โมเดล รธน.ฉบับประชาชน-ทางลง 'ประยุทธ์' กางสูตรแก้ไข รธน. โดย 'ปิยบุตร-โภคิน'
https://voicetv.co.th/read/4KYqup0__
'โภคิน พลกุล' และ 'ปิยบุตร แสงกนกกุล' ตัวแทน กมธ.ศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ฝ่ายค้าน เสนอตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน สร้างฉันทามติในสังคม เลี่ยงการนองเลือด
โภคิน พลกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สภาผู้แทนราษฎร และ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้าและ กมธ.ชุดดังกล่าว ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ
'วอยซ์ออนไลน์' ถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โภคิน เริ่มต้นเกริ่นถึงรัฐธรรมนูญปี 2534 ที่มีการแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตยในปี 2538 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ในสมัยของ
บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นตนเป็นรองประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนนำแนวคิดนี้มาใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากตอนนี้ทุกฝ่ายเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีข้อบกพร่องและจุดอ่อนมากมายจึงเสนอเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.เพิ่มหมวดที่ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกคนเข้าไปร่างรัฐธรรมนูญและทำประชามติ ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่ต้องกีดกันใครออกไป และไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ ไม่กระทบอำนาจ ส.ว. 2.ระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญของ สสร. ก็เปิดให้มีการแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นอื่นๆ
ตอนนี้ทางพรรคฝ่ายค้านได้จัดทำร่างกฎหมายที่เพิ่มเติมหมวดการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วและจะเสนอเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 17 ส.ค.นี้ โดยคาดว่าขั้นตอนหลังจากนี้คือ ใช้เวลา 15 วันในการบรรจุวาระและพิจารณาวาระ 1 จากนั้นหากรับหลักการก็ไปสู่วาระที่ 2 ตั้งกรรมาธิการภายใน 1 เดือน รอ 15 วันเข้าวาระที่ 3 แล้วจึงไปทำประชามติใช้เวลา 6 เดือน จะได้ ส.ส.ร. ดีกว่าการรอรายงานจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กว่าจะเสร็จ กว่าจะเสนอสภา และให้สภารับรอง แต่ที่โภคินย้ำคือ หากต้องการให้ประเด็นแรกผ่าน ต้องไม่ไปกระทบใครในทันที ไม่ต้องไปลดอำนาจใคร แต่ประชาชนจะได้เห็นว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้ามา
ด้าน
ปิยบุตร กล่าวว่า ข้อเสนอของตนก็ไม่ต่างจาก
โภคิน มากนัก คือ การแก้ไขมาตรา 256 ว่าด้วยเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ใช้เสียงเพียงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา เหมือนรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540, 2550 และเพิ่มหมวด 15/1 ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย ส.ส.ร. แต่จากอุณหภูมิทางการเมืองตอนนี้ ข้อเรียกร้องของเยาวชนที่มองว่า รัฐบาลชุดนี้เกิดมาจากการสืบทอดอำนาจจาก คสช. และวุฒิสภา 250 คนตามบทเฉพาะกาลเป็นอุปสรรคที่ทำให้การเลือกตั้งไม่ตอบสนองความเป็นจริง
อย่างไรก็ตาม ส.ว. ได้ปฏิบัติภารกิจการสืบทอดอำนาจก็ได้ทำไปแล้วคือโหวตให้พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่รัฐบาลเองตอนนี้ก็มีจำนวน ส.ส. ทิ้งห่างฝ่ายค้านไปกว่า 60 เสียงแล้ว ตนจึงเสนอให้ยกเลิก ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 269-272 ซึ่งหากทำตามข้อเสนอนี้ก็จะชนะด้วยกันทุกฝ่าย นายกรัฐมนตรีเองก็จะสง่าผ่าเผยมากขึ้น โดยไม่มี ส.ว. ค้ำบัลลังก์ แล้วถ้ามีการยุบสภาก็จะเป็นไพ่ที่ใช้ผ่าทางตันของประเทศได้จริง
ขณะเดียวกันเมื่อ ส.ว. พ้นสภาพไปก็สามารถมาสมัครใหม่ตามกระบวนการสรรหา ส.ว. 200 คนตามระบบปกติในมาตรา 107 เพราะเรื่อง ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลให้แตะขึ้นมาก็ต้องร้องยี้พร้อมกัน ซึ่งหากแก้ตรงนี้ก็จะลดอุณหภูมิทางการเมืองลงได้ และยกเลิกมาตรา 279 ที่ว่าด้วยรับรองประกาศคำสั่งและการใช้อำนาจของ คสช. ให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตรงนี้เป็นไปตามหลักการในรัฐธรรมนูญเพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีอำนาจสูงสุด ศาลรัฐธรรมนูญมีโอกาสตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช. ซึ่งศาลอาจจะบอกว่าทั้งหมดชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็เป็นได้ แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปิดช่องทางให้ประชาชนได้โต้แย้งการใช้อำนาจของ คสช.
