ต้องเริ่มต้นด้วย ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยเราต้องมีการเปลี่ยนผ่านโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาในภาคส่วนต่างๆ เพื่อลดต้นทุน และศักยภาพในการแข่งขัน รัฐบาลพูดถึง Thailand 4.0 มาได้สักระยะ แต่ในตามสากลแล้วเรื่องเหล่านี้มีมาหลายปี เทคโนโลยีต่างๆก้าวหน้าไปในระดับที่ว่า สามารถนำมาทดแทนแรงงานมนุษย์ เช่น AI หรือ แม้แต่ Big Data ที่เริ่มใช้ในหลายภาคส่วน นโยบาย Thailand 4.0 นี้อาจเป็นชิ้นโบแดงชิ้นหนึ่งถ้าในอีกสิบปีข้างหน้าเราย้อนกลับมามองถึงโนบายนี้ที่เริ่มต้นขึ้นมา
ถ้าเรามองเพียงแค่ประเทศเราจะต้องเปลี่ยนไปสู่ยุคดิจิตอล หลายๆองกรณ์ใหญ่ๆก็เริ่มมีการทำ Digital Transformation กันภายในองกรณ์ จะเปลี่ยนองกรณ์ไปสู่การใช้ดิจิตอลในการขับเคลื่อน เพื่อลดต้นทุน และกลัวการตกขบวน และเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่จะเกิดขึ่นภายในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเช่นกันที่บริษัทใหญ่ปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีเพื่อก้าวทันโลกที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว หากมองภาพรวมของประเทศเพียงอย่างเดียวด้านศักยภาพและเศรษฐกิจหรือ GDP ในอนคาตที่ขับเคลื่อนด้วยเศรษกิจและอุตสาหกรรมดิจิตอล
แต่ภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบกระเทือนในครั้งนี้คือแรงงาน ที่รัฐบาลควรมีมาตการรองรับ ภายในไม่กี่ปีแรงงานที่ทำงานเป็น routine ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นในภาคอุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร บริการ หรือแม้แต่ภาคขนส่ง
ทุกวันนี้หลายๆคนอาจได้ยินคำว่า Fintech หรือแม่แต่ระบบโลจิสติกที่เริ่มพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ ธนาคารเริ่มใช้ App ในการโอนเงินจ่ายบิล ปล่อยสินเชื่อ สิ่งเหล่านี้เริ่มมาแทนแรงงานคน ที่ส่งผลกระทบต่อแรงงาน และจะเป็นผลกระทบกลับมาสู่รัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ไม่มีมาตรการรองรับ ในการเปลี่ยนถ่าย หากเกิดการเปลี่ยนถ่ายแบบฉับพลัน ก็จะเกิดผลต่อแรงงานเหล่านั้นที่ว่างงาน และกระทบต่อครอบครัวของแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และก็จะกระทบต่อกำลังซื้อของระบบเศรษฐกิจโดยรวมเช่นกัน ที่อาจจะมีการจับจ่ายซื้อขายยากขึ้นภาวะเงินฝืด ภาคอุตสาหกรรมได้ลดต้นทุนจริง เพิ่มการแข่งขันจริง แต่ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมทางสังคมและเศรษฐกิจ ต่อรัฐบาลทุกรัฐบาลต่อไป หากขาดมาตรการรองรับในการเปลี่ยนถ่าย
ยกตัวอย่างล่าสุด ธนาคารไทยพานิช บอกจะลดสาขาลงจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อแรงงานนับหมื่นคน ลองนึกภาพ หากทุกธนาคารนำเทคโนโลยีมาแทนแรงงานคนในอนาคตอันใกล้ไล่เลี่ยกัน พร้อมกับลดสาขา จะกระทบต่อคนงานอีกเท่าใด แล้วถ้าหากแรงงานเหล่านั้นเป็นผู้นำครอบครัวจะกระทบอีกเท่าใด และยังแรงงานด้านอื่นๆที่จะได้รับผลกระทบแน่นอนในอนาคตอันใกล้ เช่น ภาคบริการ ที่สามารถใช้เทคโนโลยีทดแทน เช่นพนักงานขาตั๋ว กระเป๋ารถเมล์ พนักงานเค๊าเตอร์เซอร์วิส ภาคบัญชีที่อาจใช้ระบบ Etax มาแทนการจ้างพนักงานฝ่ายบัญชีในการทำภาษี แน่นอนเทคโนโลยีผิดลาดน้อยกว่าและรวดเร็วกว่า ภาคอุตสาหกรรมหนักที่ใช้หุ่นยนต์แทนคนที่อยู่ในไลน์การผลิตทั้งหมด จะมีผลกระทบเพียงใดหากเทียบกับจำนวนคนที่ต้องว่างงาน จะส่งผลกระทบมากเพียงใดต่อภาคพ่อค้าแม่ค้าในระดับทำมาหากินทั่วไป หากคนมีกำลังซื้อตกงาน จะส่งกระทบต่อเนื่องเพียงใด หรือต้องใช้เวลานานเท่าใดในการเปลียนผ่าน นักเรียนนักศึกษาที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาต้องเลือกเรียนสาขาใดให้มีงานต่อไปในอนาคต และเวลาในการสร้างคนที่มีประสบการในทางแรงงานในทักษะเฉพาะด้านในอนาคตต้องใช้เวลาเท่าใด หรือคนที่เพิ่งถูกปลดออกหรือว่างงานต้องใช้เวลาปรับตัวกับการเปลี่ยนถ่ายครั้งนี้ไปต้องใช้เวลาเท่าใด อย่างน้อยเป็นสิบๆปี แล้วเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยเราจะเป็นเช่นไรช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิตอล
รัฐบาลมีมาตรการรองรับ แล้วหรือยัง?
