JJNY : 5in1 แห่เข้าโรงจำนำ│EICหั่นGDPเหลือโต 2%│ปลากระชังขายไม่ออก│ธุรกิจอีเว้นท์วอนเยียวยา│เกาะช้าง โรงแรมปิดกว่า40%

ประชาชน แห่เข้าโรงจำนำ ทะลุ 100 รายต่อวัน ขนมาแม้กระทั่งบันได
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6384137
 
ชีวิตต้องดิ้นรน ประชาชนแห่เข้าโรงจำนำ ขนมาทุกอย่าง แม้กระทั่งบันได ผจก.สถานธนานุบาล เข้าใจ สำรองเงินไว้ 131 ล้าน คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ
 
เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2564 ที่สถานธนานุบาลเทศบาลนครหาดใหญ่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 รอบที่ 3 มีประชาชนมาใช้บริการนำสิ่งของมาจำนำเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเนื่องจากหลายครอบครัวเดือดร้อน และมีบางคนที่ต้องตกงาน
 
ที่โรงรับจำนำมีสิ่งของที่ประชาชนนำมาจำนำ ซึ่งมีทั้งทองคำ เครื่องใช้ไฟฟ้าทีวี พัดลม ตู้เย็นเครื่องซักผ้า จักรยาน เครื่องมือช่าง เช่นตู้เชื่อมเครื่องตัดเหล็ก และเครื่องมือการเกษตรเช่นเครื่องพรวนดินเครื่องอัดดิน หรือแม้กระทั่งบันไดอลูมีเนียม
 
นายทวีวงศ์ วงศ์ช่วย ผู้จัดการสถานธนานุบาลเทศบาลนครหาดใหญ่ ผู้ตรวจการเขต 48 เปิดเผยว่า สถานธนานุบาลเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้สำรองเงินเอาไว้ 131 ล้าน เพื่อรองรับประชาชนที่นำสิ่งของมาจำนำ ซึ่งแต่วันมีผู้มาใช้บริการประมาณ 150 คน จากช่วงปกติที่ไม่เกินร้อยคน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ
 
โรงรับจำนำพยายามช่วยทุกคน สิ่งไหนที่พอมีค่าหรือตีราคาได้จะช่วยรับไว้หมด แม้กระทั่งบันไดอลูมีเนียมซึ่งยังมีคนพามาจำนำรับไว้ในราคา 500 บาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน เรียกว่าอะไรที่พอมีราคาทางโรงรับจำนำจะพยายามช่วยรับจำนำเอาไว้ เพราะประชาชนที่มาโรงรับจำนำนั้นเดือดร้อนจริง ๆ


 
SCB EIC หั่น GDP ไทยปี 64 เหลือโต 2% จากเดิม 2.6% รับผลกระทบโควิดระลอก 3
https://www.infoquest.co.th/2021/84743
 
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) มองผลกระทบจากการระบาดระลอกที่ 3 ประกอบกับแนวนโยบายการเปิดประเทศทั่วโลกที่มีความระมัดระวังมากขึ้น เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปรับลดคาดการเศรษฐกิจไทยปี 64เหลือโต 2% จกเดิมที่เคยคาดไว้ที่โต 2.6% แม้จะได้รับแรงสนับสนุนจากภาคส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโตดีกว่าคาดและเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
 
การส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อของทั้งโลกจะปรับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปัจจุบัน ทำให้ภาคบริการยังซบเซาต่อเนื่อง แต่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของประเทศส่วนใหญ่กลับได้รับผลกระทบน้อยและฟื้นตัวได้ดี จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการส่งออกของโลก (รวมถึงไทย) ซึ่งในระยะต่อไปคาดว่าเศรษฐกิจและการค้าโลกจะฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่น่าจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าจากความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน และเม็ดเงินจากมาตรการภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
  
นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทำให้ราคาสินค้าส่งออกหลายประเภทปรับสูงขึ้น EIC จึงปรับประมาณการมูลค่าส่งออกปี 64 ขยายตัวที่ 8.6% ดีกว่าที่เคยคาดไว้ที่ 6.4%
 
อย่างไรก็ตาม การระบาดโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ในปัจจุบัน ทำให้หลายประเทศมีความระมัดระวังในการเปิดประเทศมากขึ้น เนื่องจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น และยังสามารถต้านทานภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่เกิดจากวัคซีนได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ทำให้ประเทศต่างๆที่แม้จะมีการฉีดวัคซีนเป็นอัตราที่สูงแล้ว ก็ยังมีความกังวลต่อการแพร่ระบาดอยู่ จึงปรับนโยบายการเดินทางระหว่างประเทศให้มีความระมัดระวังมากขึ้น
 
ดังนั้น EIC จึงคาดว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวโลกจะล่าช้าออกไปอีก และปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวปี 64 เหลือเพียง 1.5 ล้านคน จากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 3.7 ล้านคน
 
