การเป็น หัวหน้า ใครในที่ทำงานมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ โดยส่วนใหญ่แล้วเขาว่ากันว่าถ้าพนักงานลาออก เขาไม่ได้ออกเพราะงาน แต่เขาจะลาออกเพราะหัวหน้า แล้ว หัวหน้าที่ดี ผู้นำที่ดี คืออะไร?
FYI : โพสนี้นำ บทความมาจาก
https://www.bigdreamblog.com/ เพื่อทำ Blacklink จากบทความพัฒนาตนเองให้เป็น
ผู้นำที่ดี ขึ้น 3 วิธี
ผู้นำที่ดีคืออะไร? อันนี้ก็อาจจะไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดซะทีเดียว แต่เราเห็นผู้นำเก่ง ๆ ที่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ คน มีความสามารถที่มีเหมือนกันคือ เขาสามารถดึงศักยภาพของลูกน้องได้ และได้รับการสนับสนุนจากลูกน้องเป็นอย่างดี
ผู้นำที่มีความสัมพันธ์อันดีกับลูกน้องหรือคนในทีม ทำให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ดังนั้นการมีสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อง เป็นเรื่องที่เราละเลยไม่ได้เหมือนกัน อาจจะต้องใช้ทักษะต่าง ๆ นิดหน่อยมาช่วย
ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องในที่นี้เราไม่ได้จะหมายถึงว่าคุณต้องกอดคอกันไป หรือคุยกันได้ทุกเรื่อง แต่คุณอาจจะต้องมีความเป็นมืออาชีพหรือมีระยะห่างบ้าง ขึ้นอยู่กับความเป็นตัวเราว่าเราเป็นคนแบบไหนและแสดงออกอย่างจริงใจ
ผู้นำที่ดีไม่ใช่ผู้นำที่ไม่มีข้อเสียเลย แต่เขาจะรู้จักข้อเสียและข้อดีของตัวเอง และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ดังนั้นเราจึงรวมเทคนิคง่าย ๆ เบสิก ๆ ในการเปลี่ยนเราให้เป็น ผู้นำที่ดีขึ้น 3 ข้อมาให้
1. Active Listening
คือการฟังอย่างตั้งใจ เพื่อทำความเข้าใจความคิดของคนแต่ละคน หลาย ๆ คนมักประเมินค่าของพลังแห่งการฟังต่ำเกินไป และไม่ได้ใส่ใจในการฟังมากเท่าที่ควร ซึ่งการรับฟังไม่ได้หมายความว่าเราต้องเชื่อทุกคำที่ผู้พูดพูด แต่เราต้องฟังเข้าไปให้ได้ยินถึงสิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ หรือฟังให้รับรู้ถึงความรู้สึกข้างในของคนคนนั้นจริง ๆ
จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมพบว่า บางทีคนที่พูดนั้นไม่ได้หมายความตามสิ่งที่เขาคนนั้นพูดจริง ๆ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า “ไม่เป็นไร” หรือ “สบายดี” มักถูกใช้บ่อยในการกลบเกลื่อนความรู้สึกของตนเองเวลารู้สึกไม่โอเคกับบางสิ่งบางอย่าง
ดังนั้นการฟังอย่างตั้งใจ มันอาจจะไม่ได้ใช้แค่หูอย่างเดียว อาจจะต้องใช้ ตา และความรู้สึกของเราในการฟังผู้พูดด้วย และ พลังแห่งการฟังจะส่งผลให้คุณประหลาดใจว่าคุณสามารถรู้จักแง่มุมต่าง ๆ ของลูกน้องคนนั้นมากยิ่งขึ้นไปอีก
การฟังอย่างตั้งใจมันพูดง่ายครับ แต่การนำไปทำจริงนั้นไม่ง่ายเลย | ในชีวิตผมนั้น เห็นคนที่สามารถฟังอย่างตั้งใจได้ไม่เยอะมากนัก และคนส่วนใหญ่มักเป็นคนที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมหาชน ซะด้วย ซึ่งผู้บริหารระดับสูงเหล่านั้น ไม่ได้ใช้เวลาในการฟังเยอะ แต่เขาสามารถทำให้ผู้พูดรู้สึกได้ว่า การฟังอย่างตั้งใจ เป็นอย่างไรแม้ไม่ได้ใช้เวลาเยอะมากก็สามารถทำได้ครับ
"Active listening, as it is commonly referred to, doesn't mean you agree with or endorse the other person's position. It simply means you have heard and understood them,"
“การฟังอย่างตั้งใจ ไม่ได้แปลว่าคุณต้องเห็นด้วยในมุมของคนอื่น ความหมายมันง่าย ๆ ก็คือ คุณได้ยินพวกเขาและเข้าใจพวกเขา”
Jay Perry, founder and CEO of Ally Business Coaching.
