ปิดกิจการ 719 โรงงาน อุตสาหกรรมอาหารอ่วม แรงงาน 3 หมื่นคนเคว้ง
https://www.prachachat.net/economy/news-606851
โรงงานปิดกิจการกว่า 719 แห่ง แรงงานเกือบ 30,000 คนเคว้ง สูญเงินลงทุน 4.1 หมื่นล้าน “อาหาร-พลาสติก-โลหะ” อ่วมสุด มาตรการล็อกดาวน์ร้านอาหาร-โรงแรม ทุบโรงงานเล็กปรับตัวไม่ทัน กรมโรงงานฯแจง เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ
การแพร่ระบายของไวรัสโควิด-19 รอบ 2 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหนักหน่วง โรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากไม่สามารถเปิดดำเนินการต่อไปได้ หลายโรงต้องลดกำลังการผลิต บางแห่งต้องใช้วิธีควบรวมยุบย้ายโรงงาน โดยล่าสุดในปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา โรงงานแมรีกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ ก็ได้ปิดโรงงานและย้ายไปรวมกับโรงงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแทนเพื่อลดต้นทุน
ล่าสุด กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รายงานปี 2563 มีการแจ้งปิดโรงงานไปทั้งหมด 719 แห่ง คนงาน 29,917 คน เงินลงทุนรวม 41,722.30 ล้านบาท คิดเป็นกำลังเครื่องจักรรวม 679,434 แรงม้า โดยประเภทกิจการที่มีการปิดสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก 64 โรงงาน จำนวนแรงงาน 2,119 คน เงินทุน 1,502 ล้านบาท
รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์จากพืช 62 โรงงาน แรงงาน 585 คน เงินทุน 1,771 ล้านบาท, ผลิตภัณฑ์โลหะ 58 โรงงาน แรงงาน 1,660 คน เงินทุน 1,923 ล้านบาท, อุตสาหกรรมอาหาร 52 โรงงาน แรงงาน 3,500 คน เงินทุน 10,704 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์อโลหะ 52 โรงงาน แรงงาน 786 คน เงินทุน 798 ล้านบาท
ล็อกดาวน์ทำโรงงานอาหารปิดกิจการ
นาย
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายกสมาคมอาหารสำเร็จรูปแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารมีการปิดโรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีการเปิดโรงงานใหม่มากเช่นกัน เนื่องจากเป็นธรรมชาติของอุตสาหกรรมนี้ที่ส่วนใหญ่จะ “
เข้าง่าย-ออกง่าย”
ในปีที่ผ่านมาหลายโรงงานปิดไปก็มีผู้ประกอบการบางส่วนหันมาเข้าสู่ธุรกิจอาหาร เพราะว่าเป็นสินค้าที่ยังไปได้ โดยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารเองมีการใช้กำลังผลิตอยู่ประมาณ 50% ซึ่งถือว่า “
น้อยเทียบกับบางอุตสาหกรรมจะมีการใช้กำลังการผลิตมากถึง 80-90%”
โดยกลุ่มผู้ประกอบการหลักที่ปิดกิจการไปน่าจะเป็นผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบเพื่อป้อนให้กับธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และโรงแรมในประเทศ ซึ่งตลาดนี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ไม่มีการเดินทางท่องเที่ยว กระทบต่อโรงงานกลุ่มนี้มีสัดส่วน 50-70% ของทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งในรายที่ปรับตัวไม่ได้ก็ต้องหยุดไป ส่วนที่ปรับตัวได้จะหันไปขายผ่านช่องทางออนไลน์และผลิตเพื่อขายเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต
ขณะที่โรงงานที่ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกบางรายได้รับผลกระทบจากเดิมอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่เกิดขึ้นมานานแล้วและมาเผชิญกับโควิด-19 อีก
“
