ท่องเที่ยวโค้งแรกปี’64 สาหัสทั่วหล้ารายได้เข้าไม่เกิน 10%
https://www.prachachat.net/tourism/news-641700
การแพร่ระบาดภายในประเทศของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่เมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมาที่ขยายวงกว้างและรวดเร็ว โดยภาครัฐเองก็ได้ออกมาตรการควบคุมด้วยการกำหนดพื้นที่ตามความรุนแรงของสถานการณ์ ได้ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุก ๆ เซ็กเตอร์ในรอบไตรมาส 1/2564 อย่างชัดเจน
ดัชนีเชื่อมั่น (ยัง) ดิ่งเหว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้จัดทำสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในช่วงไตรมาส 1/2564
จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสถานประกอบการ 730 แห่ง จำนวน 8 ประเภททั่วประเทศ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเท่ากับ 36 สะท้อนว่าสถานการณ์ท่องเที่ยวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมากที่สุด (ปกติ=100) และต่ำกว่าไตรมาส 4/2563 ที่มีดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 62
พร้อมทั้งคาดการณ์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาส 2/2564 จะขยับไปอยู่ที่ 56 ชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการยังคงคาดการณ์ว่าผลประกอบการในไตรมาสหน้าจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากยังกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่ยังคงมีรายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่มากกว่า 50 คนทุกวัน รวมถึงเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นกลับสู่ภาวะปกติ (ก่อนโควิด)
สถานประกอบการเปิด 67%
“รศ.
ผกากรอง เทพรักษ์” อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ระบุว่า จากการสำรวจยังพบว่า ในไตรมาส 1/2564 ที่ผ่านมา ภาพรวมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เปิดบริการตามปกติมีประมาณ 67% ลดลงจากไตรมาสก่อน (ไตรมาส 4/2563) จำนวน 18% มีสถานประกอบการที่ปิดกิจการชั่วคราวประมาณ 14% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 4% ส่วนสถานประกอบการที่ปิดตัวถาวรมี 3% เท่ากับไตรมาสก่อน นอกจากนี้ ยังมีสถานประกอบการที่ลดขนาดธุรกิจ 11% และเปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่น 5%
นอกจากนี้ ในส่วนของการจ้างงานพบว่า 60% ของสถานประกอบการทั้งหมดมีการลดจำนวนพนักงาน และเหลือพนักงานอยู่ในสัดส่วนประมาณ 52% ขณะเดียวกัน 67% ของสถานประกอบการยังมีการลดเงินเดือน หรือค่าจ้างประมาณ 30%
แรงงานตกงานพุ่ง 1.45 ล้านคน
ทั้งนี้ หากประเมินจากตัวเลขการปิดกิจการทั้งหมด 17% (ปิดชั่วคราว 14% และปิดถาวร 3%) ก็คาดว่าน่าจะส่งผลให้แรงงานในภาคท่องเที่ยวถูกออกจากงานในสัดส่วนประมาณ 17% เช่นกัน หรือคิดเป็นจำนวนประมาณ 6.8 แสนคน
ถ้ารวมกับแรงงานที่ถูกให้ออกเนื่องจากนโยบายการลดพนักงานของสถานประกอบการที่เปิดบริการปกติ ที่พบว่า 60% ของสถานประกอบการที่เปิดบริการปกติมีการลดพนักงานในไตรมาสนี้ลงประมาณ 48% หรือคิดเป็นประมาณ 7.718 แสนคน รวมทั้งระบบประมาณ 1.45 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนประมาณ 4.11 แสนคน
ธุรกิจรายได้ไม่เกิน 10%
“
รศ.ผกากรอง” บอกด้วยว่า จากการสำรวจรายได้ของสถานประกอบการในไตรมาส 1/2564 พบว่า ธุรกิจในภาคท่องเที่ยว 8 สาขาได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดย 40% มีรายได้อยู่ระหว่าง 1-10% เมื่อเทียบกับรายได้ก่อนโควิด และหากประเมินเฉพาะกลุ่มที่รายได้ไม่ถึง 50% พบว่ามีสัดส่วนรวมถึง 87%
โดยธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้เข้ามาในสัดส่วน 1-10% มากที่สุด คือ ธุรกิจบริการขนส่ง มีสัดส่วนมากที่สุดถึง 53% โรงแรม มีสัดส่วน 33% บริษัทนำเที่ยว มีสัดส่วน 74% แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made attraction) มีสัดส่วน 68% และสถานบันเทิง มีสัดส่วน 48%
ขณะที่ธุรกิจที่จัดว่าพอเลี้ยงตัวเองได้บ้าง หรือมีรายได้อยู่ในสัดส่วน 21-30% คือ ธุรกิจร้านขายของที่ระลึก หรือร้านค้าทั่วไป และธุรกิจสปา ส่วนธุรกิจที่น่าจะดีที่สุดใน 8 สาขา คือ ร้านอาหาร โดยส่วนใหญ่ (36%) มีสัดส่วนรายได้อยู่ในระดับ 31-50% (ดูตารางประกอบ)
“
