นิด้าโพลคนมองนายกฯพ้นผิดบ้านพักทำม็อบแรงการเมืองร้อน
https://www.innnews.co.th/politics/news_836631/
"นิด้าโพล" เผย คนมองนายกฯพ้นผิดคดีบ้านพักหลวง ทำม็อบรุนแรงขึ้น แต่ไม่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
“
นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจของประชาชนทั่วประเทศจำนวน 1,315 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง “
พลเอกประยุทธ์เดินหน้าต่อ…แล้วม็อบละ?”ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 4 ธันวาคม 2563 เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 27.38 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงขึ้น อย่างน่ากังวล
รองลงมา ร้อยละ 22.89 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงเหมือนเดิม แต่ไม่มีอะไรน่ากังวล
ร้อยละ 17.64 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงขึ้น แต่ไม่น่ากังวล
ร้อยละ 17.49 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงเหมือนเดิม และยังคง น่ากังวลอยู่
ร้อยละ 6.85 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะลดความร้อนแรงลง
ร้อยละ 6.46 ระบุว่า ไม่มีเรื่องใดให้น่ากังวล
และร้อยละ 1.29 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการยกระดับการชุมนุมทางการเมืองของม็อบคณะราษฎรโดยใช้ผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อกดดันให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้อง พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.13 ระบุว่า การชุมนุมจะยกระดับ แต่ไม่สามารถกดดันรัฐบาล ให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
รองลงมา ร้อยละ 29.36 ระบุว่า การชุมนุมจะไม่สามารถยกระดับ และไม่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
ร้อยละ 12.17 ระบุว่า การชุมนุมจะยกระดับ จนสามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
ร้อยละ 8.21 ระบุว่า การชุมนุมจะลดระดับ และไม่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
ร้อยละ 7.45 ระบุว่า การชุมนุมจะไม่สามารถยกระดับ แต่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
ร้อยละ 2.43 ระบุว่า การชุมนุมจะลดระดับ แต่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
และร้อยละ 5.25 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
‘โคทม’ ชี้ มีสื่อออนไลน์จับแพะชนแกะ เสนอทฤษฎีสมคบคิดปมสหรัฐอยู่เบื้องหลังม็อบคนรุ่นใหม่
https://www.matichon.co.th/politics/news_2474242
ที่มา รายงานหน้า 2, มติชนรายวัน อาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม นาย
โคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล แสดงความเห็นในกรณีคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วุฒิสภา สหรัฐอเมริกา แสดงจุดยืนสนับสนุนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทย
นาย
โคทมกล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไทยยืนยันตลอดว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและหลักการในระเบียบที่กำหนด สำหรับการตักเตือนของ ส.ว.ก็คงเห็นว่าการชุมนุมในไทยยืดเยื้อมานาน และมีเป้าประสงค์ต้องการให้ยุติลงด้วยดี ส่วนการประคับประคองสถานการณ์มีหลักของสิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม การประนีประนอม หากนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ก็จะเป็นผลดีกับการคลี่คลายความขัดแย้ง เชื่อว่า ส.ว.คงไม่ได้บอกให้รัฐบาลไทยทำอะไร แต่จะบอกหลักการไว้กว้างๆ และไม่ได้เสียมารยาท เพราะเชื่อว่าเป็นเพียงการแสดงความห่วงใยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ถ้าหากเป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศก็คงจะมีคำเตือนหลังจากสถานการณ์มีความรุนแรงแล้ว ก็อาจจะแสดงจุดยืนออกมา ขณะที่รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศก็คงจะให้โฆษกออกมาพูดอะไรบางอย่าง ก็เป็นวิธีที่จะแสดงความเห็นหรือมีคำอธิบายตอบกลับไปในแง่มุมของรัฐบาล
