โพลเผย 5 อันดับข่าวคนสนใจ "ศก.ปากท้อง"ยังนำ
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/444051
ดุสิตโพล เผยผลสำรวจ "5 อันดับข่าวที่ประชาชนสนใจ" เศรษฐกิจปากท้องยังนำเป็นอันดับ 1 สะท้อน "กินอิ่มก่อน" เรื่องอื่นว่ากันทีหลัง
2 สิงหาคม 2563 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ที่มีต่อกรณี “
ข่าวที่ประชาชนสนใจ ณ วันนี้” จำนวนทั้งสิ้น 1,109 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 27-31 กรกฎาคม 2563 เพื่อสะท้อนความคิดเห็นกรณีข่าวสารบ้านเมืองที่สื่อต่าง ๆ นำเสนอทุกวันนี้มีหลากหลายประเด็นที่สังคมติดตามและให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อาชญากรรม การศึกษา ฯลฯ ซึ่งแต่ละข่าวก็ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงภาพวิถีชีวิตของประชาชนคนไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน
อันดับ 1 ปากท้องชาวบ้าน 85.95%
เพราะ สภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน กังวลในการใช้ชีวิต สินค้าแพง ค่าครองชีพสูงคนตกงาน ว่างงานเพิ่มมากขึ้น ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญและทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น อาชญากรรมยาเสพติด ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยากรู้แนวทางการแก้ปัญหาของรัฐบาล ฯลฯ
อันดับ 2 โควิด-19 83.61%
เพราะ สถานการณ์ทั่วโลกยังไม่ดีขึ้น ยังคงแพร่ระบาด กังวลว่าอาจมีการแพร่ระบาดรอบสองในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สุขภาพอนามัย เศรษฐกิจเสียหายอย่างหนัก อยากให้มีวัคซีนโดยเร็ว ฯลฯ
อันดับ 3 คดี “บอส อยู่วิทยา” 77.58%
เพราะ เป็นข่าวใหญ่ เป็นทายาทตระกูลดัง อยากรู้ข้อเท็จจริง สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของสังคมปัญหาของกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ สองมาตรฐาน ฯลฯ
อันดับ 4 การชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่าง ๆ 74.72%
เพราะ มีการประท้วงบ่อยครั้ง มีคนหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหว นักเรียนนักศึกษาออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองจำนวนมาก คนรุ่นใหม่สนใจการเมืองมากขึ้นอยากรู้ว่าการชุมนุมจะเป็นไปในทิศทางใด รัฐบาลจะรับมืออย่างไร ฯลฯ
อันดับ 5 การปรับ ครม. 66.74%
เพราะ อยากรู้ว่ามีใครเข้ามาทำงานบ้าง จะทำให้รัฐบาลทำงานได้ดีขึ้นหรือไม่ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อยากให้มีการเร่งแก้ปัญหาปากท้องและปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ครม.ชุดใหม่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล ฯลฯ
นางสาว
พรพรรณ บัวทอง นักวิจัย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สรุปว่า จาผลการสำรวจจะเห็นได้ว่าจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ทำให้สนใจติดตามข่าวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองอย่างมาก นอกจากนี้ประชาชนยังให้ความสนใจกับระบบยุติธรรมของไทยที่มีช่องโหว่ให้เห็นว่ามีความสองมาตรฐานเกิดขึ้นในคดีของทายาทตระกูลดัง อีกทั้งข่าวการชุมนุมประท้วงแบบแฟลชม็อบที่ก่อตัวขึ้นเป็นระยะ ๆ รวมถึงรายชื่อ ครม. ที่ปรับใหม่ จึงเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังจับตาดูทิศทางการทำงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด และยังคงเฝ้ารอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาของประชาชนอย่างจริงจัง
ด้านผศ.ดร.
