สินค้าแพง ยาแรงรัฐเอาไม่อยู่
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_278367/
สินค้าแพง ยาแรงรัฐเอาไม่อยู่
ราคาสินค้าแพงประเด็นร้อน ทำชาวบ้านประชาชนค่าครองชีพพุ่ง ซึ่งปรับขึ้นทั้งราคาสินค้าในหลายประเภท รวมทั้งภาวะโรคระบาดในหมู ที่ทำให้ราคาหมูปรับเพิ่มขึ้นกว่าเกือบเท่าตัว นอกจากปัจจัยภายในประเทศจะมีปัจจัยจากภายนอก ทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจนไปถึงสินค้าภาคการเกษตรที่ผลักดันให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามตามกัน
โดยนาย
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ปัญหาสินค้าราคาแพงในประเทศ เกิดจากปัจจัยราคาพลังงาน และสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งทำให้ราคาสินค้าต่างๆปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมามุ่งเน้นแต่การ กระตุ้นการจับจ่ายและเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน
จนทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้นและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้หนี้ครัวเรือนของประชาชนในอนาคตตรวจสูงขึ้นตามไปด้วยควบคู่กับหนี้สาธารณะของภาครัฐ
ประกอบกับมีปัญหาการปกปิดโรคระบาดในสุกร โดยในเรื่องนี้รัฐบาลจะต้องเร่งเยียวยาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูโดยเร็วเพื่อจัดการกับปัญหาให้จบแบบเด็ดขาด
อย่างไรก็ตามมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้แก้ไขและบริหารจัดการได้ยาก เนื่องจากรัฐบาลได้มีการนำวงเงินไปใช้ในการฟื้นฟูและเยียวยาเกี่ยวกับโดวิด-19 เป็นวงกว้างมากจนเกินไป ซึ่งในอนาคตอาจไม่เหลือวงเงินในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
จากมุมมองของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเห็นได้ว่ามีความเป็นห่วงต่อสภาวะการคลังของประเทศในอนาคตจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่ตรงจุดเท่าที่ควร ถือได้ว่าแม้จะระดมระดับหัวกะทิของประเทศมาวางแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาแต่อาจจะไม่สำเร็จได้โดยง่าย จากนี้คงต้องมาดูทิศทางของทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลว่าจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไรเพราะนอกจากของที่แพงขึ้นยังมีสภาวะของการแพร่ระบาดจาก โควิด-19 กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ให้ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ทั้งภาคการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่นับวันเริ่มจากตึงตัวและมีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นตามมา
โอมิครอนป่วนปีขาล ! ขวางทางการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
https://www.tnnthailand.com/news/tnnexclusive/102760/
สำนักเศรษฐศาสตร์หวั่นโอมิครอนยื้อลากยาว ฉุดจีดีพีไทยติดลบส่งผลการฟื้นตัวเศรษฐกิจล่าช้าออกไปอีก 1 ปี ชี้เงินเฟ้อสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงฉุดรั้ง หวังการท่องเที่ยวฟื้น
ภาวะเศรษฐกิจโลกกลับมาปั่นป่วนกันอีกครั้ง หลังจากมหันตภัยร้ายอย่างไวรัสโควิดกลายพันธุ์ใหม่ "
โอมิครอน" เริ่มระบาดหนักในหลายประเทศ เช่น แอฟริกา อังกฤษ และจีน โดยเริ่มเห็นการ เสียชีวิตของผู้ติดเชื้อกันบ้างแล้ว ทำให้ทั่วโลกเฝ้าระวังและเริ่มตื่นตัวงัดมาตรการเดินทางและสุขอนามัยสกัดโควิดที่คุมเข้มมากขึ้น แม้จะยังไม่มีผลการศึกษาที่แน่ชัด แต่ก็เกิดความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว
ยิ่งหากประสิทธิภาพของวัคซีนหากสกัดโควิดโอมิครอนเอาไม่อยู่ จะส่งผลต่อการเดินทางระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะหยุดชะงักครั้งใหญ่ และกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจในอนาคตได้
เพราะการแพร่ระบาดโควิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นแล้วว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยบอบช้ำกันอย่างหนักเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจดับสนิทเกือบทุกตัว ยกเว้นการใช้จ่ายภาครัฐที่ประคองเศรษฐกิจไม่ให้หดตัวรุนแรงและไม่ให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะการคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างคนละครึ่ง ชิมช้อปใช้รวมทั้งมาตรการทางการเงินเข้ามาเสริมความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชน เพื่อบรรเทาภาระหนี้ แต่ไม่สามารถช่วยได้ทุกกลุ่ม เนื่องจากปัญหาสำคัญคือการขาดรายได้ของประชาชนและธุรกิจ