สำหรับภาคเศรษฐกิจในประเทศนั้นการระบาดระลอกที่ 3 จะส่งผลโดยตรงต่อการบริโภคภาคเอกชน โดยจากการประเมินในกรณีฐาน คาดว่าการระบาดระลอกนี้จะใช้เวลาราว 3 เดือนในการควบคุม ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายราว 2.4 แสนล้านบาท (1.5% ต่อ GDP) และการระบาดระลอกใหม่ยังส่งผลทางอ้อมทำให้แผลเป็นเศรษฐกิจที่เปราะบางอยู่แล้วอาจปรับแย่ลงกว่าเดิม โดยเฉพาะภาวะตลาดแรงงานที่เริ่มเห็นผลกระทบแล้วผ่านจำนวนประกาศรับสมัครงานออนไลน์บนเว็บไซต์ JobsDB.com ที่ปรับลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่เดือนเม.ย. 64 ซึ่งแผลเป็นเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้นดังกล่าวอาจส่งผลทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจล่าช้าออกไปอีกได้
 
ด้านการใช้จ่ายภาครัฐ ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจเพิ่มเติมวงเงินราว 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้เม็ดเงินใน พรก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทจนครบวงเงิน แต่เม็ดเงินตามแผนที่จะเข้าพยุงเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2/64 จะมีเพียง 8.5 หมื่นล้านบาท เทียบกับผลกระทบการระบาดระลอก 3 ที่ EIC ประเมินไว้ราว 2.4 แสนล้านบาท จึงเป็นเม็ดเงินที่อาจจะไม่เพียงพอต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น และทำให้มีความเสี่ยงสูงที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะ Technical recession ได้อีกรอบในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หลังจากเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบแรกในช่วงไตรมาส 3/62-ไตรมาส 2/63 จากผลกระทบสงครามการค้าและการระบาดของโควิด-19 รอบแรก
 
ความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป ประกอบไปด้วย 1) ระยะเวลาในการควบคุมการระบาดระลอกที่ 3 ที่อาจนานกว่าคาด รวมทั้งการระบาดรอบใหม่อาจเกิดขึ้นได้ ตราบใดที่ยังมีการฉีดวัคซีนในระดับต่ำ และ 2) ความล่าช้าในการฉีดวัคซีน และประสิทธิภาพของวัคซีนที่อาจมีไม่สูงพอโดยเฉพาะกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่
 
EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยในอีก 2-3 ปีข้างหน้ายังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า และอาจเกิด Permanent Output Loss ขนาดใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการที่เศรษฐกิจไทยพึ่งพาภาคท่องเที่ยวในระดับสูง โดยภาคท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า ประกอบกับยังมีอีกหลายปัจจัยท้าทายการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่น แผลเป็นทางเศรษฐกิจของไทยที่ค่อนข้างรุนแรง, ความเปราะบางที่สะสมมาก่อนหน้าจากหนี้ครัวเรือนที่สูง, SMEs มีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการแข่งขันที่รุนแรง เป็นต้น
 
ดังนั้นภาครัฐจึงควรพิจารณาออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะสั้น และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อการฟื้นตัวในระยะปานกลางและยาว โดยเฉพาะการปรับทักษะของแรงงาน (Up/Re-skill) และการช่วย SMEs ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะช่วยลด permanent output loss และช่วยซ่อมแซมงบดุลของภาคครัวเรือนและธุรกิจได้เร็วขึ้น รวมทั้งเพิ่มอัตราการขยายตัวตามศักยภาพ (potential growth) ของเศรษฐกิจไทยอีกด้วย



ผู้เลี้ยงปลากระชังอ่างทอง เริ่มได้ผลกระทบระลอก 3 ร้านค้าผู้ประกอบการปิดยาวปลาขายไม่ออก
https://www.matichon.co.th/region/news_2712378

วันที่ 7 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่บริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลโผงเผงอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง หลังทราบว่าผู้เลี้ยงปลากระชังใน ต.โผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เริ่มได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอก 3 จึงส่งผลให้ปลาขายไม่ออกเนื่องจากทางร้านผู้ประกอบการร้านอาหารต่างๆได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิดจากปกติจะจับขายทุกวันแต่ช่วงนี้ต้องปล่อยให้ปลาโตจนตัวใหญ่เพราะไม่มีตลาดขายจึงอยากให้ทางหน่วยงานช่วยหาตลาดขายปลากระชังให้ทีเพราะตอนนี้ค่าอาหารก็แพงขึ้นเราจึงอยากได้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานช่วยจัดหาตลาดให้กับผู้ที่เลี้ยงปลากระชังกันหน่อยอย่างน้อยยังพอได้ค่าอาหารคืนบ้างก็ดี
 
จากการสอบถาม นางบังอร กุลศิริ อายุ 60 ปี ผู้เลี้ยงปลากระชัง กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงโควิดมาปลากระชังมีผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากขายไม่ออกทางร้านผู้ประกอบการเขาปิดร้านจึงทำให้ปลาในกระชังเงียบเหงาไม่ค่อยมีคนซื้อเหมือนแต่ก่อนและตอนนี้ปลาในกระชังก็เริ่มตัวโต จึงทำให้ขายยากกว่าตัวขนาดที่เคยขายและอยากให้หน่วยงานช่วยหาตลาดขายเพื่อช่วยเหลือผู้เลี้ยงปลากระชังต่อไป