ปรียนันท์ ประยูรศักดิ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากผลโพลในหัวข้อ “
ข่าวที่ประชาชนสนใจ” ของสวนดุสิตโพล พบว่า อันดับ 1 ประชาชนสนใจในเรื่องปากท้อง ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเรื่องที่ใหญ่มากและเป็นที่สนใจในระดับโลกอย่างเรื่อง “
โควิด-19” ก็ยังไม่สามารถชนะความกังวลในเรื่องสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของประเทศได้ ความเดือดร้อนในการใช้ชีวิตกับค่าครองชีพที่สูง สินค้าราคาแพง รายได้ลดลง ทำให้เข้าใจได้เลยว่าประชาชนคิดเรื่อง “
ทำอย่างไรจะมีกิน” ก่อนเรื่องสุขภาพของตนเอง
“พูดง่ายๆคือขอให้กินอิ่มก่อน เรื่องอื่นว่ากันทีหลัง และโดยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่หนักหนาเอาการสำหรับคนที่หาเช้ากินค่ำ พวกเขาจะยังไม่ได้มองไปไกลตัวถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำของกระบวนการยุติธรรมอย่างคดีของบอส อยู่วิทยา ด้วยซ้ำไป แต่ความจริงแล้วถ้าจะมองกันลึกถึงต้นตอของปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุหลักมาจากความล้มเหลวของการบริหารงานในระดับประเทศ ขอฝากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีอำนาจของบ้านเมืองนี้ให้ช่วยกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างเป็นจริงเป็นจัง หันมามองประชาชนตาดำๆ บ้าง ปรับ ครม. ทั้งทีก็ขอให้ประชาชนได้ร้อง “ว้าว” มากกว่า “ยี้” ” ผศ.ดร.
ปรียนันท์ กล่าว
*******
กระทู้ผลโพลอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
“ข่าว” ที่ประชาชนสนใจ ณ วันนี้
https://ppantip.com/topic/40102055
นิด้าโพลเผย ปชช.ส่วนมากเห็นด้วย ม็อบเยาวชนปลดแอก หนุน 'ประยุทธ์' เปิดอกคุยปัญหาด้วยตัวเอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2289971
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “
นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “
ม็อบเยาวชน ปลดแอก” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29-31 กรกฎาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง
เกี่ยวกับการชุมนุมของ กลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและในอีกหลายจังหวัด การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “
นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึง
ความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และในอีกหลายจังหวัด พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 26.56 ระบุว่า เป็นสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม หากปราศจากอาวุธและความรุนแรง
รองลงมา ร้อยละ 26.16 ระบุว่า เป็นสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม หากไม่กระทำผิดกฎหมาย
ร้อยละ 18.24 ระบุว่า เป็นการชุมนุมของพลังบริสุทธิ์ ของนักศึกษา
ร้อยละ 17.12 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่ออนาคตของประเทศ
ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตยและต่อต้าน [เผล่ะจัง]
ร้อยละ 9.76 ระบุว่า เป็นจุดเริ่มต้นของความแตกแยกและสถานการณ์ความวุ่นวายในอนาคต
ร้อยละ 8.88 ระบุว่า เป็นการจัดการชุมนุมเพื่อต่อต้านความไม่ยุติธรรมในสังคม
ร้อยละ 7.04 ระบุว่า เบื่อการชุมนุมบนท้องถนน
ร้อยละ 6.48 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่อล้มรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ร้อยละ 6.08 ระบุว่า เป็นการชุมนุมที่มีกลุ่มการเมือง/พรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง
ร้อยละ 5.68 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมที่มีเจตนาอื่นแอบแฝง
ร้อยละ 4.64 ระบุว่า เป็นแค่แฟชั่นการชุมนุม ทำตามกระแสตาม social media/ คำชักชวนของเพื่อน
ร้อยละ 0.88 ระบุว่า เป็นการชุมนุมที่มีหน่วยงานต่างประเทศอยู่เบื้องหลัง
ร้อยละ 0.72 ระบุว่า เป็นการชุมนุมที่มีการกระทำผิดกฎหมาย
และร้อยละ 2.72 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้าน
การเห็นด้วยของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและในอีกหลายจังหวัด พบว่า
ร้อยละ 34.72 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกการชุมนุมของกลุ่มเยาวชน และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองไปในทางที่ดีขึ้นกว่านี้
ร้อยละ 19.28 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะเป็นสิทธิของกลุ่มเยาวชนที่จะเรียกร้องความถูกต้อง และอยากให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้