สถานการณ์โควิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอาหาร มีทั้งวิกฤตและโอกาส อย่างกลุ่มอาหารสุขภาพและอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตมากถึง 20% เพราะคนหันมาใส่ใจด้านสุขภาพ การทำงานที่บ้านมีการซื้อวัตถุดิบจากซูเปอร์มาร์เก็ตไปปรุงเองและอยู่บ้านเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน ทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงไปได้ดีและมีราคาสูงด้วย”
เหล็กล้นตลาด
ขณะที่นาย
นาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปี 2563 มีการปิดโรงงานที่ผลิตเหล็กไปจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตเหล็กเส้นและเหล็กข้ออ้อย เป็นผลมาจากการเกิดโอเวอร์ซัพพลายเหล็กล้นตลาดจาก 1.2 ล้านตันเป็น 3 ล้านตัน ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศห้ามเปิดโรงงานเหล็กเส้นในไทยเป็นเวลา 5 ปี ราคาเหล็กตกลงมากและลูกค้าได้รับผลกระทบจากโควิด-19
แต่แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กต่อจากนี้ไปจะมีโครงการเมกะโปรเจ็กต์จากรัฐที่ทยอยออกมา จะส่งผลให้ปริมาณการใช้เหล็กในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันหากยังมีการปิดโรงงานเหล็กเพิ่มขึ้นอีกจะน่ากังวลว่า เหล็กในประเทศจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ และท้ายที่สุดไทยจะต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศมาแทน
“
หากโรงเหล็กปิดเพราะโอเวอร์ซัพพลายเกิน นับเป็นกลไกที่สร้างความบาลานซ์ได้ดี ซึ่งจะเป็นการลดการแข่งขัน แต่ถ้าปิดเพราะโควิด-19 อันนี้น่ากลัว รัฐต้องรีบเข้ามาคุยแผนพัฒนาร่วมกัน จะได้รู้ว่าเหล็กตัวไหนใช้มาก ตัวไหนใช้น้อย จะส่งเสริมตัวไหน ต้องมาบูรณาการกันใหม่ให้บีโอไอมาร่วมด้วย”
อธิบดีกรมโรงงานชี้เปิดมากกว่าปิด
ด้าน นาย
ประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า ปี 2563 ยอดขอตั้งโรงงานใหม่และขยายกิจการอยู่ที่ 3,324 โรง มูลค่า 325,393.12 ล้านบาท ใช้แรงงาน 187,088 คน อุตสาหกรรมอาหารมีจำนวนมากที่สุด ซึ่งลดลงต่ำกว่าปี 2562 ที่มีเพียง 200 โรงเท่านั้น จากสถานการณ์ที่แตกต่างกันอย่างมาก เทียบกับโรงงานที่ปิดมีแค่ 719 โรง มูลค่า 41,722.30 ล้านบาท (ต่ำกว่าปี 2562 ปิดโรงงานไปถึง 1,391 โรง) คนงานหายไปเพียง 29,9179 คน
ดังนั้นปี 2563 จึงถือว่าไทยเก่งและยังมีศักยภาพ เพราะถึงเจอกับโควิด-19 เต็ม ๆ กลับมีการตั้งโรงงานและขยายกิจการเพิ่ม แสดงให้เห็นว่านักลงทุนมีความเชื่อมั่นประเทศไทยอยู่ ที่ผลักดันส่งเสริมการลงทุนในด้านต่าง ๆ มีความพร้อมในเรื่องของพื้นที่ รวมถึงการที่ภาคเอกชนโดยเฉพาะนักลงทุนไทย ที่เป็นโอกาสช่วงที่จะลงทุนมีอำนาจการต่อรองช่วงที่ต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ ตรงนี้มันจะมีผลต่อการจ้างงานอีกเกือบ 200,000 คน
“
การเลิกจ้างและปิดโรงงานในช่วงนี้ก็ต้องยอมรับว่า มาจากสภาพเศรษฐกิจและผลกระทบโควิด-19 จะเป็นปัจจัยหลัก อย่างไรก็ตาม อยากให้คิดว่ายังมีโรงงานที่จะเปิดอีกมาก แรงงานเหล่านี้ยังมีโอกาสทำงานในที่ใหม่ ๆ ได้ ทั้งนี้ปี 2564 เชื่อว่าแนวโน้มการตั้งโรงงานจะยังสูงขึ้นเรื่อย ๆ การลงทุนไทยจะยังเป็นตัวหลัก จะเกิดการผลิต ความคึกคักภายในประเทศยังคงมีอยู่” นาย
ประกอบกล่าว
กกร.ร้องรัฐเร่งฉีดวัคซีนคนไทย กำหนดวาระแห่งชาติด่วน ฟื้นเศรษฐกิจ
https://www.matichon.co.th/economy/news_2560492
กกร.ร้องรัฐเร่งฉีดวัคซีนคนไทย กำหนดวาระแห่งชาติด่วน ฟื้นเศรษฐกิจ
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จัดการประชุมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยมี นาย
สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธาน กกร. และนาย
กลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนาย
ผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ห้องบอลรูม ชั้น 4 โรงแรมคอนราด เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ
นาย
สุพันธุ์ กล่าวว่า ที่ประชุม กกร. มีความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ถูกกดดันจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ยังไม่คลี่คลายและมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1) ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งจำเป็นต้องเร่งตรวจเชิงรุกและแยกผู้ติดเชื้อ
และ 2) มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโควิด-19 รวมไปถึงการประคับประคองกำลังซื้อในประเทศ ความท้าทายหลักจะอยู่ที่ตลาดแรงงานซึ่งมีความเปราะบาง เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในหลายจังหวัดได้ซ้ำเติมธุรกิจหลายประเภทที่ยังไม่ทันได้ฟื้นตัวจากการระบาดครั้งก่อน ทั้งนี้ คาดว่าแรงงานที่มีชั่วโมงการทำงานต่ำกว่าศักยภาพจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อรายได้และกำลังซื้อโดยรวมลดลง
โดยหลายประเทศเริ่มฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินได้อย่างต่อเนื่องในปี 2564 แม้เศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกของปี 2564 จะมีแนวโน้มชะลอลง จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรคที่เข้มข้นในหลายประเทศ แต่จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเหล่านั้นเริ่มลดลง ประกอบกับหลายประเทศดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้ว และมีจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าจะสามารถกลับมาผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคได้ในระยะถัดไป ซึ่งจะทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจกลับมาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ตลอดจนความสามารถในการส่งมอบวัคซีนในหลายประเทศที่อาจกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป
กกร. ขอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้า และรองรับผลิตผลทางการเกษตรที่กำลังจะทยอยออกตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยขอให้ท่าเรือแหลมฉบังเปิดให้เรือแม่ขนาด 400 เมตร เข้ามามากที่สุด และลดค่าใช้จ่ายเพื่อจูงใจให้เร่งนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์เปล่าเข้ามาให้มากขึ้น
เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามทิศทางการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคในประเทศต่างๆ ส่วนสถานการณ์ในประเทศ หากสามารถควบคุมสถานการณ์โรคระบาดให้อยู่ในวงจำกัด และผ่อนคลายมาตรการควบคุมที่จำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ภายในไตรมาสแรก ประกอบกับมีมาตรการภาครัฐที่สามารถบรรเทาผลกระทบของภาคธุรกิจและกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบอย่างตรงจุด ที่ประชุม กกร. ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 ที่จะขยายตัวได้ในกรอบ 1.5% ถึง 3.5% ประมาณการการส่งออกในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว 3% ถึง 5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 0.8% ถึง 1.0%