“รัฐบาลอาจจะบอกว่าตั้งใจรับฟังปัญหาของผู้ชุมนุมมาโดยตลอด หรือพร้อมที่จะประนีประนอม แต่เท่าที่ติดตามการบริหารสถานการณ์ ส่วนตัวไม่ต้องการแสดงความเห็นเพื่อผสมโรงกับ ส.ว.เพียงแต่บอกว่าเมื่อมิตรประเทศส่งสัญญาณมา ถ้าตอบกลับไปได้ก็คงจะดี ซึ่งหากย้อนกลับไปดูเหตุการณ์การชุมนุมในอดีตของ นปช.หรือ กปปส. เท่าที่ติดตามไม่พบว่า ส.ว.จะมีแสดงข้อห่วงใยในลักษณะนี้ ส่วนการชุมนุมใหญ่ที่ฮ่องกงทราบว่ากระทรวงต่างประเทศของสหรัฐออกมาท้วงติงชัดเจนและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนค่อนข้างหนัก” นาย
โคทมกล่าว
นาย
โคทมกล่าวด้วยว่า ในไทยมีบางสื่อออนไลน์พยายามเสนอทฤษฎีสมคมคบคิดว่าสหรัฐอยู่เบื้องหลังของคนรุ่นใหม่ มีการพาดพิงถึงตัวบุคคลบางฝ่ายแบบจับแพะชนแกะ และเมื่อมีเสียง ส.ว.ออกมาอีกก็คงทำให้บางฝ่ายที่เชื่อไปแล้ว ก็คงไม่เปลี่ยนความคิดเดิม แต่คนที่ไม่เชื่อก็คงเห็นว่าการแสดงออกแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา และหลังจาก ส.ว.สหรัฐออกมาแล้ว ต้องรอดูว่าฝ่ายนิติบัญญัติของสหภาพยุโรป หรืออียู จะมีอะไรตามมาอีกหรือไม่ เพื่อแสดงจุดยืนหรือแสดงความห่วงใย เมื่อ ส.ว.สหรัฐออกมาแสดงความห่วงใย ไม่ได้ถือว่ามีผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะมีเรื่องอื่นสำคัญกว่า แต่ถ้ามีเหตุรุนแรง หรือความสูญเสียเกิดขึ้น ก็เชื่อว่าจะมีผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นสถานการณ์ในขณะนี้ทุกฝ่ายก็ต้องประคับประคองอย่าให้มีความรุนแรง และการชุมนุมที่ยืดเยื้อก็ถือว่ายังมีความเสี่ยง ดังนั้นขอให้ทุกฝ่ายเปิดใจรับฟังเหตุผลสถานการณ์ก็จะดีกว่านี้
JJNY : นิด้าโพลคนมองพ้นผิดทำม็อบแรง/โคทมชี้มีสื่อออนไลน์จับแพะชนแกะ/กมธ.แก้รธน.ส่อวุ่น/โฟกัสฟาดนิ่มๆน้องไม่ได้ถามพี่ค่ะ
https://www.innnews.co.th/politics/news_836631/
"นิด้าโพล" เผย คนมองนายกฯพ้นผิดคดีบ้านพักหลวง ทำม็อบรุนแรงขึ้น แต่ไม่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 27.38 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงขึ้น อย่างน่ากังวล
รองลงมา ร้อยละ 22.89 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงเหมือนเดิม แต่ไม่มีอะไรน่ากังวล
ร้อยละ 17.64 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงขึ้น แต่ไม่น่ากังวล
ร้อยละ 17.49 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงเหมือนเดิม และยังคง น่ากังวลอยู่
ร้อยละ 6.85 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะลดความร้อนแรงลง
ร้อยละ 6.46 ระบุว่า ไม่มีเรื่องใดให้น่ากังวล
และร้อยละ 1.29 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการยกระดับการชุมนุมทางการเมืองของม็อบคณะราษฎรโดยใช้ผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อกดดันให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้อง พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.13 ระบุว่า การชุมนุมจะยกระดับ แต่ไม่สามารถกดดันรัฐบาล ให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
รองลงมา ร้อยละ 29.36 ระบุว่า การชุมนุมจะไม่สามารถยกระดับ และไม่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
ร้อยละ 12.17 ระบุว่า การชุมนุมจะยกระดับ จนสามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
