JJNY : สวนดุสิตโพลคนขออย่าซื้อเวลา/NIDAเผยคนห่วงม็อบรุนแรง/"ยุทธพร"มองเปิดสภาแก้ปัญหาไม่ได้/"โรม"จี้อย่าทำ 2 มาตรฐาน

สวนดุสิตโพลคนขอนายกฯแก้ปมม็อบอย่าซื้อเวลา
https://www.innnews.co.th/politics/news_804322/


 
สวนดุสิตโพล มองคนไม่พอใจผลงานนายกฯออกชุมนุมเพิ่ม จี้หาแนวทางแก้ไขอย่าซื้อเวลา แนะสื่อต้องเป็นกลาง ขอม็อบไม่ใช้ความรุนแรงทั้ง 2 ฝ่าย
 
“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 5,738คน ที่มีต่อ“การชุมนุมทางการเมือง ณ วันนี้” ระหว่างวันที่ 19-22 ตุลาคม 2563 เมื่อถามถึง“สาเหตุ” การชุมนุมทางการเมืองที่มีเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้ พบว่า 
ร้อยละ 62.33 ระบุ ไม่พอใจการบริหารงานของนายกฯ 
รองลงมาร้อยละ 49.85 ระบุ ต้องการเรียกร้องประชาธิปไตย/ไม่สืบทอดอำนาจ [เผล่ะจัง]  
ร้อยละ 48.42 ระบุ เป็นการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง
 
เมื่อถามถึง สิ่งที่อยากบอกกับ “รัฐบาล” เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง ณ วันนี้ พบว่า 
ร้อยละ 72.37 ระบุ ต้องเร่งพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/อย่าซื้อเวลา 
รองลงมาร้อยละ 61.69 ระบุ ไม่ควรใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม 
ร้อยละ 60.43 ระบุ อยากให้ฟังเสียงประชาชน/ผู้ชุมนุม
 
ขณะสิ่งที่อยากบอกกับ “ผู้ชุมนุม” พบว่า 
ร้อยละ 73.31 ระบุ มีสติ อย่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้ฝ่ายใด 
รองลงมาร้อยละ 65.97 ระบุ ระมัดระวังเรื่องการระบาดของโควิด-19 
ร้อยละ 63.85 ระบุ ไม่ใช้ความรุนแรง
 
ทั้งนี้ เมื่อถามถึงสิ่งที่อยากบอกกับ “สื่อมวลชน” พบว่า 
ร้อยละ 84.21 ระบุ มีจรรยาบรรณวิชาชีพสื่ออย่างแท้จริง 
รองลงมา ร้อยละ 77.27 ระบุ เป็นกลาง 
ร้อยละ 73.77 ระบุ นำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์/ไม่ชี้นำ
 
ท้ายที่สุด เมื่อถามว่า ทำอย่างไร 
การชุมนุมทางการเมืองจึงจะยุติ ร้อยละ 61.44 ระบุ ไม่ใช้ความรุนแรงทั้ง 2 ฝ่าย 
รองลงมา ร้อยละ 57.90 ระบุ รัฐบาลจริงใจในการแก้ไขปัญหาของผู้ชุมนุม 
ร้อยละ 56.58 ระบุ ควรมีการเจรจา/ตกลงกันแบบสันติวิธี
 

 
NIDAเผยคนห่วงม็อบรุนแรงดูอยู่จะหนุนฝ่ายใด
https://www.innnews.co.th/politics/news_804316/
  

 
“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “รุนแรง…แตกแยก?” จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น จำนวน 1,336 หน่วยตัวอย่าง ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 ตุลาคม 2563
 
เมื่อถามถึงความกังวลของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่าจะเกิดการบานปลายกลายเป็นความแตกแยกและความรุนแรงในสังคม พบว่า 
 
ร้อยละ 24.48 ระบุว่า กังวลมาก เพราะ กังวลว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้นและอาจจะมีมือที่ 3 เข้ามาแทรกแซงเหมือนที่ผ่านมา ขณะที่บางส่วนระบุว่า กลุ่มคณะราษฎรในปัจจุบันมีความเป็นตัวของตัวเองมากเกินไป หัวรุนแรง
 
ร้อยละ 34.21 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล เพราะ กังวลว่าจะมีการสร้างสถานการณ์เหมือนในอดีต เกรงว่าจะเกิดความรุนแรงระหว่างกลุ่มคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อาจจะทำให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องถูกลูกหลงได้รับบาดเจ็บ 
 
ร้อยละ 18.41 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล เพราะ เป็นการแสดงสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มคณะราษฎรในการเรียกร้องให้รัฐบาลรับทราบถึงเหตุผลในการชุมนุมเท่านั้น และรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
 
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการตัดสินใจของประชาชนจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน พบว่า 
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.45ระบุว่า กำลังคิดอยู่ว่าควรจะตัดสินใจสนับสนุนฝ่ายใด 
รองลงมา ร้อยละ 33.46 ระบุว่า ได้ตัดสินใจเลือกสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้ว 
ร้อยละ 29.94 ระบุว่า ขออยู่เฉย ๆ ไม่ตัดสินใจอะไร 
และร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่ตอบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่