คนท่องเที่ยวทำใจ ! อุตฯท่องเที่ยวไทยซบยาวยันปี’66
https://www.prachachat.net/tourism/news-588126
คาดการณ์กันว่าปี 2563 ที่ผ่านมารายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 8 แสนล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าตลาดต่างประเทศนั้นสามารถทำรายได้ได้เพียงแค่ช่วงไตรมาสแรกเท่านั้น
โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ประมาณ 6.7 ล้านคน สร้างรายได้อยู่ที่ราว 3.3 แสนล้านบาท และตลาดไทยเที่ยวไทย หรือการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศอีกราว 5 แสนล้านบาท
เรียกว่าพลาดเป้าหมายที่วางไว้ไปถึงราว 2.35 ล้านล้านบาท (เป้าหมายเดิม 3.18 ล้านล้านบาท)
ทุบ “ไทยเที่ยวไทย” ทันที
แหล่งข่าวในธุรกิจท่องเที่ยวรายหนึ่งกล่าวกับ “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เดิมทีเดียวคาดการณ์กันว่าปี 2564 นี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจะเริ่มทยอยปรับตัวดีขึ้น โดยมีการท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือไทยเที่ยวไทย เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
“
แต่ยังไม่ทันจะก้าวข้ามปี 2563 ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ระลอกใหม่อีกครั้งเมื่อต้นเดือนธันวาคม นับตั้งแต่เจอการระบาดภายในประเทศที่เชียงราย, เชียงใหม่ ฯลฯ กระทั่งแหล่งใหญ่ที่สมุทรสาคร และกำลังลามไปในทุกภูมิภาคของประเทศในขณะนี้”
พร้อมทั้งบอกว่า ปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้แน่นอนว่านอกจากจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศแล้ว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงเป็นเซ็กเตอร์ที่ได้รับผลกระทบหนักต่อเนื่อง เนื่องจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งเป็นความหวังเดียวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยในปี 2564 นี้ทันที
“
ยุทธศักดิ์ สุภสร” ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้ข้อมูลว่า จากการทำการประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยภายใต้โครงการ TAT Tourism Recovery Tracker (ข้อมูล ณ 18 ธันวาคม 2563) พบว่า การเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมามีสัญญาณดีอย่างชัดเจน โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีจำนวนคนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ 15 ล้านคน-ครั้ง และเพิ่มเป็น 16 ล้านคน-ครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน
นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการเข้าพักในโรงแรมก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกัน โดยในเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงของการปิดน่านฟ้า โรงแรมมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพียงแค่ 2% แต่หลังจากที่ปลดล็อกให้เดินทางภายในประเทศ ทำให้อัตราการเข้าพักของโรงแรมในเดือนกรกฎาคมเพิ่มเป็นกว่า 20% และเพิ่มเป็น 34% ในเดือนตุลาคม และเพิ่มเป็นประมาณ 37.5% ในเดือนธันวาคม 2563
คาดปี’64 รายได้ 1.2 ล้านล้าน
ทั้งนี้ คาดว่าสำหรับปี 2564 นี้ ประเทศไทยน่าจะมีรายได้จากภาคการท่องเที่ยวรวมประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท โดยมาจากตลาดต่างประเทศราว 5 แสนล้านบาท จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 10 ล้านคน และตลาดไทยเที่ยวไทยราว 7 แสนล้านบาท จากการเดินทางท่องเที่ยว 120 ล้านคน-ครั้ง โดยคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มกลับมาตั้งแต่ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564
นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า รายได้ภาคการท่องเที่ยวของไทยจะขยับเป็น 2.5 ล้านบาทได้ในปี 2565 หรือกลับมาได้ประมาณ 80% ของรายได้รวมในปี 2562
โดยคาดว่าจะเป็นรายได้ตลาดต่างประเทศ 1.3 ล้านล้านบาท จากจำนวนของนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 20.8 ล้านคน และตลาดไทยเที่ยวไทยประมาณ 1.2 ล้านคน จากการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยที่ 180 ล้านคน-ครั้ง