“เราฝันอยากจะเห็นสภาร่างรัฐธรรมนูญจากการเลือกตั้งของประชาชนแล้วก็เข้ามาทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้ามาแทนที่ มันเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นฉันทามติร่วมกันของสังคมไทย เพราะว่าตั้งแต่รัฐประหาร 2549 มารัฐธรรมนูญ 4 ฉบับสุดท้ายเป็นฉบับแก้แค้นเอาคืน เป็นรัฐธรรมนูญที่ผู้ชนะยึดเอาไว้เขียนเองหมด แต่รัฐธรรมนูญที่ดีจะเป็นของผู้ชนะไม่ได้ คนเขียนต้องจินตนาการด้วยว่าคนเขียนวันหนึ่งอาจจะเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายข้างน้อย ดังนั้นต้องหากติการ่วมกันที่ทุกคนเป็นเจ้าของ” ปิยบุตร กล่าว
ประเด็นเร่งด่วน 'ยกเลิก ส.ว.-ยุติการรับรองคำสั่งรัฐประหาร'
อย่างไรก็ตาม
ปิยบุตร กล่าวว่าในระหว่างทางที่จะมี ส.ส.ร. บางประเด็นที่ต้องแก้ไขสามารถเสนอเป็นญัตติการแก้รัฐธรรมนูญ โดย ส.ส. 100 คน, คณะรัฐมนตรี หรือประชาชน 50,000 คน ดังนั้นจึงสามารถเสนอเข้าไปได้ตลอด แต่ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่านเท่านั้นเอง พูดกันตามตรงคือ ถ้าจะให้ผ่านต้องพูดคุยกันก่อนว่าจะยอมรับกันได้หรือไม่ ให้ทุกฝ่ายเห็นร่วมกัน เช่น ข้อเสนอของตนอาจจะไม่ได้รับการตลอดสนองหมด แต่เป็นทางเลือก หลายคนบอกว่าต้องแก้กฎหมายเลือกตั้ง หลายคนบอกว่า ต้องแก้ยุทธศาสตร์ชาติ แต่ท้ายที่สุดคือ ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ผ่าน ส.ส.ร.
ขณะที่
โภคิน เห็นด้วยว่าประเด็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขในรัฐธรรมนูญ คือ มาตรา 279 ซึ่งทำให้ประกาศหรือคำสั่งของ คสช. ใหญ่กว่าบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ ประกาศคณะปฏิวัติเหล่านี้ไม่เคยถูกยกเลิก แล้วพอมาบอกว่ามันชอบด้วยรัฐธรรมนูญหมด สิทธิเสรีภาพที่รับรองไว้ก็ไม่เป็นจริง ซึ่งตรงนี้ตนมองว่าการแก้ไขไม่ได้ไปขัดแย้งกับใคร แต่จะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์
ส่วนเรื่อง ส.ว. ตนเห็นว่าบทเฉพาะกาลมีไว้เพื่อเปลี่ยนผ่าน แต่สิ่งที่รัฐธรรมนูญ 2560 หรือรัฐธรรมนูญที่ทำขึ้นมาหลังรัฐประหารจะมีเรื่องการสืบทอดอำนาจเข้ามาตลอด แต่สิ่งแรกคือต้องมี ส.ส.ร. ให้คนเห็นว่าอีกหนึ่งปีกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นของประชาชน ตอนนี้ประชาชนหลายคนมีข้อมูล มีความรู้ คนจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แล้วทำไมเขาไม่ได้ใช้
“น้องๆ นักศึกษาหรือประชาชนก็มองว่าอันนี้มันประเทศของใคร อันนี้คือสำคัญ แต่ถ้าผู้มีอำนาจเห็นว่าตรงนี้มันสามารถปลดเปลื้องไปได้ก็ช่วยกันมองไปข้างหน้า ได้อำนาจมาโดยชอบไม่ชอบไม่ว่ากันแล้ว แต่วันนี้ขอเดินไปข้างหน้าให้ทุกคนไปในทิศทางที่เป็นพี่เป็นน้องกันมันต้องทำแบบนี้ ถ้ายังคิดว่าเป็นศัตรู ยังคิดว่าฉันจะเอาเปรียบแบบนี้ มันไม่ได้เกิดอะไรขึ้นนอกจากสร้างความหวาดระแวง ที่ผมกลัวก็คือจากความหวาดระแวงไม่สบายใจกลายเป็นความโกรธ ถ้าโกรธพัฒนาเป็นเกลียดชัง มันอันตราย มันจะไม่ฟังกันแล้ว เพราะฉะนั้นอันนี้มันต้องให้เป็นว่ามันมีแสงสว่างเสมอที่ในที่สุดแล้วทุกคนคุยกันได้ทุกคนเดินในทิศทางเดียวกันได้” โภคิน กล่าว
อุปสรรคขวางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
