'เครือข่ายแรงงาน' จี้ รบ.จ่ายเงินเยียวยาแรงงานถ้วนหน้า 5 พัน 3 เดือน ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเปิดให้ชุมนุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_2534894
‘เครือข่ายแรงงาน’ จี้ ‘รัฐบาล’ จ่ายเงินเยียวยาแรงงานถ้วนหน้า 5 พัน ต่อเนื่อง 3 เดือน พร้อมยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเปิดให้ชุมนุม
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 18 มกราคม บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ หน้าทำเนียบรัฐบาล
เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน และองค์กรภาคี นำโดย นาย
เซี๊ย จำปาทอง ตัวแทนเครือข่ายและผู้ได้รับผลกระทบด้านแรงงานจากสถานการณ์โควิด-19 เข้าร้องเรียนถึง พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผ่านนาย
สุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี
โดยทำกิจกรรมปราศรัยพร้อมถือป้ายข้อความ “
เงินเยียวยาแรงงานต้องได้ทุกคนอย่างเท่าเทียม เงินภาษีจากประชาชนทำไมต้องลงทะเบียน”
นาย
เซี๊ยกล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สองส่งผลต่อการจ้างงานและชีวิตของแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการออกมาตรการต่างๆ ที่กระทบต่อผู้ประกอบการแรงงานไทยและข้ามชาติ และสถานประกอบการหลายแห่งต้องหยุดดำเนินการ โดยไม่มีงบประมาณชดเชยจากรัฐ
นาย
เซี๊ยกล่าวว่า ทั้งนี้ แม้รัฐบาลจะออกมาตรการเยียวยาต่อผู้ได้รับผลกระทบจำนวนเงิน 3,500 บาท ก็ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งยังมีขั้นตอนการลงทะเบียนที่ยุ่งยาก ทางเครือข่ายจึงขอเสนอให้รัฐบาล จ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท จำนวน 3 เดือน แก่แรงงานทุกประเภทอย่างถ้วนหน้า ทั้งแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ โดยทางเครือข่ายฯมีความกังวลจากการใช้มาตรการควบคุมโรคที่สะท้อนวิธีการบริหารประเทศแบบสั่งการอนุมัติจากบนลงล่าง ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาโรคระบาด
นาย
เซี๊ยกล่าวว่า นอกจากนี้ ขอเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อเปิดโอกาสชุมนุม เพราะที่ผ่านมาไม่เกิดการแพร่เชื้อจากการชุมนุม แต่มาจากการลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย
“
รัฐจำเป็นต้องตระหนักว่าวันนี้ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องกระจายความมั่งคั่งในสังคมจากคนร่ำรวยที่สุด 1% ในประเทศไปให้กับผู้คน 99% ที่ทำงานหนักเพื่อสร้างประเทศ และความมั่งคั่งให้คน 1% มาตลอด เพื่อปากท้องของทุกคนในสังคม และเพื่ออนาคตที่ดีของลูกหลานของพวกเรา” นาย
เซี๊ยกล่าว
ค้าปลีกไทยสูญ 5 แสนล้าน วอนรัฐอัดยาแรง ช่วยเหลือค้าปลีก-SME
https://www.prachachat.net/marketing/news-596064
สมาคมค้าปลีกไทย เผยไตรมาสแรกปี’64 ค้าปลีกติดลบ 7-8% สูญรายได้กว่า 5 แสนล้าน วอนภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยค้าปลีกและเอสเอ็มอีรายย่อยต่อเนื่อง พร้อมเสนอ 5 มาตรการเร่งด่วน ฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ตั้งแต่ปี 2563 โควิดได้ส่งผลกระทบ ทำค้าปลีกไทยสูญห้าแสนล้านบาท คาดว่าไตรมาส 1/2564 ดัชนีค้าปลีกยังคงติดลบราว 7-8% สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ขอภาครัฐวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและเร่งด่วน เพื่อลดอัตราการว่างงาน และเพิ่มอัตราการจ้างงานใหม่ เสนอภาครัฐทดลอง เพิ่มทางเลือกการจ้างงานเป็นรายชั่วโมง จัดเก็บภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่บาทแรก ในกลุ่มธุรกิจ E-Commerce และควบคุม E-Commerce ในการไม่ขายสินค้าด้วยราคาต่ำกว่าทุน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อ SME ไทย และระบบค้าปลีกไทยโดยรวม