ดังนั้น รัฐบาลต้องเตรียมเครื่องมือและมาตรการให้เพียงพอรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแบบสอดประสาน ทั้งนโยบายการเงินและการคลังเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจที่กำลังผงกหัวขึ้นให้เดินหน้าต่อไปได้แบบไม่สะดุด
สำหรับแนวโน้มทิศทางเศรษฐกิจไทยในปีขาลจะรุ่งหรือร่วงมากน้อยแค่ไหน ท่ามกลางโควิดโอมิครอนที่กำลังระบาดสู่นานาประเทศนั้น
ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประเทศไทย มองว่า กรณีเลวร้ายหากโควิดกลับมาระบาดใหม่และทำให้รัฐต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมอีกครั้ง จำกัดการระบาดและการเดินทาง
จะส่งผลต่อจีดีพีปี 65 กลับมาติดลบ 0.3% และการฟื้นตัวเศรษฐกิจจะล่าช้าออกไปอีก 1 ปี
แต่ถ้าการระบาดไม่รุนแรงในปี 65 เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวดีขึ้น จึงปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีปีหน้าของไทยมาอยู่ที่ 3.9% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.6% และปี 66 คาดจีดีพีจะเติบโตอยู่ที่ 4.3% จากแรงขับเคลื่อนในภาคบริการ การบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่กลับมาดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้มากขึ้น
โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 7 ล้านคนในปี 65 และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปีต่อเนื่องไปในปี 66 ที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยประมาณ 20 ล้านคน อย่างไรก็ตาม การประเมินดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานประชาชนต้องได้วัคซีนครบโดส และโควิดไม่ได้แพร่ระบาดหนัก
"กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะสามารถกลับมาสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิดได้ในช่วงปลายปี 65 จากความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนและการกลับมาของนักท่องเที่ยว เป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวโดยเฉพาะท่องเที่ยวหนุนจีดีพีปี 65 โตได้ 2% และปี 66 เติบโตได้ 4%"
ด้าน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับอัตราการแพร่เชื้อ ประสิทธิภาพของวัคซีน และความรุนแรงของโรค ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยแบ่งออกเป็น 2 กรณี ภายใต้สมมติฐานที่การแพร่ะบาดของสายพันธุ์ โอมิครอน จะบรรเทาลงในปลายไตรมาสที่ 1 ปี 65 ขณะที่รัฐบาลไทยคาดว่าจะไม่มีการกู้เงินนอกงบประมาณเพิ่มเติม โดยให้ใช้วงเงิน 2.6 แสนล้านบาทที่คงเหลือจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท
กรณีที่ดี แม้ไวรัสจะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แต่หากความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า และวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันสามารถลดหรือจำกัดระดับความรุนแรงของอาการป่วยได้ ไทยก็อาจไม่จำเป็นต้องมีการล็อกดาวน์ คาดว่าเศรษฐกิจปี 65 ก็ยังน่าจะสามารถฟื้นตัวได้ที่ 3.7% โดยเศรษฐกิจไทยยังจะได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่โต 4.3% ส่วนการใช้จ่ายครัวเรือนรวมถึงการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวในช่วงปลายปี ซึ่งภายใต้กรณีนี้ แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจอยู่
ส่วนกรณีแย่ โอมิครอนมีความรุนแรงเทียบเท่ากับสายพันธุ์เดลต้า และประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันลดลงอย่างมาก รัฐใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด เช่น ปิดประเทศ หรือล็อกดาวน์ ตามระดับความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ จะทำให้จีดีพีโตเพียง 2.8% ส่งออกโต 3.5% ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย ในกรณีที่ไวรัสโอมิครอนไม่รุนแรง คาดจะอยู่ที่ 4 ล้านคน คิดเป็นรายได้ 3 แสนล้านบาท แต่หากรุนแรงคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยจะอยู่ที่ราว 2 ล้านคน คิดเป็นรายได้ 1.5 แสนล้านบาท
ฝั่ง