เมื่อถามถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ปิยบุตร บอกว่า ถ้าดูจากมาตรา 256 ก็จะรู้อุปสรรคอยู่ตรงที่จะเอาเสียง ส.ว. 84 คนมาได้อย่างไร ถ้าไม่ได้เสียง ส.ว. ก็ตกตั้งแต่วาระแรก และอุปสรรคสุดท้ายคือเราไม่มีทางรู้ว่าผลประชามติจะเป็นอย่างไรภายใต้กลไกรัฐที่เป็นแบบนี้ แต่ตนเชื่อว่าถ้าประชาชนสนับสนุนกันมหาศาล การบิดผันการลงประชามติเหมือนครั้งก่อนคงทำไม่ได้ แต่ต้องทำให้ ส.ว. 84 คนเห็นก่อนว่านี่คือทางออกของประเทศ มีคนไม่พอใจรัฐบาล และ ส.ว.
ดังนั้นตอนนี้เรามีโอกาสที่จะคลี่คลายปัญหาอย่างสันติ แต่ถ้าปล่อยไว้จะไถลออกไปอย่างย้อนกลับมาแก้ไขไม่ได้ อย่างไรก็ตามตนมองว่าเหตุผลที่ ส.ว. หลายคนยกมาอ้างว่าไม่เห็นด้วยในการแก้ 256 และจัดตั้ง ส.ส.ร. เป็นเหตุผลที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญซึ่งระบุแนวทางแก้ไขไว้และขณะเดียวกันข้ออ้างว่าการแก้ทั้งฉบับเหมือนเซ็นเช็คเปล่า ก็ย้อนแย้งกับตอนยึดอำนาจที่ฉีกรัฐธรรมนูญและเขียนใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งคนก็จะมองว่า ส.ว. หวงอำนาจ
โภคิน กล่าวเสริมว่าเบื้องต้นต้องมี ส.ส.ร. ก่อน เพราะตอนนี้เดินไปต่อไม่ได้เป็นความขัดแย้งระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ที่มองว่าคนรุ่นเก่าหวงอำนาจ แต่ถ้าได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนก็จบ แล้วถ้าเขาร่างมาแล้วเหมือนฉบับปัจจุบัน ผมก็ต้องยอมรับเหมือนกันเพราะประชาชนเขาจะเอาอย่างนั้น ทั้งนี้ตนเห็นว่าจะเป็นทางลงที่สง่างามของรัฐบาลที่เคยยึดอำนาจมา แก้ไขสิ่งที่คนต่อว่าก็จะได้รับคำชื่นชม จะดันไปจนกว่าจะตีกันไปข้างแบบนี้ไม่มีประโยชน์
“ทั้งหมดต้องโยนกลับไปประชาชน ถ้าเรามองว่าประชาชนคือเจ้าของอำนาจ เขาเอาอย่างไรเราจบตามนั้น แต่ระหว่างเขาร่างไม่ใช่ว่าทุกคนไปนั่งดู เขารับฟังความคิดเห็นก็ไปให้ความคิดเห็นอะไรต่างๆ ได้เต็มที่ เพียงแต่อย่างเดียวว่าอำนาจรัฐอย่าไปเกี่ยวข้อง ตามสบาย พอมัน Free and Fair คือเสรีและเป็นธรรมหมดไม่มีใครว่าใครได้ แล้วเราจบแบบนี้ แล้วผมเชื่อว่าถ้าเรามีฉบับนี้ขึ้นมาทหารก็ไม่กล้ายึดอำนาจง่ายๆ อีกต่อไป เพราะมันไปฝืนประชาชนทั้งหมด” โภคิน กล่าว
โภคิน กล่าวต่ออีกว่า ถ้าพูดกันเล่นๆ ว่าถ้านายกรัฐมนตรีลาออกแล้วพรรคฝ่ายค้านจะได้เป็นรัฐบาล ตนก็จะไม่ยอมให้พรรคเพื่อไทยเข้าร่วมหากไม่มี ส.ส.ร. เพราะเป็นรัฐบาลไปก็บริหารประเทศไม่ได้ เป็นไปก็เจ๊ง เพราะกลไกในรัฐธรรมนูญมันพิลึก มองง่ายๆ ว่ากฎหมายที่ไม่จำเป็นขัดขวางการทำมาหากินต้องแก้ไข ส.ส. ก็ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ยังไม่ผลักดันกฎหมายเลย ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ กลับมาแทนที่นโยบายของรัฐบาล รัฐบาลไม่ได้ทำนโยบายของตัวเองแต่เอาพวกนี้มารวมเฉยๆ
โภคินกล่าวว่าวิธีที่จะเตะถ่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ประการแรกคือการดึงเวลาในวาระ 2 ชั้นกรรมาธิการให้พิจารณาไม่เสร็จ แต่สังคมจับตามองก็น่าจะทำยาก และถ้าจะล้มก็คือไม่โหวตให้ผ่านในวาระที่ 3
