JJNY : ยังไม่มีข้อตกลงตัวประกันกับฮามาส│นิด้าโพลปชช.ส่วนใหญ่เข้าเกณฑ์│ดุสิตโพลปชช.ต้องการที่พึ่ง│จับตา’พลังงาน-น้ำตาล’

ผู้นำอิสราเอลเผย ยังไม่มีข้อตกลงเรื่องตัวประกันกับฮามาส
https://www.dailynews.co.th/news/2914096/

นายกรัฐมนตรีอิสราเอลกล่าวว่า "ณ เวลานี้" ไม่มีการบรรลุข้อตกลงเรื่องตัวประกันกับกลุ่มฮามาส

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 19 พ.ย.ว่านายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอล แถลงเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ปฏิเสธ “รายงานจากหลายกระแส” เกี่ยวกับการเจรจาระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส เรื่องตัวประกันราว 240 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในฉนวนกาซา ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันแรกของสงคราม ว่า “มีข้อมูลคลาดเคลื่อนมากมาย

ผู้นำอิสราเอลกล่าวว่า “ยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดทั้งนั้น” แต่เมื่อใดก็ตาม ที่มีการเห็นชอบใดเกิดขึ้นในเรื่องตัวประกัน สาธารณชนจะได้รับทราบทันที พร้อมทั้งยันว่า อิสราเอลกำลังพยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อช่วยเหลือตัวประกันออกมาให้ได้อย่างปลอดภัยทุกคน

ทั้งนี้ เนทันยาฮูกล่าวเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้า ว่าการที่กองทัพปฏิบัติการในโรงพยาบาลอัล-ชีฟา โรงพยาบาลใหญ่ที่สุดในฉนวนกาซา เป็นไปตาม “ข้อมูลบ่งชี้ชัดเจน” จากฝ่ายความมั่นคง ว่ากลุ่มฮามาสซุกซ่อนตัวประกันจำนวนหนึ่ง ไว้ภายในโรงพยาบาลแห่งนี้ และหากพบว่าอยู่ที่นั่นจริง จะมีการช่วยเหลือตัวประกันเหล่านั้นออกมา



นิด้าโพลปชช.ส่วนใหญ่เข้าเกณฑ์รับเงินดิจิทัลฯ1หมื่น
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_642716/
 
นิด้าโพลเผยประชาชนส่วนใหญ่คุณสมบัติครบเกณฑ์รับเงินดิจิทัลฯ 10,000 บาท
 
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “OK ไหม กับ นายกฯ สรุปเอง เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบทสรุปของนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ภายหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
 
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงคุณสมบัติการได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 79.85 ระบุว่า มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ รองลงมา ร้อยละ 11.68 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าตนเองมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์หรือไม่ และร้อยละ 8.47 ระบุว่า ไม่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์
เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่าไม่แน่ใจว่าตนเองมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์หรือไม่
 
และไม่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ (จำนวน 264 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความรู้สึกที่จะไม่ได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เนื่องจากคุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 68.18 ระบุว่า ไม่โกรธเลย รองลงมา ร้อยละ 11.36 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ ร้อยละ 8.71 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ ร้อยละ 7.58 ระบุว่า โกรธมาก และร้อยละ 4.17 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ต้องเป็นคนไทยไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่ถึง 7 หมื่นบาทต่อเดือน และ/หรือมีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันต่ำกว่า 5 แสนบาท พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.53 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 25.80 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 20.31 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 12.67 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ต้องเป็นคนไทยไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่ถึง 7 หมื่นบาทต่อเดือน และ/หรือมีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันต่ำกว่า 5 แสนบาท พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.53 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 25.80 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 20.31 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 12.67 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อเงื่อนไขการใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยสามารถใช้ซื้ออาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคได้เท่านั้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.66 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 28.47 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 20.69 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 16.03 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อแหล่งที่มาของงบประมาณในการจัดทำนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่รัฐบาลจะออกพระราชบัญญัติ กู้เงิน 500,000 ล้านบาท และงบประมาณประจำปีอีก 100,000 ล้านบาท พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.69 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 18.70 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 14.89 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 13.35 ระบุว่า เห็นด้วยมาก และร้อยละ 2.37 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ภายหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 29.92 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 25.97 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 25.11 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 18.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
เมื่อพิจารณาความคิดเห็นต่อนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ภายหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จำแนกตามคุณสมบัติการได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า
 