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ระบุว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจต้องสะดุดลงจากการแพร่ระบาดใหญ่ มีความเปราะบางทั้งจากการฟื้นตัวที่ไม่พร้อมเพรียงกัน (K-Shaped Recovery) และปริมาณหนี้ในระดับสูง ทำให้เศรษฐกิจไทยปีหน้า จะยังไม่กลับเข้าสู่ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 และยังต้องอาศัยการผ่อนคลายนโยบายการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังเพื่อช่วยสร้างโมเมนตัม
อย่างไรก็ตาม หากเลวร้ายกว่านั้น โอมิครอนแพรร่ระบาดในประเทศ จนต้องล็อกดาวน์พื้นที่เสี่ยง และจำกัดผู้เดินทางเข้าประเทศ ภาครัฐจำเป็นต้องกู้เงินเยียวยาเศรษฐกิจเพิ่มเติม จีดีพีในปี 65 ก็อาจจะโตเพียง 3.4% จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจีดีพีจะเติบโต 3.8%
ขณะที่
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)มองจีดีพีปี 65 จะเติบโต 3.7% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.9%จากสถานการณ์โควิดรอบใหม่จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจโลก ปัญหา supply disruption ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้า, ความต่อเนื่องของแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลังและมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ภาคธุรกิจเพื่อประคองไม่ให้เศรษฐกิจทรุด และช่วยให้เศรษฐกิจไทยผ่านพ้นวิกฤติไปให้ได้
ปิดท้าย
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) ออกมาปรับลดคาดการณ์จีดีพีในปี 65 เติบโตเพียง 3.2% จากเดิมตั้งไว้ 3.4% จากการระบาดของโอมิครอน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งเป็นความเสี่ยงด้านต่ำที่สำคัญที่อาจทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวมากกว่าที่ประเมิน ได้และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นในช่วงไตรมาส 1/65
ส่วนภาคการส่งออกสินค้าจะยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าโลกคาดว่าจะเติบโต 3.4% ขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนของไทยและประเทศต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การเดินทางระหว่างประเทศสะดวกขึ้น ทำให้ภาคท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวโดยคาดว่าจะมีนักท่อง
เที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 5.9 ล้านคน
ขณะที่เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ในปีหน้า แต่ยังเป็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆ และยังต่ำกว่าระดับศักยภาพค่อนข้างมาก ทำให้มีความสูญเสียทางเศรษฐกิจ (output loss) ในระดับสูง และอาจกระทบต่อศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ผ่านการลงทุนและการจ้างงานที่น้อยลง โดยกว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไปอยู่ในระดับปี2562 หรือก่อน COVID-19 ได้จะต้องรอถึงช่วงกลางปี 2566
แม้ว่าการย่างก้าวเข้าสู่ปีขาล เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทิศทางผงกหัวขึ้น และหวังเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างท่องเที่ยว การส่งออก และการบริโภคจะเป็นแรงหนุนให้เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์
แต่อุปสรรคขวางหนามที่สำคัญยังหนีไม่พ้นความรุนแรงของสายพันธุ์โอมิครอน ประสิทธิภาพของวัคซีน และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ว่าจะดำเนินการเข้มข้นมากแค่ไหน เพื่อไม่ให้กลับไปล็อกดาวน์อีกระลอก
เพราะหากเอาไม่อยู่จะทำให้แผลเป็นทางเศรษฐกิจเรื้อรังปรับลงลึกไปอีก ทั้งในส่วนของการเปิด-ปิดกิจการที่แย่ลง ภาวะตลาดแรงงานที่เปราะบางมากขึ้น รวมถึงภาคครัวเรือนจะต้องแบกหนี้ท่วมหัว และเผชิญกับภาวะของการมีหนี้สูง จนเป็นปัญหาต่อการใช้จ่ายในอนาคต หรือ Debt overhang เป็นเวลานานขึ้น ซึ่งแผลเป็นที่ลึกขึ้น จะเป็นตัวถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
ดังนั้นการประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้สะดุดนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ควรสอดประสานออกมาตรการและเครื่องมือในการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ประชาชนต้องเร่งฉีดวีคซีนสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ปฏฺิบัติการควบคู่ไปกับมาตรฐานสาธารณสุข การ์ดอย่าตก ไม่ประมาท เพื่อช่วยกันประคองให้ทั้งระบบเศรษฐกิจและสาธาณสุขของไทย ผ่านพ้นวิกฤติที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุดในครั้งนี้ไปให้ได้....