สรุปคือธุรกิจโรงแรมร้อยละ 83 มีรายได้ไม่เกิน 30% ธุรกิจบริการขนส่งร้อยละ 73 มีรายได้ไม่เกิน 30% บริษัทนำเที่ยว ร้อยละ 97 หรือแทบจะ 100% มีรายได้ไม่เกิน 30% เช่นเดียวกับแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ร้อยละ 90 มีรายได้ไม่เกิน 30%”
คาดต่างชาติเข้าไทย 2 หมื่นคน
นอกจากนี้ การสำรวจดังกล่าวยังได้ถามถึงการคาดการณ์จำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยว่า ในเดือนมกราคม 2564 มีการเดินทางท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องได้รับการตรวจลงตรานักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (special tourist visa : STV) จำนวน 7,694 คน
และคาดว่าในไตรมาส 1/2564 นี้จะมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยประมาณ 20,000 คน ลดลงร้อยละ 99-82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (ก่อนระบาดของไวรัสโควิด)
ต้อนรับต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้ว
และเมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมในการรับนักท่องเที่ยวในปี 2564 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยมากกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยผู้ประกอบการร้อยละ 78 ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ยังไม่ฉีดวัคซีน และร้อยละ 92 ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ฉีดวัคซีนแล้ว
ขณะที่ในส่วนของนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้น ผู้ประกอบการร้อยละ 62 ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังไม่ฉีดวัคซีน แต่มีการกักตัว (quarantine) ร้อยละ 76 ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้ว และมีการ quarantine และร้อยละ 58 ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้วโดยไม่ต้องมีการ quarantine
ทั้งนี้ ณ เวลาที่ทำการสำรวจ (กุมภาพันธ์ 2564) ยังไม่มีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในพื้นที่เมืองท่องเที่ยวหลัก ซึ่งหากมีการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนในพื้นที่ สัดส่วนความยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้สอบถามถึงความเต็มใจที่จะฉีดวัคซีนของประชาชนด้วย โดยพบว่า ร้อยละ 47 ยินดีฉีดวัคซีนฟรีจากยี่ห้อที่รัฐบาลเลือกให้ ร้อยละ 31 ยังไม่พร้อมที่จะฉีดภายในปีนี้ และร้อยละ 22 บอกว่ายินดีจ่ายเงินเองสำหรับวัคซีนยี่ห้อที่เลือกเอง
คงต้องลุ้นกันว่า “
วัคซีน” ที่กำลังทยอยกระจายลงไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว และนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวใน 6 จังหวัดท่องเที่ยวของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะทำให้ดัชนีผู้ประกอบการท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปีนี้จะสามารถพลิกฟื้นกลับมาได้มากน้อยแค่ไหน
“หมอธีระ” เตือน โควิดยังระบาดต่อเนื่อง “ไม่แนะนำให้เที่ยวช่วงนี้ เลื่อนได้ก็ควรเลื่อน”
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2657044
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2564 รศ.นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก
https://www.facebook.com/thiraw Thira Woratanarat เตือนผู้คนว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ได้ทะลุ 131 ล้านคนไปแล้ว และยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประเทศไทย และว่า เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่จะมาโปรโมตเรื่องการท่องเที่ยว ก่อนจะย้ำในอีกโพสต์ว่า ไม่แนะนำให้ไปเที่ยวในช่วงนี้ ถ้าเลื่อนได้ ก็ควรเลื่อน
โดยโพสต์ของรศ.นพ.ธีระ ระบุว่า
สถานการณ์ทั่วโลก 4 เมษายน 2564…
ทะลุ 131 ล้านไปแล้ว
คาดว่าอีกสองวันโปแลนด์น่าจะแซงโคลอมเบียขึ้นเป็นอันดับที่ 11 ของโลกได้ ตอนนี้ติดเชื้อต่อวันไต่ระดับขึ้นมาถึงราวสามหมื่นคนต่อวัน
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 536,516 คน รวมแล้วตอนนี้ 131,327,017 คน ตายเพิ่มอีก 8,154 คน ยอดตายรวม 2,858,125 คน
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 64,730 คน รวม 31,381,702 คน ตายเพิ่ม 790 คน ยอดเสียชีวิตรวม 568,496 คน
