JJNY : หลังแผ่นดินไหว กังวลความปลอดภัย│ปชช.ตามดินไหวจากโซเชียล│เชื่อมั่นท่องเที่ยว Q1 ซึม│มาเลเซียถกผู้นำ 4 ชาติอาเซียน

นิด้าโพลเผย หลังแผ่นดินไหวคนกทม.กังวลความปลอดภัยของอาคารต่างๆมากสุด
https://www.matichon.co.th/local/news_5127924
.
.
นิด้าโพลเผย หลังแผ่นดินไหวคนกทม.กังวลความปลอดภัยของอาคารต่างๆมากสุด มั่นใจห้างปลอดภัยที่สุด
.
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง “Post-Aftershock” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความกังวลใจของคนกรุงเทพมหานครต่อความปลอดภัยของอาคารหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
.
จากการสำรวจเมื่อถามถึงเรื่องที่คนกรุงเทพมหานครกังว ลใจภายหลังการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 68.09 ระบุว่า อาคารต่าง ๆ จะมีความมั่นคง ปลอดภัยแค่ไหน รองลงมา ร้อยละ 59.47 ระบุว่า หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก ระบบเตือนภัยจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ ร้อยละ 43.97 ระบุว่า แผ่นดินจะไหวอย่างรุนแรงอีกเมื่อไร ร้อยละ 33.51 ระบุว่า หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก การจัดการจราจรและการขนส่งสาธารณะจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ ร้อยละ 33.21 ระบุว่า หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก เราควรเตรียมตัวและรับมืออย่างไร ร้อยละ 29.01 ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศจะได้รับผลกระทบในทางลบหรือไม่ ร้อยละ 22.98 ระบุว่า รัฐจะสามารถดำเนินคดีอย่างเข้มงวด กับบุคคลหรือองค์การที่มีส่วนทำให้เกิดตึกถล่มได้หรือไม่ ร้อยละ 22.82 ระบุว่า การมีอาการจิตตก ตื่นตระหนก หรืออุปทานหมู่ ทั้ง ๆ ที่อาจไม่มีเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้น ร้อยละ 21.53 ระบุว่า ข่าวปลอมที่สร้างความตื่นกลัว ร้อยละ 19.62 ระบุว่า การช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติจะมีความเป็นธรรมหรือไม่ ร้อยละ 16.72 ระบุว่า การท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบในทางลบหรือไม่ ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่มีความกังวลใจ และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความมั่นใจของคนกรุงเทพมหานครต่อความปลอดภัยของอาคารในกรุงเทพมหานครหลังการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว พบว่า
อาคารห้างสรรพสินค้า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.25 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 30.15 ระบุว่า
ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 12.60 ระบุว่า มั่นใจมาก ร้อยละ 9.47 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
อาคารสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 40.61 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา
ร้อยละ 37.25 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 10.69 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 10.38 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
โรงแรม ตัวอย่าง ร้อยละ 42.75 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 36.18 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ
ร้อยละ 10.61 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 9.77 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
อาคารสถานศึกษาของเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 53.12 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 29.39 ระบุว่า
ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 9.47 ระบุว่า มั่นใจมาก ร้อยละ 7.33 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
อาคารสำนักงานของเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 49.62 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 32.14
ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 10.08 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 7.63 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.53 ระบุว่า
ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
ตึกแถวอาคารพาณิชย์ ตัวอย่าง ร้อยละ 42.13 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 38.40 ระบุว่า
ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 6.95 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
อาคารสถานศึกษาของรัฐ ตัวอย่าง ร้อยละ 40.38 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 36.88 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 15.57 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 6.64 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
อาคารสถานบันเทิง ตัวอย่าง ร้อยละ 44.12 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 26.49 ระบุว่า
ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 18.70 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 5.42 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 5.27 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
อาคารที่พักอาศัยของภาคเอกชน (เช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์) ตัวอย่าง ร้อยละ 41.68 ระบุว่า
ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 35.34 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 17.18 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 5.34 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
อาคารที่พักอาศัยของหน่วยงานภาครัฐ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.70 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 30.08 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 17.63 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 2.83 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
อาคารที่ทำการของหน่วยงานภาครัฐ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.93 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 17.33 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 2.52 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
.
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร โดยตัวอย่าง ร้อยละ 45.50 เป็นเพศชาย และร้อยละ 54.50 เป็นเพศหญิง โดยตัวอย่าง ร้อยละ 10.92 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.10 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.17 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.73 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 28.08 อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตัวอย่างร้อยละ 93.66 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 5.27 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.07 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
.
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.68 สถานภาพโสด ร้อยละ 54.27 สมรส และร้อยละ 3.05 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่โดยตัวอย่าง ร้อยละ 0.84 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 9.77 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 26.56 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.79 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 44.20 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 11.84 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
.
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.24 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 29.16 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 27.02 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.08 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 6.79 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 23.44 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงานและร้อยละ 5.27 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
.
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.82 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 0.53 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 4.27 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 25.27 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 15.11 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 8.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.34 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 2.92 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.76 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 2.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.31 ไม่ระบุรายได้
.

