แชร์ว่อน!ยอมขาดทุนแลกเงินสด โพสต์จำนำบัตรคนจนให้สิทธิ'เราชนะ'
https://www.dailynews.co.th/regional/823698
โลกออนไลน์แชร์ว่อน!หนุ่มยอมขาดทุน ประกาศจำนำบัตรคนจนให้สิทธิ”เราชนะ”ขอแค่เงินสดเพื่อมาเสียค่าน้ำ ค่าไฟ
สำหรับโครงการ “
เราชนะ” เป็นการที่รัฐสนับสนุนวงเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ สูงสุด 7,000 บาท โดยกลุ่มผู้ใช้บัตรสวัสดิการรัฐ จะได้รับเงินอัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียน ส่วนผู้ใช้สิทธิคนละครึ่ง และ เราเที่ยวด้วยกัน ที่ได้รับสิทธิจะต้องเข้าไปกดยืนยันสิทธิในแอพฯ เป๋าตัง โดยเริ่มตรวจสอบสิทธิได้แล้วเมื่อวันที่ 5 ก.พ. ส่วนบัตรคนจน ได้รับเงินงวดแรก โดยเงื่อนไข ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน ใช้สิทธิ เพื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการจากร้านค้าที่ร่วมโครงการได้ทันที ทั้งร้านธงฟ้าที่มีเครื่องรูดบัตร (EDC) ร้านค้าที่มีแอพฯ ถุงเงิน ร้านธงฟ้า ร้านค้าคนละครึ่ง และร้านเราชนะ แต่ไม่มีการจ่ายเงินสดให้
เมื่อวันที่ 6 ก.พ.โลกออนไลน์ได้มีการแชร์โพสต์ของชายคนหนึ่ง ซึ่งได้โพสต์ข้อความระบุว่า
“
มีร้านค้าไหนรับจำนำบัตรคนจนบ้างไหมครับ สองเดือนนี้รัฐบาลแจก 7,500 ผมขอแค่เงินสด 5,000 เพื่อมาเสียค่าน้ำค่าไฟครับ ให้เอาบัตรผมไปเลยครับ”
สำหรับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นั้นพบว่าปัจจุบันมีการช่วยค่าไฟ ไม่เกินเดือนละ 230 บาท และค่าน้ำ ไม่เกินเดือนละ 100 บาท ซึ่งทั้งสองกรณีเมื่อมีบิลมาจะต้องจ่ายเงินสดไปก่อน จากนั้นระบบจะโอนเงินช่วยเหลือกลับมาเข้าบัตรให้อยู่แล้ว ส่วนเงินที่ได้รับจากโครงการ เราชนะ ไม่สามารถนำไปใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟได้
อ.จุฬาฯ มองรัฐประหารเมียนมา อยู่บนพื้นฐานทุจริต ไม่เคารพบทบัญญัติ-เจตนารมณ์ของรธน.อย่างแท้จริง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2564934
อ.จุฬาฯ มองรัฐประหารเมียนมา อยู่บนพื้นฐานทุจริต ไม่เคารพบทบัญญัติ-เจตนารมณ์ของรธน.อย่างแท้จริง
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ผศ.ดร.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย นักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก
Ponson Liengboonlertchai (พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย) ถึงกรณีการทำรัฐประหารในเมียนมา ระบุว่า
ว่าด้วยรัฐประหารตามรัฐธรรมนูญที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (Unconstitutional Constitutional Coup) ในประเทศพม่า
หลายท่านสอบถามผมเข้ามาว่า การเกิดรัฐประหารขึ้นในพม่า ณ ปัจจุบันสรุปแล้วทำได้ตามที่กองทัพอ้างอิงรัฐธรรมนูญเขาจริงหรือไม่? ผมคิดว่าเรื่องนี้มีประเด็นที่น่าสนใจทางรัฐธรรมนูญที่น่าพูดถึง จึงขออนุญาตแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางวิชาการดังนี้
จริงอยู่ว่า ดูราวกับบทบัญญัติของรัฐธรรนูญพม่าจะเปิดช่องให้กองทัพสามารถใช้
อำนาจสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency power) เพื่อเข้าทำการยึดอำนาจได้ จนหลายท่านรวมถึงนักวิชาการบางกลุ่มมองว่าเป็นการใช้อำนาจตามครรลองของรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำไป
แต่ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเห็นว่า การกระทำของกองทัพพม่าครั้งนี้เป็น “การทำรัฐประหารโดยอาศัยกลไกตามรัฐธรรมนูญ” เท่านั้น กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ กองทัพอาศัยรัฐธรรมนูญเพื่อจะสร้างความชอบธรรมให้กับการรัฐประหาร (Constitutionalization of a coup) ซึ่งโดยธรรมชาติเป็นการกระทำที่ผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายอยู่แล้วในตัวเอง
หากเข้าไปอ่านและพิเคราะห์รัฐธรรมนูญพม่าให้ละเอียดก็จะพบว่า แม้ว่ากองทัพพยายามจะหยิบยกบทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญ เสมือนหนึ่งรัฐธรรมนูญให้อำนาจกับการยึดอำนาจครั้งนี้ แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะกลับยิ่งชี้ให้เห็นว่า การรัฐประหารโดยอ้างอิงรัฐธรรมนูญนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (Unconstitutional) เสียเองอย่างน้อย 3 ประเด็น
1.