 
ภาคธุรกิจอีเว้นท์ เตรียมยื่นหนังสือถึงรัฐบาล วอนเยียวยาผู้ประกอบการ ชี้หลังวิกฤตโควิด-19 ลากยาว
https://www.matichon.co.th/economy/news_2712197
 
ภาคธุรกิจอีเว้นท์ เตรียมยื่นหนังสือถึงรัฐบาล วอนเยียวยาผู้ประกอบการ ช่วยจ่ายค่าจ้างคนละครึ่ง – ประกันสังคมจ่ายทดแทนว่างงาน ชี้หลังวิกฤตโควิด-19 ลากยาว ทำตลาดอีเว้นท์สูญเม็ดเงินแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท
 
นายอุปถัมป์  นิสิตสุขเจริญ นายกสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน หรือ EMA และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือถึงพลเอก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึง นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในธุรกิจอีเว้นท์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สืบเนื่องจากการระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 ที่เริ่มระบาดในประเทศไทยระลอกแรกตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 เรื่อยมา  จนถึงการระบาดอย่างรุนแรงในระลอก 3 นับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน พ.ศ.2564 จนถึงปัจจุบัน
 
ที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน จำนวนหลายฉบับต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงประกาศตามกฎหมายอื่นๆ และประกาศที่ออกโดยกรุงเทพมหานคร อาทิ การห้ามจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมประชุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย เช่นการประชุมการสัมมนา การสั่งปิดศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ ห้างสรรพสินค้า การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร มาตรการเว้นระยะห่างหรือ Social Distancing ในการจัดอีเว้นท์  ซึ่งมาตรการดังกล่าว ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบโดยตรงให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอีเว้นท์ อุตสาหกรรมไมซ์ และผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ผู้ให้บริการระบบแสงเสียงภาพ และเทคนิคพิเศษ ผู้ให้บริการออกแบบก่อสร้างฉากเวทีและบูธแสดงสินค้า ตลอดจนผู้จัดคอนเสิร์ต ผู้จัดเทศกาลดนตรีและเทศกาลบันเทิงต่างๆ  ไม่สามารถที่จะประกอบกิจการได้ตามปกติ ดังนั้นผู้ประกอบการในธุรกิจที่กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งอยู่ในภาคธุรกิจ SME ที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวของกระแสเงินสดไม่มากนัก  เมื่อได้รับผลกระทบจากมาตรการต่างๆ ในการป้องกันการระบาดโรคเชื้อไวรัสโควิด-19ที่ออกโดยภาครัฐที่กล่าวถึงข้างต้นมายาวนานกว่า 1 ปีเต็ม  ถึงแม้จะเป็นกิจการที่ภาครัฐมิได้สั่งให้ปิด แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องปิดกิจการลงโดยปริยาย เพราะไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่อไปได้ และยังมองไม่เห็นว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติเมื่อใด” นายอุปถัมป์กล่าว 
 
นายอุปถัมป์  เปิดเผยอีกว่า  ในปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการบางส่วนได้ปิดกิจการเป็นการชั่วคราวและบางส่วนได้ปิดกิจการเป็นการถาวรแล้วกว่าร้อยละ 60 ส่งผลให้มีการเลิกจ้างงานจำนวนมาก ลูกจ้างบางส่วนก็ลาออกเพื่อเปลี่ยนสายงานไปทำงานในสายงานอื่น ที่มีความเสี่ยงจากผลกระทบของโรคระบาดน้อยกว่าธุรกิจอีเว้นท์ ทำให้น่าเป็นห่วงว่าเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติจะขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะในสายงานอีเว้นท์ ทั้งนี้ จากการประเมินมูลค่าความเสียหายของอุตสาหกรรมอีเว้นท์ ที่มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 13,000 ล้านบาท พบว่า ในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างหนัก และสูญเสียรายได้กว่าร้อยละ 70-80 หรือราว 10,000 ล้านบาท และหากสถานการณ์ยังยืดเยื้อจะทำให้เสียหายอีกไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,000 ล้านบาทดังนั้น สมาคมธุรกิจสร้างสรรการจัดงาน หรือ EMA ในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบการในธุรกิจอีเว้นท์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ 
1. ผู้ประกอบการรับจ้างและให้บริการจัดอีเว้นท์ 
2. ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE : Meetings Incentives Conventions และ Exhibitions) 
3. ผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการระบบแสงเสียงภาพและเทคนิคพิเศษ 
4. ผู้ประกอบการ การให้บริการออกแบบและจัดสร้าง บูธแสดงสินค้า ฉากและเวที 
5. ผู้จัดเทศกาลดนตรีเทศกาลบันเทิงอื่นๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่