มั่นใจระยะยาว (ยัง) ดี
“
ปิยะมาน เตชะไพบูลย์” ประธานกิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปีที่ผ่านมาต่อเนื่องมาถึงปีนี้รุนแรงและหนักกว่าทุกปัญหาในรอบหลาย 10 ปีที่ผ่านมา และยังไม่สามารถประเมินได้ว่าสถานการณ์จะลากยาวไปอีกนานแค่ไหน แต่เชื่อว่าในระยะยาวภาคการท่องเที่ยวของไทยจะสามารถกลับมาดีได้ไม่ยาก
เพราะด้วยจุดแข็งที่โดดเด่นในด้านระบบสาธารณสุขของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าทันทีที่มีวัคซีน นักท่องเที่ยวต่างชาติจะไหลกลับมาประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ทุกฝ่ายจำเป็นต้องเร่งทบทวน ปรับรูปแบบ และหาแนวทางการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ให้ได้ด้วย เพื่อพยุงเศรษฐกิจโดยรวมให้ขับเคลื่อนต่อไปได้
เชื่อ “เที่ยวในประเทศ” ไปต่อได้
สอดรับกับ “
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์” ประธานกรรมการในคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (บอร์ด ททท.) ให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ภาครัฐเองมองว่าในช่วงเวลานี้ประเทศไทยควรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการทำการตลาดท่องเที่ยวกันใหม่ จากที่เน้นทำการตลาดดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก หรือที่เรียกกันว่า mass tourism มีนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละ 30-40 ล้านคน ให้หันมาโฟกัสเซ็กเมนต์มากขึ้น
พูดง่าย ๆ คือ เน้นทำการตลาดเฉพาะกลุ่ม ไม่มุ่งปริมาณ แต่ต้องทำให้นักท่องเที่ยวอยู่ยาวขึ้น และใช้จ่ายเงินมากขึ้นแทน
“
แนวทางการหันมาเจาะกลุ่มลองสเตย์ในช่วงที่ผ่านมาจะเป็นกลยุทธ์หลักสำหรับทำการตลาดต่างประเทศในปี 2564 นี้ ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างภาพลักษณ์ให้ทั่วโลกรับรู้ว่า ประเทศไทยได้ขยับขึ้นสู่ safe & clean destination หรือเมืองท่องเที่ยว
ปลอดภัยด้วย”
อย่างไรก็ตาม สำหรับปี 2564 นี้ ส่วนตัวมองว่าแม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่อีกครั้ง แต่ส่วนตัวยังเชื่อว่าเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศนั้นยังคงเป็น “
ไทยเที่ยวไทย” หรือการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศต่อไป
คาดไฟลต์บินกลับมาปกติปี’66
ในฟากของ ทอท. หรือบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) ได้คาดการณ์ปริมาณการจราจรทางอากาศระหว่างปีงบประมาณ 2564 (1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2564) ว่า จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 446,986 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 47.91 ล้านคน และคาดด้วยว่าปีงบประมาณ 2565 (1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565) จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 776,763 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 110.88 ล้านคน
พร้อมทั้งยังคาดการณ์ด้วยว่า ปริมาณการจราจรทางอากาศจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับปีงบประมาณ 2562 ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในปีงบประมาณ 2566 (1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566)
ชี้ท่องเที่ยวพลิกฟื้นปี’65-66
ด้าน “
ศุภฤกษ์ ศูรางกูร” ประธานบริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด และเจ้าของ “เซเรนนาต้า โฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท กรุ๊ป” และนายกสมาคมการค้าธุรกิจที่พักบูติคไทย ประเมินว่า ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งราวปี 2565-2566 ตามคาดการณ์ของไออาต้า (สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ) ที่ได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้
โดยมองว่าปัจจัยลบที่มีผลโดยตรง คือ
1. การควบคุมโรคระบาด ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต้นทางที่จะส่งออกนักท่องเที่ยวมาประเทศไทยด้วย และเชื่อว่ากว่าจะครอบคลุมทั่วโลกคือปี 2565