2. เข้าถึงได้
คำว่าหัวหน้าและลูกน้อง มันถูกมีกำแพงของมันเองอยู่ในตัวอยู่แล้วแม้ว่าคุณจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ดังนั้นหัวหน้าต้องเป็นคนที่เริ่มก่อน ในบางครั้งเราอาจจะไม่ต้องทำลายกับแพงนั้นสักทีเดียวแต่เราสามารถสร้างประตูให้กับกับแพงตรงนั้นได้แล้วเปิดประตูไว้ตลอดเวลาหรือในบางครั้งเราอาจจะต้องเดินไปจับมือลูกน้องเดินผ่านกับแพงนั้น ให้เขารู้ว่าเราสามารถเข้าถึงได้ แต่ในบางกรณี ผู้นำที่ดี ก็ควรทำลายกำแพงนั้นกับบางคน
หากเราไม่สามารถเข้าถึงได้ อาจจะส่งผลเสียให้กับคุณเองเช่น
พนักงานของคุณจะไม่กล้านำเสนอไอเดียใหม่ ๆ เพราะกลัวคุณจะปฏิเสธ
คุณอาจจะไม่ได้รับข้อมูลจากลูกน้อง และอาจจะรู้อีกทีในวันที่สายเกินไปแล้ว
สมาชิกในทีมของคุณอาจจะไม่พูดคุยกับคุณเลย
สามาชิกในทีมของคุณอาจจะไม่รู้สึกว่ามีส่วนร่วมกับงานหรือเป็นเจ้าของงาน จึงทำให้เขาต้องรอให้คุณเป็นคนตัดสินในในทุกเรื่อง
การที่คุณเป็นหัวหน้าที่เข้าถึงได้ มันจะช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้แข็งแกร่งในทิศทางที่ดี และสร้างความ Loyalty ของหมู่พนักงานทั้งต่อองค์กรและต่อตัวคุณเองอีกด้วย ทริคง่าย ๆ ก็คือ
เปิดประตูของคุณเอาไว้
แบ่งปันข้อมูลให้กับคนในทีม อย่าเก็บทุก ๆ เรื่องเป็นความลับ อย่าหวงข้อมูล
คุยเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับงานบ้างงงง ไม่ใช่คุยเรื่องงานตลอดเวลา
สนับสนุนลูกน้องของคุณในเวลาที่เขาเจอความท้าทาย !
3. ใส่ใจ Recognition
ผู้คนจะสนับสนุนคนที่ใส่ใจคนอื่น การใส่ใจในที่นี้หมายความว่า คุณต้องระลึกไว้เสมอว่าการที่งานใดงานหนึ่งจะประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่เพราะตัวคุณเพียงคนเดียว คุณต้องไม่ลืมที่จะกล่าวชม ให้รางวัลตามสมควร ไม่ควรเทคเครดิตไว้ที่ตัวตลอดเวลา อย่าลืมคนในทีมของคุณ
ผู้นำที่ดี จะให้มองคนรอบข้างเป็นคนคนนึง ไม่ใช่มองเขาเป็นสิ่งของ หรือเครื่องมือในการทำงานเท่านั้น แค่เขาเห็นค่าของคนคนนั้น สิ่งที่คนคนนั่นเชื่อหรือยึดถือ และเขาเคารพตรงนั้น ชื่นชมในเวลาที่ลูกน้องทำงานหนักอาจจะในที่สาธารณะ หรือส่วนตัว ตามที่ลูกน้องคนนั้นต้องการ
ผู้นำที่ใส่ใจเคารพคความเป็นมนุษย์ของผู้คนแล้ว เขาจะไม่ใช่ผู้นำที่ป่าวประกาศว่า “ฉันคือเจ้านาย แกต้องทำงานตามที่ฉันสั่ง” แต่ผู้นำประเภทนี้จะ สร้างความเคารพให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตาม และผู้ตามจะให้ความร่วมมือในการทำงานอย่างสมัครใจ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ มันมีวิธีที่ช่วยให้ง่ายอยู่อย่างในบทความ |
10 วิธีทำให้บทสนทนาดีขึ้น
~~~~~~
"อยากได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ ต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ"
แรงบันดาลใจในการเขียน
-
https://www.bigdreamblog.com/2020/11/10/3-วิธีง่าย-ๆ-ที่เปลี่ยนคุ/
3 วิธีง่าย ๆ ที่เปลี่ยนคุณเป็น ผู้นำที่ดี ขึ้น!