ร้อยละ 18.08 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะกลัวสถานการณ์จะเกิดความรุนแรง วุ่นวาย และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่หมดไป 100% เกรงว่าจะกลับมาแพร่ระบาดรอบ 2
ร้อยละ 23.76 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะทำให้เกิดความวุ่นวาย เหตุผลยังไม่เพียงพอในการออกมาชุมนุม และยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่
และร้อยละ 4.16 ระบุว่า เฉยๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ส่วน
ความกังวลว่าประเทศไทยจะเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเหมือนในอดีตจากการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก พบว่า
ร้อยละ 11.20 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงมากกว่าในอดีต เพราะกลุ่มเยาวชนในปัจจุบันมีความเป็นตัวของตัวเองมากเกินไป หัวรุนแรง และสื่อนำเสนอข่าวในเชิงการปลุกระดม
ร้อยละ 16.72 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงพอๆ กับในอดีต เพราะอาจมีการสร้างสถานการณ์เหมือนในอดีต
ร้อยละ 29.76 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทางการเมือง แต่คงไม่เท่าในอดีต เพราะรูปแบบการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนมีความแตกต่างจากในอดีต และคาดว่ารัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ร้อยละ 16.88 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล เพราะเป็นการแสดงพลังของกลุ่มเยาวชนในการเรียกร้องให้รัฐบาลรับทราบถึงเหตุผลในการชุมนุมเท่านั้น และเป็นการชุมนุมเพียงระยะเวลาสั้นๆ
ร้อยละ 23.68 ระบุว่า ไม่กังวลเลย เพราะเป็นสิทธิในการแสดงเหตุผลของกลุ่มเยาวชน เป็นการชุมนุมอย่างสงบ และรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
และร้อยละ 1.76 ระบุว่า เฉยๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด
เมื่อถามถึงสิ่งที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรดำเนินการกับการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.72 ระบุว่า ควรรับฟังปัญหาจากกลุ่มนักศึกษาด้วยตนเอง
รองลงมา ร้อยละ 20.40 ระบุว่า ควรยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ทันที
ร้อยละ 13.68 ระบุว่า ควรรีบแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่
ร้อยละ 6.56 ระบุว่า ควรอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร
ร้อยละ 5.36 ระบุว่า ควรใช้กลไกรัฐสภาในการฟังปัญหาจากกลุ่มนักศึกษา
ร้อยละ 4.72 ระบุว่า ควรใช้กลไกราชการเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม
ร้อยละ 2.88 ระบุว่า ควรใช้กฎหมายดำเนินการกับผู้กระทำผิด
และร้อยละ 3.68 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
JJNY : 5 อันดับข่าวคนสนใจ "ศก.ปากท้อง"ยังนำ/นิด้าโพลเผยปชช.หนุนประยุทธ์คุย/ทั่วโลกติดโควิด17.9ล./ติดเชื้อเพิ่ม5
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/444051
ดุสิตโพล เผยผลสำรวจ "5 อันดับข่าวที่ประชาชนสนใจ" เศรษฐกิจปากท้องยังนำเป็นอันดับ 1 สะท้อน "กินอิ่มก่อน" เรื่องอื่นว่ากันทีหลัง
2 สิงหาคม 2563 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ที่มีต่อกรณี “ข่าวที่ประชาชนสนใจ ณ วันนี้” จำนวนทั้งสิ้น 1,109 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 27-31 กรกฎาคม 2563 เพื่อสะท้อนความคิดเห็นกรณีข่าวสารบ้านเมืองที่สื่อต่าง ๆ นำเสนอทุกวันนี้มีหลากหลายประเด็นที่สังคมติดตามและให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อาชญากรรม การศึกษา ฯลฯ ซึ่งแต่ละข่าวก็ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงภาพวิถีชีวิตของประชาชนคนไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน
อันดับ 1 ปากท้องชาวบ้าน 85.95%
เพราะ สภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน กังวลในการใช้ชีวิต สินค้าแพง ค่าครองชีพสูงคนตกงาน ว่างงานเพิ่มมากขึ้น ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญและทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น อาชญากรรมยาเสพติด ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยากรู้แนวทางการแก้ปัญหาของรัฐบาล ฯลฯ
อันดับ 2 โควิด-19 83.61%
เพราะ สถานการณ์ทั่วโลกยังไม่ดีขึ้น ยังคงแพร่ระบาด กังวลว่าอาจมีการแพร่ระบาดรอบสองในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สุขภาพอนามัย เศรษฐกิจเสียหายอย่างหนัก อยากให้มีวัคซีนโดยเร็ว ฯลฯ