บราซิล ติดเพิ่ม 41,218 คน รวม 12,953,957 คน ตายเพิ่มถึง 1,827 คน จำนวนเสียชีวิตต่อวันมากที่สุดในโลก ยอดเสียชีวิตรวม 330,193 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 92,998 คน รวม 12,484,127 คน กราฟการระบาดระลอกสองของอินเดียครั้งนี้มีความชันกว่าระลอกแรก การติดเชื้อต่อวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากจำกันได้ ระลอกแรกเค้ามีสถิติสูงสุดถึง 97,859 คนต่อวัน ณ วันที่ 16 กันยายน 2563 แต่ระลอกสองนี้มีโอกาสที่จะทำลายสถิติเดิม
ฝรั่งเศส ยังไม่มีรายงานเพิ่ม ยอดรวมตอนนี้ 4,741,759 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 9,021 คน รวม 4,572,077 คน
อันดับ 6-10 เป็น สหราชอาณาจักร อิตาลี ตุรกี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่นต่อวัน
ตุรกีติดเชื้อเกินสี่หมื่นต่อวันอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้จำนวนติดเพิ่มต่อวันเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย และอเมริกา ทั้งนี้เค้ามีประชากรทั้งสิ้น 84.3 ล้านคน จัดเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงอันดับที่ 17 ของโลก หากระบาดเช่นนี้ต่อไป ถือเป็น epicenter ตรงแถบยูเรเชีย
แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงบังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่หลักร้อยถึงพันกว่า
แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่นอย่างต่อเนื่อง
เกาหลีใต้ ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ไทย สิงคโปร์ และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกง เวียดนาม และออสเตรเลีย ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
…ย้ำอีกครั้งว่า การระบาดในไทยยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปะทุในกลุ่มที่หลากหลาย กระจายหลายพื้นที่
หากดูตามเนื้อผ้า ก็เป็นไปตามธรรมชาติของการระบาดที่เกิดจากการไม่สามารถตัดวงจรการระบาดได้ในช่วงปลายปีก่อนถึงต้นปีที่ผ่านมา
ยิ่งหากไม่ทบทวนนโยบายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จะยิ่งมีโอกาสทำให้เกิดการระบาดหนักหน่วงตามมาได้
JJNY : ท่องเที่ยวโค้งแรกปี’64 สาหัสทั่วหล้า│"หมอธีระ"ไม่แนะนำให้เที่ยว│ชาติพันธุ์ประณามรบ.ทหาร│“เรืองไกร”ส่งหลักฐานเพิ่ม
https://www.prachachat.net/tourism/news-641700
การแพร่ระบาดภายในประเทศของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่เมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมาที่ขยายวงกว้างและรวดเร็ว โดยภาครัฐเองก็ได้ออกมาตรการควบคุมด้วยการกำหนดพื้นที่ตามความรุนแรงของสถานการณ์ ได้ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุก ๆ เซ็กเตอร์ในรอบไตรมาส 1/2564 อย่างชัดเจน
ดัชนีเชื่อมั่น (ยัง) ดิ่งเหว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้จัดทำสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในช่วงไตรมาส 1/2564
จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสถานประกอบการ 730 แห่ง จำนวน 8 ประเภททั่วประเทศ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเท่ากับ 36 สะท้อนว่าสถานการณ์ท่องเที่ยวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมากที่สุด (ปกติ=100) และต่ำกว่าไตรมาส 4/2563 ที่มีดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 62
พร้อมทั้งคาดการณ์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาส 2/2564 จะขยับไปอยู่ที่ 56 ชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการยังคงคาดการณ์ว่าผลประกอบการในไตรมาสหน้าจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากยังกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่ยังคงมีรายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่มากกว่า 50 คนทุกวัน รวมถึงเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นกลับสู่ภาวะปกติ (ก่อนโควิด)
สถานประกอบการเปิด 67%
“รศ.ผกากรอง เทพรักษ์” อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ระบุว่า จากการสำรวจยังพบว่า ในไตรมาส 1/2564 ที่ผ่านมา ภาพรวมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เปิดบริการตามปกติมีประมาณ 67% ลดลงจากไตรมาสก่อน (ไตรมาส 4/2563) จำนวน 18% มีสถานประกอบการที่ปิดกิจการชั่วคราวประมาณ 14% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 4% ส่วนสถานประกอบการที่ปิดตัวถาวรมี 3% เท่ากับไตรมาสก่อน นอกจากนี้ ยังมีสถานประกอบการที่ลดขนาดธุรกิจ 11% และเปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่น 5%