สถานการณ์ฉุกเฉินถูกประกาศโดยผู้ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ : มาตรา 417 กำหนดให้อำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นอำนาจของ “
ประธานาธิบดี” โดยการปรึกษาหารือกับสภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคือ รองประธานาธิบดี (
อู มินต์ ส่วย)
หลายท่านอาจมองว่าก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่รองประธานาธิบดี (
อู มินต์ ส่วย) จะทำหน้าที่แทนประธานาธิบดี (
Acting President) เนื่องจากประธานาธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ เพื่อมิให้เกิดสุญญากาศในการบริหารประเทศตาม “
หลักความต่อเนื่องในการบริหารประเทศ” (
Continuity of Administration) แต่หากเข้าไปพิจารณา มาตรา 73 ของรัฐธรรมนูญพม่า ซึ่งกำหนดกรณีการทำหน้าที่แทนประธานาธิบดีของรองประธานาธิบดีจะพบว่า กรณีที่รองประธานาธิบดีจะเข้าทำหน้าที่ดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่ “
ประธานาธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติวิสัย” กล่าวคือ ต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ลาออก เสียชีวิต ทุพพลภาพเป็นการถาวร ฯลฯ
ข้อเท็จจริงปัจจุบันมีอยู่ว่า กองทัพตั้งใจจับกุมประธานาธิบดีไปอันส่งผลให้ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้ เป็นความจงใจสร้างให้เกิดสถานการณ์ขึ้น กรณีจึงสอดคล้องกับเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญอันจะส่งผลให้รองประธานาธิบดีสามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนได้ตามมาตรา 73 ดังนั้น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงเป็นการประกาศโดยผู้ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ย่อมถือได้ว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 417
2.
การใช้อำนาจขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ: การทำรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพครั้งนี้อ้างอิงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 417 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉิน (
Emergency Clause) ซึ่งโดยธรรมชาติของบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีการมอบอำนาจเบ็ดเสร็จ (
นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ) ให้แก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเข้าไปดำเนินการควบคุมจัดการให้สถานการณ์ฉุกเฉินรุนแรงกลับคืนสู่สภาวะปกติ หาใช่บทบัญญัติที่อนุญาตให้กองทัพทำการรัฐประหารกุมอำนาจเสียเอง
กล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ รัฐธรรมนูญไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดทำรัฐประหารโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่มอบอำนาจให้ตามมาตรา 418 และหากตีความรัฐธรรมนูญเช่นนั้นให้สามารถกระทำได้ก็คงเป็นการตีความที่ก่อให้เกิดผลอันแปลกประหลาดอันสะท้อนถึงการตีความที่ไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
3.