นาย
ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ธุรกิจค้าปลีกไทยถือเป็นฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจทั้งหมดของประเทศ เนื่องจากเป็นระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมทั้งหมดในระบบ 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงกว่า 6.2 ล้านราย เมื่อค้าปลีกถูกผลกระทบ เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น ทำให้ดัชนีค้าปลีกสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ปี 2563 ลดลงจาก ปี 2562 จาก 2.8% มาเป็นติดลบ 12.0%
ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ติดลบถึงสองหลัก (ตามตารางดัชนีค้าปลีก สมาคมผู้ค้าปลีกไทย 2020 ที่แนบ) จึงทำให้เกิดผลเสียหายในวงกว้าง เกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น SME ทยอยปิดตัวลง กำลังซื้อหดหาย จึงจำเป็นต้องเร่งเยียวยาในระบบค้าปลีกโดยเร็วที่สุด เสนอ 5 มาตรการวัคซีนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย โดยเน้นการเกิดขึ้นได้จริงอย่างต่อเนื่องและทันที
1. ภาครัฐทดลองเพิ่มทางเลือกสำหรับอัตราค่าจ้างแบบเป็นรายชั่วโมง เพื่อเป็นการลดอัตราการว่างงาน และเพิ่มการจ้างงานใหม่ในภาคค้าปลีกสินค้าและค้าปลีกบริการ โดยการจ้างงานประจำจะยังคงมีอยู่เหมือนเดิม แต่เพิ่มอัตราการจ้างงานแบบเป็นรายชั่วโมง เพื่อเป็นทางเลือก และสอดรับการให้บริการช่วงพีคของวันในแต่ละช่วงให้เกิดประสิทธิภาพการบริการลูกค้าสูงสุด ภาคค้าปลีกสินค้าและค้าปลีกบริการคาดว่าจะสามารถจ้างงานรายชั่วโมงได้ทันทีไม่น้อยกว่า 52,000 อัตรา และ เพิ่มได้ถึง 200,000 อัตราในระยะยาว
2. ภาครัฐควรช่วยเหลือ SME โดยให้มีการปล่อยสินเชื่อ (Soft Loan) ผ่านแพลตฟอร์มค้าปลีก รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันออกมาตรการเพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ SME และ เกษตรกร ทำให้เข้าถึงสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยอัตราพิเศษ โดยสมาคมฯ ขอเสนอให้ภาครัฐพิจารณาการให้สินเชื่อพิเศษนี้โดยผ่านแพลตฟอร์มค้าปลีก ซึ่งสามารถเข้าถึง SME เกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 400,000 ราย ได้โดยตรงและอย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยแพลตฟอร์มค้าปลีกนี้ ธนาคารจะได้รับการชำระหนี้อย่างตรงเวลาและครบถ้วน เป็นการลดภาระหนี้สูญของธนาคารอีกด้วย
3. ภาครัฐต้องเร่งพิจารณาเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนำเข้ากับสินค้าที่ซื้อขายผ่าน E-Commerce/E-Marketplace ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จากข้อมูล ETDA มูลค่า E-Commerce มีมูลค่าราว 300,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีมาตรการควบคุมที่ชัดเจน มีการขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าทุน ไม่มีมาตรการเรื่องการเก็บภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่บาทแรก ทำให้ SME ไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่ง SME ไทยมีการเสียภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มจำนวนตั้งแต่บาทแรก ถือว่าเป็นการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Trade) และจะสร้างความเสียหายให้กับระบบค้าปลีกไทยในระยะยาว