ร้อยละ 8.21 ระบุว่า การชุมนุมจะลดระดับ และไม่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
ร้อยละ 7.45 ระบุว่า การชุมนุมจะไม่สามารถยกระดับ แต่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
ร้อยละ 2.43 ระบุว่า การชุมนุมจะลดระดับ แต่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้
และร้อยละ 5.25 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
‘โคทม’ ชี้ มีสื่อออนไลน์จับแพะชนแกะ เสนอทฤษฎีสมคบคิดปมสหรัฐอยู่เบื้องหลังม็อบคนรุ่นใหม่
https://www.matichon.co.th/politics/news_2474242
ที่มา รายงานหน้า 2, มติชนรายวัน อาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม นายโคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล แสดงความเห็นในกรณีคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วุฒิสภา สหรัฐอเมริกา แสดงจุดยืนสนับสนุนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทย
นายโคทมกล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไทยยืนยันตลอดว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและหลักการในระเบียบที่กำหนด สำหรับการตักเตือนของ ส.ว.ก็คงเห็นว่าการชุมนุมในไทยยืดเยื้อมานาน และมีเป้าประสงค์ต้องการให้ยุติลงด้วยดี ส่วนการประคับประคองสถานการณ์มีหลักของสิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม การประนีประนอม หากนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ก็จะเป็นผลดีกับการคลี่คลายความขัดแย้ง เชื่อว่า ส.ว.คงไม่ได้บอกให้รัฐบาลไทยทำอะไร แต่จะบอกหลักการไว้กว้างๆ และไม่ได้เสียมารยาท เพราะเชื่อว่าเป็นเพียงการแสดงความห่วงใยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ถ้าหากเป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศก็คงจะมีคำเตือนหลังจากสถานการณ์มีความรุนแรงแล้ว ก็อาจจะแสดงจุดยืนออกมา ขณะที่รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศก็คงจะให้โฆษกออกมาพูดอะไรบางอย่าง ก็เป็นวิธีที่จะแสดงความเห็นหรือมีคำอธิบายตอบกลับไปในแง่มุมของรัฐบาล
“รัฐบาลอาจจะบอกว่าตั้งใจรับฟังปัญหาของผู้ชุมนุมมาโดยตลอด หรือพร้อมที่จะประนีประนอม แต่เท่าที่ติดตามการบริหารสถานการณ์ ส่วนตัวไม่ต้องการแสดงความเห็นเพื่อผสมโรงกับ ส.ว.เพียงแต่บอกว่าเมื่อมิตรประเทศส่งสัญญาณมา ถ้าตอบกลับไปได้ก็คงจะดี ซึ่งหากย้อนกลับไปดูเหตุการณ์การชุมนุมในอดีตของ นปช.หรือ กปปส. เท่าที่ติดตามไม่พบว่า ส.ว.จะมีแสดงข้อห่วงใยในลักษณะนี้ ส่วนการชุมนุมใหญ่ที่ฮ่องกงทราบว่ากระทรวงต่างประเทศของสหรัฐออกมาท้วงติงชัดเจนและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนค่อนข้างหนัก” นายโคทมกล่าว
นายโคทมกล่าวด้วยว่า ในไทยมีบางสื่อออนไลน์พยายามเสนอทฤษฎีสมคมคบคิดว่าสหรัฐอยู่เบื้องหลังของคนรุ่นใหม่ มีการพาดพิงถึงตัวบุคคลบางฝ่ายแบบจับแพะชนแกะ และเมื่อมีเสียง ส.ว.ออกมาอีกก็คงทำให้บางฝ่ายที่เชื่อไปแล้ว ก็คงไม่เปลี่ยนความคิดเดิม แต่คนที่ไม่เชื่อก็คงเห็นว่าการแสดงออกแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา และหลังจาก ส.ว.สหรัฐออกมาแล้ว ต้องรอดูว่าฝ่ายนิติบัญญัติของสหภาพยุโรป หรืออียู จะมีอะไรตามมาอีกหรือไม่ เพื่อแสดงจุดยืนหรือแสดงความห่วงใย เมื่อ ส.ว.สหรัฐออกมาแสดงความห่วงใย ไม่ได้ถือว่ามีผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะมีเรื่องอื่นสำคัญกว่า แต่ถ้ามีเหตุรุนแรง หรือความสูญเสียเกิดขึ้น ก็เชื่อว่าจะมีผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นสถานการณ์ในขณะนี้ทุกฝ่ายก็ต้องประคับประคองอย่าให้มีความรุนแรง และการชุมนุมที่ยืดเยื้อก็ถือว่ายังมีความเสี่ยง ดังนั้นขอให้ทุกฝ่ายเปิดใจรับฟังเหตุผลสถานการณ์ก็จะดีกว่านี้