.
ดุสิตโพล ปชช.ตามดินไหวจากโซเชียล ห่วงเกิดซ้ำ
.
ดุสิตโพล ประชาชนติดตามเหตุแผ่นดินไหวจากโซเชียล ห่วงเกิดซ้ำ แนะรัฐบาลเตือนรวดเร็ว แม่นยำ
.
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,239 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 1-4 เมษายน 2568 โดยประชาชนติดตามข่าวเหตุแผ่นดินไหวจากช่องทางใด พบว่า ร้อยละ 89.11 ติดตามจากโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ก เอ็กซ์ ติ๊กต๊อก ยูทูป ไลน์ รองลงมา ร้อยละ 61.87 โทรทัศน์ และร้อยละ 43.54 จากเพื่อน ครอบครัว ขณะประชาชนมีความกังวลต่อภัยพิบัติประเภทใดมากที่สุด พบว่า ร้อยละ 84.91 แผ่นดินไหว รองลงมา ร้อยละ 55.85 น้ำท่วม และร้อยละ 49.80 ฝุ่น PM 2.5
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ประชาชนมีความกังวลต่อความปลอดภัยและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตมากขึ้นมากน้อยเพียงใด พบว่า ร้อยละ 48.83 ค่อนข้างกังวล รองลงมา ร้อยละ 41.40 กังวลมาก และร้อยละ 8.47 ไม่ค่อยกังวล ส่วนร้อยละ 1.30 ไม่กังวลเลย
.
สำหรับข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต พบว่า ร้อยละ 72.18 มีระบบติดตาม แจ้งเตือนภัยที่รวดเร็ว แม่นยำ รองลงมา ร้อยละ 45.10 ยกระดับเรื่องภัยพิบัติเป็นวาระแห่งชาติ และร้อยละ 40.45 จัดตั้งหน่วยงานช่วยเหลือป้องกันภัยเฉพาะกิจ มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ
.

.
เชื่อมั่นท่องเที่ยว Q1 ซึม หวั่นนโยบาย ‘ทรัมป์’ ทุบซ้ำ
https://www.prachachat.net/tourism/news-1788256
.
จากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาระบุว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2568 หรือไตรมาส 1/2568 ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสะสมรวม 9,549,004 คน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วประมาณ 462,747 ล้านบาท
.
โดยจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน 1,331,434 คน รองลงมาคือ มาเลเซีย 1,153,496 คน รัสเซีย 722,202 คน อินเดีย 543,770 คน และเกาหลีใต้ 497,930 คน ตามลำดับ
.
หากวิเคราะห์ตัวเลขข้างต้นเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าไตรมาสแรกปีนี้ ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตขึ้นราว 2% ขณะที่เดือนมีนาคม 2568 มีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ประมาณ 2.6 แสนคน และเป็นการลดลงต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ 2568
เชื่อมั่น Q1/68 สูงกว่าปี’67
.
แหล่งข่าวจากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ให้ข้อมูลว่า จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในประเทศไทย ไตรมาส 1/2568 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไตรมาส 1/2568 อยู่ในระดับ 83 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2567 ที่อยู่ในระดับ 75
.
หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ผู้ประกอบการทั่วประเทศมองว่าในไตรมาสนี้ดีกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาเล็กน้อย (81) แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับที่ต่ำกว่าปกติ
.
ในไตรมาสแรกของปี 2568 นี้แม้จะมีเทศกาลสำคัญหลายเทศกาล เช่น เทศกาลปีใหม่ วาเลนไทน์ และตรุษจีน แต่ด้วยประเด็นปัญหาลักพาตัวนักแสดงจีน ทำให้สร้างความเสียหายต่อความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของประเทศไทยในสายตานักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นอย่างมาก ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนหดตัวอย่างชัดเจนเมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่