กกร. ขอให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับเรื่องวัคซีน โดยให้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับต่างประเทศ ทั้งในภาคเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยว (Vaccine Passport) ทั้งนี้ อยากให้ภาครัฐจัดทำกระบวนการและวิธีการในการฉีดและกระจายวัคซีนให้ชัดเจน และทั่วถึงเพียงพอต่อจำนวนประชากรในภายภาคหน้า รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยภาคเอกชนยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐเรื่องค่าใช้จ่าย โดยขอลดหย่อนภาษีเรื่องการฉีดวัคซีน
จากสถานการณ์ทางการเมืองในสหภาพเมียนมา กกร.มีข้อกังวลว่าหากมีการแทรกแซงทางการเมืองจากต่างประเทศ อาจส่งให้การค้าระหว่างไทยกับเมียนมาได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากไทย และขอให้การเปลี่ยนถ่ายอำนาจของรัฐบาลเมียนมาเป็นไปโดยสงบ และให้คงข้อตกลงหรือสัญญากับประชาคมต่าง ๆ
นอกจากนี้ กกร. ได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการ Regional Digital Trade Connectivity (RDTC) ของ ASEAN-BAC ภายใต้ชื่อโครงการ Digital Trade Connect ที่ ASEAN-BAC ประเทศไทยเป็นผู้ผลักดัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ช่วยลดต้นทุนและระยะเวลา และสร้างโอกาสให้ SME เข้าถึงการค้าระหว่างประเทศและเข้าถึงสินเชื่อได้ดีขึ้น โดยดำเนินการเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนการทำธุรกรรมการค้าขายระหว่างประเทศจากเดิมที่เป็นการทำด้วยกระดาษที่ต้องมีการนำเข้าข้อมูลเดียวกันในระบบผู้เกี่ยวข้องหลายครั้งมาเป็นการทำที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันผ่านระบบดิจืทัล ผ่านการทำงานในการสร้าง Compatibility และ Connectivity ให้เกิดขึ้นในภูมิภาคที่ทำธุรกรรมการค้าแบบดิจิทัลร่วมกัน และที่ประชุมอยากให้ผลักดันให้โครงการดังกล่าวและโครงการ National Digital Trade Connectivity (NDTP) ของประเทศไทยให้สำเร็จและเกิดผลได้โดยเร็ว
JJNY : ปิดกิจการ719โรงงาน│กกร.ร้องรัฐเร่งฉีดวัคซีน│5ปียังเงียบ”ดลฤดี”หนีทุน│“กสิกร”ชะลอแผนร่วมทุนเมียนมา│สิระขึ้นเขียง!
https://www.prachachat.net/economy/news-606851
โรงงานปิดกิจการกว่า 719 แห่ง แรงงานเกือบ 30,000 คนเคว้ง สูญเงินลงทุน 4.1 หมื่นล้าน “อาหาร-พลาสติก-โลหะ” อ่วมสุด มาตรการล็อกดาวน์ร้านอาหาร-โรงแรม ทุบโรงงานเล็กปรับตัวไม่ทัน กรมโรงงานฯแจง เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ
การแพร่ระบายของไวรัสโควิด-19 รอบ 2 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหนักหน่วง โรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากไม่สามารถเปิดดำเนินการต่อไปได้ หลายโรงต้องลดกำลังการผลิต บางแห่งต้องใช้วิธีควบรวมยุบย้ายโรงงาน โดยล่าสุดในปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา โรงงานแมรีกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ ก็ได้ปิดโรงงานและย้ายไปรวมกับโรงงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแทนเพื่อลดต้นทุน
ล่าสุด กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รายงานปี 2563 มีการแจ้งปิดโรงงานไปทั้งหมด 719 แห่ง คนงาน 29,917 คน เงินลงทุนรวม 41,722.30 ล้านบาท คิดเป็นกำลังเครื่องจักรรวม 679,434 แรงม้า โดยประเภทกิจการที่มีการปิดสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก 64 โรงงาน จำนวนแรงงาน 2,119 คน เงินทุน 1,502 ล้านบาท
รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์จากพืช 62 โรงงาน แรงงาน 585 คน เงินทุน 1,771 ล้านบาท, ผลิตภัณฑ์โลหะ 58 โรงงาน แรงงาน 1,660 คน เงินทุน 1,923 ล้านบาท, อุตสาหกรรมอาหาร 52 โรงงาน แรงงาน 3,500 คน เงินทุน 10,704 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์อโลหะ 52 โรงงาน แรงงาน 786 คน เงินทุน 798 ล้านบาท