อันดับ 3 คดี “บอส อยู่วิทยา” 77.58%
เพราะ เป็นข่าวใหญ่ เป็นทายาทตระกูลดัง อยากรู้ข้อเท็จจริง สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของสังคมปัญหาของกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ สองมาตรฐาน ฯลฯ
อันดับ 4 การชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่าง ๆ 74.72%
เพราะ มีการประท้วงบ่อยครั้ง มีคนหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหว นักเรียนนักศึกษาออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองจำนวนมาก คนรุ่นใหม่สนใจการเมืองมากขึ้นอยากรู้ว่าการชุมนุมจะเป็นไปในทิศทางใด รัฐบาลจะรับมืออย่างไร ฯลฯ
อันดับ 5 การปรับ ครม. 66.74%
เพราะ อยากรู้ว่ามีใครเข้ามาทำงานบ้าง จะทำให้รัฐบาลทำงานได้ดีขึ้นหรือไม่ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อยากให้มีการเร่งแก้ปัญหาปากท้องและปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ครม.ชุดใหม่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล ฯลฯ
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สรุปว่า จาผลการสำรวจจะเห็นได้ว่าจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ทำให้สนใจติดตามข่าวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองอย่างมาก นอกจากนี้ประชาชนยังให้ความสนใจกับระบบยุติธรรมของไทยที่มีช่องโหว่ให้เห็นว่ามีความสองมาตรฐานเกิดขึ้นในคดีของทายาทตระกูลดัง อีกทั้งข่าวการชุมนุมประท้วงแบบแฟลชม็อบที่ก่อตัวขึ้นเป็นระยะ ๆ รวมถึงรายชื่อ ครม. ที่ปรับใหม่ จึงเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังจับตาดูทิศทางการทำงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด และยังคงเฝ้ารอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาของประชาชนอย่างจริงจัง
ด้านผศ.ดร.ปรียนันท์ ประยูรศักดิ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากผลโพลในหัวข้อ “ข่าวที่ประชาชนสนใจ” ของสวนดุสิตโพล พบว่า อันดับ 1 ประชาชนสนใจในเรื่องปากท้อง ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเรื่องที่ใหญ่มากและเป็นที่สนใจในระดับโลกอย่างเรื่อง “โควิด-19” ก็ยังไม่สามารถชนะความกังวลในเรื่องสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของประเทศได้ ความเดือดร้อนในการใช้ชีวิตกับค่าครองชีพที่สูง สินค้าราคาแพง รายได้ลดลง ทำให้เข้าใจได้เลยว่าประชาชนคิดเรื่อง “ทำอย่างไรจะมีกิน” ก่อนเรื่องสุขภาพของตนเอง
“พูดง่ายๆคือขอให้กินอิ่มก่อน เรื่องอื่นว่ากันทีหลัง และโดยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่หนักหนาเอาการสำหรับคนที่หาเช้ากินค่ำ พวกเขาจะยังไม่ได้มองไปไกลตัวถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำของกระบวนการยุติธรรมอย่างคดีของบอส อยู่วิทยา ด้วยซ้ำไป แต่ความจริงแล้วถ้าจะมองกันลึกถึงต้นตอของปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุหลักมาจากความล้มเหลวของการบริหารงานในระดับประเทศ ขอฝากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีอำนาจของบ้านเมืองนี้ให้ช่วยกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างเป็นจริงเป็นจัง หันมามองประชาชนตาดำๆ บ้าง ปรับ ครม. ทั้งทีก็ขอให้ประชาชนได้ร้อง “ว้าว” มากกว่า “ยี้” ” ผศ.ดร.ปรียนันท์ กล่าว
*******
กระทู้ผลโพลอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
“ข่าว” ที่ประชาชนสนใจ ณ วันนี้
https://ppantip.com/topic/40102055
นิด้าโพลเผย ปชช.ส่วนมากเห็นด้วย ม็อบเยาวชนปลดแอก หนุน 'ประยุทธ์' เปิดอกคุยปัญหาด้วยตัวเอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2289971
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ม็อบเยาวชน ปลดแอก” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29-31 กรกฎาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง
เกี่ยวกับการชุมนุมของ กลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและในอีกหลายจังหวัด การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึง ความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และในอีกหลายจังหวัด พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 26.56 ระบุว่า เป็นสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม หากปราศจากอาวุธและความรุนแรง
รองลงมา ร้อยละ 26.16 ระบุว่า เป็นสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม หากไม่กระทำผิดกฎหมาย