JJNY : สินค้าแพง ยาแรงรัฐเอาไม่อยู่│โอมิครอนขวางฟื้ันเศรษฐกิจ│“หมอรามาฯ”อาลัย“พญ.วราลัคน์”│"ชัชชาติ"เรียกกระแสคนรุ่นใหม่
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_278367/
สินค้าแพง ยาแรงรัฐเอาไม่อยู่
ราคาสินค้าแพงประเด็นร้อน ทำชาวบ้านประชาชนค่าครองชีพพุ่ง ซึ่งปรับขึ้นทั้งราคาสินค้าในหลายประเภท รวมทั้งภาวะโรคระบาดในหมู ที่ทำให้ราคาหมูปรับเพิ่มขึ้นกว่าเกือบเท่าตัว นอกจากปัจจัยภายในประเทศจะมีปัจจัยจากภายนอก ทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจนไปถึงสินค้าภาคการเกษตรที่ผลักดันให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามตามกัน
โดยนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ปัญหาสินค้าราคาแพงในประเทศ เกิดจากปัจจัยราคาพลังงาน และสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งทำให้ราคาสินค้าต่างๆปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมามุ่งเน้นแต่การ กระตุ้นการจับจ่ายและเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน
จนทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้นและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้หนี้ครัวเรือนของประชาชนในอนาคตตรวจสูงขึ้นตามไปด้วยควบคู่กับหนี้สาธารณะของภาครัฐ
ประกอบกับมีปัญหาการปกปิดโรคระบาดในสุกร โดยในเรื่องนี้รัฐบาลจะต้องเร่งเยียวยาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูโดยเร็วเพื่อจัดการกับปัญหาให้จบแบบเด็ดขาด
อย่างไรก็ตามมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้แก้ไขและบริหารจัดการได้ยาก เนื่องจากรัฐบาลได้มีการนำวงเงินไปใช้ในการฟื้นฟูและเยียวยาเกี่ยวกับโดวิด-19 เป็นวงกว้างมากจนเกินไป ซึ่งในอนาคตอาจไม่เหลือวงเงินในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
จากมุมมองของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเห็นได้ว่ามีความเป็นห่วงต่อสภาวะการคลังของประเทศในอนาคตจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่ตรงจุดเท่าที่ควร ถือได้ว่าแม้จะระดมระดับหัวกะทิของประเทศมาวางแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาแต่อาจจะไม่สำเร็จได้โดยง่าย จากนี้คงต้องมาดูทิศทางของทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลว่าจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไรเพราะนอกจากของที่แพงขึ้นยังมีสภาวะของการแพร่ระบาดจาก โควิด-19 กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ให้ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ทั้งภาคการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่นับวันเริ่มจากตึงตัวและมีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นตามมา
https://www.tnnthailand.com/news/tnnexclusive/102760/
สำนักเศรษฐศาสตร์หวั่นโอมิครอนยื้อลากยาว ฉุดจีดีพีไทยติดลบส่งผลการฟื้นตัวเศรษฐกิจล่าช้าออกไปอีก 1 ปี ชี้เงินเฟ้อสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงฉุดรั้ง หวังการท่องเที่ยวฟื้น
ภาวะเศรษฐกิจโลกกลับมาปั่นป่วนกันอีกครั้ง หลังจากมหันตภัยร้ายอย่างไวรัสโควิดกลายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน" เริ่มระบาดหนักในหลายประเทศ เช่น แอฟริกา อังกฤษ และจีน โดยเริ่มเห็นการ เสียชีวิตของผู้ติดเชื้อกันบ้างแล้ว ทำให้ทั่วโลกเฝ้าระวังและเริ่มตื่นตัวงัดมาตรการเดินทางและสุขอนามัยสกัดโควิดที่คุมเข้มมากขึ้น แม้จะยังไม่มีผลการศึกษาที่แน่ชัด แต่ก็เกิดความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว
ยิ่งหากประสิทธิภาพของวัคซีนหากสกัดโควิดโอมิครอนเอาไม่อยู่ จะส่งผลต่อการเดินทางระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะหยุดชะงักครั้งใหญ่ และกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจในอนาคตได้
เพราะการแพร่ระบาดโควิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นแล้วว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยบอบช้ำกันอย่างหนักเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจดับสนิทเกือบทุกตัว ยกเว้นการใช้จ่ายภาครัฐที่ประคองเศรษฐกิจไม่ให้หดตัวรุนแรงและไม่ให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะการคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างคนละครึ่ง ชิมช้อปใช้รวมทั้งมาตรการทางการเงินเข้ามาเสริมความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชน เพื่อบรรเทาภาระหนี้ แต่ไม่สามารถช่วยได้ทุกกลุ่ม เนื่องจากปัญหาสำคัญคือการขาดรายได้ของประชาชนและธุรกิจ
