กระบวนการจัดหาสสร.
ได้ดูคลิปวิดิโอของอาจารย์ลอยซึ่งทำให้เห็นว่าการคัดเลือกสสร.เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชนจริงๆนั้นควรจะต้องมีความระมัดระวังไม่ให้ทำผิดซ้ำซากและได้กลุ่มก้อนการเมืองเดิมซึ่งเห็นประโยชน์ส่วนท้องถิ่นหรือส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมมาร่างรธน. และหลังจากได้ดูข่าววันนี้เกี่ยวกับกลุ่มสว.อิสระก็ดูมีความกังวลไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นเรามาช่วยคิดกันดีไหมว่าเราควรจะคัดสรรสสร.กันอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ลองมาแชร์ความเห็นกัน
จะขอแชร์ความเห็นส่วนตัวก่อนก็แล้วกัน
ในการร่างรธน. ควรมีกลุ่มบุคคล 3 ประเภทที่มาทำหน้าที่นี้
1. ที่ปรึกษาทางกฎหมายหรือคณะกรรมการร่างนิติบัญญัติ
2. ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้มีผลประโยชน์ทางการเมือง
3. คณะทำงานร่างรธน.ผู้ซึ่งรู้ขั้นตอนและกระบวนการในการร่างรธน.
ตัวแทนจากทั้ง3ฝ่ายมีหน้าที่ให้ความรู้ประชาชน ทำการสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ความเห็นของประชาชน และทำการร่างรธน.ใหม่ ไม่ใช่ว่าคัดสรรมาแล้วก็นั่งอยู่ในห้องแอร์ประชุมกันเอง คิดเองเออเอง ดังนั้นส่วนตัวคิดว่ารบ.คงต้องจัดทำplatformอะไรบางอย่างเพื่อทำการสำรวจความเห็นที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าร่างเสร็จ แล้วค่อยทำประชาพิจารณ์ ... ดิชั้นมองว่าวิธีนั้นมันโบราณและประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนตัวเสนอให้ทำplatform online คล้ายๆ twitter นี่แหละ แต่คงต้องจัดหา expert programmer ในการคัดกรองและจัดกลุ่มความเห็นมาด้วย ซึ่งเทคโนโลยีเดี๋ยวนี้มันพัฒนาไปไกลมาก อยากให้รบ.มองช่องทางนี้ให้ดี เพราะการanalyse big data ขนาดนี้ต้องใช้ AI แน่นอน (แบบที่ไม่ใช่AIคัดกรองเยียวยาโควิด) แต่อีกส่วนหนึ่งสำหรับคน low tech ก็ควรต้องมีช่องทางให้เขาแสดงความเห็นเช่นกัน แต่จะทำยังไงให้มีประสิทธิภาพนี่ยังคิดไม่ออก เดินไปอำเภอแล้วหย่อนใบแสดงความคิดเห็นอย่างงี้หรอ???
ส่วนการคัดเลือกสสร. เอาตามแบบอาจารย์ลอยก็ดีนะ อิอิ ตอนแรกมีแนวคิดของตัวเอง แต่พอไปดูของอาจารย์แล้วน่าจะเวิร์คกว่า
กระบวนการจัดหาสสร.
ได้ดูคลิปวิดิโอของอาจารย์ลอยซึ่งทำให้เห็นว่าการคัดเลือกสสร.เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชนจริงๆนั้นควรจะต้องมีความระมัดระวังไม่ให้ทำผิดซ้ำซากและได้กลุ่มก้อนการเมืองเดิมซึ่งเห็นประโยชน์ส่วนท้องถิ่นหรือส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมมาร่างรธน. และหลังจากได้ดูข่าววันนี้เกี่ยวกับกลุ่มสว.อิสระก็ดูมีความกังวลไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นเรามาช่วยคิดกันดีไหมว่าเราควรจะคัดสรรสสร.กันอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ลองมาแชร์ความเห็นกัน
จะขอแชร์ความเห็นส่วนตัวก่อนก็แล้วกัน
ในการร่างรธน. ควรมีกลุ่มบุคคล 3 ประเภทที่มาทำหน้าที่นี้
1. ที่ปรึกษาทางกฎหมายหรือคณะกรรมการร่างนิติบัญญัติ
2. ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้มีผลประโยชน์ทางการเมือง
3. คณะทำงานร่างรธน.ผู้ซึ่งรู้ขั้นตอนและกระบวนการในการร่างรธน.
ตัวแทนจากทั้ง3ฝ่ายมีหน้าที่ให้ความรู้ประชาชน ทำการสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ความเห็นของประชาชน และทำการร่างรธน.ใหม่ ไม่ใช่ว่าคัดสรรมาแล้วก็นั่งอยู่ในห้องแอร์ประชุมกันเอง คิดเองเออเอง ดังนั้นส่วนตัวคิดว่ารบ.คงต้องจัดทำplatformอะไรบางอย่างเพื่อทำการสำรวจความเห็นที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าร่างเสร็จ แล้วค่อยทำประชาพิจารณ์ ... ดิชั้นมองว่าวิธีนั้นมันโบราณและประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนตัวเสนอให้ทำplatform online คล้ายๆ twitter นี่แหละ แต่คงต้องจัดหา expert programmer ในการคัดกรองและจัดกลุ่มความเห็นมาด้วย ซึ่งเทคโนโลยีเดี๋ยวนี้มันพัฒนาไปไกลมาก อยากให้รบ.มองช่องทางนี้ให้ดี เพราะการanalyse big data ขนาดนี้ต้องใช้ AI แน่นอน (แบบที่ไม่ใช่AIคัดกรองเยียวยาโควิด) แต่อีกส่วนหนึ่งสำหรับคน low tech ก็ควรต้องมีช่องทางให้เขาแสดงความเห็นเช่นกัน แต่จะทำยังไงให้มีประสิทธิภาพนี่ยังคิดไม่ออก เดินไปอำเภอแล้วหย่อนใบแสดงความคิดเห็นอย่างงี้หรอ???
ส่วนการคัดเลือกสสร. เอาตามแบบอาจารย์ลอยก็ดีนะ อิอิ ตอนแรกมีแนวคิดของตัวเอง แต่พอไปดูของอาจารย์แล้วน่าจะเวิร์คกว่า