4. ภาครัฐต้องหามาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยมุ่งไปยังกลุ่มที่มีกำลังซื้อระดับกลางถึงสูงกว่า 8 ล้านราย เพื่อผันเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย ด้วยมาตรการ ลดภาษีนำเข้าสินค้าไลฟ์สไตล์ ทั้งนี้จากวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้ กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อเหล่านี้ ซึ่งคุ้นเคยกับการเดินทางไปต่างประเทศ และช้อปปิ้งสินค้าปลอดภาษี ยังมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าแบรนด์ต่าง ๆ ทำให้ต้องหาซื้อสินค้าผ่านทาง Cross Borders หรือ Grey Market
โดยทางสมาคมฯ เสนอให้กระตุ้นการบริโภคในกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูงนี้ โดยเฉพาะสินค้าไลฟ์สไตล์นำเข้า ซึ่งปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าสินค้าไลฟ์สไตล์ในไทยสูงถึง 30% ซึ่งสูงที่สุดใน 15 ประเทศในแถบเอเชีย ทำให้คนหันไปซื้อสินค้าที่ต่างประเทศแทน จึงเสนอให้ทดลองปรับลดภาษีนำเข้าชั่วคราวตามประเภทสินค้า เป็นแบบขั้นบันได เช่น ลดจากเดิม 30% เป็น 20% 15% และ 10% เพื่อให้มีส่วนต่างของอัตราภาษีและไม่เกิดผลกระทบกับแบรนด์ไทย ซึ่งจะสามารถสร้างเงินสะพัดได้กว่า 20,000 ล้านบาท ต่อไตรมาส
5. ภาครัฐควรพิจารณาอนุญาตให้ร้านค้าปลีกสมัยใหม่และซูเปอร์มาร์เก็ตเข้าร่วมโครงการ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงสินค้าที่หลากหลาย และราคาต่ำได้มากขึ้น จากงานวิจัย พบว่า สินค้าที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อหาเป็นประจำส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคไม่กี่ชนิด
อาทิ ข้าวสาร น้ำมันพืช น้ำตาล ซึ่งผลิตโดยผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ทำให้การกระจายรายได้ไปไม่ถึงผู้ผลิตสินค้ารายเล็กอื่น ๆ การเปิดให้ร้านค้าปลีกสมัยใหม่และซูเปอร์มาร์เก็ตเข้าร่วมโครงการ ซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้บัตรแล้ว ยังเป็นการกระจายรายได้สู่ผู้ผลิตสินค้าในวงกว้างมากขึ้น ทั้งเกษตรกร ชุมชน และ ผู้ประกอบการ SME
JJNY : 4in1 'เครือข่ายแรงงาน'จี้เยียวยาถ้วนหน้า5พัน3ด./ค้าปลีกไทยสูญ5แสนล./จ่อบุกคลัง!คสรท.ร้องช่วย/พิษณุโลก แล้งมาแล้ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_2534894
‘เครือข่ายแรงงาน’ จี้ ‘รัฐบาล’ จ่ายเงินเยียวยาแรงงานถ้วนหน้า 5 พัน ต่อเนื่อง 3 เดือน พร้อมยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเปิดให้ชุมนุม
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 18 มกราคม บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ หน้าทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน และองค์กรภาคี นำโดย นายเซี๊ย จำปาทอง ตัวแทนเครือข่ายและผู้ได้รับผลกระทบด้านแรงงานจากสถานการณ์โควิด-19 เข้าร้องเรียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผ่านนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี
โดยทำกิจกรรมปราศรัยพร้อมถือป้ายข้อความ “เงินเยียวยาแรงงานต้องได้ทุกคนอย่างเท่าเทียม เงินภาษีจากประชาชนทำไมต้องลงทะเบียน”
นายเซี๊ยกล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สองส่งผลต่อการจ้างงานและชีวิตของแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการออกมาตรการต่างๆ ที่กระทบต่อผู้ประกอบการแรงงานไทยและข้ามชาติ และสถานประกอบการหลายแห่งต้องหยุดดำเนินการ โดยไม่มีงบประมาณชดเชยจากรัฐ
นายเซี๊ยกล่าวว่า ทั้งนี้ แม้รัฐบาลจะออกมาตรการเยียวยาต่อผู้ได้รับผลกระทบจำนวนเงิน 3,500 บาท ก็ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งยังมีขั้นตอนการลงทะเบียนที่ยุ่งยาก ทางเครือข่ายจึงขอเสนอให้รัฐบาล จ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท จำนวน 3 เดือน แก่แรงงานทุกประเภทอย่างถ้วนหน้า ทั้งแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ โดยทางเครือข่ายฯมีความกังวลจากการใช้มาตรการควบคุมโรคที่สะท้อนวิธีการบริหารประเทศแบบสั่งการอนุมัติจากบนลงล่าง ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาโรคระบาด
นายเซี๊ยกล่าวว่า นอกจากนี้ ขอเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อเปิดโอกาสชุมนุม เพราะที่ผ่านมาไม่เกิดการแพร่เชื้อจากการชุมนุม แต่มาจากการลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย
“รัฐจำเป็นต้องตระหนักว่าวันนี้ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องกระจายความมั่งคั่งในสังคมจากคนร่ำรวยที่สุด 1% ในประเทศไปให้กับผู้คน 99% ที่ทำงานหนักเพื่อสร้างประเทศ และความมั่งคั่งให้คน 1% มาตลอด เพื่อปากท้องของทุกคนในสังคม และเพื่ออนาคตที่ดีของลูกหลานของพวกเรา” นายเซี๊ยกล่าว
ค้าปลีกไทยสูญ 5 แสนล้าน วอนรัฐอัดยาแรง ช่วยเหลือค้าปลีก-SME
https://www.prachachat.net/marketing/news-596064
สมาคมค้าปลีกไทย เผยไตรมาสแรกปี’64 ค้าปลีกติดลบ 7-8% สูญรายได้กว่า 5 แสนล้าน วอนภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยค้าปลีกและเอสเอ็มอีรายย่อยต่อเนื่อง พร้อมเสนอ 5 มาตรการเร่งด่วน ฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ตั้งแต่ปี 2563 โควิดได้ส่งผลกระทบ ทำค้าปลีกไทยสูญห้าแสนล้านบาท คาดว่าไตรมาส 1/2564 ดัชนีค้าปลีกยังคงติดลบราว 7-8% สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ขอภาครัฐวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและเร่งด่วน เพื่อลดอัตราการว่างงาน และเพิ่มอัตราการจ้างงานใหม่ เสนอภาครัฐทดลอง เพิ่มทางเลือกการจ้างงานเป็นรายชั่วโมง จัดเก็บภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่บาทแรก ในกลุ่มธุรกิจ E-Commerce และควบคุม E-Commerce ในการไม่ขายสินค้าด้วยราคาต่ำกว่าทุน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อ SME ไทย และระบบค้าปลีกไทยโดยรวม
นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ธุรกิจค้าปลีกไทยถือเป็นฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจทั้งหมดของประเทศ เนื่องจากเป็นระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมทั้งหมดในระบบ 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงกว่า 6.2 ล้านราย เมื่อค้าปลีกถูกผลกระทบ เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น ทำให้ดัชนีค้าปลีกสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ปี 2563 ลดลงจาก ปี 2562 จาก 2.8% มาเป็นติดลบ 12.0%
ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ติดลบถึงสองหลัก (ตามตารางดัชนีค้าปลีก สมาคมผู้ค้าปลีกไทย 2020 ที่แนบ) จึงทำให้เกิดผลเสียหายในวงกว้าง เกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น SME ทยอยปิดตัวลง กำลังซื้อหดหาย จึงจำเป็นต้องเร่งเยียวยาในระบบค้าปลีกโดยเร็วที่สุด เสนอ 5 มาตรการวัคซีนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย โดยเน้นการเกิดขึ้นได้จริงอย่างต่อเนื่องและทันที
1. ภาครัฐทดลองเพิ่มทางเลือกสำหรับอัตราค่าจ้างแบบเป็นรายชั่วโมง เพื่อเป็นการลดอัตราการว่างงาน และเพิ่มการจ้างงานใหม่ในภาคค้าปลีกสินค้าและค้าปลีกบริการ โดยการจ้างงานประจำจะยังคงมีอยู่เหมือนเดิม แต่เพิ่มอัตราการจ้างงานแบบเป็นรายชั่วโมง เพื่อเป็นทางเลือก และสอดรับการให้บริการช่วงพีคของวันในแต่ละช่วงให้เกิดประสิทธิภาพการบริการลูกค้าสูงสุด ภาคค้าปลีกสินค้าและค้าปลีกบริการคาดว่าจะสามารถจ้างงานรายชั่วโมงได้ทันทีไม่น้อยกว่า 52,000 อัตรา และ เพิ่มได้ถึง 200,000 อัตราในระยะยาว