ดังนั้น รัฐบาลต้องเตรียมเครื่องมือและมาตรการให้เพียงพอรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแบบสอดประสาน ทั้งนโยบายการเงินและการคลังเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจที่กำลังผงกหัวขึ้นให้เดินหน้าต่อไปได้แบบไม่สะดุด
สำหรับแนวโน้มทิศทางเศรษฐกิจไทยในปีขาลจะรุ่งหรือร่วงมากน้อยแค่ไหน ท่ามกลางโควิดโอมิครอนที่กำลังระบาดสู่นานาประเทศนั้น ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประเทศไทย มองว่า กรณีเลวร้ายหากโควิดกลับมาระบาดใหม่และทำให้รัฐต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมอีกครั้ง จำกัดการระบาดและการเดินทาง
จะส่งผลต่อจีดีพีปี 65 กลับมาติดลบ 0.3% และการฟื้นตัวเศรษฐกิจจะล่าช้าออกไปอีก 1 ปี
แต่ถ้าการระบาดไม่รุนแรงในปี 65 เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวดีขึ้น จึงปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีปีหน้าของไทยมาอยู่ที่ 3.9% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.6% และปี 66 คาดจีดีพีจะเติบโตอยู่ที่ 4.3% จากแรงขับเคลื่อนในภาคบริการ การบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่กลับมาดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้มากขึ้น
โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 7 ล้านคนในปี 65 และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปีต่อเนื่องไปในปี 66 ที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยประมาณ 20 ล้านคน อย่างไรก็ตาม การประเมินดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานประชาชนต้องได้วัคซีนครบโดส และโควิดไม่ได้แพร่ระบาดหนัก
"กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะสามารถกลับมาสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิดได้ในช่วงปลายปี 65 จากความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนและการกลับมาของนักท่องเที่ยว เป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวโดยเฉพาะท่องเที่ยวหนุนจีดีพีปี 65 โตได้ 2% และปี 66 เติบโตได้ 4%"
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับอัตราการแพร่เชื้อ ประสิทธิภาพของวัคซีน และความรุนแรงของโรค ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยแบ่งออกเป็น 2 กรณี ภายใต้สมมติฐานที่การแพร่ะบาดของสายพันธุ์ โอมิครอน จะบรรเทาลงในปลายไตรมาสที่ 1 ปี 65 ขณะที่รัฐบาลไทยคาดว่าจะไม่มีการกู้เงินนอกงบประมาณเพิ่มเติม โดยให้ใช้วงเงิน 2.6 แสนล้านบาทที่คงเหลือจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท
กรณีที่ดี แม้ไวรัสจะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แต่หากความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า และวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันสามารถลดหรือจำกัดระดับความรุนแรงของอาการป่วยได้ ไทยก็อาจไม่จำเป็นต้องมีการล็อกดาวน์ คาดว่าเศรษฐกิจปี 65 ก็ยังน่าจะสามารถฟื้นตัวได้ที่ 3.7% โดยเศรษฐกิจไทยยังจะได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่โต 4.3% ส่วนการใช้จ่ายครัวเรือนรวมถึงการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวในช่วงปลายปี ซึ่งภายใต้กรณีนี้ แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจอยู่
ส่วนกรณีแย่ โอมิครอนมีความรุนแรงเทียบเท่ากับสายพันธุ์เดลต้า และประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันลดลงอย่างมาก รัฐใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด เช่น ปิดประเทศ หรือล็อกดาวน์ ตามระดับความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ จะทำให้จีดีพีโตเพียง 2.8% ส่งออกโต 3.5% ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย ในกรณีที่ไวรัสโอมิครอนไม่รุนแรง คาดจะอยู่ที่ 4 ล้านคน คิดเป็นรายได้ 3 แสนล้านบาท แต่หากรุนแรงคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยจะอยู่ที่ราว 2 ล้านคน คิดเป็นรายได้ 1.5 แสนล้านบาท