ไม่เข้าเงื่อนในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามรัฐธรรมนูญ : หากเข้าไปอ่านมาตรา 417 ของรัฐธรรมนูญพม่าจะพบว่า มีการกำหนดเงื่อนไขในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องเป็น “
กรณีสถานที่รุนแรงอย่างยิ่ง” ถึงขนาดเป็นภัยต่ออธิปไตยของประเทศอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำ หรือความพยายามที่จะให้ได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยโดยการก่อการจลาจล ความรุนแรง และวิธีการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการใช้กำลังบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กองทัพพม่าพยายามเชื่อมโยงว่า การทุจริตการเลือกตั้งถือเป็นความพยายามให้ได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยโดยวิธีการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการใช้กำลังบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ต้องมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเกินกว่าเหตุไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน ต่อกรณีการกล่าวหาว่ามีการโกงการเลือกตั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่อย่างไรก็ตาม ก็หาใช่สถานการณ์ที่รุนแรงอย่างยิ่งถึงขนาดเป็นภยันอันตรายต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ อันเป็นเงื่อนไขของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 417 ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อมอบอำนาจให้แก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดตามมาตรา 418 นั่นเอง
ด้วยเหตุผลข้างต้นแล้ว ผมเห็นว่าการรัฐประหารโดยอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 417 ของกองทัพพม่าอยู่บนพื้นฐานของเจตนาทุจริต (
Mala Fides) ไม่เคารพต่อบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง (
Constitutional Fidelity) จึงถือเป็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญครับ
https://www.facebook.com/pornson.liengboonlertchai/posts/10159337635990979
นัดหยุดงานอีกอาชีพ! ครูเมียนมาชูสามนิ้ว ต้านรัฐประหาร ขอไม่ทำงานรับใช้ทหาร
https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_5889971
นัดหยุดงานอีกอาชีพ กลุ่ม ครูเมียนมารวมตัว ต้านรัฐประหาร ขอไม่ทำงานรับใช้ทหาร พร้อมชูสามนิ้ว ผูกริบบิ้นสีแดง และถือป้ายประท้วง
เมื่อวันที่ 5 ก.พ.64 สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า กลุ่มอาชีพครูในเมียนมา เป็นกลุ่มอาชีพล่าสุดที่เข้าร่วมการรณรงค์อารยะขัดขืน โดยมีครูชาวเมียนมาจำนวนมากปฏิเสธที่จะทำงานหรือให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทางการ เพื่อเข้าร่วมประท้วง ต่อต้านการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมา
การรณรงค์อารยะขัดขืนเพื่อประท้วงรัฐประหาร เริ่มต้นขึ้นในกลุ่มอาชีพแพทย์และพยาบาล ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากรัฐประหารเพียงไม่นาน ต่อมาการรณรงค์อารยะขัดขืนและเดินขบวนประท้วงได้ถูกแพร่กระจายไปยังกลุ่มนักศึกษา กลุ่มเยาวชน และแรงงานบางส่วน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
โดยในการรณรงค์ประท้วง จะมีการติดหรือผูกริบบิ้นสีแดง และ ถือป้ายประท้วง ซึ่งในวันศุกร์ที่ 5 ก.พ. 64 กลุ่มอาชีพครูและอาจารย์จำนวนมาก ได้มารวมตัวกันประท้วงที่หน้าอาคารเรียนของมหาวิทยาลัยการศึกษาแห่งย่างกุ้ง
อาจารย์
นเว ทาซิน ฮเลียง กล่าวว่า "
เราไม่ต้องการให้กองทัพทำรัฐประหาร ซึ่งเป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ เราจะไม่ทำงานกับพวกเขาอีกต่อไป เราต้องการให้การรัฐประหารของกองทัพล้มเหลว"
ฮันนี่ ลวิน อาจารย์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า "
เรามีเป้าหมายที่จะล้มระบบการบริหาร ด้วยวิธีการหยุดงานประท้วงอย่างสงบ"