2. ภาครัฐควรช่วยเหลือ SME โดยให้มีการปล่อยสินเชื่อ (Soft Loan) ผ่านแพลตฟอร์มค้าปลีก รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันออกมาตรการเพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ SME และ เกษตรกร ทำให้เข้าถึงสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยอัตราพิเศษ โดยสมาคมฯ ขอเสนอให้ภาครัฐพิจารณาการให้สินเชื่อพิเศษนี้โดยผ่านแพลตฟอร์มค้าปลีก ซึ่งสามารถเข้าถึง SME เกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 400,000 ราย ได้โดยตรงและอย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยแพลตฟอร์มค้าปลีกนี้ ธนาคารจะได้รับการชำระหนี้อย่างตรงเวลาและครบถ้วน เป็นการลดภาระหนี้สูญของธนาคารอีกด้วย
3. ภาครัฐต้องเร่งพิจารณาเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนำเข้ากับสินค้าที่ซื้อขายผ่าน E-Commerce/E-Marketplace ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จากข้อมูล ETDA มูลค่า E-Commerce มีมูลค่าราว 300,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีมาตรการควบคุมที่ชัดเจน มีการขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าทุน ไม่มีมาตรการเรื่องการเก็บภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่บาทแรก ทำให้ SME ไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่ง SME ไทยมีการเสียภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มจำนวนตั้งแต่บาทแรก ถือว่าเป็นการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Trade) และจะสร้างความเสียหายให้กับระบบค้าปลีกไทยในระยะยาว
4. ภาครัฐต้องหามาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยมุ่งไปยังกลุ่มที่มีกำลังซื้อระดับกลางถึงสูงกว่า 8 ล้านราย เพื่อผันเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย ด้วยมาตรการ ลดภาษีนำเข้าสินค้าไลฟ์สไตล์ ทั้งนี้จากวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้ กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อเหล่านี้ ซึ่งคุ้นเคยกับการเดินทางไปต่างประเทศ และช้อปปิ้งสินค้าปลอดภาษี ยังมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าแบรนด์ต่าง ๆ ทำให้ต้องหาซื้อสินค้าผ่านทาง Cross Borders หรือ Grey Market
โดยทางสมาคมฯ เสนอให้กระตุ้นการบริโภคในกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูงนี้ โดยเฉพาะสินค้าไลฟ์สไตล์นำเข้า ซึ่งปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าสินค้าไลฟ์สไตล์ในไทยสูงถึง 30% ซึ่งสูงที่สุดใน 15 ประเทศในแถบเอเชีย ทำให้คนหันไปซื้อสินค้าที่ต่างประเทศแทน จึงเสนอให้ทดลองปรับลดภาษีนำเข้าชั่วคราวตามประเภทสินค้า เป็นแบบขั้นบันได เช่น ลดจากเดิม 30% เป็น 20% 15% และ 10% เพื่อให้มีส่วนต่างของอัตราภาษีและไม่เกิดผลกระทบกับแบรนด์ไทย ซึ่งจะสามารถสร้างเงินสะพัดได้กว่า 20,000 ล้านบาท ต่อไตรมาส
5. ภาครัฐควรพิจารณาอนุญาตให้ร้านค้าปลีกสมัยใหม่และซูเปอร์มาร์เก็ตเข้าร่วมโครงการ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงสินค้าที่หลากหลาย และราคาต่ำได้มากขึ้น จากงานวิจัย พบว่า สินค้าที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อหาเป็นประจำส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคไม่กี่ชนิด
อาทิ ข้าวสาร น้ำมันพืช น้ำตาล ซึ่งผลิตโดยผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ทำให้การกระจายรายได้ไปไม่ถึงผู้ผลิตสินค้ารายเล็กอื่น ๆ การเปิดให้ร้านค้าปลีกสมัยใหม่และซูเปอร์มาร์เก็ตเข้าร่วมโครงการ ซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้บัตรแล้ว ยังเป็นการกระจายรายได้สู่ผู้ผลิตสินค้าในวงกว้างมากขึ้น ทั้งเกษตรกร ชุมชน และ ผู้ประกอบการ SME