‘ดุลยภาค’ ชี้ปม ‘รัฐประหารเมียนมา’ สาเหตุเกิดจาก ‘ทหาร’ ต้องการตัดวงจรประชาธิปไตย
https://www.matichon.co.th/politics/news_2560155
อาจารย์ธรรมศาสตร์ ระบุ ต้นเหตุรัฐประหารเกิดจากความนิยมของทหารลดลง กองทัพจำเป็นต้องตัดวงจรประชาธิปไตย หวั่นกระทบ “กระบวนการสันติภาพ” แนวตะเข็บชายแดน การค้า-สัญญา กับเอกชนไทย
ผศ.ดร.
ดุลยภาค ปรีชารัชช รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และการเมืองการปกครองของเมียนมา เปิดเผยว่า เหตุการณ์รัฐประหารในเมียนมาเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
1.
ปัจจัยสะสม กล่าวคือ เมียนมามีการปกครองด้วยระบอบทหารมายาวนาน ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยแต่ก็ยังควบคุมโดยกองทัพ เพียงแต่ในระยะหลังๆ ฝั่งพลเรือนมีอำนาจมากขึ้น จนกองทัพเริ่มไม่สามารถควบคุมภูมิทัศน์การเมืองได้ถนัดมือนัก
2.
ปัจจัยกระตุ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากประชาชน จนทำให้พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USPD) ที่หนุนโดยกองทัพไม่สามารถสู้ได้ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา นั่นทำให้กองทัพจำเป็นต้องตัดวงจรไม่ให้พรรคฝ่ายประชาธิปไตยสามารถสยายปีกได้ต่อไป ด้วยการสร้างรัฐทหารชั่วคราว จับกุมผู้นำ และประกาศสภาวะฉุกเฉิน
“
การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้นก็ถูกเปลี่ยนโดยชนชั้นนำทหาร เพราะฉะนั้นจึงไม่มีทางที่จะเป็นประชาธิปไตยเต็มใบได้ในเร็วพลัน สิ่งที่รัฐบาลทหารต้องการคือการมีประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2551 ของเมียนมาก็ยังมีตัวแทนจากกองทัพซึ่งก็เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์เข้าไปถ่วงดุลกับรัฐบาลพลเรือน” ผศ.ดร.
ดุลยภาค กล่าว
ผศ.ดร.
ดุลยภาค กล่าวต่อว่า ฝ่ายกองทัพระบุถึงเหตุผลในการทำรัฐประหารครั้งนี้ว่าการเลือกตั้งที่จัดตั้งภายใต้รัฐบาล NLD มีความไม่ชอบมาพากล ไม่โปร่งใส เกิดสถานการณ์การสู้รบ รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้บางพื้นที่ไม่สามาถจัดการเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่าเป็นเหตุผลที่ไม่มีน้ำหนักมากถึงขนาดต้องทำการรัฐประหาร
ผศ.ดร.
ดุลยภาค กล่าวว่า สิ่งที่พิเศษอย่างหนึ่งในการทำรัฐประหารครั้งนี้ คือกองทัพทหารเมียนมาพยายามทำให้รูปแบบการรัฐประหารอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยยกมาตรา 417 ในรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยกองทัพ ระบุว่า ประธานาธิบดีสามารถประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสามารถถ่ายโอนอำนาจให้กับกองทัพได้ ส่งผลให้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ถูกแทนที่โดยโครงสร้างของกองทัพซึ่งก็ไม่ได้ขัดตามหลักกฎหมาย
“
ผมตั้งข้อสังเกตได้ว่าในมาตรา 417 ได้พูดถึงการประกาศสภาวะฉุกเฉินว่าต้องเกิดอันตรายต่ออธิปไตยแห่งรัฐ เช่น มีการรุกรานจากกองกำลังต่างชาติ เกิดสงครามกลางเมือง หรือมีเหตุการณ์รุนแรง แต่ที่ผ่านมาในประเทศเมียนมาก็ไม่ได้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น กระนั้น” ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าว
ผศ.ดร.