[บทความ]การเปลี่ยนถ่ายสู่ยุคดิจิตอล Thanland 4.0 รัฐบาลต้องมีมาตรการรองรับ (By Identity Idea)
ถ้าเรามองเพียงแค่ประเทศเราจะต้องเปลี่ยนไปสู่ยุคดิจิตอล หลายๆองกรณ์ใหญ่ๆก็เริ่มมีการทำ Digital Transformation กันภายในองกรณ์ จะเปลี่ยนองกรณ์ไปสู่การใช้ดิจิตอลในการขับเคลื่อน เพื่อลดต้นทุน และกลัวการตกขบวน และเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่จะเกิดขึ่นภายในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเช่นกันที่บริษัทใหญ่ปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีเพื่อก้าวทันโลกที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว หากมองภาพรวมของประเทศเพียงอย่างเดียวด้านศักยภาพและเศรษฐกิจหรือ GDP ในอนคาตที่ขับเคลื่อนด้วยเศรษกิจและอุตสาหกรรมดิจิตอล
แต่ภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบกระเทือนในครั้งนี้คือแรงงาน ที่รัฐบาลควรมีมาตการรองรับ ภายในไม่กี่ปีแรงงานที่ทำงานเป็น routine ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นในภาคอุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร บริการ หรือแม้แต่ภาคขนส่ง
ทุกวันนี้หลายๆคนอาจได้ยินคำว่า Fintech หรือแม่แต่ระบบโลจิสติกที่เริ่มพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ ธนาคารเริ่มใช้ App ในการโอนเงินจ่ายบิล ปล่อยสินเชื่อ สิ่งเหล่านี้เริ่มมาแทนแรงงานคน ที่ส่งผลกระทบต่อแรงงาน และจะเป็นผลกระทบกลับมาสู่รัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ไม่มีมาตรการรองรับ ในการเปลี่ยนถ่าย หากเกิดการเปลี่ยนถ่ายแบบฉับพลัน ก็จะเกิดผลต่อแรงงานเหล่านั้นที่ว่างงาน และกระทบต่อครอบครัวของแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และก็จะกระทบต่อกำลังซื้อของระบบเศรษฐกิจโดยรวมเช่นกัน ที่อาจจะมีการจับจ่ายซื้อขายยากขึ้นภาวะเงินฝืด ภาคอุตสาหกรรมได้ลดต้นทุนจริง เพิ่มการแข่งขันจริง แต่ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมทางสังคมและเศรษฐกิจ ต่อรัฐบาลทุกรัฐบาลต่อไป หากขาดมาตรการรองรับในการเปลี่ยนถ่าย
ยกตัวอย่างล่าสุด ธนาคารไทยพานิช บอกจะลดสาขาลงจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อแรงงานนับหมื่นคน ลองนึกภาพ หากทุกธนาคารนำเทคโนโลยีมาแทนแรงงานคนในอนาคตอันใกล้ไล่เลี่ยกัน พร้อมกับลดสาขา จะกระทบต่อคนงานอีกเท่าใด แล้วถ้าหากแรงงานเหล่านั้นเป็นผู้นำครอบครัวจะกระทบอีกเท่าใด และยังแรงงานด้านอื่นๆที่จะได้รับผลกระทบแน่นอนในอนาคตอันใกล้ เช่น ภาคบริการ ที่สามารถใช้เทคโนโลยีทดแทน เช่นพนักงานขาตั๋ว กระเป๋ารถเมล์ พนักงานเค๊าเตอร์เซอร์วิส ภาคบัญชีที่อาจใช้ระบบ Etax มาแทนการจ้างพนักงานฝ่ายบัญชีในการทำภาษี แน่นอนเทคโนโลยีผิดลาดน้อยกว่าและรวดเร็วกว่า ภาคอุตสาหกรรมหนักที่ใช้หุ่นยนต์แทนคนที่อยู่ในไลน์การผลิตทั้งหมด จะมีผลกระทบเพียงใดหากเทียบกับจำนวนคนที่ต้องว่างงาน จะส่งผลกระทบมากเพียงใดต่อภาคพ่อค้าแม่ค้าในระดับทำมาหากินทั่วไป หากคนมีกำลังซื้อตกงาน จะส่งกระทบต่อเนื่องเพียงใด หรือต้องใช้เวลานานเท่าใดในการเปลียนผ่าน นักเรียนนักศึกษาที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาต้องเลือกเรียนสาขาใดให้มีงานต่อไปในอนาคต และเวลาในการสร้างคนที่มีประสบการในทางแรงงานในทักษะเฉพาะด้านในอนาคตต้องใช้เวลาเท่าใด หรือคนที่เพิ่งถูกปลดออกหรือว่างงานต้องใช้เวลาปรับตัวกับการเปลี่ยนถ่ายครั้งนี้ไปต้องใช้เวลาเท่าใด อย่างน้อยเป็นสิบๆปี แล้วเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยเราจะเป็นเช่นไรช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิตอล
รัฐบาลมีมาตรการรองรับ แล้วหรือยัง?