ประการที่ 2 คือ การทำประชามติ ซึ่งรัฐบาลอาจจะอ้างได้ว่าไม่มีกฎหมายประชามติ ซึ่งในรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (8) กำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมต้องไปทำประชามติ ซึ่งความจริงมันเดินไปได้ ปัญหาสำคัญคือผู้บริหารประเทศต้องเชื่อว่าประชาชนฉลาดพอที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองเลือก ถ้าเลือกรัฐบาลแล้วไม่ดี ครั้งหน้าเขาก็เลือกใหม่ ไม่ต้องห่วงว่าคนจะทำมาหากินไม่เป็น แต่รัฐธรมนูญต้องไม่ขัดขวางการทำมาหากินของประชาชน
ปิยบุตร กล่าวว่า อำนาจรัฐอยู่ในมือรับบาลโอกาสที่จะเตะถ่วงยังเป็นไปได้เสมอ แต่ตนก็หวังว่ารัฐบาลจะไม่ปิดหูปิดตาว่ามีเสียงเรียกร้องของประชาชนมากขึ้น และถ้ายิ่งเตะถ่วงก็จะยิ่งเติมเชื้อไฟ แต่ถ้าจะป้องกันการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญเหมือนฉบับ
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ก็สามารถเขียนไปได้ให้หมวดแก้ไขเพิ่มเติมว่าต้องร่างให้เสร็จภายในกี่วัน หรือถ้าไม่เสร็จให้เอารัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้
ยุบ-ไม่ยุบสภา ไม่ใช่ทางออก แต่เป็นการนับ 1 ใหม่
เมื่อถามถึงข้อเสนอยุบสภา
โภคิน ตอบว่า ถ้ายุบสภาตอนนี้ไปเลือกตั้งใหม่ก็จะได้กลไกแบบเดิมกลับมาใหม่หมดทุกอย่าง แล้วก็ต้องมานับหนึ่งใหม่ แล้วถ้าจะตั้งรัฐบาลก็ต้องมีเกือบ 30 พรรค ต้องอาศัยคนที่คุม ส.ว. ได้จึงจะอยู่ได้ หรือถ้าฝ่ายประชาธิปไตยได้คะแนนข้างมากก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ หรือถ้าตั้งได้ก็บริหารประเทศไม่ได้ เพราะองค์กรอิสระและศาลไม่ได้อยู่ข้างประชาธิปไตย เป็นอุปสรรคเต็มไปหมด จึงต้องจัดความสำคัญว่าข้อไหนที่จะไม่มีใครได้เปรียบ และถ้าตั้ง ส.ส.ร. แล้วจะยุบสภาก็ไม่เป็นไร เพราะคนรู้ว่าอีกหน่อยก็จะได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนแล้ว หรือแม้ว่าจะมีคนเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออกแล้วเป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อให้ไม่มีอำนาจเต็ม แต่ปัญหาอยู่ที่รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ใช้แบบชั่วคราวให้หมุนไปเรื่อยๆ ยิ่งเสียเวลา สู้แก้ทีเดียวไม่ได้
JJNY : โมเดล รธน.ฉบับปชช.โดย'ปิยบุตร-โภคิน'/พท.ยื่นแก้รธน.ตั้งสสร.17ส.ค./ห่วงป้อมไม่ใส่แมสก์/ชิ้นส่วนหนีตายยอดขายหด
https://voicetv.co.th/read/4KYqup0__
โภคิน พลกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สภาผู้แทนราษฎร และ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้าและ กมธ.ชุดดังกล่าว ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ 'วอยซ์ออนไลน์' ถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โภคิน เริ่มต้นเกริ่นถึงรัฐธรรมนูญปี 2534 ที่มีการแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตยในปี 2538 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ในสมัยของ บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นตนเป็นรองประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนนำแนวคิดนี้มาใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากตอนนี้ทุกฝ่ายเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีข้อบกพร่องและจุดอ่อนมากมายจึงเสนอเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.เพิ่มหมวดที่ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกคนเข้าไปร่างรัฐธรรมนูญและทำประชามติ ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่ต้องกีดกันใครออกไป และไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ ไม่กระทบอำนาจ ส.ว. 2.ระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญของ สสร. ก็เปิดให้มีการแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นอื่นๆ