กลุ่มอาชีพครูและอาจารย์จำนวนมาก รวมถึงผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารกองทัพเมียนมา ใช้สัญลักษณ์ในการประท้วง ด้วยการชูนิ้วสามนิ้วขึ้น โดยให้ฝ่ามืออยู่สูงกว่าลำตัว ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าว มาจาก ภาพยนตร์เรื่อง เดอะ ฮังเกอร์ เกมส์ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ประท้วงหลายประเทศในทวีปเอเชีย ที่ต่อต้านการปกครองแบบ[เผล่ะจัง]ได้นำสัญลักษณ์ดังกล่าวมาใช้อย่างแพร่หลาย
ทั้งนี้ ถือว่าการประท้วงมีผู้เข้าร่วมเป็นสัดส่วนที่สูง หากพิจารณาจากสัดส่วนของเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาการศึกษาแห่งย่างกุ้ง ซึ่งมีจำนวนราว 246 คน ในมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้ มีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการประท้วงมากถึง 200 คน นอกจากนี้ยังมีรายงานการประท้วงในลักษณะเดียวกันที่มหาวิทยาลัยดากอง ในย่างกุ้ง และที่อื่น ๆ อีกเช่นกัน
การต่อต้านรัฐประหารที่เกิดขึ้นในกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ เช่น แพทย์และครูอาจารย์นั้น ดำเนินไปพร้อมกับการประท้วงที่มีลักษณะเป็นทางการน้อยกว่า ของประชาชนทั่วไป ทั้งในรูปของการตีกระป๋องและหม้อกระทะ รวมไปถึงการบีบแตรรถ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการต่อต้านรัฐประหาร
ไม่เพียงแต่ในย่างกุ้งเท่านั้น ในวันศุกร์ที่ 5 ก.พ. 64 เมืองทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลักของเขตตะนาวศรีทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเมียนมา ก็มีกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารจำนวนมากเข้าร่วมการเดินขบวน รวมถึงขบวนต่อต้านในรูปแบบรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีผู้ประท้วงคนหนึ่ง กล่าวว่า "
กลุ่มจากเมืองทวาย ขอประกาศ เริ่มการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ทวาย เราขอเรียกร้องให้ประชาชนเข้าร่วมและยืนหยัดกับเรา"
ทั้งนี้การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในเมียนมาและการเรียกร้องประชาธิปไตยนั้น มีมาโดยตลอด ในปี พ.ศ.2531 เกิดการลุกฮือที่เริ่มต้นจากนักศึกษาในเมืองย่างกุ้ง โดยการประท้วงในครั้งดังกล่าว ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมนับแสนคน รวมถึง พระภิกษุ เยาวชน นักศึกษา แพทย์ ฯลฯ ออกมาประท้วงต่อต้านระบอบการปกครองเผด็จการ แต่รัฐบาลได้มีคำสั่งให้สลายฝูงชนด้วยอาวุธ ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก คาดว่ามีผู้เสียชีวิตและสูญหายหลายหมื่นคน ต่อมาในปี พ.ศ.2550 เกิดการประท้วงรัฐบาลทหารเมียนมาอย่างรุนแรงอีกครั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางการได้เข้าสลายการชุมนุมและมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก คาดว่ามีผู้เสียชีวิตราว 3000 คน
JJNY : โพสต์จำนำบัตรคนจนให้สิทธิ'เราชนะ'│อ.จุฬาฯมองรปห.เมียนมาทุจริต│ครูเมียนมาชูสามนิ้ว│ผิดหวังซ้ำ! ลุงทองวันปีนเสา
https://www.dailynews.co.th/regional/823698
โลกออนไลน์แชร์ว่อน!หนุ่มยอมขาดทุน ประกาศจำนำบัตรคนจนให้สิทธิ”เราชนะ”ขอแค่เงินสดเพื่อมาเสียค่าน้ำ ค่าไฟ
เมื่อวันที่ 6 ก.พ.โลกออนไลน์ได้มีการแชร์โพสต์ของชายคนหนึ่ง ซึ่งได้โพสต์ข้อความระบุว่า
“มีร้านค้าไหนรับจำนำบัตรคนจนบ้างไหมครับ สองเดือนนี้รัฐบาลแจก 7,500 ผมขอแค่เงินสด 5,000 เพื่อมาเสียค่าน้ำค่าไฟครับ ให้เอาบัตรผมไปเลยครับ”
สำหรับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นั้นพบว่าปัจจุบันมีการช่วยค่าไฟ ไม่เกินเดือนละ 230 บาท และค่าน้ำ ไม่เกินเดือนละ 100 บาท ซึ่งทั้งสองกรณีเมื่อมีบิลมาจะต้องจ่ายเงินสดไปก่อน จากนั้นระบบจะโอนเงินช่วยเหลือกลับมาเข้าบัตรให้อยู่แล้ว ส่วนเงินที่ได้รับจากโครงการ เราชนะ ไม่สามารถนำไปใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟได้
อ.จุฬาฯ มองรัฐประหารเมียนมา อยู่บนพื้นฐานทุจริต ไม่เคารพบทบัญญัติ-เจตนารมณ์ของรธน.อย่างแท้จริง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2564934
