ผ่านมาแล้วนะคะสำหรับ 1 ใน 4 ไตรสมาสของปี 2563 สำหรับไตรมาสแรกตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคมในช่วงเวลาที่ผ่านมาเราต่างเผชิญไวรัส COVID-19 มาอย่างยาวนาน แต่อย่าลืมว่าโรคอื่น ๆ ยังคงความอันตราย และมีอัตราการป่วยอย่างต่อเนื่องเหมือนกัน ที่ผ่านมาเราอาจจะกลัวและระมัดระวังเกี่ยวกับ COVID-19 จนอาจทำให้ลืมไปว่าโรครอบตัวเราไม่ได้มีแค่โรคนี้โรคเดียวเท่านั้น ดังนั้นบทความนี้จะพาเราไปดูกันว่าในไตรมาสแรกคนไทยป่วยเป็นโรคอะไรกันมากที่สุด
โรคที่คนไทยป่วยเป็นมากที่สุดในไตรมาสแรก
การรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้อ้างอิงมาจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหากไม่นับการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ และการติดเชื้อ COVID-19 ทำให้เราสามารถเรียงลำดับโรคที่คนไทยป่วยเป็นมากที่สุดได้ดังนี้
- โรคปอดบวม หรือหลายคนรู้จักกันในชื่อ โรคปอดติดเชื้อ เป็นโรคที่เกิดจากการที่ปอดรับเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสเข้าไป เป็นผลให้ปอดเกิดการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากการไม่ได้ติดเชื้อได้ด้วยแต่มักพบไม่มากนัก
- โรคหลอดลมอักเสบ โรคนี้มีสาเหตุของการติดเชื้อคล้ายกับโรคปอดบวม คือ ได้รับเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือสารพิษจากสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการสูบบุหรี่ ซึ่งโรคนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง
- โลหิตจาง เป็นภาวะที่เกิดจากภาวะของเม็ดเลือดแดงที่มีปริมาณลดน้อยลงกว่ามาตรฐานของคนทั่วไป ซึ่งเม็ดเลือดแดงนี้ทำหหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจน และสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ผู้ป่วยโรคนี้จึงมักมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าคนทั่วไป
- ต้อกระจก เป็นโรคทางสายตา และมีสาเหตุการเกิดโรคอย่างหลากหลาย เช่น เกิดจากอายุที่มากขึ้น เกิดจากม่านตาอักเสบ หรือเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่นการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เป็นต้น
- หัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่หัวใจทำหน้าที่ผิดพลาดส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกไปตามร่างกายได้เป็นปกติ รวมถึงไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้เหมือนคนทั่วไปอีกด้วย ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คือ แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง
เราควรดูแลสุขภาพอย่างไรในไตรมาสต่อไป
จากข้อมูลสถิติได้บอกเอาไว้ว่าเพศชายเป็นเพศที่มีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง และโรคที่เรียกได้ว่าพบเจอได้บ่อยในไตรมาสแรก คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น โรคต้อกระจก โรคปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ สิ่งนี้ได้แสดงให้เราเห็นว่าเราควรหันมาสนใจเรื่องการป้องกันระบบทางเดินหายใจกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเมืองใหญ่ สิ่งนี้ยังแอบบอกเราในทางอ้อมได้ด้วยว่าหากเราสามารถผ่านพ้นวิกฤตไวรัส COVID-19 ได้ เราอาจยังต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยต่อไปเพื่อปกป้องอวัยวะภายในร่างกายของเราจากสารพิษ นอกจากนี้เรายังควรหมั่นตรวจสุขภาพ เพื่อคอยยืนยันว่าร่างกายของเราจะปลอดภัยจากโรคภัยอยู่ตลอดเวลา
เราคงเข้าใจแล้วว่าโรคคร้ายต่าง ๆ ยังคงวนเวียนอยู่รอบตัวเราอย่างไม่ขาดสาย เราจึงมีความเสี่ยงไม่เว้นแต่ละวัน ดังนั้นอย่าลืมดูแลสุขภาพของตนเอง เพราะยังมีอีก 3 ไตรมาสในปี 2563 ที่เราต้องเผชิญต่อไป
ตีแผ่โรคที่คนไทยเป็นมากที่สุดในไตรมาสที่ 1 ปี 2563
โรคที่คนไทยป่วยเป็นมากที่สุดในไตรมาสแรก
การรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้อ้างอิงมาจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหากไม่นับการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ และการติดเชื้อ COVID-19 ทำให้เราสามารถเรียงลำดับโรคที่คนไทยป่วยเป็นมากที่สุดได้ดังนี้
- โรคปอดบวม หรือหลายคนรู้จักกันในชื่อ โรคปอดติดเชื้อ เป็นโรคที่เกิดจากการที่ปอดรับเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสเข้าไป เป็นผลให้ปอดเกิดการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากการไม่ได้ติดเชื้อได้ด้วยแต่มักพบไม่มากนัก
- โรคหลอดลมอักเสบ โรคนี้มีสาเหตุของการติดเชื้อคล้ายกับโรคปอดบวม คือ ได้รับเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือสารพิษจากสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการสูบบุหรี่ ซึ่งโรคนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง
- โลหิตจาง เป็นภาวะที่เกิดจากภาวะของเม็ดเลือดแดงที่มีปริมาณลดน้อยลงกว่ามาตรฐานของคนทั่วไป ซึ่งเม็ดเลือดแดงนี้ทำหหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจน และสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ผู้ป่วยโรคนี้จึงมักมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าคนทั่วไป
- ต้อกระจก เป็นโรคทางสายตา และมีสาเหตุการเกิดโรคอย่างหลากหลาย เช่น เกิดจากอายุที่มากขึ้น เกิดจากม่านตาอักเสบ หรือเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่นการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เป็นต้น
- หัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่หัวใจทำหน้าที่ผิดพลาดส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกไปตามร่างกายได้เป็นปกติ รวมถึงไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้เหมือนคนทั่วไปอีกด้วย ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คือ แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง
เราควรดูแลสุขภาพอย่างไรในไตรมาสต่อไป
จากข้อมูลสถิติได้บอกเอาไว้ว่าเพศชายเป็นเพศที่มีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง และโรคที่เรียกได้ว่าพบเจอได้บ่อยในไตรมาสแรก คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น โรคต้อกระจก โรคปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ สิ่งนี้ได้แสดงให้เราเห็นว่าเราควรหันมาสนใจเรื่องการป้องกันระบบทางเดินหายใจกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเมืองใหญ่ สิ่งนี้ยังแอบบอกเราในทางอ้อมได้ด้วยว่าหากเราสามารถผ่านพ้นวิกฤตไวรัส COVID-19 ได้ เราอาจยังต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยต่อไปเพื่อปกป้องอวัยวะภายในร่างกายของเราจากสารพิษ นอกจากนี้เรายังควรหมั่นตรวจสุขภาพ เพื่อคอยยืนยันว่าร่างกายของเราจะปลอดภัยจากโรคภัยอยู่ตลอดเวลา
เราคงเข้าใจแล้วว่าโรคคร้ายต่าง ๆ ยังคงวนเวียนอยู่รอบตัวเราอย่างไม่ขาดสาย เราจึงมีความเสี่ยงไม่เว้นแต่ละวัน ดังนั้นอย่าลืมดูแลสุขภาพของตนเอง เพราะยังมีอีก 3 ไตรมาสในปี 2563 ที่เราต้องเผชิญต่อไป