การเป็น หัวหน้า ใครในที่ทำงานมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ โดยส่วนใหญ่แล้วเขาว่ากันว่าถ้าพนักงานลาออก เขาไม่ได้ออกเพราะงาน แต่เขาจะลาออกเพราะหัวหน้า แล้ว หัวหน้าที่ดี ผู้นำที่ดี คืออะไร?
FYI : โพสนี้นำ บทความมาจาก https://www.bigdreamblog.com/ เพื่อทำ Blacklink จากบทความพัฒนาตนเองให้เป็น ผู้นำที่ดี ขึ้น 3 วิธี
ผู้นำที่ดีคืออะไร? อันนี้ก็อาจจะไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดซะทีเดียว แต่เราเห็นผู้นำเก่ง ๆ ที่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ คน มีความสามารถที่มีเหมือนกันคือ เขาสามารถดึงศักยภาพของลูกน้องได้ และได้รับการสนับสนุนจากลูกน้องเป็นอย่างดี
ผู้นำที่มีความสัมพันธ์อันดีกับลูกน้องหรือคนในทีม ทำให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ดังนั้นการมีสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อง เป็นเรื่องที่เราละเลยไม่ได้เหมือนกัน อาจจะต้องใช้ทักษะต่าง ๆ นิดหน่อยมาช่วย
ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องในที่นี้เราไม่ได้จะหมายถึงว่าคุณต้องกอดคอกันไป หรือคุยกันได้ทุกเรื่อง แต่คุณอาจจะต้องมีความเป็นมืออาชีพหรือมีระยะห่างบ้าง ขึ้นอยู่กับความเป็นตัวเราว่าเราเป็นคนแบบไหนและแสดงออกอย่างจริงใจ
ผู้นำที่ดีไม่ใช่ผู้นำที่ไม่มีข้อเสียเลย แต่เขาจะรู้จักข้อเสียและข้อดีของตัวเอง และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ดังนั้นเราจึงรวมเทคนิคง่าย ๆ เบสิก ๆ ในการเปลี่ยนเราให้เป็น ผู้นำที่ดีขึ้น 3 ข้อมาให้
1. Active Listening
คือการฟังอย่างตั้งใจ เพื่อทำความเข้าใจความคิดของคนแต่ละคน หลาย ๆ คนมักประเมินค่าของพลังแห่งการฟังต่ำเกินไป และไม่ได้ใส่ใจในการฟังมากเท่าที่ควร ซึ่งการรับฟังไม่ได้หมายความว่าเราต้องเชื่อทุกคำที่ผู้พูดพูด แต่เราต้องฟังเข้าไปให้ได้ยินถึงสิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ หรือฟังให้รับรู้ถึงความรู้สึกข้างในของคนคนนั้นจริง ๆ
จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมพบว่า บางทีคนที่พูดนั้นไม่ได้หมายความตามสิ่งที่เขาคนนั้นพูดจริง ๆ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า “ไม่เป็นไร” หรือ “สบายดี” มักถูกใช้บ่อยในการกลบเกลื่อนความรู้สึกของตนเองเวลารู้สึกไม่โอเคกับบางสิ่งบางอย่าง
ดังนั้นการฟังอย่างตั้งใจ มันอาจจะไม่ได้ใช้แค่หูอย่างเดียว อาจจะต้องใช้ ตา และความรู้สึกของเราในการฟังผู้พูดด้วย และ พลังแห่งการฟังจะส่งผลให้คุณประหลาดใจว่าคุณสามารถรู้จักแง่มุมต่าง ๆ ของลูกน้องคนนั้นมากยิ่งขึ้นไปอีก
การฟังอย่างตั้งใจมันพูดง่ายครับ แต่การนำไปทำจริงนั้นไม่ง่ายเลย | ในชีวิตผมนั้น เห็นคนที่สามารถฟังอย่างตั้งใจได้ไม่เยอะมากนัก และคนส่วนใหญ่มักเป็นคนที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมหาชน ซะด้วย ซึ่งผู้บริหารระดับสูงเหล่านั้น ไม่ได้ใช้เวลาในการฟังเยอะ แต่เขาสามารถทำให้ผู้พูดรู้สึกได้ว่า การฟังอย่างตั้งใจ เป็นอย่างไรแม้ไม่ได้ใช้เวลาเยอะมากก็สามารถทำได้ครับ
"Active listening, as it is commonly referred to, doesn't mean you agree with or endorse the other person's position. It simply means you have heard and understood them,"
“การฟังอย่างตั้งใจ ไม่ได้แปลว่าคุณต้องเห็นด้วยในมุมของคนอื่น ความหมายมันง่าย ๆ ก็คือ คุณได้ยินพวกเขาและเข้าใจพวกเขา”
Jay Perry, founder and CEO of Ally Business Coaching.