ดุลยภาค กล่าวอีกว่า ในเรื่องของความรุนแรงของสถานการณ์นั้น เนื่องจากเริ่มมีกลุ่มประชาชนที่ไม่พอใจที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยเดินถอยหลัง ส่วนตัวมองว่าฝ่ายที่ยึดอำนาจในครั้งนี้เตรียมการณ์รับมือไว้แล้วว่าจะต้องถูกกดดันจากนานาชาติ และมีการเคลื่อนขบวนของประชาชน ซึ่งกองทัพเมียนมาเองมีความช่ำชองในการตั้งรับการประท้วง และรู้จักยุทธ์ศาสตร์ในเมืองเนปิดอว์ซึ่งเป็นจุดที่มีการยึดอำนาจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะออกมาประท้วง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรูปแบบของถนนขนาดใหญ่ และสถานที่ราชการที่ตั้งห่างกันพอสมควร ภูมิทัศน์เหล่านั้นค่อนข้างเอื้อให้กับกลุ่มกองทัพมากกว่า ในการส่งรถถังไปในภูมิทัศน์ที่กว้างกว่าเพื่อล้อมกรอบประชาชน
นักวิชาการรายนี้ กล่าวถึงผลกระทบจากการทำรัฐประหารต่อประเทศไทยว่า ส่วนตัวมองถึงเรื่องของกระบวนการสันติภาพ กับกระบวนการติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งก็มีไม่น้อยตามตะเข็บชายแดนไทย – เมียนมา การรัฐประหารอาจทำให้กระบวนการเหล่านี้สะดุดลงเนื่องจากกองทัพเข้ามายึดอำนาจ แต่ก็มีเรื่องของการปิด-เปิดด่านการค้าชายแดน ซึ่งมีผลต่อการขนส่งสินค้าและบริการ นอกจากกนี้อาจจะต้องดูถึงสัญญาต่างๆ ที่ภาคธุรกิจและเอกชนไทยเข้าไปติดต่อ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลแบบฉับพลันซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง
สำหรับโรคระบาดโควิด-19 ทางกองทัพไทยก็ได้มีการตรึงกำลังมากขึ้นเพื่อป้องการหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งผู้ติดเชื้อในเมียนมาก็มีตัวเลขที่ค่อนข้างสูง รวมไปถึงผู้ลี้ภัย นักกิจกรรมทางการเมืองที่อาจจะลอบเข้ามาได้ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ได้มีรายงานเป็นที่แน่ชัด ในอนาคตด็ต้องจับตาดูว่าสถานณ์ว่าจะเป็นอย่างไร
ซุปตาร์พม่า ไม่ทน โพสต์หนุน 'อารยะขัดขืน' อำนาจทหาร หลังก่อรัฐประหาร
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5873244
หลังจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศเมียนมาไปเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมาทำให้บุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงของเมียนมาก็ไม่นิ่งเฉย พวกเขาได้ออกมาเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงและแสดงจุดยืนต่อการรัฐประหารในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
วุด มนชเวยี หรือที่แฟนๆ ชาวเมียนมาเรียกว่า "
คิท คิท" นักแสดงหญิงแถวหน้าที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศเมียนมา นอกจากเป็นนักแสดงอันดับต้นๆ แล้วเธอยังมีอิทธิพลต่อคนพม่าสูงสุดอีกด้วย ซึ่งเธอได้ออกมาแสดงจุดยืนเพื่อต่อต้านการรัฐประหารที่เกิดขึ้น ในวันนั้น
คิท คิท เธอได้เปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นสีแดง มีสัญลักษณ์ของพรรคเอ็นแอลดี
และยังได้โพสต์ภาพการไปทำบุญของเธอ ระบุประมาณว่า "
ฉันมาถึงวัดเมื่อวาน ฉันไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ และได้พักพิงใต้เงาความรักของพุทธองค์ ฉันขออธิษฐานให้พม่ากลับมาสงบสุขอีกครั้งโดยเร็วที่สุด"