ตอนนี้ทางพรรคฝ่ายค้านได้จัดทำร่างกฎหมายที่เพิ่มเติมหมวดการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วและจะเสนอเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 17 ส.ค.นี้ โดยคาดว่าขั้นตอนหลังจากนี้คือ ใช้เวลา 15 วันในการบรรจุวาระและพิจารณาวาระ 1 จากนั้นหากรับหลักการก็ไปสู่วาระที่ 2 ตั้งกรรมาธิการภายใน 1 เดือน รอ 15 วันเข้าวาระที่ 3 แล้วจึงไปทำประชามติใช้เวลา 6 เดือน จะได้ ส.ส.ร. ดีกว่าการรอรายงานจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กว่าจะเสร็จ กว่าจะเสนอสภา และให้สภารับรอง แต่ที่โภคินย้ำคือ หากต้องการให้ประเด็นแรกผ่าน ต้องไม่ไปกระทบใครในทันที ไม่ต้องไปลดอำนาจใคร แต่ประชาชนจะได้เห็นว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้ามา
ด้าน ปิยบุตร กล่าวว่า ข้อเสนอของตนก็ไม่ต่างจาก โภคิน มากนัก คือ การแก้ไขมาตรา 256 ว่าด้วยเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ใช้เสียงเพียงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา เหมือนรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540, 2550 และเพิ่มหมวด 15/1 ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย ส.ส.ร. แต่จากอุณหภูมิทางการเมืองตอนนี้ ข้อเรียกร้องของเยาวชนที่มองว่า รัฐบาลชุดนี้เกิดมาจากการสืบทอดอำนาจจาก คสช. และวุฒิสภา 250 คนตามบทเฉพาะกาลเป็นอุปสรรคที่ทำให้การเลือกตั้งไม่ตอบสนองความเป็นจริง
อย่างไรก็ตาม ส.ว. ได้ปฏิบัติภารกิจการสืบทอดอำนาจก็ได้ทำไปแล้วคือโหวตให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่รัฐบาลเองตอนนี้ก็มีจำนวน ส.ส. ทิ้งห่างฝ่ายค้านไปกว่า 60 เสียงแล้ว ตนจึงเสนอให้ยกเลิก ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 269-272 ซึ่งหากทำตามข้อเสนอนี้ก็จะชนะด้วยกันทุกฝ่าย นายกรัฐมนตรีเองก็จะสง่าผ่าเผยมากขึ้น โดยไม่มี ส.ว. ค้ำบัลลังก์ แล้วถ้ามีการยุบสภาก็จะเป็นไพ่ที่ใช้ผ่าทางตันของประเทศได้จริง
ขณะเดียวกันเมื่อ ส.ว. พ้นสภาพไปก็สามารถมาสมัครใหม่ตามกระบวนการสรรหา ส.ว. 200 คนตามระบบปกติในมาตรา 107 เพราะเรื่อง ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลให้แตะขึ้นมาก็ต้องร้องยี้พร้อมกัน ซึ่งหากแก้ตรงนี้ก็จะลดอุณหภูมิทางการเมืองลงได้ และยกเลิกมาตรา 279 ที่ว่าด้วยรับรองประกาศคำสั่งและการใช้อำนาจของ คสช. ให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตรงนี้เป็นไปตามหลักการในรัฐธรรมนูญเพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีอำนาจสูงสุด ศาลรัฐธรรมนูญมีโอกาสตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช. ซึ่งศาลอาจจะบอกว่าทั้งหมดชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็เป็นได้ แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปิดช่องทางให้ประชาชนได้โต้แย้งการใช้อำนาจของ คสช.
