โควิดถล่มเศรษฐกิจทรุดยาว รัฐควัก 5 พันล้านอุ้มคนตกงาน
https://www.prachachat.net/economy/news-580345
โควิดรอบใหม่ฉุดโค้งสุดท้าย ธุรกิจกระทบถ้วนหน้า หวั่นลามทั่วประเทศ จับตาช่วงชี้เป็นชี้ตาย 10-14 วัน ภาคประมงอ่วมสุด อาหารทะเลสูญ 1.3 หมื่นล้าน ดับฝันค้าปลีก ศูนย์การค้าปั้นรายได้ฤดูจับจ่าย ทุบมู้ดปลายปีวูบ ท่องเที่ยวเชียงใหม่-เกาะช้างกร่อย แห่ยกเลิกจองห้องพัก อีเวนต์-เคานต์ดาวน์แจ็กพอตระนาว นักเศรษฐศาสตร์ชี้หวั่นเครื่องยนต์พยุง ศก.ตัวสุดท้ายดับ ฟันธงล็อกดาวน์กระทบรุนแรง เผย ครม.เพิ่มอำนาจ สธ.ประกาศฉุกเฉิน จ่ายเงินคนว่างงานจากเหตุสุดวิสัย 50% ของค่าแรง 5.7 ล้านคน
การระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ใน จ.สมุทรสาคร ที่แพร่กระจายไปหลายจังหวัดอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความวิตกกังวลไปทั่วประเทศ นอกจากจะส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนที่มีแผนเดินทางออกต่างจังหวัดช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว ธุรกิจการค้า ภาคอุตสาหกรรมทุกสาขาต่างได้รับผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อม โดยเฉพาะภาคการประมงกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องห้างปลุกขายออนไลน์สู้
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการค้าปลีกรายใหญ่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบจากโควิด-19 ที่เกิดขึ้นล่าสุดกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าได้ แต่ห้างต่าง ๆ ยังมีลูกค้าเข้าใช้บริการและใช้จ่ายตามปกติ ไม่ได้ตื่นตระหนก ขณะที่ผู้ประกอบการได้เพิ่มความเข้มงวดคัดกรองลูกค้าก่อนเข้าห้าง และเน้นทำความสะอาดในจุดสำคัญ ๆ
“ผู้ประกอบการมีประสบการณ์มาแล้ว ช่วงโควิดระบาดหนักเดือน มี.ค.-เม.ย.ที่ผ่านมา จึงพร้อมนำมาตรการมาใช้ รวมถึงการขายผ่านออนไลน์รองรับกลุ่มลูกค้าที่ไม่ต้องการเดินทางมาห้าง ส่วนแบ็กออฟฟิศก็พร้อมนำระบบเวิร์กฟรอมโฮมกลับมาใช้ หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น ตอนนี้ยังเน้นมอนิเตอร์สถานการณ์และเตรียมพร้อมทุกเมื่อ”
ไอคอนสยามจัดอีเวนต์
นาย
เกรียงไกร กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ผู้จัดอีเวนต์รายใหญ่ เปิดเผยสำหรับอินเด็กซ์ ครีเอทีฟฯ ยังเดินหน้าจัดอีเวนต์ตามแผนที่วางไว้ ยังไม่ยกเลิกงานอีเวนต์ที่เตรียมไว้ ได้แก่ งาน Amazing Thailand Countdown ซึ่งร่วมมือกับไอคอนสยาม 31 ธ.ค.นี้ 2563 และงานเทศกาลประดับไฟฤดูหนาว 2564 ที่สิงห์ปาร์ค เชียงราย ระหว่าง 1 ม.ค.-14 ก.พ. 2564
ทุกงานจะเข้มงวดเรื่องคัดกรอง โดยทำตามทางการที่แนะนำเคร่งครัด ทั้งตรวจเช็ก สแกนผ่านไทยชนะ บังคับใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา รักษาระยะห่าง กรณีงานเทศกาลประดับไฟฯ จะจำกัดผู้เข้าชมที่ 6,500 คน/วัน
ข้าวสารเลิกเคานต์ดาวน์
นาย
สง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เปิดเผยว่า โควิดระลอกใหม่กระทบภาพรวมธุรกิจหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ต้องพึ่งพาเทศกาลแห่งความสุขช่วงปลายปีกระตุ้นยอดขาย รวมถึงผับบาร์ย่านท่องเที่ยวถนนข้าวสาร หลังมีข่าวระบาดรอบใหม่เพียงคืนเดียว ยอดขายของร้าน ผับ บาร์ย่านนี้ลดลงถึง 60-70%