1. ตัวอย่างที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 29.73 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 26.48 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 24.38 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 18.84 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.57 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
2. ตัวอย่างที่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์หรือไม่ ร้อยละ 41.83 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 25.49 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 16.34 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 14.38 ระบุว่า เห็นด้วยมาก และร้อยละ 1.96 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
3. ตัวอย่างที่ไม่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 65.77 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 15.32 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 11.71 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 6.30 ระบุว่า เห็นด้วยมาก และร้อยละ 0.90 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ



ดุสิตโพลปชช.ต้องการที่พึ่ง,ของแพงค่าครองชีพสูง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_642737/

สวนดุสิตโพลเผย ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการที่พึ่งอย่างมาก ของแพง ค่าครองชีพสูง เศรษฐกิจตกต่ำ
 
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“ที่พึ่งของคนไทย ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,026 คน (สำรวจทางออนไลน์) สำรวจระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2566

พบว่า จากการ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทำให้ประชาชนรู้สึกต้องการที่พึ่งอย่างมาก ร้อยละ 52.34 เรื่องที่ต้องการที่พึ่งมากที่สุดคือเรื่องของแพง ค่าครองชีพสูง ร้อยละ 57.79 รองลงมาคือ สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ร้อยละ 55.14
 
นอกจากพึ่งตนเองแล้วบุคคลที่คิดว่าน่าจะเป็นที่พึ่งได้มากที่สุด คือ ครอบครัว ญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ ร้อยละ 61.43 ทั้งนี้เรื่องที่ประชาชน อยากระบายความอัดอั้นมากที่สุด คือ “เศรษฐกิจเมื่อไหร่จะดีขึ้น” ร้อยละ 45.17 รองลงมาคือ “ของแพง เงินไม่พอใช้” ร้อยละ 43.87
 
ผลโพลตั้งแต่ช่วงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ผ่านต่อมายังรัฐบาลเศรษฐา พบว่าปัญหาปากท้องเป็นโจทย์หินของ ทุกรัฐบาล เมื่อของแพงรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายจึงทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสิน แก้ปัญหาด้วยการพึ่งพาตนเอง ญาติพี่น้อง และเพื่อนสนิท นี่คือชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ รวมไปถึงการหันไปหาที่พึ่งทางใจอย่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย ดังนั้นรัฐบาล จึงต้องเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวรวมถึงแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างในภาพรวมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
 
จากผลสำรวจนี้เป็นคำตอบเบื้องต้นแล้วว่าในเวลานี้ประชาชนต้องการที่พึ่งในการใช้ชีวิต โดยของแพง ค่าครองชีพสูงคือเรื่องที่ประชาชนต้องการที่พึ่งมากที่สุด และตามมาติดๆอันดับที่ 2 กับเรื่องของเศรษฐกิจตกต่ำ ผลโพลดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการใช้ชีวิตของคนไทยกำลังมีปัญหาเร่งด่วนในเรื่องของแพง ค่าครองชีพสูง ซึ่งนอกจากตนเองแล้วบุคคลที่คิดว่าน่าจะเป็นที่พึ่งได้มากที่สุดสองอันดับแรก คือ ครอบครัว ญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ และเพื่อนสนิท โดยมีรัฐบาลเป็นอันดับสุดท้ายอยู่อันดับที่ 5
 
สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลว่าจะพึ่งพาได้น้อยที่สุด จาก 5 อันดับ และประชาชนยังอัดอั้นใจในเรื่องเศรษฐกิจอีกด้วย จึงเป็นการตอกย้ำว่าปัญหาเรื่องของแพง ค่าครองชีพสูง เศรษฐกิจไม่ดี เงินไม่พอใช้ คือปัญหาสำคัญที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขโดยเร็ว แม้ว่าจะมีประชาชนเพียง ร้อยละ 18.46 เท่านั้นที่คิดว่าน่าจะพึ่งรัฐบาลได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่