ฝั่งศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ระบุว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจต้องสะดุดลงจากการแพร่ระบาดใหญ่ มีความเปราะบางทั้งจากการฟื้นตัวที่ไม่พร้อมเพรียงกัน (K-Shaped Recovery) และปริมาณหนี้ในระดับสูง ทำให้เศรษฐกิจไทยปีหน้า จะยังไม่กลับเข้าสู่ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 และยังต้องอาศัยการผ่อนคลายนโยบายการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังเพื่อช่วยสร้างโมเมนตัม
อย่างไรก็ตาม หากเลวร้ายกว่านั้น โอมิครอนแพรร่ระบาดในประเทศ จนต้องล็อกดาวน์พื้นที่เสี่ยง และจำกัดผู้เดินทางเข้าประเทศ ภาครัฐจำเป็นต้องกู้เงินเยียวยาเศรษฐกิจเพิ่มเติม จีดีพีในปี 65 ก็อาจจะโตเพียง 3.4% จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจีดีพีจะเติบโต 3.8%
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)มองจีดีพีปี 65 จะเติบโต 3.7% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.9%จากสถานการณ์โควิดรอบใหม่จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจโลก ปัญหา supply disruption ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้า, ความต่อเนื่องของแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลังและมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ภาคธุรกิจเพื่อประคองไม่ให้เศรษฐกิจทรุด และช่วยให้เศรษฐกิจไทยผ่านพ้นวิกฤติไปให้ได้
ปิดท้ายศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) ออกมาปรับลดคาดการณ์จีดีพีในปี 65 เติบโตเพียง 3.2% จากเดิมตั้งไว้ 3.4% จากการระบาดของโอมิครอน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งเป็นความเสี่ยงด้านต่ำที่สำคัญที่อาจทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวมากกว่าที่ประเมิน ได้และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นในช่วงไตรมาส 1/65
ส่วนภาคการส่งออกสินค้าจะยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าโลกคาดว่าจะเติบโต 3.4% ขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนของไทยและประเทศต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การเดินทางระหว่างประเทศสะดวกขึ้น ทำให้ภาคท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวโดยคาดว่าจะมีนักท่อง
เที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 5.9 ล้านคน
ขณะที่เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ในปีหน้า แต่ยังเป็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆ และยังต่ำกว่าระดับศักยภาพค่อนข้างมาก ทำให้มีความสูญเสียทางเศรษฐกิจ (output loss) ในระดับสูง และอาจกระทบต่อศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ผ่านการลงทุนและการจ้างงานที่น้อยลง โดยกว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไปอยู่ในระดับปี2562 หรือก่อน COVID-19 ได้จะต้องรอถึงช่วงกลางปี 2566
แม้ว่าการย่างก้าวเข้าสู่ปีขาล เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทิศทางผงกหัวขึ้น และหวังเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างท่องเที่ยว การส่งออก และการบริโภคจะเป็นแรงหนุนให้เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์
แต่อุปสรรคขวางหนามที่สำคัญยังหนีไม่พ้นความรุนแรงของสายพันธุ์โอมิครอน ประสิทธิภาพของวัคซีน และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ว่าจะดำเนินการเข้มข้นมากแค่ไหน เพื่อไม่ให้กลับไปล็อกดาวน์อีกระลอก
เพราะหากเอาไม่อยู่จะทำให้แผลเป็นทางเศรษฐกิจเรื้อรังปรับลงลึกไปอีก ทั้งในส่วนของการเปิด-ปิดกิจการที่แย่ลง ภาวะตลาดแรงงานที่เปราะบางมากขึ้น รวมถึงภาคครัวเรือนจะต้องแบกหนี้ท่วมหัว และเผชิญกับภาวะของการมีหนี้สูง จนเป็นปัญหาต่อการใช้จ่ายในอนาคต หรือ Debt overhang เป็นเวลานานขึ้น ซึ่งแผลเป็นที่ลึกขึ้น จะเป็นตัวถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
ดังนั้นการประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้สะดุดนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ควรสอดประสานออกมาตรการและเครื่องมือในการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ประชาชนต้องเร่งฉีดวีคซีนสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ปฏฺิบัติการควบคู่ไปกับมาตรฐานสาธารณสุข การ์ดอย่าตก ไม่ประมาท เพื่อช่วยกันประคองให้ทั้งระบบเศรษฐกิจและสาธาณสุขของไทย ผ่านพ้นวิกฤติที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุดในครั้งนี้ไปให้ได้....