ร้อยละ 18.24 ระบุว่า เป็นการชุมนุมของพลังบริสุทธิ์ ของนักศึกษา
ร้อยละ 17.12 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่ออนาคตของประเทศ
ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตยและต่อต้าน [เผล่ะจัง]
ร้อยละ 9.76 ระบุว่า เป็นจุดเริ่มต้นของความแตกแยกและสถานการณ์ความวุ่นวายในอนาคต
ร้อยละ 8.88 ระบุว่า เป็นการจัดการชุมนุมเพื่อต่อต้านความไม่ยุติธรรมในสังคม
ร้อยละ 7.04 ระบุว่า เบื่อการชุมนุมบนท้องถนน
ร้อยละ 6.48 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่อล้มรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ร้อยละ 6.08 ระบุว่า เป็นการชุมนุมที่มีกลุ่มการเมือง/พรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง
ร้อยละ 5.68 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมที่มีเจตนาอื่นแอบแฝง
ร้อยละ 4.64 ระบุว่า เป็นแค่แฟชั่นการชุมนุม ทำตามกระแสตาม social media/ คำชักชวนของเพื่อน
ร้อยละ 0.88 ระบุว่า เป็นการชุมนุมที่มีหน่วยงานต่างประเทศอยู่เบื้องหลัง
ร้อยละ 0.72 ระบุว่า เป็นการชุมนุมที่มีการกระทำผิดกฎหมาย
และร้อยละ 2.72 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้าน การเห็นด้วยของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและในอีกหลายจังหวัด พบว่า
ร้อยละ 34.72 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกการชุมนุมของกลุ่มเยาวชน และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองไปในทางที่ดีขึ้นกว่านี้
ร้อยละ 19.28 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะเป็นสิทธิของกลุ่มเยาวชนที่จะเรียกร้องความถูกต้อง และอยากให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้
ร้อยละ 18.08 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะกลัวสถานการณ์จะเกิดความรุนแรง วุ่นวาย และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่หมดไป 100% เกรงว่าจะกลับมาแพร่ระบาดรอบ 2
ร้อยละ 23.76 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะทำให้เกิดความวุ่นวาย เหตุผลยังไม่เพียงพอในการออกมาชุมนุม และยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่
และร้อยละ 4.16 ระบุว่า เฉยๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ส่วน ความกังวลว่าประเทศไทยจะเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเหมือนในอดีตจากการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก พบว่า
ร้อยละ 11.20 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงมากกว่าในอดีต เพราะกลุ่มเยาวชนในปัจจุบันมีความเป็นตัวของตัวเองมากเกินไป หัวรุนแรง และสื่อนำเสนอข่าวในเชิงการปลุกระดม
ร้อยละ 16.72 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงพอๆ กับในอดีต เพราะอาจมีการสร้างสถานการณ์เหมือนในอดีต
ร้อยละ 29.76 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทางการเมือง แต่คงไม่เท่าในอดีต เพราะรูปแบบการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนมีความแตกต่างจากในอดีต และคาดว่ารัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ร้อยละ 16.88 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล เพราะเป็นการแสดงพลังของกลุ่มเยาวชนในการเรียกร้องให้รัฐบาลรับทราบถึงเหตุผลในการชุมนุมเท่านั้น และเป็นการชุมนุมเพียงระยะเวลาสั้นๆ
ร้อยละ 23.68 ระบุว่า ไม่กังวลเลย เพราะเป็นสิทธิในการแสดงเหตุผลของกลุ่มเยาวชน เป็นการชุมนุมอย่างสงบ และรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
และร้อยละ 1.76 ระบุว่า เฉยๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงสิ่งที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรดำเนินการกับการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.72 ระบุว่า ควรรับฟังปัญหาจากกลุ่มนักศึกษาด้วยตนเอง
รองลงมา ร้อยละ 20.40 ระบุว่า ควรยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ทันที
ร้อยละ 13.68 ระบุว่า ควรรีบแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่
ร้อยละ 6.56 ระบุว่า ควรอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร
ร้อยละ 5.36 ระบุว่า ควรใช้กลไกรัฐสภาในการฟังปัญหาจากกลุ่มนักศึกษา
ร้อยละ 4.72 ระบุว่า ควรใช้กลไกราชการเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม
ร้อยละ 2.88 ระบุว่า ควรใช้กฎหมายดำเนินการกับผู้กระทำผิด
และร้อยละ 3.68 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