อ.จุฬาฯ มองรัฐประหารเมียนมา อยู่บนพื้นฐานทุจริต ไม่เคารพบทบัญญัติ-เจตนารมณ์ของรธน.อย่างแท้จริง
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย นักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Ponson Liengboonlertchai (พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย) ถึงกรณีการทำรัฐประหารในเมียนมา ระบุว่า
ว่าด้วยรัฐประหารตามรัฐธรรมนูญที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (Unconstitutional Constitutional Coup) ในประเทศพม่า
หลายท่านสอบถามผมเข้ามาว่า การเกิดรัฐประหารขึ้นในพม่า ณ ปัจจุบันสรุปแล้วทำได้ตามที่กองทัพอ้างอิงรัฐธรรมนูญเขาจริงหรือไม่? ผมคิดว่าเรื่องนี้มีประเด็นที่น่าสนใจทางรัฐธรรมนูญที่น่าพูดถึง จึงขออนุญาตแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางวิชาการดังนี้
จริงอยู่ว่า ดูราวกับบทบัญญัติของรัฐธรรนูญพม่าจะเปิดช่องให้กองทัพสามารถใช้อำนาจสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency power) เพื่อเข้าทำการยึดอำนาจได้ จนหลายท่านรวมถึงนักวิชาการบางกลุ่มมองว่าเป็นการใช้อำนาจตามครรลองของรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำไป
แต่ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเห็นว่า การกระทำของกองทัพพม่าครั้งนี้เป็น “การทำรัฐประหารโดยอาศัยกลไกตามรัฐธรรมนูญ” เท่านั้น กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ กองทัพอาศัยรัฐธรรมนูญเพื่อจะสร้างความชอบธรรมให้กับการรัฐประหาร (Constitutionalization of a coup) ซึ่งโดยธรรมชาติเป็นการกระทำที่ผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายอยู่แล้วในตัวเอง
หากเข้าไปอ่านและพิเคราะห์รัฐธรรมนูญพม่าให้ละเอียดก็จะพบว่า แม้ว่ากองทัพพยายามจะหยิบยกบทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญ เสมือนหนึ่งรัฐธรรมนูญให้อำนาจกับการยึดอำนาจครั้งนี้ แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะกลับยิ่งชี้ให้เห็นว่า การรัฐประหารโดยอ้างอิงรัฐธรรมนูญนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (Unconstitutional) เสียเองอย่างน้อย 3 ประเด็น
1. สถานการณ์ฉุกเฉินถูกประกาศโดยผู้ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ : มาตรา 417 กำหนดให้อำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นอำนาจของ “ประธานาธิบดี” โดยการปรึกษาหารือกับสภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคือ รองประธานาธิบดี (อู มินต์ ส่วย)
หลายท่านอาจมองว่าก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่รองประธานาธิบดี (อู มินต์ ส่วย) จะทำหน้าที่แทนประธานาธิบดี (Acting President) เนื่องจากประธานาธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ เพื่อมิให้เกิดสุญญากาศในการบริหารประเทศตาม “หลักความต่อเนื่องในการบริหารประเทศ” (Continuity of Administration) แต่หากเข้าไปพิจารณา มาตรา 73 ของรัฐธรรมนูญพม่า ซึ่งกำหนดกรณีการทำหน้าที่แทนประธานาธิบดีของรองประธานาธิบดีจะพบว่า กรณีที่รองประธานาธิบดีจะเข้าทำหน้าที่ดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่ “ประธานาธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติวิสัย” กล่าวคือ ต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ลาออก เสียชีวิต ทุพพลภาพเป็นการถาวร ฯลฯ
ข้อเท็จจริงปัจจุบันมีอยู่ว่า กองทัพตั้งใจจับกุมประธานาธิบดีไปอันส่งผลให้ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้ เป็นความจงใจสร้างให้เกิดสถานการณ์ขึ้น กรณีจึงสอดคล้องกับเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญอันจะส่งผลให้รองประธานาธิบดีสามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนได้ตามมาตรา 73 ดังนั้น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงเป็นการประกาศโดยผู้ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ย่อมถือได้ว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 417
