเทศระลอกใหม่นี้ที่มีความรุนแรงกว่ารอบก่อน ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบถึงความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายผ่อนคลายการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทางการได้วางแผนไว้ให้มีความล่าช้าออกไปอีกครั้ง หลังจากที่แผนงานต่างๆ ต้องถูกเลื่อนไปจากการระบาดในช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา
ขณะที่ประเด็นการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศก็น่าจะยังสามารถทำได้จำกัด เนื่องจากตามแผนการจัดหาวัคซีนที่จะเริ่มฉีดให้กับประชาชนทั่วไปจะเริ่มทยอยนำส่งมาในช่วงครึ่งหลังของปีนี้นอกจากนี้ แม้ในประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดในประเทศได้ แต่ยังต้องขึ้นอยู่กับการระบาดของโควิดในต่างประเทศอีกเช่นกัน รวมถึงนโยบายการสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศในแต่ละประเทศเช่นกัน และที่สำคัญเหตุการณ์โควิดที่ระบาดเป็นระยะเวลานานส่งผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชนในประเทศ
และทำให้ความสามารถในการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวบางกลุ่มลดลง แม้มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ทางการคงจะมีการเร่งฉีดวัคซีนให้กับคนในพื้นทีท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ตตามแผน เพื่อที่จะสามารถปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยตามแผนที่วางไว้ แต่เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปและปัจจัยแวดล้อมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังมีความท้าทายดังที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้น่าจะต่ำกว่าที่ประเมิน โดยมองว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยทั้งปี 2564 จะมีจำนวนประมาณ 2.5 แสนคน – 1.2 ล้านคน เป็นการปรับลดประมาณการจากเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่มองว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างซาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 2.0 ล้านคน
ทั้งนี้ กรณีเลวร้าย แม้คาดว่าทางการไทยจะสามารถควบคุมการระบาดระลอกนี้ได้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการระบาดในประเทศได้อีก เนื่องจากโรคโควิดทั้งในและต่างประเทศยังไม่ยุติลงในระยะเวลาอันใกล้ ขณะที่การฉีดวัคซีนในประเทศยังทำได้จำกัดฉพาะพื้นที่
ทำให้ทางการไทยยังต้องระมัดระวังในการผ่อนคลายเงื่อนไขการลดจำนวนวันกักตัวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในไทย ภายใต้สมมติฐานนี้ คาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 แสนคน ขณะที่รายได้ท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.5หมื่นล้านบาท
กรณีดีสุด ภายใต้สมมติฐานในกรณดีสุดนี้ นับเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทายค่อนข้างมาก โดยมองว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ประเทศไทยจะไม่มีการระบาดระลอกใหม่ ขณะที่ในต่างประเทศการระบาดของโรคมีจำนวนลดลงต่อเนื่อง การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศได้ครอบคลุมมากที่สุด และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งน่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และทางการคงจะดำเนินมาตรการผ่อนคลายเงื่อนไขการกักตัวและเปิดรับให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการทำ Travel Bubble กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนาม เป็นต้น
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กรณีดังกล่าวนี้อาจจะเห็นจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านคน ขณะที่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.2 แสนล้านบาท