JJNY : โพลนิด้าเผยเบื่อ 'ม็อบต้านรบ.ใหม่│เปิดอีกมุม หยก ต้องเจอ│ชี้ข้ออ้างเครื่องแบบ ‘ฟังไม่ขึ้น’│“อมรัตน์” ตอบคำถาม

โพลนิด้า เผย 78.17% เบื่อ 'ม็อบต้านรัฐบาลใหม่ 56.87% หวั่นเศรษฐกิจทรุด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7720135
 
 
โพลนิด้า เผยผลสำรวจ “การชุมนุมหลังจัดตั้งรัฐบาล” ร้อยละ 57.71% เบื่อมาก ม็อบเพื่อต่อต้านรัฐบาลใหม่ 20.46% ค่อนข้างเบื่อ ขณะที่ 56.87% หวั่นเศรษฐกิจย่ำแย่
 
เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.66 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การชุมนุมหลังจัดตั้งรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-16 มิ.ย.66 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง
 
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลใหม่ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 26.72 ระบุว่า จะมีการชุมนุมต่อต้าน แต่ไม่มีความรุนแรง เกิดขึ้น รองลงมา ร้อยละ 25.42 ระบุว่า จะไม่มีการชุมนุมต่อต้านใดๆ ทั้งสิ้น ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ไม่มั่นใจ ร้อยละ 22.44 ระบุว่า จะมีการชุมนุมต่อต้าน และมีความรุนแรงเกิดขึ้น และร้อยละ 0.23 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
  
ด้านสิ่งที่จะทำหากรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองที่เลือก พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.63 ระบุว่า ยอมรับในรัฐบาลใหม่อย่างเต็มใจ รองลงมา ร้อยละ 22.52 ระบุว่า ไม่ยอมรับ แต่จะไม่เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่ ร้อยละ 16.87 ระบุว่า จำใจต้องยอมรับในรัฐบาลใหม่ ร้อยละ 14.43 ระบุว่า เฉยๆ ไม่สนใจว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาล ร้อยละ 7.02 ระบุว่า ไม่ยอมรับ และจะเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่แน่นอน และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
 
สำหรับความกังวลของประชาชนหากเกิดการชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลใหม่ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.87 ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง รองลงมา ร้อยละ 37.18 ระบุว่า การเกิดความรุนแรงจากการชุมนุม (เช่น การทำลายทรัพย์สิน การทำร้ายซึ่งกันและกัน) ร้อยละ 32.98 ระบุว่า การเกิดความขัดแย้งของคนในชาติ ร้อยละ 29.16 ระบุว่า
การก่อรัฐประหาร ร้อยละ 21.45 ระบุว่า การกระทำที่ไม่เคารพกฎหมาย และ/หรือละเมิดสิทธิผู้อื่น ร้อยละ 18.63 ระบุว่า สภาพการจราจรที่ติดขัดจากการชุมนุม ร้อยละ 12.21 ระบุว่า การแทรกแซงจากต่างชาติ ร้อยละ 3.82 ระบุว่า ไม่มีความกังวล และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเบื่อหน่ายกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 57.71 ระบุว่า เบื่อมาก รองลงมา ร้อยละ 20.46 ระบุว่า ค่อนข้างเบื่อ ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ไม่เบื่อเลย ร้อยละ 8.09 ระบุว่า ไม่ค่อยเบื่อ และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
 
ไม่ว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี/รัฐบาล ท่านคิดว่ารัฐบาลใหม่ (ตามรัฐธรรมนูญ) จะเผชิญกับการชุมนุมต่อต้านหรือไม่
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลใหม่ จะมีการชุมนุมต่อต้าน แต่ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นร้อยละ 26.72 จะไม่มีการชุมนุมต่อต้านใดๆ ทั้งสิ้น ร้อยละ 25.42 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 25.19 จะมีการชุมนุมต่อต้าน และมีความรุนแรงเกิดขึ้นร้อยละ 22.44 ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.23 รวม 100
 
2. ท่านจะทำอย่างไร หากรัฐบาลใหม่ และ/หรือ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ (ตามรัฐธรรมนูญ) ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองที่ท่านเลือก
สิ่งที่จะทำหากรัฐบาลใหม่หรือนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองที่เลือก ยอมรับในรัฐบาลใหม่อย่างเต็มใจ ร้อยละ 38.63 ไม่ยอมรับ แต่จะไม่เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่ ร้อยละ 22.52 จำใจต้องยอมรับในรัฐบาลใหม่ ร้อยละ 16.87 เฉยๆ ไม่สนใจว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาล ร้อยละ 14.43 ไม่ยอมรับ และจะเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใหม่แน่นอน ร้อยละ 7.02 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ ร้อยละ 0.53 รวม 100
 