2. การเปิดสนามบิน หรือการอนุญาตให้สายการบินต่างประเทศทำการบินเข้าประเทศไทยได้ช้า-เร็วแค่ไหน
3. เศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลกมีผลต่อประเทศต้นทางที่จะส่งออกนักท่องเที่ยวคงมีปริมาณลดลง ที่สำคัญ ทุกประเทศก็ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
และ 4.ประเทศไทยสามารถสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องการให้บริการที่ได้มาตรฐานตามหลักของกระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถป้องกันโควิดได้มากน้อยแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก คือ วงจรของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศกำลังจะหายไป อาทิ สายการบินปิดตัว โรงแรมปิดให้บริการ บริษัททัวร์ปิดกิจการ ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนทำให้การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยช้าและฟื้นตัวกลับมาไม่ 100 เปอร์เซ็นต์เหมือนก่อนโควิด…
เศรษฐกิจ-โควิดพ่นพิษ “ที่ดิน-บ้าน-คอนโดฯ” ติดหล่ม ยอดจดทะเบียนร่วงทั่วไทย
https://www.prachachat.net/property/news-587698
จบปี 2563 ไปอย่างระทดระทวย จากมรสุมเศรษฐกิจและโรคระบาดโควิด-19 ที่รุมเร้าไม่หยุด จนฉุดมู้ดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ จากสถิติการจดทะเบียนของกรมที่ดิน ณ เดือน พ.ย. 2563 ทั้ง 77 จังหวัดมีการซื้อขายเปลี่ยนมือลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี 2562
เปิดข้อมูลจดทะเบียน
นาย
ฐนัญพงษ์ สุขสมศักดิ์ ผู้อำนวยการกองประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เปิดเผย “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมของปี 2563 มีการซื้อขายอยู่ที่ 68.28% หรือ 455,658 แปลง ลดลงประมาณ 40% จากปี 2562 มีการซื้อขายจำนวน 672,721 แปลง
“
การจดทะเบียนซื้อขายจะสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเราจะนำมาเป็นข้อมูล และเป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์เพื่อจัดทำราคาประเมินใหม่ที่จะประกาศใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2565 ด้วย มีบางจังหวัดที่ราคาตลาดปรับตัวลงต่ำกว่าราคาประเมิน ขณะที่บางจังหวัดยังสูงกว่าแต่ไม่หวือหวา ซึ่งโดยรวมจะเป็นแทบทุกจังหวัด จึงคาดว่าอาจจะทำให้ราคาประเมินใหม่ในปี 2565 จะไม่หวือหวาตามไปด้วย ส่วนการซื้อขายในปีนี้น่าจะใกล้เคียงกับปี 2562”
กทม.มี 6.3 หมื่นแปลง
จังหวัดมีการซื้อขายมากสุด “กรุงเทพมหานคร” ปี 2562 อยู่ที่ 108,622 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 63,709 แปลง “ชลบุรี” ปี 2562 จำนวน 47,311 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 30,167 แปลง
“นนทบุรี” ปี 2562 จำนวน 39,381 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 26,344 แปลง “สมุทรปราการ” ปี 2562 จำนวน 37,237 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 23,175 แปลง
“ปทุมธานี” ปี 2562 จำนวน 40,319 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 29,122 แปลง “อุบลราชธานี” ปี 2562 จำนวน 27,962 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 16,734 แปลง
โคราชหายไปกว่า 8 พันแปลง
“นครราชสีมา” ปี 2562 จำนวน 27,932 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 19,093 แปลง “ระยอง” ปี 2562 จำนวน 19,411 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 14,097 แปลง “ร้อยเอ็ด” ปี 2562 จำนวน 13,228 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 9,113 แปลง
“นครปฐม” ปี 2562 จำนวน 12,624 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 8,913 แปลง “ขอนแก่น” ปี 2562 จำนวน 10,236 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 7,869 แปลง
“นครศรีธรรมราช” ปี 2562 จำนวน 9,978 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 7,718 แปลง “ลำปาง” ปี 2562 จำนวน 9,365 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 6,144 แปลง “สุราษฎร์ธานี” ปี 2562 จำนวน 8,825 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 6,018 แปลง
