วง RAD ร่วมแร็ป แฟลชม็อบ "สามพระจอม" มจธ. ชูสามนิ้วไล่รัฐบาล
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1918005
นักศึกษา มจธ. พระจอมเกล้าธนบุรี จัดแฟลชม็อบ "สามพระจอมจะยอมได้ไง ศาลาวีรชนจะไม่ใช่ที่หลบฝนอีกต่อไป" ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีวง RAD มาร่วมแร็ป ชูสามนิ้วไล่รัฐบาล
เวลา 17.00 น. วันที่ 25 ส.ค. ที่ศาลาวีรชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กลุ่มนักศึกษา มจธ.ในนาม กลุ่ม KMUTT นำโดย นาย
สราวุฒิ หนูเกลี้ยง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต มจธ.จัดกิจกรรม ชุมนุมปราศรัย
KMUTT Flash Mob สามพระจอมจะยอมได้ไง ศาลาวีรชนจะไม่ใช่ที่หลบฝนอีกต่อไป
โดยมีแกนนำนักศึกษาคนสำคัญจากสถาบันต่างๆ เข้าร่วม อาทิ นาย
สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ แกนนำ มศว ประสานมิตร นาย
กฤษณะ ไก่แก้ว และ
นันทพงศ์ ปานมาศ แกนนำ นศ.รามคำแหง ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมี กลุ่ม iLaw หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายของประชาชน นำโดย นาย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ และ นาย
อานนท์ ชวาลาวัณย์ เดินทางมาตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อ 5 หมื่นชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้รับความสนใจจากนักศึกษาหนุ่มสาว มจธ.เข้าร่วมจำนวนมาก
ยังมีการแสดงดนตรีของวงแร็ป RAD โดย นาย
ปรัชญา สุรกำจรโรจน์ เจ้าของเพลงดังประเทศกูมี พร้อมชวนนักศึกษา มจธ. ชูสามนิ้ว ขับไล่รัฐบาลพร้อมกัน จากนั้นแกนนำได้สลับปราศรัยโจมตีการทำงานรัฐบาล และกล่าวถึงความบกพร่องของ รธน.60 ที่จะต้องเร่งแก้ไข
เยาวชนถกปม 'รธน.' เสนอสภาเดี่ยว อายุ 18 เป็น ส.ส.ได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_2322413
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ที่ห้องประชุม 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว กรุงเทพฯ สถาบันสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิฟรีดีอค เอแบร์ท ประเทศไทย, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) , รัฐธรรมนูญก้าวหน้า (CONLAB) , คณะกรรมการรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย (ภรป.) ร่วมกันจัดกิจกรรม ‘
เยาวชนร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ’ โดยในภาคเช้าเป็นงานเสวนา โดยนักวิชาการ อาทิ ดร.
เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช, นาง
อังคณา นีละไพจิตร, รศ.ดร.
อนุสรณ์ อุณโณ, นาง
สุนี ไชยรส และรศ.ดร.
โคทม อารียา
ส่วนในช่วงบ่ายมีการนำเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มเยาวชน ได้แก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ ม.มหิดล, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ และม.ศิลปากร โดยมี ผศ.ดร.
บัณฑิต จันทรโรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้แทนคณะกรรมธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ร่วมรับฟัง พร้อมด้วย ผศ. ดร.