ท่านมีความกังวลในเรื่องใดบ้าง หากมีการชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลใหม่ (ตามรัฐธรรมนูญ) (เลือกตอบได้มากกว่าหนึ่งข้อ)
ความกังวลของประชาชนหากเกิดการชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลใหม่ ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงร้อยละ 56.87 การเกิดความรุนแรงจากการชุมนุม (เช่น การทำลายทรัพย์สิน การทำร้ายซึ่งกันและกัน) ร้อยละ 37.18 การเกิดความขัดแย้งของคนในชาติ ร้อยละ 32.98 การก่อรัฐประหาร ร้อยละ 29.16 การกระทำที่ไม่เคารพกฎหมาย และ/หรือละเมิดสิทธิผู้อื่น ร้อยละ 21.45 สภาพการจราจรที่ติดขัดจากการชุมนุม ร้อยละ 18.63 การแทรกแซงจากต่างชาติ ร้อยละ 12.21 ไม่มีความกังวล ร้อยละ 3.82 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 1.98
 
ท่านเบื่อกับเหตุการณ์ การชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล หรือไม่ ความเบื่อหน่ายกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล เบื่อมาก ร้อยละ 57.71 ค่อนข้างเบื่อร้อยละ 20.46 ไม่เบื่อเลยร้อยละ 12.75 ไม่ค่อยเบื่อร้อยละ 8.09 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจร้อยละ 0.99 รวม 100



เปิดอีกมุม หยก สิ่งที่เด็ก 15 ต้องเจอ โดนขู่ฆ่า-คุกคาม เปิดข้อมูลพ่อแม่ ที่อยู่ จากฝ่ายตรงข้าม
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7720141

เปิดอีกมุม หยก สิ่งที่เด็ก 15 ต้องเจอ โดนขู่ฆ่า-คุกคาม และเปิดเผยข้อมูลพ่อแม่ จากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ถูกแจ้งคดี ม.112 เพิ่มอีก 6 คดี
 
กลายเป็นเรื่องที่สังคมกำลังถกเถียงกันอย่างหนัก ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สำหรับเรื่องของ หยก เยาวชนวัย 15 ปี ที่ล่าสุดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ออกประกาศฉบับที่ 2 ยืนยันว่า หยก ไม่มีสภาพนักเรียนของโรงเรียนแล้ว

ต่อมา หยก โพสต์ข้อความแจง 5 ข้อ ยืนยันว่าตัวเธอไม่ได้ดื้อ แต่สิ่งที่โรงเรียนประเทศนี้เป็นไม่ปกติ ย้ำว่าสังคมต้องเปลี่ยน ถ้าไม่ใช่ตอนนี้แล้วจะเป็นตอนไหน เพราะที่ผ่านมาก็ไม่เปลี่ยนแปลง

ขณะที่ เพจ ทะลุแก๊ซ – Thalugaz โพสต์ข้อความ ถึง หยก อีกมุมที่ไม่มีใครรู้ ระบุว่า
 
– หยกเคยโดนตำรวจล้วงเข้าไปในเสื้อเพื่อเอาไอแพด
– หยกถูกคุมขังในสถานพินิจในคดี ม. 112 มา 51 วัน
– หยกถูกแกนนำกลุ่มเคลื่อนไหวฝ่ายตรงข้ามขู่ฆ่า
– หยกไม่ได้เรียน ม.4 เพราะไม่มีชื่อในระบบ
– หยกถูกชาวเน็ตบูลลี่ คุกคามทางเพศ ถูกสลิ่มเปิดเผยข้อมูลพ่อแม่ ที่อยู่ และสภาพบ้าน
– หยกถูกแจ้งคดี ม.112 เพิ่มอีก 6 คดี
 
นี่คือสิ่งที่เด็กอายุ 15 คนหนึ่งต้องพบเจอ
 
https://www.facebook.com/Thalugaz/posts/pfbid025sofxPp9YXs1EDBZBGuZw9ThKzRbsiEpnXCW9tDXXB1ehohEhFo3xNqD2y6J4FcEl
  


‘ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา มช.’ ชี้ ข้ออ้างเครื่องแบบสร้างระเบียบ ‘ฟังไม่ขึ้น’
https://www.matichon.co.th/education/news_4035039

‘ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา มช.’ ชี้ ข้ออ้างเครื่องแบบสร้างระเบียบ ‘ฟังไม่ขึ้น’
 
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Pinkaew Laungaramsri” โดยระบุว่า 
 
