JJNY : ประณามกมธ.แก้รธน./นพดลจี้เร่งแก้PM 2.5/พิธาอัดไร้ประสิทธิภาพแก้วิกฤต/ก้าวไกลอัดสุพัฒนพงษ์/ลาวเฮได้รับวัคซีนแล้ว

ประณามกมธ.แก้รัฐธรรมนูญ ปิดลับประชุม ห้ามไลฟ์สด ขวางประชาชนมีส่วนร่วม
https://www.matichon.co.th/politics/news_2542213
 

 
เครือข่ายประชาชนฯ ร่อนจม.ประณามมติกมธ.รธน. ปิดลับประชุม ห้ามไลฟ์ ขวางประชาชน มีส่วนร่วมแก้รัฐธรรมนูญ
 
วันนี้ (22 ม.ค.) เพจ Constitution Advocacy Alliance หรือ CALL เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกประณาม และคัดค้านการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน หลังคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่อนุญาตให้ไลน์สดประชุมพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีเนื้อหาระบุว่า
 
เรียน ประชาชนผู้รักประชาธิปไตย, กรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม, และสื่อมวลชน
 
นับเนื่องจากที่ญัตติร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับ เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งเสนอแก้ไขในมาตรา 256 เรื่องวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ มาตรา 15/1 เกี่ยวกับการจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านการรับหลักการในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 และได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนดสัดส่วนให้มาจาก พรรคร่วมรัฐบาล 17 คน, สมาชิกวุฒิสภา 15 คน และ พรรคร่วมฝ่ายค้าน 13 คน ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่และมีการประชุมมา 5 ครั้ง ก่อนที่จะมีการปิดการประชุมไปเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 และมีการงดประชุมอันเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ก่อนที่จะมาเริ่มการประชุมอีกครั้งเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564
 
เครือข่ายภาคประชาชนพยายามติดตามข้อมูล รายละเอียด ประเด็น ข้ออภิปรายของกรรมาธิการฯ แต่ปรากฏว่าข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประชุมของกรรมาธิการฯ มีอยู่อย่างจำกัดทั้งที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญ จำเป็นยิ่งที่จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลการประชุมได้เต็มที่ ที่ผ่านมาการประชุมของกรรมาธิการฯ มีการเผยแพร่โดยถ่ายทอดการประชุมผ่านจอโทรทัศน์ที่บริเวณหน้าห้องประชุม จึงชัดแจ้งแล้วว่า การประชุมดังกล่าวมิใช่การกระบวนการที่เป็นการปิดลับ และเพื่อเป็นการเอื้ออำนวยให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญจึงได้ดำเนินการถ่ายทอดสดการประชุมจากจอโทรทัศน์ที่หน้าห้องประชุมเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 ตั้งแต่เวลา 9.30 น. โดยประมาณ โดยได้รับอนุญาตจากประธานกรรมาธิการฯ แต่เมื่อดำเนินการถ่ายทอดไประยะหนึ่ง มีการอภิปรายแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการถ่ายทอด มีความพยายามมาสั่งให้ผู้ที่ดำเนินการถ่ายทอดหยุดเป็นระยะจนกระทั่งมีการตัดสัญญาณถ่ายทอดที่หน้าห้องประชุมออกไปเมื่อมีการพักรับประทานอาหารกลางวัน และไม่มีการถ่ายทอดสัญญาณออกมาอีกเมือมีการประชุมต่อในช่วงบ่าย
 
วันที่ 22 มกราคม 2564 ซึ่งมีการนัดประชุมกรรมาธิการ ครั้งที่ 7 เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญได้ส่งหนังสือขออนุญาตดำเนินการถ่ายทอดสดจากสัญญาณโทรทัศน์หน้าห้องประชุมกรรมาธิการฯ ผลปรากฏว่ามีการลงมติด้วยคะแนน 20 ต่อ 8 ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการถ่ายทอด และเชิญผู้ปฏิบัติงานของเครือข่ายรณรงค์ออกมาจากอาคารรัฐสภา
 
ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงความจำเป็นที่ประชาชนจะได้ติดตามกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในการประชุมกรรมาธิการฯ ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่งที่จะดำเนินการในลักษณะที่เป็นการพิจารณาภายในกรรมาธิการ 45 คน เพราะผลพวงใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 นี้ ย่อมส่งผลต่อพัฒนาการประชาธิปไตย หรืออาจกลายเป็นเพียงการสืบทอดอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ความพยายามผลักประชาชนให้กลายเป็นเพียงคนนอกของกระบวนการเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้
 
เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม ซึ่งเป็นองค์กรภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมและภาคประชาชนทั่วประเทศ ขอประนามการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรายังหวังว่าคณะกรรมาธิการจะเปลี่ยนใจและพร้อมที่จะทำงานด้วยความโปร่งใสโดยไม่กลัวสายตาประชาชน
 