เอกพันธุ์ ปิณฑุวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษา ม.มหิดล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการแบ่งกลุ่มร่วมถกเถียงและแสดงความเห็นในประเด็นต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) เป็นผู้กล่าวสรุปข้อเสนอ มีใจความสำคัญ อาทิ
1. สิทธิเสรีภาพ ควรได้รับการคุ้มครอง ตราบใดที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ส่วนที่ระบุในรัฐธรรมนูญว่า ต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคง เยาวชนมีความกังวล ควรนำประเด็นนี้ออกไปแล้วเขียนใหม่ให้ชัดเจนว่า ไม่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย
2. การเลือกปฏิบัติ เยาวชนเห็นว่าควรตัดข้อความเรื่องความไม่เป็นธรรมออกไป ซึ่งไม่ใช่เพราะไม่เห็นด้วย แต่กังวลว่าอาจเป็นการเปิดช่องให้ความความได้ว่าแบบไหนเรียกว่าเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม ควรใช้เป็น ‘
การเลือกปฏิบัติจะกระทำมิได้ไม่ว่าจะความแตกต่างเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจ ความคิดเห็นทางการเมือง วัย หรือการศึกษา’
3. ประเด็นรัฐสภา เยาวชนมีข้อเสนอให้มี ‘
สภาเดี่ยว’ ไม่เอาวุฒิสภา ให้สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรง 500 คน วาระ 4 ปี มีอำนาจเสนอกฎหมายต่างๆ อย่างไรก็ตาม เยาวชนบางส่วนเสนอว่า มีวุฒิสภาได้ แต่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ให้มีอำนาจต่างๆเหมือนที่เป็นอยู่ ยกเว้นแต่งตั้งองค์กรอิสระ ให้มีอำนาจอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ แต่ไม่มีอำนาจลงมติ วาระ 4 ปี เลือกตั้งคร่อมระหว่าง ส.ส.และส.ว.
4. ระบบเลือกตั้ง ส.ส.500 คนดังเดิม แต่ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เยาวชนมองต่างกัน 2 แบบ คือ
1. ให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
และ 2.ย้อนไปใช้ระบบสัดส่วนแบบเยอรมันเหมือนปี 40 ที่มา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เยาวชนเสนอให้ใช้ระบบเปิด
5. คุณสมบัติ ส.ส. เยาวชนเสนอให้เริ่มต้นได้ที่อายุ 18 ปี ไม่ต้องสังกัดพรรค ส่วนนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป นายกฯ ต้องเป็น ส.ส. วุฒิปริญญาตรีหรือประสบการณ์เทียบเท่า และต้องไม่ถูกดำเนินคดีจนถึงที่สุดในคดีอาญา นอกจากนี้เยาวชนบางรายเสนอว่า ควรมีการพิจารณาความเหมาะสมด้านสุขภาพด้วย รัฐมนตรี ไม่ต้องเป็น ส.ส. วุฒิปริญญาตรี หรือประสบการณ์ทำงานเทียบเท่า ต้องมีความสามารถเฉพาะด้านนั้นๆ เป็นที่ประจักษ์
6. ส.ว. เกณฑ์ขั้นต่ำอายุ 18 ปี แต่ต้องมีความสามารถเฉพาะด้าน
7. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชน 20,000 คนเพียงพอแล้วสำหรับการยื่นแก้ ในขณะปัจจุบันระบุไว้ 50,000 คน ส่วน สส. เกณฑ์ 100 คน ไม่ควรให้ครม.เสนอได้ ให้อำนาจอยู่ที่ประชาชน ส่วนประเด็นทำประชามติ มีทั้งกลุ่มเยาวชนที่เห็นควรทำ และไม่ต้องทำ
ด้าน นาย
นฤเบศน์ รักษ์วิจิตร อายุ 19 ปี จบการศึกษาชั้น ม.6 จากโรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์วิทยา กล่าวว่า ในสังคมไทยตอนนี้มีการนำอายุมาเป็นเกณฑ์ในการดำเนินการสิ่งต่างๆ ซึ่งสำหรับคนอายุ 18 ปี ส่วนตัวยังไม่ขอพูดถึงประสิทธิภาพต่างๆ ในการดำเนินงาน แต่หากบุคคลนั้นสามารถพิสูจน์กับคนในชุมชนได้ว่ามีประสิทธิภาพจริง เขาย่อมได้รับการเลือกตั้ง แต่หากพิสูจน์ตัวเองไม่ได้ คนก็ไม่เลือก