“จากที่เคยมีรายได้ 7 แสนบาท/คืน ลดทันทีเหลือแค่ 1 หมื่นบาท/คืน กระทบมาก น่าเสียดายโอกาสที่ธุรกิจค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นมาแล้ว ต้องถอยกลับไปอีก หลังจากนี้เป็นเรื่องยากที่จะประเมิน ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด”
ล่าสุด สมาคมได้ตัดสินใจยกเลิกการจัดงานเคานต์ดาวน์ และการจัดงานเฉลิมฉลองช่วงปลายปี 2563 ตามนโยบายของทางการแล้ว จะมีเพียงการจัดไฟประดับย่านถนนข้าวสารเท่านั้น
ยกเลิกจองโรงแรม
ด้านความเคลื่อนไหวในต่างจังหวัด นางละเอียด บุ้งศรีทอง นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงแรมในเชียงใหม่หลายแห่งถูกยกเลิกจองห้องพัก จัดอีเวนต์ และการประชุมสัมมนาแล้ว 30-50% เช่น โรงแรมรติล้านนา ริเวอร์ไซด์ สปา รีสอร์ท เชียงใหม่ ถูกยกเลิก 2 งานสัมมนา ค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ขณะที่การจองห้องพักเพิ่มไม่มีใหม่เข้ามา ทำให้บรรยากาศค่อนข้างแผ่ว
“เดิมตั้งเป้าว่าเดือนธันวาคมจะมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 60% แต่ตอนนี้หายไปครึ่งต่อครึ่ง หรือประมาณ 15,000 คน/วัน”
แพร่-เกาะช้างกร่อย
นาย
กำพล เจริญขจรกุล ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จ.ตราด กล่าวว่า เกาะช้างเพิ่งฟื้นตัวจากโครงการไทยเที่ยวไทย และมาตรการ “คนละครึ่ง” วันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดยาวคึกคักมาก มีนักท่องเที่ยวจองที่พัก 60-70% แต่ทันทีที่มีข่าวโควิดระลอกใหม่ นักท่องเที่ยววิตกมาก บางรายขอยกเลิก ขอเลื่อนการจองออกไป
นาง
สิรินาถ ฉัตนศุภกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท.สำนักงานแพร่ ดูแล จ.แพร่ และอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการที่พักรายใหญ่ใน จ.แพร่ ถูกยกเลิกจองห้องพักไปแล้ว 10% ตัวเลขคงเพิ่มขึ้นอีก เพราะความหวาดระแวงเหมือนโควิดระบาดรอบแรก
ส่วน จ.อุตรดิตถ์ มีรายงานพบผู้ติดเชื้อ 1 ราย ทำให้กิจกรรมเฉลิมฉลองถูกยกเลิกล่าสุดทุกฝ่ายรอดูท่าที และตามติดมาตรการภาพรวมว่าจะเป็นไปทิศทางใด
หวั่นกำลังซื้อโค้งท้ายดับ
ดร.
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลกระทบในแง่เศรษฐกิจจากโควิดรอบใหม่น่าห่วง เพราะช่วงนี้เป็นไฮซีซั่นฤดูกาลใช้จ่าย และท่องเที่ยวของคนไทย จะมีผลทำให้การบริโภคภายในประเทศที่เปรียบเสมือนเครื่องยนต์สุดท้ายพยุงเศรษฐกิจอยู่แย่ลงไปด้วย จากเดิมเครื่องยนต์อื่นดับหมดแล้ว ทั้งการลงทุน ท่องเที่ยว ส่งออก
เดิมหวังว่าช่วงปีใหม่ คนจะเที่ยวห้างสรรพสินค้า หรือกลับไปท่องเที่ยวในต่างจังหวัด แต่คงไม่กล้าขยับไปไหนกัน ไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเดิม ๆ ต้องจับตาว่ารัฐบาลจะมีนโยบายดูแลสถานการณ์แบบแรงขนาดไหน และระยะต่อไปภาคการผลิตจะกระทบแค่ไหน เนื่องจากเริ่มมีข่าวการปิดโรงงาน โดยเฉพาะเซ็กเตอร์อาหารทะเลต้องสร้างความเชื่อมั่นเหมือนที่ประเทศสิงคโปร์เคยทำ จะได้ไม่ลุกลามไปหลายเซ็กเตอร์
โควิดตัวแปรทำ ศก.ติดลบ
“ถ้าปิดเมืองแบบแรงจะกดดันเศรษฐกิจชะงักทั้งหมด แต่ถ้าไม่ปิดแรงแล้วเอาไม่อยู่ จะกระทบความเชื่อมั่น เหมือนช่วง มี.ค.-เม.ย. โจทย์ไม่ง่ายและท้าทาย ต้องหาวิธีที่จะประสบผลสำเร็จโดยมีผลกระทบข้างเคียงน้อยที่สุด ต้องพึ่งมาตรการสาธารณสุข”
ดร.