2. การใช้อำนาจขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ: การทำรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพครั้งนี้อ้างอิงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 417 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Clause) ซึ่งโดยธรรมชาติของบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีการมอบอำนาจเบ็ดเสร็จ (นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ) ให้แก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเข้าไปดำเนินการควบคุมจัดการให้สถานการณ์ฉุกเฉินรุนแรงกลับคืนสู่สภาวะปกติ หาใช่บทบัญญัติที่อนุญาตให้กองทัพทำการรัฐประหารกุมอำนาจเสียเอง
กล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ รัฐธรรมนูญไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดทำรัฐประหารโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่มอบอำนาจให้ตามมาตรา 418 และหากตีความรัฐธรรมนูญเช่นนั้นให้สามารถกระทำได้ก็คงเป็นการตีความที่ก่อให้เกิดผลอันแปลกประหลาดอันสะท้อนถึงการตีความที่ไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
3. ไม่เข้าเงื่อนในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามรัฐธรรมนูญ : หากเข้าไปอ่านมาตรา 417 ของรัฐธรรมนูญพม่าจะพบว่า มีการกำหนดเงื่อนไขในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องเป็น “กรณีสถานที่รุนแรงอย่างยิ่ง” ถึงขนาดเป็นภัยต่ออธิปไตยของประเทศอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำ หรือความพยายามที่จะให้ได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยโดยการก่อการจลาจล ความรุนแรง และวิธีการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการใช้กำลังบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กองทัพพม่าพยายามเชื่อมโยงว่า การทุจริตการเลือกตั้งถือเป็นความพยายามให้ได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยโดยวิธีการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการใช้กำลังบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ต้องมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเกินกว่าเหตุไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน ต่อกรณีการกล่าวหาว่ามีการโกงการเลือกตั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่อย่างไรก็ตาม ก็หาใช่สถานการณ์ที่รุนแรงอย่างยิ่งถึงขนาดเป็นภยันอันตรายต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ อันเป็นเงื่อนไขของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 417 ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อมอบอำนาจให้แก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดตามมาตรา 418 นั่นเอง
ด้วยเหตุผลข้างต้นแล้ว ผมเห็นว่าการรัฐประหารโดยอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 417 ของกองทัพพม่าอยู่บนพื้นฐานของเจตนาทุจริต (Mala Fides) ไม่เคารพต่อบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง (Constitutional Fidelity) จึงถือเป็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญครับ
https://www.facebook.com/pornson.liengboonlertchai/posts/10159337635990979
นัดหยุดงานอีกอาชีพ! ครูเมียนมาชูสามนิ้ว ต้านรัฐประหาร ขอไม่ทำงานรับใช้ทหาร
https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_5889971
นัดหยุดงานอีกอาชีพ กลุ่ม ครูเมียนมารวมตัว ต้านรัฐประหาร ขอไม่ทำงานรับใช้ทหาร พร้อมชูสามนิ้ว ผูกริบบิ้นสีแดง และถือป้ายประท้วง
เมื่อวันที่ 5 ก.พ.64 สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า กลุ่มอาชีพครูในเมียนมา เป็นกลุ่มอาชีพล่าสุดที่เข้าร่วมการรณรงค์อารยะขัดขืน โดยมีครูชาวเมียนมาจำนวนมากปฏิเสธที่จะทำงานหรือให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทางการ เพื่อเข้าร่วมประท้วง ต่อต้านการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมา
การรณรงค์อารยะขัดขืนเพื่อประท้วงรัฐประหาร เริ่มต้นขึ้นในกลุ่มอาชีพแพทย์และพยาบาล ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากรัฐประหารเพียงไม่นาน ต่อมาการรณรงค์อารยะขัดขืนและเดินขบวนประท้วงได้ถูกแพร่กระจายไปยังกลุ่มนักศึกษา กลุ่มเยาวชน และแรงงานบางส่วน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
โดยในการรณรงค์ประท้วง จะมีการติดหรือผูกริบบิ้นสีแดง และ ถือป้ายประท้วง ซึ่งในวันศุกร์ที่ 5 ก.พ. 64 กลุ่มอาชีพครูและอาจารย์จำนวนมาก ได้มารวมตัวกันประท้วงที่หน้าอาคารเรียนของมหาวิทยาลัยการศึกษาแห่งย่างกุ้ง
อาจารย์ นเว ทาซิน ฮเลียง กล่าวว่า "เราไม่ต้องการให้กองทัพทำรัฐประหาร ซึ่งเป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ เราจะไม่ทำงานกับพวกเขาอีกต่อไป เราต้องการให้การรัฐประหารของกองทัพล้มเหลว"
ฮันนี่ ลวิน อาจารย์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า "เรามีเป้าหมายที่จะล้มระบบการบริหาร ด้วยวิธีการหยุดงานประท้วงอย่างสงบ"
กลุ่มอาชีพครูและอาจารย์จำนวนมาก รวมถึงผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารกองทัพเมียนมา ใช้สัญลักษณ์ในการประท้วง ด้วยการชูนิ้วสามนิ้วขึ้น โดยให้ฝ่ามืออยู่สูงกว่าลำตัว ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าว มาจาก ภาพยนตร์เรื่อง เดอะ ฮังเกอร์ เกมส์ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ประท้วงหลายประเทศในทวีปเอเชีย ที่ต่อต้านการปกครองแบบ[เผล่ะจัง]ได้นำสัญลักษณ์ดังกล่าวมาใช้อย่างแพร่หลาย
ทั้งนี้ ถือว่าการประท้วงมีผู้เข้าร่วมเป็นสัดส่วนที่สูง หากพิจารณาจากสัดส่วนของเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาการศึกษาแห่งย่างกุ้ง ซึ่งมีจำนวนราว 246 คน ในมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้ มีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการประท้วงมากถึง 200 คน นอกจากนี้ยังมีรายงานการประท้วงในลักษณะเดียวกันที่มหาวิทยาลัยดากอง ในย่างกุ้ง และที่อื่น ๆ อีกเช่นกัน
การต่อต้านรัฐประหารที่เกิดขึ้นในกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ เช่น แพทย์และครูอาจารย์นั้น ดำเนินไปพร้อมกับการประท้วงที่มีลักษณะเป็นทางการน้อยกว่า ของประชาชนทั่วไป ทั้งในรูปของการตีกระป๋องและหม้อกระทะ รวมไปถึงการบีบแตรรถ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการต่อต้านรัฐประหาร
ไม่เพียงแต่ในย่างกุ้งเท่านั้น ในวันศุกร์ที่ 5 ก.พ. 64 เมืองทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลักของเขตตะนาวศรีทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเมียนมา ก็มีกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารจำนวนมากเข้าร่วมการเดินขบวน รวมถึงขบวนต่อต้านในรูปแบบรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีผู้ประท้วงคนหนึ่ง กล่าวว่า "กลุ่มจากเมืองทวาย ขอประกาศ เริ่มการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ทวาย เราขอเรียกร้องให้ประชาชนเข้าร่วมและยืนหยัดกับเรา"
ทั้งนี้การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในเมียนมาและการเรียกร้องประชาธิปไตยนั้น มีมาโดยตลอด ในปี พ.ศ.2531 เกิดการลุกฮือที่เริ่มต้นจากนักศึกษาในเมืองย่างกุ้ง โดยการประท้วงในครั้งดังกล่าว ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมนับแสนคน รวมถึง พระภิกษุ เยาวชน นักศึกษา แพทย์ ฯลฯ ออกมาประท้วงต่อต้านระบอบการปกครองเผด็จการ แต่รัฐบาลได้มีคำสั่งให้สลายฝูงชนด้วยอาวุธ ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก คาดว่ามีผู้เสียชีวิตและสูญหายหลายหมื่นคน ต่อมาในปี พ.ศ.2550 เกิดการประท้วงรัฐบาลทหารเมียนมาอย่างรุนแรงอีกครั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางการได้เข้าสลายการชุมนุมและมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก คาดว่ามีผู้เสียชีวิตราว 3000 คน