JJNY : 4in1 แฟลชม็อบ"สามพระจอม"ไล่ รบ./เยาวชนถกปม'รธน.'เสนอสภาเดี่ยว/ป้ายต่อไป!'ท็อป'ไม่รอด/ประมงสงขลาประกาศขายเรือ
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1918005
นักศึกษา มจธ. พระจอมเกล้าธนบุรี จัดแฟลชม็อบ "สามพระจอมจะยอมได้ไง ศาลาวีรชนจะไม่ใช่ที่หลบฝนอีกต่อไป" ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีวง RAD มาร่วมแร็ป ชูสามนิ้วไล่รัฐบาล
เวลา 17.00 น. วันที่ 25 ส.ค. ที่ศาลาวีรชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กลุ่มนักศึกษา มจธ.ในนาม กลุ่ม KMUTT นำโดย นายสราวุฒิ หนูเกลี้ยง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต มจธ.จัดกิจกรรม ชุมนุมปราศรัย KMUTT Flash Mob สามพระจอมจะยอมได้ไง ศาลาวีรชนจะไม่ใช่ที่หลบฝนอีกต่อไป
โดยมีแกนนำนักศึกษาคนสำคัญจากสถาบันต่างๆ เข้าร่วม อาทิ นายสิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ แกนนำ มศว ประสานมิตร นายกฤษณะ ไก่แก้ว และ นันทพงศ์ ปานมาศ แกนนำ นศ.รามคำแหง ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมี กลุ่ม iLaw หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายของประชาชน นำโดย นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ และ นายอานนท์ ชวาลาวัณย์ เดินทางมาตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อ 5 หมื่นชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้รับความสนใจจากนักศึกษาหนุ่มสาว มจธ.เข้าร่วมจำนวนมาก
ยังมีการแสดงดนตรีของวงแร็ป RAD โดย นายปรัชญา สุรกำจรโรจน์ เจ้าของเพลงดังประเทศกูมี พร้อมชวนนักศึกษา มจธ. ชูสามนิ้ว ขับไล่รัฐบาลพร้อมกัน จากนั้นแกนนำได้สลับปราศรัยโจมตีการทำงานรัฐบาล และกล่าวถึงความบกพร่องของ รธน.60 ที่จะต้องเร่งแก้ไข
เยาวชนถกปม 'รธน.' เสนอสภาเดี่ยว อายุ 18 เป็น ส.ส.ได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_2322413
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ที่ห้องประชุม 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว กรุงเทพฯ สถาบันสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิฟรีดีอค เอแบร์ท ประเทศไทย, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) , รัฐธรรมนูญก้าวหน้า (CONLAB) , คณะกรรมการรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย (ภรป.) ร่วมกันจัดกิจกรรม ‘เยาวชนร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ’ โดยในภาคเช้าเป็นงานเสวนา โดยนักวิชาการ อาทิ ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช, นางอังคณา นีละไพจิตร, รศ.ดร. อนุสรณ์ อุณโณ, นางสุนี ไชยรส และรศ.ดร.โคทม อารียา
ส่วนในช่วงบ่ายมีการนำเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มเยาวชน ได้แก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ ม.มหิดล, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ และม.ศิลปากร โดยมี ผศ.ดร. บัณฑิต จันทรโรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้แทนคณะกรรมธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ร่วมรับฟัง พร้อมด้วย ผศ. ดร. เอกพันธุ์ ปิณฑุวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษา ม.มหิดล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการแบ่งกลุ่มร่วมถกเถียงและแสดงความเห็นในประเด็นต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) เป็นผู้กล่าวสรุปข้อเสนอ มีใจความสำคัญ อาทิ