นอกจากนี้ ในส่วนของการจ้างงานพบว่า 60% ของสถานประกอบการทั้งหมดมีการลดจำนวนพนักงาน และเหลือพนักงานอยู่ในสัดส่วนประมาณ 52% ขณะเดียวกัน 67% ของสถานประกอบการยังมีการลดเงินเดือน หรือค่าจ้างประมาณ 30%
แรงงานตกงานพุ่ง 1.45 ล้านคน
ทั้งนี้ หากประเมินจากตัวเลขการปิดกิจการทั้งหมด 17% (ปิดชั่วคราว 14% และปิดถาวร 3%) ก็คาดว่าน่าจะส่งผลให้แรงงานในภาคท่องเที่ยวถูกออกจากงานในสัดส่วนประมาณ 17% เช่นกัน หรือคิดเป็นจำนวนประมาณ 6.8 แสนคน
ถ้ารวมกับแรงงานที่ถูกให้ออกเนื่องจากนโยบายการลดพนักงานของสถานประกอบการที่เปิดบริการปกติ ที่พบว่า 60% ของสถานประกอบการที่เปิดบริการปกติมีการลดพนักงานในไตรมาสนี้ลงประมาณ 48% หรือคิดเป็นประมาณ 7.718 แสนคน รวมทั้งระบบประมาณ 1.45 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนประมาณ 4.11 แสนคน
ธุรกิจรายได้ไม่เกิน 10%
“รศ.ผกากรอง” บอกด้วยว่า จากการสำรวจรายได้ของสถานประกอบการในไตรมาส 1/2564 พบว่า ธุรกิจในภาคท่องเที่ยว 8 สาขาได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดย 40% มีรายได้อยู่ระหว่าง 1-10% เมื่อเทียบกับรายได้ก่อนโควิด และหากประเมินเฉพาะกลุ่มที่รายได้ไม่ถึง 50% พบว่ามีสัดส่วนรวมถึง 87%
โดยธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้เข้ามาในสัดส่วน 1-10% มากที่สุด คือ ธุรกิจบริการขนส่ง มีสัดส่วนมากที่สุดถึง 53% โรงแรม มีสัดส่วน 33% บริษัทนำเที่ยว มีสัดส่วน 74% แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made attraction) มีสัดส่วน 68% และสถานบันเทิง มีสัดส่วน 48%
ขณะที่ธุรกิจที่จัดว่าพอเลี้ยงตัวเองได้บ้าง หรือมีรายได้อยู่ในสัดส่วน 21-30% คือ ธุรกิจร้านขายของที่ระลึก หรือร้านค้าทั่วไป และธุรกิจสปา ส่วนธุรกิจที่น่าจะดีที่สุดใน 8 สาขา คือ ร้านอาหาร โดยส่วนใหญ่ (36%) มีสัดส่วนรายได้อยู่ในระดับ 31-50% (ดูตารางประกอบ)
“สรุปคือธุรกิจโรงแรมร้อยละ 83 มีรายได้ไม่เกิน 30% ธุรกิจบริการขนส่งร้อยละ 73 มีรายได้ไม่เกิน 30% บริษัทนำเที่ยว ร้อยละ 97 หรือแทบจะ 100% มีรายได้ไม่เกิน 30% เช่นเดียวกับแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ร้อยละ 90 มีรายได้ไม่เกิน 30%”
คาดต่างชาติเข้าไทย 2 หมื่นคน
นอกจากนี้ การสำรวจดังกล่าวยังได้ถามถึงการคาดการณ์จำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยว่า ในเดือนมกราคม 2564 มีการเดินทางท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องได้รับการตรวจลงตรานักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (special tourist visa : STV) จำนวน 7,694 คน
และคาดว่าในไตรมาส 1/2564 นี้จะมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยประมาณ 20,000 คน ลดลงร้อยละ 99-82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (ก่อนระบาดของไวรัสโควิด)
ต้อนรับต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้ว
และเมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมในการรับนักท่องเที่ยวในปี 2564 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยมากกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยผู้ประกอบการร้อยละ 78 ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ยังไม่ฉีดวัคซีน และร้อยละ 92 ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ฉีดวัคซีนแล้ว
ขณะที่ในส่วนของนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้น ผู้ประกอบการร้อยละ 62 ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังไม่ฉีดวัคซีน แต่มีการกักตัว (quarantine) ร้อยละ 76 ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้ว และมีการ quarantine และร้อยละ 58 ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้วโดยไม่ต้องมีการ quarantine