“เราฝันอยากจะเห็นสภาร่างรัฐธรรมนูญจากการเลือกตั้งของประชาชนแล้วก็เข้ามาทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้ามาแทนที่ มันเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นฉันทามติร่วมกันของสังคมไทย เพราะว่าตั้งแต่รัฐประหาร 2549 มารัฐธรรมนูญ 4 ฉบับสุดท้ายเป็นฉบับแก้แค้นเอาคืน เป็นรัฐธรรมนูญที่ผู้ชนะยึดเอาไว้เขียนเองหมด แต่รัฐธรรมนูญที่ดีจะเป็นของผู้ชนะไม่ได้ คนเขียนต้องจินตนาการด้วยว่าคนเขียนวันหนึ่งอาจจะเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายข้างน้อย ดังนั้นต้องหากติการ่วมกันที่ทุกคนเป็นเจ้าของ” ปิยบุตร กล่าว
ประเด็นเร่งด่วน 'ยกเลิก ส.ว.-ยุติการรับรองคำสั่งรัฐประหาร'
อย่างไรก็ตาม ปิยบุตร กล่าวว่าในระหว่างทางที่จะมี ส.ส.ร. บางประเด็นที่ต้องแก้ไขสามารถเสนอเป็นญัตติการแก้รัฐธรรมนูญ โดย ส.ส. 100 คน, คณะรัฐมนตรี หรือประชาชน 50,000 คน ดังนั้นจึงสามารถเสนอเข้าไปได้ตลอด แต่ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่านเท่านั้นเอง พูดกันตามตรงคือ ถ้าจะให้ผ่านต้องพูดคุยกันก่อนว่าจะยอมรับกันได้หรือไม่ ให้ทุกฝ่ายเห็นร่วมกัน เช่น ข้อเสนอของตนอาจจะไม่ได้รับการตลอดสนองหมด แต่เป็นทางเลือก หลายคนบอกว่าต้องแก้กฎหมายเลือกตั้ง หลายคนบอกว่า ต้องแก้ยุทธศาสตร์ชาติ แต่ท้ายที่สุดคือ ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ผ่าน ส.ส.ร.
ขณะที่ โภคิน เห็นด้วยว่าประเด็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขในรัฐธรรมนูญ คือ มาตรา 279 ซึ่งทำให้ประกาศหรือคำสั่งของ คสช. ใหญ่กว่าบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ ประกาศคณะปฏิวัติเหล่านี้ไม่เคยถูกยกเลิก แล้วพอมาบอกว่ามันชอบด้วยรัฐธรรมนูญหมด สิทธิเสรีภาพที่รับรองไว้ก็ไม่เป็นจริง ซึ่งตรงนี้ตนมองว่าการแก้ไขไม่ได้ไปขัดแย้งกับใคร แต่จะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์
ส่วนเรื่อง ส.ว. ตนเห็นว่าบทเฉพาะกาลมีไว้เพื่อเปลี่ยนผ่าน แต่สิ่งที่รัฐธรรมนูญ 2560 หรือรัฐธรรมนูญที่ทำขึ้นมาหลังรัฐประหารจะมีเรื่องการสืบทอดอำนาจเข้ามาตลอด แต่สิ่งแรกคือต้องมี ส.ส.ร. ให้คนเห็นว่าอีกหนึ่งปีกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นของประชาชน ตอนนี้ประชาชนหลายคนมีข้อมูล มีความรู้ คนจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แล้วทำไมเขาไม่ได้ใช้
“น้องๆ นักศึกษาหรือประชาชนก็มองว่าอันนี้มันประเทศของใคร อันนี้คือสำคัญ แต่ถ้าผู้มีอำนาจเห็นว่าตรงนี้มันสามารถปลดเปลื้องไปได้ก็ช่วยกันมองไปข้างหน้า ได้อำนาจมาโดยชอบไม่ชอบไม่ว่ากันแล้ว แต่วันนี้ขอเดินไปข้างหน้าให้ทุกคนไปในทิศทางที่เป็นพี่เป็นน้องกันมันต้องทำแบบนี้ ถ้ายังคิดว่าเป็นศัตรู ยังคิดว่าฉันจะเอาเปรียบแบบนี้ มันไม่ได้เกิดอะไรขึ้นนอกจากสร้างความหวาดระแวง ที่ผมกลัวก็คือจากความหวาดระแวงไม่สบายใจกลายเป็นความโกรธ ถ้าโกรธพัฒนาเป็นเกลียดชัง มันอันตราย มันจะไม่ฟังกันแล้ว เพราะฉะนั้นอันนี้มันต้องให้เป็นว่ามันมีแสงสว่างเสมอที่ในที่สุดแล้วทุกคนคุยกันได้ทุกคนเดินในทิศทางเดียวกันได้” โภคิน กล่าว
อุปสรรคขวางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
เมื่อถามถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปิยบุตร บอกว่า ถ้าดูจากมาตรา 256 ก็จะรู้อุปสรรคอยู่ตรงที่จะเอาเสียง ส.ว. 84 คนมาได้อย่างไร ถ้าไม่ได้เสียง ส.ว. ก็ตกตั้งแต่วาระแรก และอุปสรรคสุดท้ายคือเราไม่มีทางรู้ว่าผลประชามติจะเป็นอย่างไรภายใต้กลไกรัฐที่เป็นแบบนี้ แต่ตนเชื่อว่าถ้าประชาชนสนับสนุนกันมหาศาล การบิดผันการลงประชามติเหมือนครั้งก่อนคงทำไม่ได้ แต่ต้องทำให้ ส.ว. 84 คนเห็นก่อนว่านี่คือทางออกของประเทศ มีคนไม่พอใจรัฐบาล และ ส.ว.
ดังนั้นตอนนี้เรามีโอกาสที่จะคลี่คลายปัญหาอย่างสันติ แต่ถ้าปล่อยไว้จะไถลออกไปอย่างย้อนกลับมาแก้ไขไม่ได้ อย่างไรก็ตามตนมองว่าเหตุผลที่ ส.ว. หลายคนยกมาอ้างว่าไม่เห็นด้วยในการแก้ 256 และจัดตั้ง ส.ส.ร. เป็นเหตุผลที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญซึ่งระบุแนวทางแก้ไขไว้และขณะเดียวกันข้ออ้างว่าการแก้ทั้งฉบับเหมือนเซ็นเช็คเปล่า ก็ย้อนแย้งกับตอนยึดอำนาจที่ฉีกรัฐธรรมนูญและเขียนใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งคนก็จะมองว่า ส.ว. หวงอำนาจ
โภคิน กล่าวเสริมว่าเบื้องต้นต้องมี ส.ส.ร. ก่อน เพราะตอนนี้เดินไปต่อไม่ได้เป็นความขัดแย้งระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ที่มองว่าคนรุ่นเก่าหวงอำนาจ แต่ถ้าได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนก็จบ แล้วถ้าเขาร่างมาแล้วเหมือนฉบับปัจจุบัน ผมก็ต้องยอมรับเหมือนกันเพราะประชาชนเขาจะเอาอย่างนั้น ทั้งนี้ตนเห็นว่าจะเป็นทางลงที่สง่างามของรัฐบาลที่เคยยึดอำนาจมา แก้ไขสิ่งที่คนต่อว่าก็จะได้รับคำชื่นชม จะดันไปจนกว่าจะตีกันไปข้างแบบนี้ไม่มีประโยชน์
“ทั้งหมดต้องโยนกลับไปประชาชน ถ้าเรามองว่าประชาชนคือเจ้าของอำนาจ เขาเอาอย่างไรเราจบตามนั้น แต่ระหว่างเขาร่างไม่ใช่ว่าทุกคนไปนั่งดู เขารับฟังความคิดเห็นก็ไปให้ความคิดเห็นอะไรต่างๆ ได้เต็มที่ เพียงแต่อย่างเดียวว่าอำนาจรัฐอย่าไปเกี่ยวข้อง ตามสบาย พอมัน Free and Fair คือเสรีและเป็นธรรมหมดไม่มีใครว่าใครได้ แล้วเราจบแบบนี้ แล้วผมเชื่อว่าถ้าเรามีฉบับนี้ขึ้นมาทหารก็ไม่กล้ายึดอำนาจง่ายๆ อีกต่อไป เพราะมันไปฝืนประชาชนทั้งหมด” โภคิน กล่าว