“สกลนคร” ปี 2562 จำนวน 7,691 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 5,924 แปลง “หนองคาย” ปี 2562 จำนวน 7,492 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 4,065 แปลง “ลำพูน” ปี 2562 จำนวน 7,618 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 4,617 แปลง
“มหาสารคาม” ปี 2562 จำนวน 7,387 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 5,800 แปลง “สุพรรณบุรี” ปี 2562 จำนวน 7,845 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,789 แปลง
นครสวรรค์หล่นเล็กน้อย
“นครสวรรค์” ปี 2562 จำนวน 7,627 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,685 แปลง “ชัยภูมิ” ปี 2562 จำนวน 7,024 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,662 แปลง “เชียงราย” ปี 2562 จำนวน 7,293 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,512 แปลง
“ศรีสะเกษ” ปี 2562 จำนวน 6,300 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,052 แปลง “พระนครศรีอยุธยา” ปี 2562 จำนวน 7,481 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,027 แปลง
“ราชบุรี” ปี 2562 จำนวน 6,986 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,681 แปลง
ภูเก็ตราคาร่วง
“ภูเก็ต” ปี 2562 จำนวน 6,316 แปลง ปี 2563 จำนวน 2,566 แปลง “ปราจีนบุรี” ปี 2562 จำนวน 6,296 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,905 แปลง “เชียงใหม่” ปี 2562 จำนวน 5,851 แปลง ปี 2563 จำนวน 3,331 แปลง
“กาฬสินธุ์” ปี 2562 จำนวน 6,080 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,773 แปลง “อุดรธานี” ปี 2562 จำนวน 5,779 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,274 แปลง “ลพบุรี” ปี 2562 จำนวน 6,659 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,308 แปลง
“เพชรบูรณ์” ปี 2563 จำนวน 6,108 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,517 แปลง “สงขลา” ปี 2562 จำนวน 5,962 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,584 แปลง
JJNY : ท่องเที่ยวซบยันปี’66/“ที่ดิน-บ้าน-คอนโดฯ”ยอดจดทะเบียนร่วงทั่วไทย/หมอมนูญชี้ห้างเสี่ยงกว่าตลาด10เท่า/ติดเชื้อ 205
https://www.prachachat.net/tourism/news-588126
คาดการณ์กันว่าปี 2563 ที่ผ่านมารายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 8 แสนล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าตลาดต่างประเทศนั้นสามารถทำรายได้ได้เพียงแค่ช่วงไตรมาสแรกเท่านั้น
โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ประมาณ 6.7 ล้านคน สร้างรายได้อยู่ที่ราว 3.3 แสนล้านบาท และตลาดไทยเที่ยวไทย หรือการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศอีกราว 5 แสนล้านบาท
เรียกว่าพลาดเป้าหมายที่วางไว้ไปถึงราว 2.35 ล้านล้านบาท (เป้าหมายเดิม 3.18 ล้านล้านบาท)
ทุบ “ไทยเที่ยวไทย” ทันที
แหล่งข่าวในธุรกิจท่องเที่ยวรายหนึ่งกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เดิมทีเดียวคาดการณ์กันว่าปี 2564 นี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจะเริ่มทยอยปรับตัวดีขึ้น โดยมีการท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือไทยเที่ยวไทย เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
“แต่ยังไม่ทันจะก้าวข้ามปี 2563 ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ระลอกใหม่อีกครั้งเมื่อต้นเดือนธันวาคม นับตั้งแต่เจอการระบาดภายในประเทศที่เชียงราย, เชียงใหม่ ฯลฯ กระทั่งแหล่งใหญ่ที่สมุทรสาคร และกำลังลามไปในทุกภูมิภาคของประเทศในขณะนี้”
พร้อมทั้งบอกว่า ปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้แน่นอนว่านอกจากจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศแล้ว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงเป็นเซ็กเตอร์ที่ได้รับผลกระทบหนักต่อเนื่อง เนื่องจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งเป็นความหวังเดียวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยในปี 2564 นี้ทันที