พิพัฒน์กล่าวว่า สำหรับผลกระทบน่าจะมีต่อเศรษฐกิจปี 2564 มากกว่าปีนี้ ที่เหลือไม่กี่วัน ได้แต่หวังว่ากระทบระยะสั้นราว 3 เดือน แล้วควบคุมได้ และหากไทยได้วัคซีนมาใช้ช่วงไตรมาส 2 หรือ 3 รวมถึงต่างประเทศมีวัคซีนป้องกันโรคด้วย จะช่วยให้การท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวได้ไตรมาส 4 ปีหน้า แต่หากปีหน้าไทยไม่ได้วัคซีน ต้องอยู่กับโควิดไปอีกทั้งปี ทั้งประชาชน ภาคธุรกิจคงลำบาก
“เราประเมินว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะโต 3.4% เพราะนักท่องเที่ยวอาจมาแค่ 6 ล้านคน น้อยกว่าปีนี้ด้วยซ้ำ และวัคซีนจะมาครึ่งปีหลัง แต่โอกาสผิดพลามีเยอะไปหมด เช่น หากวัคซีนไม่มาตามคาด ถ้านักท่องเที่ยวไม่มาทั้งปี หรือมีโควิดตลอดทั้งปีหน้า ก็อาจจะติดลบอีกปี”
จากผลกระทบที่เกิดขึ้น เชื่อว่ารัฐต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมทั้งมาตรการด้านการเงิน และการคลัง ขึ้นกับสถานการณ์ระบาดว่าคุมได้ระดับใด
“มาตรการคงต้องเป็นลักษณะให้คลังนำ แล้วธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ช่วยในด้าน financing อาจต้องเร่งนโยบายการเงินที่มั่นใจได้ว่า แบงก์จะไปปล่อยกู้เพิ่ม ซึ่งคลังก็ต้องเข้ามาค้ำประกันเพิ่มเติมให้แบงก์กล้าปล่อยกู้”
กระทบจับจ่าย-14 วันรอวัดดวง
ดร.
เชาว์ เก่งชน ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ผลกระทบจากโควิดรอบใหม่ต้องรอประเมินอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อดูว่าการติดเชื้อนอกพื้นที่ จ.สมุทรสาคร รุนแรงเพียงใด มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นแค่ไหน กระจายตัวอย่างไร
“ถ้าจำนวนเคสใหม่น้อย หรือไม่มากนัก แล้วส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ที่จุดแรกที่ระบาด มาตรการล็อกดาวน์ต่าง ๆก็ไม่ต้องมาก ผลกระทบไม่มาก แต่ถ้าจุดอื่น ๆ มีเคสเกิดขึ้นมากจะเป็นอีกอย่าง คือ มาตรการต้องกินพื้นที่มากขึ้น ผลกระทบจะมากขึ้นด้วย ดังนั้นต้องรอดู 10-14 วันข้างหน้าก่อน”
แต่ระยะสั้นจะกระทบการจับจ่ายช่วงปลายปี กิจกรรมเฉลิมฉลองช่วงเทศกาลปีใหม่คงจะเงียบ หากผู้ติดเชื้อพุ่งเป็นหลักร้อยรายทุกวันก็น่าห่วง อาจล็อกดาวน์อีกซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจมาก อย่างไรก็ดี แต่หากสามารถควบคุมการระบาดได้ดี คาดว่า 2-3 เดือนนี้ ธุรกิจต่าง ๆ คงกลับมาดำเนินได้ตามปกติ
“รอบนี้แย่ตรงที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นในช่วงฤดูการใช้จ่ายพอดี พ่อค้าแม่ค้าหวังจะขายของได้ช่วงนี้ แต่พอมาเจอเหตุการณ์นี้ก็ลำบาก”
สมาคมธนาคารไทยนัดถกด่วน
ขณะที่นาย
ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทยในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ภาพที่เห็นขณะนี้คือหลายฝ่ายเตรียมความพร้อม ในส่วนของสมาคมธนาคารไทยได้เรียกประชุมด่วน เพื่อซักซ้อมความพร้อมเรื่องการขนเงินสด การดูแลความสะดวกผู้ที่ต้องการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ โดยเน้นที่ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด
ส่วนข้อกังวลโควิดรอบนี้จะกระทบภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้น มองว่าเร็วเกินไปที่จะประเมินสถานการณ์ จุดที่เห็นคือการจับจ่ายใช้สอยช่วงปีใหม่ การจับจ่ายของผู้บริโภคจะชะลอ แต่ขณะนี้ภาครัฐมีการดูแลตอบโจทย์เฉพาะจุด มีกระบวนการและกลไกเดิมวางไว้อยู่แล้ว ต่างจากการระบาดครั้งแรก จึงมองว่ารอบนี้จะทำให้หลายเรื่องชะลอออกไป แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ได้หยุด แต่การตกท้องช้างของตัวยูจะยาวขึ้น
“ตอนนี้เรามีพื้นฐานโครงสร้างในการติดตามการแพร่เชื้อ รัฐรับมือได้เร็ว แต่การตกท้องช้างของตัวยูจะยาวขึ้น ก็หวังว่ารัฐจะควบคุมการแพร่กระจายเชื้อได้เร็ว”
นาย
ผยงกล่าวว่า อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดรอบนี้คืออุตสาหกรรมอาหารทะเล และผู้ได้รับผลกระทบต่อเนื่อง คือภาคการท่องเที่ยวที่จะยิ่งชะลอตัว โดยแม้ว่าจะยังมีผู้เดินทางอยู่ แต่จำนวนจะน้อยลง ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบทำให้การหมุนวงล้อของระบบเศรษฐกิจยังหมุนเร่งขึ้นไม่ได้
“ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจ ก็คงทำให้การฟื้นตัวแบบตัว U ตกท้องช้างไปอีก คาดว่าจะใช้เวลาอีก 1-2 ไตรมาสทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวนั้น ปัจจัยหลักจะอยู่ที่เรื่องวัคซีนที่จะมาแล้วคนเข้าถึงได้ ตรงนั้นจะเป็นจุดเปลี่ยนในการฟื้นตัวเศรษฐกิจ” นาย
ผยงกล่าว
กระทบมู้ดลงทุนตลาดหุ้น
ด้านนาย
ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ผลกระทบกรณีสมุทรสาคร ธนาคารให้น้ำหนัก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.ความไม่แน่นอนของภาคการท่องเที่ยว 2.พัฒนาการทางการเมือง 3.ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง
ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ประเมินว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 3.1% จากปีนี้หดตัว -7-8% แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เบื้องต้นจะมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น เพราะยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะล็อกดาวน์หรือไม่ ขนาดไหน
สูญเสียเบื้องต้น 4.5 หมื่นล้าน
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยอาจได้รับความสูญเสียจากการระบาดรอบใหม่ของโควิด ราว 45,000 ล้านบาท ในกรอบเวลา 1 เดือน แยกเป็น
1. ความสูญเสียที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าประมงและอาหารทะเล 13,000 ล้านบาท จากการชะลอบริโภคสินค้าประมงและอาหารทะเลในระยะสั้น การส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวอาจกระทบในขั้นตอนการตรวจสอบ และกระบวนการต่าง ๆ จากคู่ค้า
2. ความสูญเสียจากที่ประชาชนชะลอทำกิจกรรมเฉลิมฉลองปีใหม่ โดยเฉพาะคนใน กทม. มูลค่าไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท
3. ความสูญเสียจากการชะลอการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ เม็ดเงินที่หายไป 17,000 ล้านบาท หรือราว 30% ของรายได้ท่องเที่ยวในช่วงเวลา 1 เดือน กรณียังไม่ได้มีประกาศห้ามเดินทางข้ามจังหวัด และอาจส่งผลกระทบด้านอื่น ๆ อาทิ กระทบต่อรายได้ผู้ประกอบการที่ค้าขายสินค้าอื่น ๆ ในตลาด จากที่ผู้คนหลีกเลี่ยงการสัญจรในพื้นที่ที่มีการระบาดหรือพบผู้ติดเชื้อ เป็นต้น