ล็อกดาวน์ทำโรงงานอาหารปิดกิจการ
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายกสมาคมอาหารสำเร็จรูปแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารมีการปิดโรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีการเปิดโรงงานใหม่มากเช่นกัน เนื่องจากเป็นธรรมชาติของอุตสาหกรรมนี้ที่ส่วนใหญ่จะ “เข้าง่าย-ออกง่าย”
ในปีที่ผ่านมาหลายโรงงานปิดไปก็มีผู้ประกอบการบางส่วนหันมาเข้าสู่ธุรกิจอาหาร เพราะว่าเป็นสินค้าที่ยังไปได้ โดยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารเองมีการใช้กำลังผลิตอยู่ประมาณ 50% ซึ่งถือว่า “น้อยเทียบกับบางอุตสาหกรรมจะมีการใช้กำลังการผลิตมากถึง 80-90%”
โดยกลุ่มผู้ประกอบการหลักที่ปิดกิจการไปน่าจะเป็นผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบเพื่อป้อนให้กับธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และโรงแรมในประเทศ ซึ่งตลาดนี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ไม่มีการเดินทางท่องเที่ยว กระทบต่อโรงงานกลุ่มนี้มีสัดส่วน 50-70% ของทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งในรายที่ปรับตัวไม่ได้ก็ต้องหยุดไป ส่วนที่ปรับตัวได้จะหันไปขายผ่านช่องทางออนไลน์และผลิตเพื่อขายเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต
ขณะที่โรงงานที่ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกบางรายได้รับผลกระทบจากเดิมอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่เกิดขึ้นมานานแล้วและมาเผชิญกับโควิด-19 อีก
“สถานการณ์โควิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอาหาร มีทั้งวิกฤตและโอกาส อย่างกลุ่มอาหารสุขภาพและอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตมากถึง 20% เพราะคนหันมาใส่ใจด้านสุขภาพ การทำงานที่บ้านมีการซื้อวัตถุดิบจากซูเปอร์มาร์เก็ตไปปรุงเองและอยู่บ้านเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน ทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงไปได้ดีและมีราคาสูงด้วย”
เหล็กล้นตลาด
ขณะที่นายนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปี 2563 มีการปิดโรงงานที่ผลิตเหล็กไปจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตเหล็กเส้นและเหล็กข้ออ้อย เป็นผลมาจากการเกิดโอเวอร์ซัพพลายเหล็กล้นตลาดจาก 1.2 ล้านตันเป็น 3 ล้านตัน ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศห้ามเปิดโรงงานเหล็กเส้นในไทยเป็นเวลา 5 ปี ราคาเหล็กตกลงมากและลูกค้าได้รับผลกระทบจากโควิด-19
แต่แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กต่อจากนี้ไปจะมีโครงการเมกะโปรเจ็กต์จากรัฐที่ทยอยออกมา จะส่งผลให้ปริมาณการใช้เหล็กในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันหากยังมีการปิดโรงงานเหล็กเพิ่มขึ้นอีกจะน่ากังวลว่า เหล็กในประเทศจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ และท้ายที่สุดไทยจะต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศมาแทน
“หากโรงเหล็กปิดเพราะโอเวอร์ซัพพลายเกิน นับเป็นกลไกที่สร้างความบาลานซ์ได้ดี ซึ่งจะเป็นการลดการแข่งขัน แต่ถ้าปิดเพราะโควิด-19 อันนี้น่ากลัว รัฐต้องรีบเข้ามาคุยแผนพัฒนาร่วมกัน จะได้รู้ว่าเหล็กตัวไหนใช้มาก ตัวไหนใช้น้อย จะส่งเสริมตัวไหน ต้องมาบูรณาการกันใหม่ให้บีโอไอมาร่วมด้วย”
อธิบดีกรมโรงงานชี้เปิดมากกว่าปิด