“ยุทธศักดิ์ สุภสร” ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้ข้อมูลว่า จากการทำการประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยภายใต้โครงการ TAT Tourism Recovery Tracker (ข้อมูล ณ 18 ธันวาคม 2563) พบว่า การเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมามีสัญญาณดีอย่างชัดเจน โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีจำนวนคนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ 15 ล้านคน-ครั้ง และเพิ่มเป็น 16 ล้านคน-ครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน
นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการเข้าพักในโรงแรมก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกัน โดยในเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงของการปิดน่านฟ้า โรงแรมมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพียงแค่ 2% แต่หลังจากที่ปลดล็อกให้เดินทางภายในประเทศ ทำให้อัตราการเข้าพักของโรงแรมในเดือนกรกฎาคมเพิ่มเป็นกว่า 20% และเพิ่มเป็น 34% ในเดือนตุลาคม และเพิ่มเป็นประมาณ 37.5% ในเดือนธันวาคม 2563
คาดปี’64 รายได้ 1.2 ล้านล้าน
ทั้งนี้ คาดว่าสำหรับปี 2564 นี้ ประเทศไทยน่าจะมีรายได้จากภาคการท่องเที่ยวรวมประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท โดยมาจากตลาดต่างประเทศราว 5 แสนล้านบาท จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 10 ล้านคน และตลาดไทยเที่ยวไทยราว 7 แสนล้านบาท จากการเดินทางท่องเที่ยว 120 ล้านคน-ครั้ง โดยคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มกลับมาตั้งแต่ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564
นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า รายได้ภาคการท่องเที่ยวของไทยจะขยับเป็น 2.5 ล้านบาทได้ในปี 2565 หรือกลับมาได้ประมาณ 80% ของรายได้รวมในปี 2562
โดยคาดว่าจะเป็นรายได้ตลาดต่างประเทศ 1.3 ล้านล้านบาท จากจำนวนของนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 20.8 ล้านคน และตลาดไทยเที่ยวไทยประมาณ 1.2 ล้านคน จากการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยที่ 180 ล้านคน-ครั้ง
มั่นใจระยะยาว (ยัง) ดี
“ปิยะมาน เตชะไพบูลย์” ประธานกิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปีที่ผ่านมาต่อเนื่องมาถึงปีนี้รุนแรงและหนักกว่าทุกปัญหาในรอบหลาย 10 ปีที่ผ่านมา และยังไม่สามารถประเมินได้ว่าสถานการณ์จะลากยาวไปอีกนานแค่ไหน แต่เชื่อว่าในระยะยาวภาคการท่องเที่ยวของไทยจะสามารถกลับมาดีได้ไม่ยาก
เพราะด้วยจุดแข็งที่โดดเด่นในด้านระบบสาธารณสุขของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าทันทีที่มีวัคซีน นักท่องเที่ยวต่างชาติจะไหลกลับมาประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ทุกฝ่ายจำเป็นต้องเร่งทบทวน ปรับรูปแบบ และหาแนวทางการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ให้ได้ด้วย เพื่อพยุงเศรษฐกิจโดยรวมให้ขับเคลื่อนต่อไปได้
เชื่อ “เที่ยวในประเทศ” ไปต่อได้
สอดรับกับ “ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์” ประธานกรรมการในคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (บอร์ด ททท.) ให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ภาครัฐเองมองว่าในช่วงเวลานี้ประเทศไทยควรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการทำการตลาดท่องเที่ยวกันใหม่ จากที่เน้นทำการตลาดดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก หรือที่เรียกกันว่า mass tourism มีนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละ 30-40 ล้านคน ให้หันมาโฟกัสเซ็กเมนต์มากขึ้น
พูดง่าย ๆ คือ เน้นทำการตลาดเฉพาะกลุ่ม ไม่มุ่งปริมาณ แต่ต้องทำให้นักท่องเที่ยวอยู่ยาวขึ้น และใช้จ่ายเงินมากขึ้นแทน
“แนวทางการหันมาเจาะกลุ่มลองสเตย์ในช่วงที่ผ่านมาจะเป็นกลยุทธ์หลักสำหรับทำการตลาดต่างประเทศในปี 2564 นี้ ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างภาพลักษณ์ให้ทั่วโลกรับรู้ว่า ประเทศไทยได้ขยับขึ้นสู่ safe & clean destination หรือเมืองท่องเที่ยว ปลอดภัยด้วย”