มหาวิทยาลัยนั้นก็มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเครื่องแบบนักศึกษา เรื่องนี้ทุกคนย่อมทราบดี แต่ในทางปฏิบัติ การใส่หรือไม่ใส่เครื่องแบบนักศึกษา อย่างน้อยในมหาวิทยาลัย และในคณะที่ดิฉันสอนอยู่ เป็นเรื่องของ choice มากกว่าการบังคับกันอย่างคอขาดบาดตาย
 
สิ่งที่เกิดขึ้นในคลาสเรียนปกติของทุกวัน จึงมีทั้งนักศึกษาที่เลือกที่จะใส่เครื่องแบบ กับนักศึกษาที่ใส่ชุดไปรเวต ที่เห็นจนชินตาคือ นักศึกษาหญิงบางคน เลือกที่จะใส่เสื้อที่เป็นเครื่องแบบร่วมกับกางเกงยีนส์ มีบางปีที่นักศึกษาบางคนใส่กางเกงนอนมาเรียนตลอดเทอมก็มี นัยว่าอยู่หอใน ตื่นแล้วรีบมาเรียนเลย กลัวไม่ทันคลาส ส่วนเรื่องทรงผมนั้น ไม่ต้องพูดถึง เพราะย้อมกันมาทุกสี
 
ข้ออ้างเรื่องเครื่องแบบเป็นสิ่งที่สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เพราะหากระเบียบหมายถึงการจัดเรียงผู้คน สิ่งของ ให้เป็นไปตามลำดับและแบบแผนเดียวกันแล้ว คำถามสำคัญจึงได้แก่ อะไรล่ะ ควรเป็นสิ่งที่เรียกว่า “แบบแผน” ที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยควรยึดถือในเรื่องการแต่งกาย? สำหรับดิฉันแล้ว หลักใหญ่ใจความของเครื่องแต่งกายในสถานการศึกษา ควรเป็นเรื่องความสุภาพ เหมาะสม และเป็นเครื่องแต่งกายที่ไม่นำไปสู่การรบกวนการเรียนของผู้อื่น หลักการของเครื่องแต่งกายนักเรียนประเภทนี้ เป็นหลักการที่ประเทศที่เจริญแล้วทั่วไปเขาใช้กัน ซึ่งเปิดให้กับทั้งโรงเรียนและนักเรียนใช้วิจารณญาณร่วมๆ กัน ไม่ใช่ท็อปดาวน์โดยไม่เปิดให้มีการฟังเหตุผล

พ.ศ.นี้แล้ว เรายังมาพูดเรื่องเครื่องแบบกับความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยไม่เคยให้ถกเถียงกันว่า คำว่า “ระเบียบ” ควรจะมีความหมายอย่างไรที่มีเหตุมีผล แต่กลับเอาไปผูกติดกับเครื่องแบบบางประเภท มันช่างถอยหลังตกคลองเสียจริงๆ
 
กระทรวงศึกษาพูดกันมาก เรื่องแนวทาง Child-centered/student-centered education หรือการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักการที่เขียนไว้มักจะสวยหรู ว่าเป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนมีความสำคัญสูงสุดในกระบวนการเรียนการสอน เป็นการศึกษาที่เคารพผู้เรียนแต่ละบุคคลและความแตกต่างของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอนและระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง เปิดให้ผู้เรียนเลือกทำโครงงานตามความถนัดและความสนใจ ให้อิสระต่อการเรียนรู้ แนวทางการศึกษาดังกล่าว เชื่อว่าการย้ายความสำคัญจากครูผู้สอนมาที่ตัวนักเรียน ซึ่งครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ของตนเองให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนการสอนดังกล่าวนั้น จะเป็นการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนที่ก้าวหน้าขึ้น คำนึงถึงผู้เรียนมากยิ่งขึ้น

กรณีหยกเป็นกรณีท้าทายและทดสอบแนวทางเรื่อง Child-centered education เป็นอย่างดี หยกปฏิเสธที่จะเข้าแถวเคารพธงชาติ เข้าเรียนวิชาจริยธรรม และกิจกรรมกลุ่ม คำถามคือ มีนักเรียนอีกกี่คนที่รู้สึกเช่นเดียวกับหยก? โรงเรียนเคยได้สอบถาม หรือเปิดให้มีการ voice ความเห็นต่อกิจกรรมและวิชาที่เป็นปัญหานี้ หรือไม่ อย่างไร ที่สำคัญโรงเรียนได้เคยรับฟังเหตุผลของหยกที่มีต่อวิชาที่เป็นปัญหานี้หรือไม่?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่