1. สิทธิเสรีภาพ ควรได้รับการคุ้มครอง ตราบใดที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ส่วนที่ระบุในรัฐธรรมนูญว่า ต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคง เยาวชนมีความกังวล ควรนำประเด็นนี้ออกไปแล้วเขียนใหม่ให้ชัดเจนว่า ไม่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย
2. การเลือกปฏิบัติ เยาวชนเห็นว่าควรตัดข้อความเรื่องความไม่เป็นธรรมออกไป ซึ่งไม่ใช่เพราะไม่เห็นด้วย แต่กังวลว่าอาจเป็นการเปิดช่องให้ความความได้ว่าแบบไหนเรียกว่าเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม ควรใช้เป็น ‘การเลือกปฏิบัติจะกระทำมิได้ไม่ว่าจะความแตกต่างเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจ ความคิดเห็นทางการเมือง วัย หรือการศึกษา’
3. ประเด็นรัฐสภา เยาวชนมีข้อเสนอให้มี ‘สภาเดี่ยว’ ไม่เอาวุฒิสภา ให้สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรง 500 คน วาระ 4 ปี มีอำนาจเสนอกฎหมายต่างๆ อย่างไรก็ตาม เยาวชนบางส่วนเสนอว่า มีวุฒิสภาได้ แต่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ให้มีอำนาจต่างๆเหมือนที่เป็นอยู่ ยกเว้นแต่งตั้งองค์กรอิสระ ให้มีอำนาจอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ แต่ไม่มีอำนาจลงมติ วาระ 4 ปี เลือกตั้งคร่อมระหว่าง ส.ส.และส.ว.
4. ระบบเลือกตั้ง ส.ส.500 คนดังเดิม แต่ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เยาวชนมองต่างกัน 2 แบบ คือ
1. ให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
และ 2.ย้อนไปใช้ระบบสัดส่วนแบบเยอรมันเหมือนปี 40 ที่มา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เยาวชนเสนอให้ใช้ระบบเปิด
5. คุณสมบัติ ส.ส. เยาวชนเสนอให้เริ่มต้นได้ที่อายุ 18 ปี ไม่ต้องสังกัดพรรค ส่วนนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป นายกฯ ต้องเป็น ส.ส. วุฒิปริญญาตรีหรือประสบการณ์เทียบเท่า และต้องไม่ถูกดำเนินคดีจนถึงที่สุดในคดีอาญา นอกจากนี้เยาวชนบางรายเสนอว่า ควรมีการพิจารณาความเหมาะสมด้านสุขภาพด้วย รัฐมนตรี ไม่ต้องเป็น ส.ส. วุฒิปริญญาตรี หรือประสบการณ์ทำงานเทียบเท่า ต้องมีความสามารถเฉพาะด้านนั้นๆ เป็นที่ประจักษ์
6. ส.ว. เกณฑ์ขั้นต่ำอายุ 18 ปี แต่ต้องมีความสามารถเฉพาะด้าน
7. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชน 20,000 คนเพียงพอแล้วสำหรับการยื่นแก้ ในขณะปัจจุบันระบุไว้ 50,000 คน ส่วน สส. เกณฑ์ 100 คน ไม่ควรให้ครม.เสนอได้ ให้อำนาจอยู่ที่ประชาชน ส่วนประเด็นทำประชามติ มีทั้งกลุ่มเยาวชนที่เห็นควรทำ และไม่ต้องทำ
ด้าน นายนฤเบศน์ รักษ์วิจิตร อายุ 19 ปี จบการศึกษาชั้น ม.6 จากโรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์วิทยา กล่าวว่า ในสังคมไทยตอนนี้มีการนำอายุมาเป็นเกณฑ์ในการดำเนินการสิ่งต่างๆ ซึ่งสำหรับคนอายุ 18 ปี ส่วนตัวยังไม่ขอพูดถึงประสิทธิภาพต่างๆ ในการดำเนินงาน แต่หากบุคคลนั้นสามารถพิสูจน์กับคนในชุมชนได้ว่ามีประสิทธิภาพจริง เขาย่อมได้รับการเลือกตั้ง แต่หากพิสูจน์ตัวเองไม่ได้ คนก็ไม่เลือก