2. เข้าถึงได้
คำว่าหัวหน้าและลูกน้อง มันถูกมีกำแพงของมันเองอยู่ในตัวอยู่แล้วแม้ว่าคุณจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ดังนั้นหัวหน้าต้องเป็นคนที่เริ่มก่อน ในบางครั้งเราอาจจะไม่ต้องทำลายกับแพงนั้นสักทีเดียวแต่เราสามารถสร้างประตูให้กับกับแพงตรงนั้นได้แล้วเปิดประตูไว้ตลอดเวลาหรือในบางครั้งเราอาจจะต้องเดินไปจับมือลูกน้องเดินผ่านกับแพงนั้น ให้เขารู้ว่าเราสามารถเข้าถึงได้ แต่ในบางกรณี ผู้นำที่ดี ก็ควรทำลายกำแพงนั้นกับบางคน
หากเราไม่สามารถเข้าถึงได้ อาจจะส่งผลเสียให้กับคุณเองเช่น
พนักงานของคุณจะไม่กล้านำเสนอไอเดียใหม่ ๆ เพราะกลัวคุณจะปฏิเสธ
คุณอาจจะไม่ได้รับข้อมูลจากลูกน้อง และอาจจะรู้อีกทีในวันที่สายเกินไปแล้ว
สมาชิกในทีมของคุณอาจจะไม่พูดคุยกับคุณเลย
สามาชิกในทีมของคุณอาจจะไม่รู้สึกว่ามีส่วนร่วมกับงานหรือเป็นเจ้าของงาน จึงทำให้เขาต้องรอให้คุณเป็นคนตัดสินในในทุกเรื่อง
การที่คุณเป็นหัวหน้าที่เข้าถึงได้ มันจะช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้แข็งแกร่งในทิศทางที่ดี และสร้างความ Loyalty ของหมู่พนักงานทั้งต่อองค์กรและต่อตัวคุณเองอีกด้วย ทริคง่าย ๆ ก็คือ
เปิดประตูของคุณเอาไว้
แบ่งปันข้อมูลให้กับคนในทีม อย่าเก็บทุก ๆ เรื่องเป็นความลับ อย่าหวงข้อมูล
คุยเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับงานบ้างงงง ไม่ใช่คุยเรื่องงานตลอดเวลา
สนับสนุนลูกน้องของคุณในเวลาที่เขาเจอความท้าทาย !
3. ใส่ใจ Recognition
ผู้คนจะสนับสนุนคนที่ใส่ใจคนอื่น การใส่ใจในที่นี้หมายความว่า คุณต้องระลึกไว้เสมอว่าการที่งานใดงานหนึ่งจะประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่เพราะตัวคุณเพียงคนเดียว คุณต้องไม่ลืมที่จะกล่าวชม ให้รางวัลตามสมควร ไม่ควรเทคเครดิตไว้ที่ตัวตลอดเวลา อย่าลืมคนในทีมของคุณ
ผู้นำที่ดี จะให้มองคนรอบข้างเป็นคนคนนึง ไม่ใช่มองเขาเป็นสิ่งของ หรือเครื่องมือในการทำงานเท่านั้น แค่เขาเห็นค่าของคนคนนั้น สิ่งที่คนคนนั่นเชื่อหรือยึดถือ และเขาเคารพตรงนั้น ชื่นชมในเวลาที่ลูกน้องทำงานหนักอาจจะในที่สาธารณะ หรือส่วนตัว ตามที่ลูกน้องคนนั้นต้องการ
ผู้นำที่ใส่ใจเคารพคความเป็นมนุษย์ของผู้คนแล้ว เขาจะไม่ใช่ผู้นำที่ป่าวประกาศว่า “ฉันคือเจ้านาย แกต้องทำงานตามที่ฉันสั่ง” แต่ผู้นำประเภทนี้จะ สร้างความเคารพให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตาม และผู้ตามจะให้ความร่วมมือในการทำงานอย่างสมัครใจ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ มันมีวิธีที่ช่วยให้ง่ายอยู่อย่างในบทความ | 10 วิธีทำให้บทสนทนาดีขึ้น
~~~~~~
"อยากได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ ต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ"
แรงบันดาลใจในการเขียน
-https://www.bigdreamblog.com/2020/11/10/3-วิธีง่าย-ๆ-ที่เปลี่ยนคุ/