JJNY : โควิดถล่มศก.ทรุดยาว/ผู้นำไต้หวันไม่โทษสังคม/'วิโรจน์'จวกรบ.หละหลวม/ฝุ่นพิษมาตามนัด
https://www.prachachat.net/economy/news-580345
การระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ใน จ.สมุทรสาคร ที่แพร่กระจายไปหลายจังหวัดอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความวิตกกังวลไปทั่วประเทศ นอกจากจะส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนที่มีแผนเดินทางออกต่างจังหวัดช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว ธุรกิจการค้า ภาคอุตสาหกรรมทุกสาขาต่างได้รับผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อม โดยเฉพาะภาคการประมงกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องห้างปลุกขายออนไลน์สู้
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการค้าปลีกรายใหญ่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบจากโควิด-19 ที่เกิดขึ้นล่าสุดกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าได้ แต่ห้างต่าง ๆ ยังมีลูกค้าเข้าใช้บริการและใช้จ่ายตามปกติ ไม่ได้ตื่นตระหนก ขณะที่ผู้ประกอบการได้เพิ่มความเข้มงวดคัดกรองลูกค้าก่อนเข้าห้าง และเน้นทำความสะอาดในจุดสำคัญ ๆ
“ผู้ประกอบการมีประสบการณ์มาแล้ว ช่วงโควิดระบาดหนักเดือน มี.ค.-เม.ย.ที่ผ่านมา จึงพร้อมนำมาตรการมาใช้ รวมถึงการขายผ่านออนไลน์รองรับกลุ่มลูกค้าที่ไม่ต้องการเดินทางมาห้าง ส่วนแบ็กออฟฟิศก็พร้อมนำระบบเวิร์กฟรอมโฮมกลับมาใช้ หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น ตอนนี้ยังเน้นมอนิเตอร์สถานการณ์และเตรียมพร้อมทุกเมื่อ”
ไอคอนสยามจัดอีเวนต์
นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ผู้จัดอีเวนต์รายใหญ่ เปิดเผยสำหรับอินเด็กซ์ ครีเอทีฟฯ ยังเดินหน้าจัดอีเวนต์ตามแผนที่วางไว้ ยังไม่ยกเลิกงานอีเวนต์ที่เตรียมไว้ ได้แก่ งาน Amazing Thailand Countdown ซึ่งร่วมมือกับไอคอนสยาม 31 ธ.ค.นี้ 2563 และงานเทศกาลประดับไฟฤดูหนาว 2564 ที่สิงห์ปาร์ค เชียงราย ระหว่าง 1 ม.ค.-14 ก.พ. 2564
ทุกงานจะเข้มงวดเรื่องคัดกรอง โดยทำตามทางการที่แนะนำเคร่งครัด ทั้งตรวจเช็ก สแกนผ่านไทยชนะ บังคับใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา รักษาระยะห่าง กรณีงานเทศกาลประดับไฟฯ จะจำกัดผู้เข้าชมที่ 6,500 คน/วัน
ข้าวสารเลิกเคานต์ดาวน์
นายสง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เปิดเผยว่า โควิดระลอกใหม่กระทบภาพรวมธุรกิจหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ต้องพึ่งพาเทศกาลแห่งความสุขช่วงปลายปีกระตุ้นยอดขาย รวมถึงผับบาร์ย่านท่องเที่ยวถนนข้าวสาร หลังมีข่าวระบาดรอบใหม่เพียงคืนเดียว ยอดขายของร้าน ผับ บาร์ย่านนี้ลดลงถึง 60-70%
“จากที่เคยมีรายได้ 7 แสนบาท/คืน ลดทันทีเหลือแค่ 1 หมื่นบาท/คืน กระทบมาก น่าเสียดายโอกาสที่ธุรกิจค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นมาแล้ว ต้องถอยกลับไปอีก หลังจากนี้เป็นเรื่องยากที่จะประเมิน ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด”