ทั้งยังกล่าวว่าในฐานะที่เธอเป็นพลเมืองเมียนมา ที่ทำประกอบอาชีพในฐานะศิลปิน เธอจะประท้วงอย่างสันติผ่านการอารยะขัดขืน และจะยืนหยัดร่วมกับประชาชนชาวเมียนมาคนอื่น ๆ พร้อมกับติดแฮชแท็ก #CivilDisobedienc ก่อนจะเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ของเธออีกครั้ง พร้อมกับข้อความว่า "
ฉันสนุบสนุนการอารยะขัดขืน"
นอกจากนั้นคุณหมอและนักแสดงขวัญใจชาวเมียนมาอย่าง
Poe Mamhe Thar เธอยังได้ออกมาโพสต์อินสตาแกรมว่า
F....k Military Coup พร้อมทั้งโพสต์รูปนาง
อองซาน ซูจี และระบุว่าเธอนั้นเป็นพลเมืองเมียนมาที่ต่อต้านการทำรัฐประหารโดยทหาร เธอเชื่อว่าการกระทำนี้เป็นความเดือดร้อนที่เลวร้ายที่สุดสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และเธอก็พร้อมที่จะอารยะขัดขืนและจะยืนหยัดเคียงข้างแพทย์ ข้าราชการ และประชาชนชาวเมียนมา โดยไม่ยอมรับความอยุติธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น
รวมไปถึงนายแบบชื่อดังอย่าง
ไป๊ ตะกน และคนในวงการบันเทิงพม่าอีกหลายคนก็ได้ออกมาแสดงจุดยืนด้วยเช่นกัน ซึ่งจากการรัฐประหารในครั้งนี้ทำให้คนในหลากหลายวงการ และหลากหลายอาชีพออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหาร ไม่ว่าจะในรูปแบบของการประท้วง หรือการอารยะขัดขืนโดยประชาชนชาวเมียนมา เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งที่จะไม่ยอมรับอำนาจที่ประชาชนไม่ได้เลือกมา
อ่าน
นายแบบชื่อดัง 'ไป๊ ตะกน' ออกโรงต้านรัฐประหาร วอนผู้นำโลก-สื่อ ช่วยชาวเมียนมา
ที่มา :
wutt hmone shwe yi /
poe_mamhe_thar
JJNY : ‘ดุลยภาค’ชี้ปม‘รปห.เมียนมา’│ซุปตาร์พม่าไม่ทนหนุน'อารยะขัดขืน'│สินเชื่อบ้านซบยอดโอนหดตัว4.7%│พท.ห่วงตู่พาศก.ลงเหว
https://www.matichon.co.th/politics/news_2560155
อาจารย์ธรรมศาสตร์ ระบุ ต้นเหตุรัฐประหารเกิดจากความนิยมของทหารลดลง กองทัพจำเป็นต้องตัดวงจรประชาธิปไตย หวั่นกระทบ “กระบวนการสันติภาพ” แนวตะเข็บชายแดน การค้า-สัญญา กับเอกชนไทย
ผศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และการเมืองการปกครองของเมียนมา เปิดเผยว่า เหตุการณ์รัฐประหารในเมียนมาเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
1. ปัจจัยสะสม กล่าวคือ เมียนมามีการปกครองด้วยระบอบทหารมายาวนาน ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยแต่ก็ยังควบคุมโดยกองทัพ เพียงแต่ในระยะหลังๆ ฝั่งพลเรือนมีอำนาจมากขึ้น จนกองทัพเริ่มไม่สามารถควบคุมภูมิทัศน์การเมืองได้ถนัดมือนัก
2. ปัจจัยกระตุ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากประชาชน จนทำให้พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USPD) ที่หนุนโดยกองทัพไม่สามารถสู้ได้ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา นั่นทำให้กองทัพจำเป็นต้องตัดวงจรไม่ให้พรรคฝ่ายประชาธิปไตยสามารถสยายปีกได้ต่อไป ด้วยการสร้างรัฐทหารชั่วคราว จับกุมผู้นำ และประกาศสภาวะฉุกเฉิน
“การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้นก็ถูกเปลี่ยนโดยชนชั้นนำทหาร เพราะฉะนั้นจึงไม่มีทางที่จะเป็นประชาธิปไตยเต็มใบได้ในเร็วพลัน สิ่งที่รัฐบาลทหารต้องการคือการมีประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2551 ของเมียนมาก็ยังมีตัวแทนจากกองทัพซึ่งก็เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์เข้าไปถ่วงดุลกับรัฐบาลพลเรือน” ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าว
ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าวต่อว่า ฝ่ายกองทัพระบุถึงเหตุผลในการทำรัฐประหารครั้งนี้ว่าการเลือกตั้งที่จัดตั้งภายใต้รัฐบาล NLD มีความไม่ชอบมาพากล ไม่โปร่งใส เกิดสถานการณ์การสู้รบ รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้บางพื้นที่ไม่สามาถจัดการเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่าเป็นเหตุผลที่ไม่มีน้ำหนักมากถึงขนาดต้องทำการรัฐประหาร
ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าวว่า สิ่งที่พิเศษอย่างหนึ่งในการทำรัฐประหารครั้งนี้ คือกองทัพทหารเมียนมาพยายามทำให้รูปแบบการรัฐประหารอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยยกมาตรา 417 ในรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยกองทัพ ระบุว่า ประธานาธิบดีสามารถประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสามารถถ่ายโอนอำนาจให้กับกองทัพได้ ส่งผลให้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ถูกแทนที่โดยโครงสร้างของกองทัพซึ่งก็ไม่ได้ขัดตามหลักกฎหมาย
“ผมตั้งข้อสังเกตได้ว่าในมาตรา 417 ได้พูดถึงการประกาศสภาวะฉุกเฉินว่าต้องเกิดอันตรายต่ออธิปไตยแห่งรัฐ เช่น มีการรุกรานจากกองกำลังต่างชาติ เกิดสงครามกลางเมือง หรือมีเหตุการณ์รุนแรง แต่ที่ผ่านมาในประเทศเมียนมาก็ไม่ได้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น กระนั้น” ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าว
ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าวอีกว่า ในเรื่องของความรุนแรงของสถานการณ์นั้น เนื่องจากเริ่มมีกลุ่มประชาชนที่ไม่พอใจที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยเดินถอยหลัง ส่วนตัวมองว่าฝ่ายที่ยึดอำนาจในครั้งนี้เตรียมการณ์รับมือไว้แล้วว่าจะต้องถูกกดดันจากนานาชาติ และมีการเคลื่อนขบวนของประชาชน ซึ่งกองทัพเมียนมาเองมีความช่ำชองในการตั้งรับการประท้วง และรู้จักยุทธ์ศาสตร์ในเมืองเนปิดอว์ซึ่งเป็นจุดที่มีการยึดอำนาจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะออกมาประท้วง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรูปแบบของถนนขนาดใหญ่ และสถานที่ราชการที่ตั้งห่างกันพอสมควร ภูมิทัศน์เหล่านั้นค่อนข้างเอื้อให้กับกลุ่มกองทัพมากกว่า ในการส่งรถถังไปในภูมิทัศน์ที่กว้างกว่าเพื่อล้อมกรอบประชาชน
นักวิชาการรายนี้ กล่าวถึงผลกระทบจากการทำรัฐประหารต่อประเทศไทยว่า ส่วนตัวมองถึงเรื่องของกระบวนการสันติภาพ กับกระบวนการติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งก็มีไม่น้อยตามตะเข็บชายแดนไทย – เมียนมา การรัฐประหารอาจทำให้กระบวนการเหล่านี้สะดุดลงเนื่องจากกองทัพเข้ามายึดอำนาจ แต่ก็มีเรื่องของการปิด-เปิดด่านการค้าชายแดน ซึ่งมีผลต่อการขนส่งสินค้าและบริการ นอกจากกนี้อาจจะต้องดูถึงสัญญาต่างๆ ที่ภาคธุรกิจและเอกชนไทยเข้าไปติดต่อ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลแบบฉับพลันซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง
สำหรับโรคระบาดโควิด-19 ทางกองทัพไทยก็ได้มีการตรึงกำลังมากขึ้นเพื่อป้องการหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งผู้ติดเชื้อในเมียนมาก็มีตัวเลขที่ค่อนข้างสูง รวมไปถึงผู้ลี้ภัย นักกิจกรรมทางการเมืองที่อาจจะลอบเข้ามาได้ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ได้มีรายงานเป็นที่แน่ชัด ในอนาคตด็ต้องจับตาดูว่าสถานณ์ว่าจะเป็นอย่างไร
ซุปตาร์พม่า ไม่ทน โพสต์หนุน 'อารยะขัดขืน' อำนาจทหาร หลังก่อรัฐประหาร
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5873244
หลังจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศเมียนมาไปเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมาทำให้บุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงของเมียนมาก็ไม่นิ่งเฉย พวกเขาได้ออกมาเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงและแสดงจุดยืนต่อการรัฐประหารในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
วุด มนชเวยี หรือที่แฟนๆ ชาวเมียนมาเรียกว่า "คิท คิท" นักแสดงหญิงแถวหน้าที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศเมียนมา นอกจากเป็นนักแสดงอันดับต้นๆ แล้วเธอยังมีอิทธิพลต่อคนพม่าสูงสุดอีกด้วย ซึ่งเธอได้ออกมาแสดงจุดยืนเพื่อต่อต้านการรัฐประหารที่เกิดขึ้น ในวันนั้น คิท คิท เธอได้เปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นสีแดง มีสัญลักษณ์ของพรรคเอ็นแอลดี
และยังได้โพสต์ภาพการไปทำบุญของเธอ ระบุประมาณว่า "ฉันมาถึงวัดเมื่อวาน ฉันไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ และได้พักพิงใต้เงาความรักของพุทธองค์ ฉันขออธิษฐานให้พม่ากลับมาสงบสุขอีกครั้งโดยเร็วที่สุด"
ทั้งยังกล่าวว่าในฐานะที่เธอเป็นพลเมืองเมียนมา ที่ทำประกอบอาชีพในฐานะศิลปิน เธอจะประท้วงอย่างสันติผ่านการอารยะขัดขืน และจะยืนหยัดร่วมกับประชาชนชาวเมียนมาคนอื่น ๆ พร้อมกับติดแฮชแท็ก #CivilDisobedienc ก่อนจะเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ของเธออีกครั้ง พร้อมกับข้อความว่า "ฉันสนุบสนุนการอารยะขัดขืน"
นอกจากนั้นคุณหมอและนักแสดงขวัญใจชาวเมียนมาอย่าง Poe Mamhe Thar เธอยังได้ออกมาโพสต์อินสตาแกรมว่า F....k Military Coup พร้อมทั้งโพสต์รูปนางอองซาน ซูจี และระบุว่าเธอนั้นเป็นพลเมืองเมียนมาที่ต่อต้านการทำรัฐประหารโดยทหาร เธอเชื่อว่าการกระทำนี้เป็นความเดือดร้อนที่เลวร้ายที่สุดสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และเธอก็พร้อมที่จะอารยะขัดขืนและจะยืนหยัดเคียงข้างแพทย์ ข้าราชการ และประชาชนชาวเมียนมา โดยไม่ยอมรับความอยุติธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น
รวมไปถึงนายแบบชื่อดังอย่าง ไป๊ ตะกน และคนในวงการบันเทิงพม่าอีกหลายคนก็ได้ออกมาแสดงจุดยืนด้วยเช่นกัน ซึ่งจากการรัฐประหารในครั้งนี้ทำให้คนในหลากหลายวงการ และหลากหลายอาชีพออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหาร ไม่ว่าจะในรูปแบบของการประท้วง หรือการอารยะขัดขืนโดยประชาชนชาวเมียนมา เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งที่จะไม่ยอมรับอำนาจที่ประชาชนไม่ได้เลือกมา
อ่าน นายแบบชื่อดัง 'ไป๊ ตะกน' ออกโรงต้านรัฐประหาร วอนผู้นำโลก-สื่อ ช่วยชาวเมียนมา
ที่มา : wutt hmone shwe yi / poe_mamhe_thar