ทั้งนี้ ณ เวลาที่ทำการสำรวจ (กุมภาพันธ์ 2564) ยังไม่มีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในพื้นที่เมืองท่องเที่ยวหลัก ซึ่งหากมีการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนในพื้นที่ สัดส่วนความยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้สอบถามถึงความเต็มใจที่จะฉีดวัคซีนของประชาชนด้วย โดยพบว่า ร้อยละ 47 ยินดีฉีดวัคซีนฟรีจากยี่ห้อที่รัฐบาลเลือกให้ ร้อยละ 31 ยังไม่พร้อมที่จะฉีดภายในปีนี้ และร้อยละ 22 บอกว่ายินดีจ่ายเงินเองสำหรับวัคซีนยี่ห้อที่เลือกเอง
คงต้องลุ้นกันว่า “วัคซีน” ที่กำลังทยอยกระจายลงไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว และนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวใน 6 จังหวัดท่องเที่ยวของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะทำให้ดัชนีผู้ประกอบการท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปีนี้จะสามารถพลิกฟื้นกลับมาได้มากน้อยแค่ไหน
“หมอธีระ” เตือน โควิดยังระบาดต่อเนื่อง “ไม่แนะนำให้เที่ยวช่วงนี้ เลื่อนได้ก็ควรเลื่อน”
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2657044
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2564 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/thiraw Thira Woratanarat เตือนผู้คนว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ได้ทะลุ 131 ล้านคนไปแล้ว และยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประเทศไทย และว่า เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่จะมาโปรโมตเรื่องการท่องเที่ยว ก่อนจะย้ำในอีกโพสต์ว่า ไม่แนะนำให้ไปเที่ยวในช่วงนี้ ถ้าเลื่อนได้ ก็ควรเลื่อน
โดยโพสต์ของรศ.นพ.ธีระ ระบุว่า
สถานการณ์ทั่วโลก 4 เมษายน 2564…
ทะลุ 131 ล้านไปแล้ว
คาดว่าอีกสองวันโปแลนด์น่าจะแซงโคลอมเบียขึ้นเป็นอันดับที่ 11 ของโลกได้ ตอนนี้ติดเชื้อต่อวันไต่ระดับขึ้นมาถึงราวสามหมื่นคนต่อวัน
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 536,516 คน รวมแล้วตอนนี้ 131,327,017 คน ตายเพิ่มอีก 8,154 คน ยอดตายรวม 2,858,125 คน
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 64,730 คน รวม 31,381,702 คน ตายเพิ่ม 790 คน ยอดเสียชีวิตรวม 568,496 คน
บราซิล ติดเพิ่ม 41,218 คน รวม 12,953,957 คน ตายเพิ่มถึง 1,827 คน จำนวนเสียชีวิตต่อวันมากที่สุดในโลก ยอดเสียชีวิตรวม 330,193 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 92,998 คน รวม 12,484,127 คน กราฟการระบาดระลอกสองของอินเดียครั้งนี้มีความชันกว่าระลอกแรก การติดเชื้อต่อวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากจำกันได้ ระลอกแรกเค้ามีสถิติสูงสุดถึง 97,859 คนต่อวัน ณ วันที่ 16 กันยายน 2563 แต่ระลอกสองนี้มีโอกาสที่จะทำลายสถิติเดิม
ฝรั่งเศส ยังไม่มีรายงานเพิ่ม ยอดรวมตอนนี้ 4,741,759 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 9,021 คน รวม 4,572,077 คน
อันดับ 6-10 เป็น สหราชอาณาจักร อิตาลี ตุรกี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่นต่อวัน
ตุรกีติดเชื้อเกินสี่หมื่นต่อวันอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้จำนวนติดเพิ่มต่อวันเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย และอเมริกา ทั้งนี้เค้ามีประชากรทั้งสิ้น 84.3 ล้านคน จัดเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงอันดับที่ 17 ของโลก หากระบาดเช่นนี้ต่อไป ถือเป็น epicenter ตรงแถบยูเรเชีย
แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงบังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่หลักร้อยถึงพันกว่า
แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่นอย่างต่อเนื่อง
เกาหลีใต้ ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ไทย สิงคโปร์ และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกง เวียดนาม และออสเตรเลีย ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
…ย้ำอีกครั้งว่า การระบาดในไทยยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปะทุในกลุ่มที่หลากหลาย กระจายหลายพื้นที่
หากดูตามเนื้อผ้า ก็เป็นไปตามธรรมชาติของการระบาดที่เกิดจากการไม่สามารถตัดวงจรการระบาดได้ในช่วงปลายปีก่อนถึงต้นปีที่ผ่านมา
ยิ่งหากไม่ทบทวนนโยบายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จะยิ่งมีโอกาสทำให้เกิดการระบาดหนักหน่วงตามมาได้