นอกจากนี้ขอเรียกร้องให้สื่อมวลชนได้ติดตามนำเสนอข้อมูลข่าวสารการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนำเสนอข้อมูลต่อประชาชนด้วยมิติที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น ตลอดจนเชิญชวนประชาชนร่วมติดตามกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นว่าเป็นกระบวนการที่อำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญต้องขึ้นอยู่กับประชาชน
 
https://www.facebook.com/CALLforDemocracy/posts/166723985244612
 

 
‘นพดล’ จี้ รบ.-กทม. เร่งแก้ปัญหา PM 2.5 ถามมาตราการที่ ‘เพื่อไทย’ เสนอ เคยทำบ้างหรือไม่
https://www.matichon.co.th/politics/news_2541842
 
‘นพดล’ จี้ รบ.-กทม. เร่งแก้ปัญหา PM 2.5 ถาม มาตราการที่ ‘เพื่อไทย’ เสนอไป เคยเอาไปทำบ้างหรือไม่
 
เมื่อวันที่ 22 มกราคม นายนพดล ปัทมะ ประธานคณะกรรมการนโยบายฯพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 วันนี้รุนแรงและกระทบหลายพื้นที่ใน กทม. ลูกเด็กเล็กแดง คนทุกเพศทุกวัยเดือดร้อนหนัก แต่สิ่งที่ได้ยินจากภาครัฐคือตอนนี้เกิดสภาวะฝาชีครอบพื้นที่กรุงเทพฯและจะเป็นอีกหลายวัน จนกว่าจะมีลมพัดมา ขอให้ประชาชนงดกิจกรรมกลางแจ้งฟังแล้วสะท้อนใจ ปัญหาฝุ่นจิ๋วแต่เป็นเรื่องใหญ่ขนาดนี้ กระทบคุณภาพชีวิตของคนนับล้าน มีช่วงเวลาที่เกิดประจำซ้ำซาก และสาเหตุของปัญหาก็พอรู้ว่าเกิดจากอะไร
 
นายนพดล กล่าวอีกว่า คนกรุงเทพฯและปริมณฑลทนทุกข์มามากและนานเกินไปแล้ว ประชาชนคาดหวังจากภาครัฐมากกว่าชุดคำอธิบายเดิมๆ เขาพอรู้กันหมดแล้วว่าปัญหาเกิดจากอะไร แต่ต้องการทราบว่าท่านมีวิธีแก้อย่างไร ภายในเวลาเท่าไหร่ ปีนี้จะดีขึ้นขนาดไหน ปีหน้าจะได้ไม่ต้องเจอกับปัญหานี้อีก ระยะสั้น กลาง ยาวเป็นอย่างไร ประชาชนต้องการคำตอบและความชัดเจนในแนวทางการแก้ปัญหาจากภาครัฐ และเหนือสิ่งอื่นใดคือความสำเร็จ
 
นอกจากนี้ นายนพดล ยังขอตั้งคำถามว่า มาตรการที่พรรคพท. เคยนำเสนอหลายๆเรื่องทำไปบ้างหรือไม่ เช่น 
1. เปลี่ยนรถเมล์และรถโดยสารสาธารณะนับพันคันไปเป็นรถไฟฟ้าเพื่อลดการปล่อยฝุ่นพิษทำไปถึงไหน 
2. การใช้มาตรการทางภาษีให้รถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกลงเพื่อจูงใจให้คนหันมาใช้มากขึ้น และส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถไฟฟ้าของภูมิภาค 
3. ศึกษาและพัฒนาหอฟอกอากาศขนาดใหญ่กระจายทั่วพื้นที่ 
4. เข้มงวดเครื่องยนตร์ดีเซลที่ปล่อยมลพิษเกินมาตรฐาน 
5. เร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปลูกต้นไม้ไม่ผลัดใบจำนวนมากเพื่อซับฝุ่น 
6. ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้เข้าถึงหน้ากากอนามัย เป็นต้น
 
มหานครใหญ่ๆเช่นกรุงลอนดอน ปักกิ่ง เคยประสบปัญหาฝุ่นจิ๋วและมลพิษทางอากาศ แต่ก็แก้สำเร็จ จึงไม่น่าจะเกินความสามารถของผู้รับผิดชอบที่จะแก้ไข ถ้าตระหนักว่าประชาชนเดือดร้อนและเร่งแก้จริงจัง” นายนพดล กล่าว
 

 
“พิธา”อัดรัฐบาลไร้ประสิทธิภาพแก้วิกฤตโควิด ผิดซ้ำซาก จัดงบฯช้า น้อย ไม่ตรงจุด
https://www.matichon.co.th/clips/news_2541558
  
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปราย รายงานผลการใช้งบ พ.ร.ก.เงินกู้โควิด-19 จวกรัฐจัดงบช้าไป น้อยไป  ไม่ตรงจุด และไม่กระจายความเสี่ยงวัคซีน ติดตามรายละเอียดจากคลิปนี้
 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่