ด้าน นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า ปี 2563 ยอดขอตั้งโรงงานใหม่และขยายกิจการอยู่ที่ 3,324 โรง มูลค่า 325,393.12 ล้านบาท ใช้แรงงาน 187,088 คน อุตสาหกรรมอาหารมีจำนวนมากที่สุด ซึ่งลดลงต่ำกว่าปี 2562 ที่มีเพียง 200 โรงเท่านั้น จากสถานการณ์ที่แตกต่างกันอย่างมาก เทียบกับโรงงานที่ปิดมีแค่ 719 โรง มูลค่า 41,722.30 ล้านบาท (ต่ำกว่าปี 2562 ปิดโรงงานไปถึง 1,391 โรง) คนงานหายไปเพียง 29,9179 คน
ดังนั้นปี 2563 จึงถือว่าไทยเก่งและยังมีศักยภาพ เพราะถึงเจอกับโควิด-19 เต็ม ๆ กลับมีการตั้งโรงงานและขยายกิจการเพิ่ม แสดงให้เห็นว่านักลงทุนมีความเชื่อมั่นประเทศไทยอยู่ ที่ผลักดันส่งเสริมการลงทุนในด้านต่าง ๆ มีความพร้อมในเรื่องของพื้นที่ รวมถึงการที่ภาคเอกชนโดยเฉพาะนักลงทุนไทย ที่เป็นโอกาสช่วงที่จะลงทุนมีอำนาจการต่อรองช่วงที่ต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ ตรงนี้มันจะมีผลต่อการจ้างงานอีกเกือบ 200,000 คน
“การเลิกจ้างและปิดโรงงานในช่วงนี้ก็ต้องยอมรับว่า มาจากสภาพเศรษฐกิจและผลกระทบโควิด-19 จะเป็นปัจจัยหลัก อย่างไรก็ตาม อยากให้คิดว่ายังมีโรงงานที่จะเปิดอีกมาก แรงงานเหล่านี้ยังมีโอกาสทำงานในที่ใหม่ ๆ ได้ ทั้งนี้ปี 2564 เชื่อว่าแนวโน้มการตั้งโรงงานจะยังสูงขึ้นเรื่อย ๆ การลงทุนไทยจะยังเป็นตัวหลัก จะเกิดการผลิต ความคึกคักภายในประเทศยังคงมีอยู่” นายประกอบกล่าว
กกร.ร้องรัฐเร่งฉีดวัคซีนคนไทย กำหนดวาระแห่งชาติด่วน ฟื้นเศรษฐกิจ
https://www.matichon.co.th/economy/news_2560492
กกร.ร้องรัฐเร่งฉีดวัคซีนคนไทย กำหนดวาระแห่งชาติด่วน ฟื้นเศรษฐกิจ
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จัดการประชุมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยมี นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธาน กกร. และนายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ห้องบอลรูม ชั้น 4 โรงแรมคอนราด เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ
นายสุพันธุ์ กล่าวว่า ที่ประชุม กกร. มีความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ถูกกดดันจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ยังไม่คลี่คลายและมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1) ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งจำเป็นต้องเร่งตรวจเชิงรุกและแยกผู้ติดเชื้อ
และ 2) มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโควิด-19 รวมไปถึงการประคับประคองกำลังซื้อในประเทศ ความท้าทายหลักจะอยู่ที่ตลาดแรงงานซึ่งมีความเปราะบาง เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในหลายจังหวัดได้ซ้ำเติมธุรกิจหลายประเภทที่ยังไม่ทันได้ฟื้นตัวจากการระบาดครั้งก่อน ทั้งนี้ คาดว่าแรงงานที่มีชั่วโมงการทำงานต่ำกว่าศักยภาพจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อรายได้และกำลังซื้อโดยรวมลดลง
โดยหลายประเทศเริ่มฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินได้อย่างต่อเนื่องในปี 2564 แม้เศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกของปี 2564 จะมีแนวโน้มชะลอลง จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรคที่เข้มข้นในหลายประเทศ แต่จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเหล่านั้นเริ่มลดลง ประกอบกับหลายประเทศดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้ว และมีจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าจะสามารถกลับมาผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคได้ในระยะถัดไป ซึ่งจะทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจกลับมาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ตลอดจนความสามารถในการส่งมอบวัคซีนในหลายประเทศที่อาจกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป
กกร. ขอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้า และรองรับผลิตผลทางการเกษตรที่กำลังจะทยอยออกตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยขอให้ท่าเรือแหลมฉบังเปิดให้เรือแม่ขนาด 400 เมตร เข้ามามากที่สุด และลดค่าใช้จ่ายเพื่อจูงใจให้เร่งนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์เปล่าเข้ามาให้มากขึ้น
เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามทิศทางการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคในประเทศต่างๆ ส่วนสถานการณ์ในประเทศ หากสามารถควบคุมสถานการณ์โรคระบาดให้อยู่ในวงจำกัด และผ่อนคลายมาตรการควบคุมที่จำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ภายในไตรมาสแรก ประกอบกับมีมาตรการภาครัฐที่สามารถบรรเทาผลกระทบของภาคธุรกิจและกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบอย่างตรงจุด ที่ประชุม กกร. ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 ที่จะขยายตัวได้ในกรอบ 1.5% ถึง 3.5% ประมาณการการส่งออกในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว 3% ถึง 5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 0.8% ถึง 1.0%
กกร. ขอให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับเรื่องวัคซีน โดยให้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับต่างประเทศ ทั้งในภาคเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยว (Vaccine Passport) ทั้งนี้ อยากให้ภาครัฐจัดทำกระบวนการและวิธีการในการฉีดและกระจายวัคซีนให้ชัดเจน และทั่วถึงเพียงพอต่อจำนวนประชากรในภายภาคหน้า รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยภาคเอกชนยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐเรื่องค่าใช้จ่าย โดยขอลดหย่อนภาษีเรื่องการฉีดวัคซีน
จากสถานการณ์ทางการเมืองในสหภาพเมียนมา กกร.มีข้อกังวลว่าหากมีการแทรกแซงทางการเมืองจากต่างประเทศ อาจส่งให้การค้าระหว่างไทยกับเมียนมาได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากไทย และขอให้การเปลี่ยนถ่ายอำนาจของรัฐบาลเมียนมาเป็นไปโดยสงบ และให้คงข้อตกลงหรือสัญญากับประชาคมต่าง ๆ
นอกจากนี้ กกร. ได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการ Regional Digital Trade Connectivity (RDTC) ของ ASEAN-BAC ภายใต้ชื่อโครงการ Digital Trade Connect ที่ ASEAN-BAC ประเทศไทยเป็นผู้ผลักดัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ช่วยลดต้นทุนและระยะเวลา และสร้างโอกาสให้ SME เข้าถึงการค้าระหว่างประเทศและเข้าถึงสินเชื่อได้ดีขึ้น โดยดำเนินการเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนการทำธุรกรรมการค้าขายระหว่างประเทศจากเดิมที่เป็นการทำด้วยกระดาษที่ต้องมีการนำเข้าข้อมูลเดียวกันในระบบผู้เกี่ยวข้องหลายครั้งมาเป็นการทำที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันผ่านระบบดิจืทัล ผ่านการทำงานในการสร้าง Compatibility และ Connectivity ให้เกิดขึ้นในภูมิภาคที่ทำธุรกรรมการค้าแบบดิจิทัลร่วมกัน และที่ประชุมอยากให้ผลักดันให้โครงการดังกล่าวและโครงการ National Digital Trade Connectivity (NDTP) ของประเทศไทยให้สำเร็จและเกิดผลได้โดยเร็ว