ล่าสุด สมาคมได้ตัดสินใจยกเลิกการจัดงานเคานต์ดาวน์ และการจัดงานเฉลิมฉลองช่วงปลายปี 2563 ตามนโยบายของทางการแล้ว จะมีเพียงการจัดไฟประดับย่านถนนข้าวสารเท่านั้น
ยกเลิกจองโรงแรม
ด้านความเคลื่อนไหวในต่างจังหวัด นางละเอียด บุ้งศรีทอง นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงแรมในเชียงใหม่หลายแห่งถูกยกเลิกจองห้องพัก จัดอีเวนต์ และการประชุมสัมมนาแล้ว 30-50% เช่น โรงแรมรติล้านนา ริเวอร์ไซด์ สปา รีสอร์ท เชียงใหม่ ถูกยกเลิก 2 งานสัมมนา ค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ขณะที่การจองห้องพักเพิ่มไม่มีใหม่เข้ามา ทำให้บรรยากาศค่อนข้างแผ่ว
“เดิมตั้งเป้าว่าเดือนธันวาคมจะมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 60% แต่ตอนนี้หายไปครึ่งต่อครึ่ง หรือประมาณ 15,000 คน/วัน”
แพร่-เกาะช้างกร่อย
นายกำพล เจริญขจรกุล ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จ.ตราด กล่าวว่า เกาะช้างเพิ่งฟื้นตัวจากโครงการไทยเที่ยวไทย และมาตรการ “คนละครึ่ง” วันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดยาวคึกคักมาก มีนักท่องเที่ยวจองที่พัก 60-70% แต่ทันทีที่มีข่าวโควิดระลอกใหม่ นักท่องเที่ยววิตกมาก บางรายขอยกเลิก ขอเลื่อนการจองออกไป
นางสิรินาถ ฉัตนศุภกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท.สำนักงานแพร่ ดูแล จ.แพร่ และอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการที่พักรายใหญ่ใน จ.แพร่ ถูกยกเลิกจองห้องพักไปแล้ว 10% ตัวเลขคงเพิ่มขึ้นอีก เพราะความหวาดระแวงเหมือนโควิดระบาดรอบแรก
ส่วน จ.อุตรดิตถ์ มีรายงานพบผู้ติดเชื้อ 1 ราย ทำให้กิจกรรมเฉลิมฉลองถูกยกเลิกล่าสุดทุกฝ่ายรอดูท่าที และตามติดมาตรการภาพรวมว่าจะเป็นไปทิศทางใด
หวั่นกำลังซื้อโค้งท้ายดับ
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลกระทบในแง่เศรษฐกิจจากโควิดรอบใหม่น่าห่วง เพราะช่วงนี้เป็นไฮซีซั่นฤดูกาลใช้จ่าย และท่องเที่ยวของคนไทย จะมีผลทำให้การบริโภคภายในประเทศที่เปรียบเสมือนเครื่องยนต์สุดท้ายพยุงเศรษฐกิจอยู่แย่ลงไปด้วย จากเดิมเครื่องยนต์อื่นดับหมดแล้ว ทั้งการลงทุน ท่องเที่ยว ส่งออก
เดิมหวังว่าช่วงปีใหม่ คนจะเที่ยวห้างสรรพสินค้า หรือกลับไปท่องเที่ยวในต่างจังหวัด แต่คงไม่กล้าขยับไปไหนกัน ไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเดิม ๆ ต้องจับตาว่ารัฐบาลจะมีนโยบายดูแลสถานการณ์แบบแรงขนาดไหน และระยะต่อไปภาคการผลิตจะกระทบแค่ไหน เนื่องจากเริ่มมีข่าวการปิดโรงงาน โดยเฉพาะเซ็กเตอร์อาหารทะเลต้องสร้างความเชื่อมั่นเหมือนที่ประเทศสิงคโปร์เคยทำ จะได้ไม่ลุกลามไปหลายเซ็กเตอร์
โควิดตัวแปรทำ ศก.ติดลบ
“ถ้าปิดเมืองแบบแรงจะกดดันเศรษฐกิจชะงักทั้งหมด แต่ถ้าไม่ปิดแรงแล้วเอาไม่อยู่ จะกระทบความเชื่อมั่น เหมือนช่วง มี.ค.-เม.ย. โจทย์ไม่ง่ายและท้าทาย ต้องหาวิธีที่จะประสบผลสำเร็จโดยมีผลกระทบข้างเคียงน้อยที่สุด ต้องพึ่งมาตรการสาธารณสุข”