โภคิน กล่าวต่ออีกว่า ถ้าพูดกันเล่นๆ ว่าถ้านายกรัฐมนตรีลาออกแล้วพรรคฝ่ายค้านจะได้เป็นรัฐบาล ตนก็จะไม่ยอมให้พรรคเพื่อไทยเข้าร่วมหากไม่มี ส.ส.ร. เพราะเป็นรัฐบาลไปก็บริหารประเทศไม่ได้ เป็นไปก็เจ๊ง เพราะกลไกในรัฐธรรมนูญมันพิลึก มองง่ายๆ ว่ากฎหมายที่ไม่จำเป็นขัดขวางการทำมาหากินต้องแก้ไข ส.ส. ก็ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ยังไม่ผลักดันกฎหมายเลย ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ กลับมาแทนที่นโยบายของรัฐบาล รัฐบาลไม่ได้ทำนโยบายของตัวเองแต่เอาพวกนี้มารวมเฉยๆ
โภคินกล่าวว่าวิธีที่จะเตะถ่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ประการแรกคือการดึงเวลาในวาระ 2 ชั้นกรรมาธิการให้พิจารณาไม่เสร็จ แต่สังคมจับตามองก็น่าจะทำยาก และถ้าจะล้มก็คือไม่โหวตให้ผ่านในวาระที่ 3
ประการที่ 2 คือ การทำประชามติ ซึ่งรัฐบาลอาจจะอ้างได้ว่าไม่มีกฎหมายประชามติ ซึ่งในรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (8) กำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมต้องไปทำประชามติ ซึ่งความจริงมันเดินไปได้ ปัญหาสำคัญคือผู้บริหารประเทศต้องเชื่อว่าประชาชนฉลาดพอที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองเลือก ถ้าเลือกรัฐบาลแล้วไม่ดี ครั้งหน้าเขาก็เลือกใหม่ ไม่ต้องห่วงว่าคนจะทำมาหากินไม่เป็น แต่รัฐธรมนูญต้องไม่ขัดขวางการทำมาหากินของประชาชน
ปิยบุตร กล่าวว่า อำนาจรัฐอยู่ในมือรับบาลโอกาสที่จะเตะถ่วงยังเป็นไปได้เสมอ แต่ตนก็หวังว่ารัฐบาลจะไม่ปิดหูปิดตาว่ามีเสียงเรียกร้องของประชาชนมากขึ้น และถ้ายิ่งเตะถ่วงก็จะยิ่งเติมเชื้อไฟ แต่ถ้าจะป้องกันการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญเหมือนฉบับ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ก็สามารถเขียนไปได้ให้หมวดแก้ไขเพิ่มเติมว่าต้องร่างให้เสร็จภายในกี่วัน หรือถ้าไม่เสร็จให้เอารัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้
ยุบ-ไม่ยุบสภา ไม่ใช่ทางออก แต่เป็นการนับ 1 ใหม่
เมื่อถามถึงข้อเสนอยุบสภา โภคิน ตอบว่า ถ้ายุบสภาตอนนี้ไปเลือกตั้งใหม่ก็จะได้กลไกแบบเดิมกลับมาใหม่หมดทุกอย่าง แล้วก็ต้องมานับหนึ่งใหม่ แล้วถ้าจะตั้งรัฐบาลก็ต้องมีเกือบ 30 พรรค ต้องอาศัยคนที่คุม ส.ว. ได้จึงจะอยู่ได้ หรือถ้าฝ่ายประชาธิปไตยได้คะแนนข้างมากก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ หรือถ้าตั้งได้ก็บริหารประเทศไม่ได้ เพราะองค์กรอิสระและศาลไม่ได้อยู่ข้างประชาธิปไตย เป็นอุปสรรคเต็มไปหมด จึงต้องจัดความสำคัญว่าข้อไหนที่จะไม่มีใครได้เปรียบ และถ้าตั้ง ส.ส.ร. แล้วจะยุบสภาก็ไม่เป็นไร เพราะคนรู้ว่าอีกหน่อยก็จะได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนแล้ว หรือแม้ว่าจะมีคนเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออกแล้วเป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อให้ไม่มีอำนาจเต็ม แต่ปัญหาอยู่ที่รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ใช้แบบชั่วคราวให้หมุนไปเรื่อยๆ ยิ่งเสียเวลา สู้แก้ทีเดียวไม่ได้