อย่างไรก็ตาม สำหรับปี 2564 นี้ ส่วนตัวมองว่าแม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่อีกครั้ง แต่ส่วนตัวยังเชื่อว่าเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศนั้นยังคงเป็น “ไทยเที่ยวไทย” หรือการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศต่อไป
คาดไฟลต์บินกลับมาปกติปี’66
ในฟากของ ทอท. หรือบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) ได้คาดการณ์ปริมาณการจราจรทางอากาศระหว่างปีงบประมาณ 2564 (1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2564) ว่า จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 446,986 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 47.91 ล้านคน และคาดด้วยว่าปีงบประมาณ 2565 (1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565) จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 776,763 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 110.88 ล้านคน
พร้อมทั้งยังคาดการณ์ด้วยว่า ปริมาณการจราจรทางอากาศจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับปีงบประมาณ 2562 ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในปีงบประมาณ 2566 (1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566)
ชี้ท่องเที่ยวพลิกฟื้นปี’65-66
ด้าน “ศุภฤกษ์ ศูรางกูร” ประธานบริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด และเจ้าของ “เซเรนนาต้า โฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท กรุ๊ป” และนายกสมาคมการค้าธุรกิจที่พักบูติคไทย ประเมินว่า ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งราวปี 2565-2566 ตามคาดการณ์ของไออาต้า (สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ) ที่ได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้
โดยมองว่าปัจจัยลบที่มีผลโดยตรง คือ
1. การควบคุมโรคระบาด ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต้นทางที่จะส่งออกนักท่องเที่ยวมาประเทศไทยด้วย และเชื่อว่ากว่าจะครอบคลุมทั่วโลกคือปี 2565
2. การเปิดสนามบิน หรือการอนุญาตให้สายการบินต่างประเทศทำการบินเข้าประเทศไทยได้ช้า-เร็วแค่ไหน
3. เศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลกมีผลต่อประเทศต้นทางที่จะส่งออกนักท่องเที่ยวคงมีปริมาณลดลง ที่สำคัญ ทุกประเทศก็ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
และ 4.ประเทศไทยสามารถสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องการให้บริการที่ได้มาตรฐานตามหลักของกระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถป้องกันโควิดได้มากน้อยแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก คือ วงจรของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศกำลังจะหายไป อาทิ สายการบินปิดตัว โรงแรมปิดให้บริการ บริษัททัวร์ปิดกิจการ ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนทำให้การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยช้าและฟื้นตัวกลับมาไม่ 100 เปอร์เซ็นต์เหมือนก่อนโควิด…
เศรษฐกิจ-โควิดพ่นพิษ “ที่ดิน-บ้าน-คอนโดฯ” ติดหล่ม ยอดจดทะเบียนร่วงทั่วไทย
https://www.prachachat.net/property/news-587698
จบปี 2563 ไปอย่างระทดระทวย จากมรสุมเศรษฐกิจและโรคระบาดโควิด-19 ที่รุมเร้าไม่หยุด จนฉุดมู้ดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ จากสถิติการจดทะเบียนของกรมที่ดิน ณ เดือน พ.ย. 2563 ทั้ง 77 จังหวัดมีการซื้อขายเปลี่ยนมือลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี 2562
เปิดข้อมูลจดทะเบียน
นายฐนัญพงษ์ สุขสมศักดิ์ ผู้อำนวยการกองประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมของปี 2563 มีการซื้อขายอยู่ที่ 68.28% หรือ 455,658 แปลง ลดลงประมาณ 40% จากปี 2562 มีการซื้อขายจำนวน 672,721 แปลง