ดร.พิพัฒน์กล่าวว่า สำหรับผลกระทบน่าจะมีต่อเศรษฐกิจปี 2564 มากกว่าปีนี้ ที่เหลือไม่กี่วัน ได้แต่หวังว่ากระทบระยะสั้นราว 3 เดือน แล้วควบคุมได้ และหากไทยได้วัคซีนมาใช้ช่วงไตรมาส 2 หรือ 3 รวมถึงต่างประเทศมีวัคซีนป้องกันโรคด้วย จะช่วยให้การท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวได้ไตรมาส 4 ปีหน้า แต่หากปีหน้าไทยไม่ได้วัคซีน ต้องอยู่กับโควิดไปอีกทั้งปี ทั้งประชาชน ภาคธุรกิจคงลำบาก
“เราประเมินว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะโต 3.4% เพราะนักท่องเที่ยวอาจมาแค่ 6 ล้านคน น้อยกว่าปีนี้ด้วยซ้ำ และวัคซีนจะมาครึ่งปีหลัง แต่โอกาสผิดพลามีเยอะไปหมด เช่น หากวัคซีนไม่มาตามคาด ถ้านักท่องเที่ยวไม่มาทั้งปี หรือมีโควิดตลอดทั้งปีหน้า ก็อาจจะติดลบอีกปี”
จากผลกระทบที่เกิดขึ้น เชื่อว่ารัฐต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมทั้งมาตรการด้านการเงิน และการคลัง ขึ้นกับสถานการณ์ระบาดว่าคุมได้ระดับใด
“มาตรการคงต้องเป็นลักษณะให้คลังนำ แล้วธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ช่วยในด้าน financing อาจต้องเร่งนโยบายการเงินที่มั่นใจได้ว่า แบงก์จะไปปล่อยกู้เพิ่ม ซึ่งคลังก็ต้องเข้ามาค้ำประกันเพิ่มเติมให้แบงก์กล้าปล่อยกู้”
กระทบจับจ่าย-14 วันรอวัดดวง
ดร.เชาว์ เก่งชน ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ผลกระทบจากโควิดรอบใหม่ต้องรอประเมินอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อดูว่าการติดเชื้อนอกพื้นที่ จ.สมุทรสาคร รุนแรงเพียงใด มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นแค่ไหน กระจายตัวอย่างไร
“ถ้าจำนวนเคสใหม่น้อย หรือไม่มากนัก แล้วส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ที่จุดแรกที่ระบาด มาตรการล็อกดาวน์ต่าง ๆก็ไม่ต้องมาก ผลกระทบไม่มาก แต่ถ้าจุดอื่น ๆ มีเคสเกิดขึ้นมากจะเป็นอีกอย่าง คือ มาตรการต้องกินพื้นที่มากขึ้น ผลกระทบจะมากขึ้นด้วย ดังนั้นต้องรอดู 10-14 วันข้างหน้าก่อน”
แต่ระยะสั้นจะกระทบการจับจ่ายช่วงปลายปี กิจกรรมเฉลิมฉลองช่วงเทศกาลปีใหม่คงจะเงียบ หากผู้ติดเชื้อพุ่งเป็นหลักร้อยรายทุกวันก็น่าห่วง อาจล็อกดาวน์อีกซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจมาก อย่างไรก็ดี แต่หากสามารถควบคุมการระบาดได้ดี คาดว่า 2-3 เดือนนี้ ธุรกิจต่าง ๆ คงกลับมาดำเนินได้ตามปกติ
“รอบนี้แย่ตรงที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นในช่วงฤดูการใช้จ่ายพอดี พ่อค้าแม่ค้าหวังจะขายของได้ช่วงนี้ แต่พอมาเจอเหตุการณ์นี้ก็ลำบาก”
สมาคมธนาคารไทยนัดถกด่วน
ขณะที่นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทยในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ภาพที่เห็นขณะนี้คือหลายฝ่ายเตรียมความพร้อม ในส่วนของสมาคมธนาคารไทยได้เรียกประชุมด่วน เพื่อซักซ้อมความพร้อมเรื่องการขนเงินสด การดูแลความสะดวกผู้ที่ต้องการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ โดยเน้นที่ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด
ส่วนข้อกังวลโควิดรอบนี้จะกระทบภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้น มองว่าเร็วเกินไปที่จะประเมินสถานการณ์ จุดที่เห็นคือการจับจ่ายใช้สอยช่วงปีใหม่ การจับจ่ายของผู้บริโภคจะชะลอ แต่ขณะนี้ภาครัฐมีการดูแลตอบโจทย์เฉพาะจุด มีกระบวนการและกลไกเดิมวางไว้อยู่แล้ว ต่างจากการระบาดครั้งแรก จึงมองว่ารอบนี้จะทำให้หลายเรื่องชะลอออกไป แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ได้หยุด แต่การตกท้องช้างของตัวยูจะยาวขึ้น
“ตอนนี้เรามีพื้นฐานโครงสร้างในการติดตามการแพร่เชื้อ รัฐรับมือได้เร็ว แต่การตกท้องช้างของตัวยูจะยาวขึ้น ก็หวังว่ารัฐจะควบคุมการแพร่กระจายเชื้อได้เร็ว”
นายผยงกล่าวว่า อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดรอบนี้คืออุตสาหกรรมอาหารทะเล และผู้ได้รับผลกระทบต่อเนื่อง คือภาคการท่องเที่ยวที่จะยิ่งชะลอตัว โดยแม้ว่าจะยังมีผู้เดินทางอยู่ แต่จำนวนจะน้อยลง ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบทำให้การหมุนวงล้อของระบบเศรษฐกิจยังหมุนเร่งขึ้นไม่ได้
“ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจ ก็คงทำให้การฟื้นตัวแบบตัว U ตกท้องช้างไปอีก คาดว่าจะใช้เวลาอีก 1-2 ไตรมาสทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวนั้น ปัจจัยหลักจะอยู่ที่เรื่องวัคซีนที่จะมาแล้วคนเข้าถึงได้ ตรงนั้นจะเป็นจุดเปลี่ยนในการฟื้นตัวเศรษฐกิจ” นายผยงกล่าว
กระทบมู้ดลงทุนตลาดหุ้น
ด้านนายทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ผลกระทบกรณีสมุทรสาคร ธนาคารให้น้ำหนัก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.ความไม่แน่นอนของภาคการท่องเที่ยว 2.พัฒนาการทางการเมือง 3.ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง
ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ประเมินว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 3.1% จากปีนี้หดตัว -7-8% แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เบื้องต้นจะมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น เพราะยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะล็อกดาวน์หรือไม่ ขนาดไหน
สูญเสียเบื้องต้น 4.5 หมื่นล้าน
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยอาจได้รับความสูญเสียจากการระบาดรอบใหม่ของโควิด ราว 45,000 ล้านบาท ในกรอบเวลา 1 เดือน แยกเป็น
1. ความสูญเสียที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าประมงและอาหารทะเล 13,000 ล้านบาท จากการชะลอบริโภคสินค้าประมงและอาหารทะเลในระยะสั้น การส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวอาจกระทบในขั้นตอนการตรวจสอบ และกระบวนการต่าง ๆ จากคู่ค้า
2. ความสูญเสียจากที่ประชาชนชะลอทำกิจกรรมเฉลิมฉลองปีใหม่ โดยเฉพาะคนใน กทม. มูลค่าไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท
3. ความสูญเสียจากการชะลอการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ เม็ดเงินที่หายไป 17,000 ล้านบาท หรือราว 30% ของรายได้ท่องเที่ยวในช่วงเวลา 1 เดือน กรณียังไม่ได้มีประกาศห้ามเดินทางข้ามจังหวัด และอาจส่งผลกระทบด้านอื่น ๆ อาทิ กระทบต่อรายได้ผู้ประกอบการที่ค้าขายสินค้าอื่น ๆ ในตลาด จากที่ผู้คนหลีกเลี่ยงการสัญจรในพื้นที่ที่มีการระบาดหรือพบผู้ติดเชื้อ เป็นต้น