“การจดทะเบียนซื้อขายจะสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเราจะนำมาเป็นข้อมูล และเป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์เพื่อจัดทำราคาประเมินใหม่ที่จะประกาศใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2565 ด้วย มีบางจังหวัดที่ราคาตลาดปรับตัวลงต่ำกว่าราคาประเมิน ขณะที่บางจังหวัดยังสูงกว่าแต่ไม่หวือหวา ซึ่งโดยรวมจะเป็นแทบทุกจังหวัด จึงคาดว่าอาจจะทำให้ราคาประเมินใหม่ในปี 2565 จะไม่หวือหวาตามไปด้วย ส่วนการซื้อขายในปีนี้น่าจะใกล้เคียงกับปี 2562”
กทม.มี 6.3 หมื่นแปลง
จังหวัดมีการซื้อขายมากสุด “กรุงเทพมหานคร” ปี 2562 อยู่ที่ 108,622 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 63,709 แปลง “ชลบุรี” ปี 2562 จำนวน 47,311 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 30,167 แปลง
“นนทบุรี” ปี 2562 จำนวน 39,381 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 26,344 แปลง “สมุทรปราการ” ปี 2562 จำนวน 37,237 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 23,175 แปลง
“ปทุมธานี” ปี 2562 จำนวน 40,319 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 29,122 แปลง “อุบลราชธานี” ปี 2562 จำนวน 27,962 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 16,734 แปลง
โคราชหายไปกว่า 8 พันแปลง
“นครราชสีมา” ปี 2562 จำนวน 27,932 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 19,093 แปลง “ระยอง” ปี 2562 จำนวน 19,411 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 14,097 แปลง “ร้อยเอ็ด” ปี 2562 จำนวน 13,228 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 9,113 แปลง
“นครปฐม” ปี 2562 จำนวน 12,624 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 8,913 แปลง “ขอนแก่น” ปี 2562 จำนวน 10,236 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 7,869 แปลง
“นครศรีธรรมราช” ปี 2562 จำนวน 9,978 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 7,718 แปลง “ลำปาง” ปี 2562 จำนวน 9,365 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 6,144 แปลง “สุราษฎร์ธานี” ปี 2562 จำนวน 8,825 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 6,018 แปลง
“สกลนคร” ปี 2562 จำนวน 7,691 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 5,924 แปลง “หนองคาย” ปี 2562 จำนวน 7,492 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 4,065 แปลง “ลำพูน” ปี 2562 จำนวน 7,618 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 4,617 แปลง
“มหาสารคาม” ปี 2562 จำนวน 7,387 แปลง ปี 2563 อยู่ที่ 5,800 แปลง “สุพรรณบุรี” ปี 2562 จำนวน 7,845 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,789 แปลง
นครสวรรค์หล่นเล็กน้อย
“นครสวรรค์” ปี 2562 จำนวน 7,627 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,685 แปลง “ชัยภูมิ” ปี 2562 จำนวน 7,024 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,662 แปลง “เชียงราย” ปี 2562 จำนวน 7,293 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,512 แปลง
“ศรีสะเกษ” ปี 2562 จำนวน 6,300 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,052 แปลง “พระนครศรีอยุธยา” ปี 2562 จำนวน 7,481 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,027 แปลง
“ราชบุรี” ปี 2562 จำนวน 6,986 แปลง ปี 2563 จำนวน 5,681 แปลง
ภูเก็ตราคาร่วง
“ภูเก็ต” ปี 2562 จำนวน 6,316 แปลง ปี 2563 จำนวน 2,566 แปลง “ปราจีนบุรี” ปี 2562 จำนวน 6,296 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,905 แปลง “เชียงใหม่” ปี 2562 จำนวน 5,851 แปลง ปี 2563 จำนวน 3,331 แปลง
“กาฬสินธุ์” ปี 2562 จำนวน 6,080 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,773 แปลง “อุดรธานี” ปี 2562 จำนวน 5,779 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,274 แปลง “ลพบุรี” ปี 2562 จำนวน 6,659 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,308 แปลง
“เพชรบูรณ์” ปี 2563 จำนวน 6,108 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,517 แปลง “สงขลา” ปี 2562 จำนวน 5,962 แปลง ปี 2563 จำนวน 4,584 แปลง