ฟื้นฟูปอดให้แข็งแรงหลังหายจาก COVID-19 และใช้เวลานานเท่าไหร่? ถึงจะฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิม



ฟื้นฟูปอดให้แข็งแรงหลังหายจาก COVID-19 และใช้เวลานานเท่าไหร่? ถึงจะฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิม


การติดเชื้อ COVID-19 นับว่าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากพบว่า หลังจากผู้ติดเชื้อรักษาหายแล้ว แต่ในบางรายยังรู้สึกเหมือนอาการยังไม่หายดี เพราะว่าระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะนั้น ๆ ได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการปอดบวม หรือเนื้อปอดถูกทำลาย โดยระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในรักษา และการกำจัดเชื้อโควิดในร่างกาย เรียกภาวะนี้ว่า Post COVID Syndrome หรือ Long COVID-19 ซึ่งคืออาการหลงเหลือหลังการติดเชื้อโควิด-19



ภาวะ Long COVID-19 เป็นอาการหลงเหลือหลังการติดเชื้อโควิด-19ที่เกิดขึ้นได้หลังจากหายป่วยไปแล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดย 10 อาการที่พบมากที่สุดหลังจากรักษาตัวหาย และออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว ได้แก่
1. เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย
2. หายใจไม่ทัน
3. ปวดกล้ามเนื้อ
4. ไอ
5. ปวดหัว
6. เจ็บข้อต่อ
7. เจ็บหน้าอก
8. การรับรู้กลิ่นเปลี่ยนไป
9. อาการท้องร่วง
10. การรับรสเปลี่ยนไป



นอกจากนี้ยังพบภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจาก Long COVID-19 ได้แก่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองล้า ภาวะพร่องทางระบบประสาทอัตโนมัติ อาการนอนไม่หลับ ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากที่ผู้ติดเชื้อหายป่วยจาก COVID-19 แล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยยังมีอาการดังที่กล่าวไปแล้ว ทำให้ประเมินได้ว่าผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงเป็น Long COVID-19
 
แนวทางการรักษาภาวะ Long COVID-19 ต้องใช้องค์ประกอบหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ที่มีภาวะ Long COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด เพิ่มความอดทนของกล้ามเนื้อ เสริมสร้างและฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจและปอด เพิ่มประสิทธิภาพในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ง่ายและทำได้ที่บ้าน โดยระยะเวลาที่ทำการฟื้นฟูนั้นผู้ป่วยที่มีอาการต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่โรงพยาบาล โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายในภาวะ Long COVID-19 จะถูกกำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด



เมื่อผู้ป่วยประเมินตนเองแล้วว่ามีอาการเสี่ยงต่อการเป็น Long COVID-19 ผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ประเมินอาการโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคในอนาคต เมื่อแพทย์ได้ประเมินว่าผู้ป่วยเป็น Long COVID-19 แน่นอนแล้ว จากนั้นจะเริ่มเข้าสู่โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย

โดยเริ่มจากการประเมินสมรรถภาพทางกายในเบื้องต้น เพื่อวางแผนและกำหนดโปรแกรมการฟื้นฟูร่างกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยหรือหายใจไม่ปกติ จะต้องทำการฟื้นฟูโดยฝึกกำหนดลมหายใจและการหายใจที่ถูกต้อง เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ จะต้องทำการฟื้นฟูโดยฝึกบริหารร่างกาย เพื่อลดอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงขึ้นโดยผู้ป่วยแต่ละคนย่อมมีอาการที่เกิดจาก Long COVID-19 แตกต่างกันไป การกำหนดโปรแกรมที่เหมาะสมกับอาการที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยโดยผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูร่างกายได้อย่างรวดเร็ว สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติโดยไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ



โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของผู้ป่วย Long COVID-19 ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 60 นาที เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 6-8 สัปดาห์ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายจะมีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้ามีการกำหนดโปรแกรมที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย และผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จะส่งผลให้ผู้ป่วยห่างไกลจากโรคแทรกซ้อนและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยเร็ว
 
** 2 ท่าออกกำลังกายและการหายใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปอด และเทคนิคการไอเพื่อขับเสมหะอย่างถูกวิธี ผู้ที่มีอาการครีดคราดในปอดแต่ไอไม่ออก หรือผู้สูงอายุที่ไม่มีแรงขับเสมหะ ก็สามารถนำไปทำได้ และไม่ต้องออกแรงตะเบ็งไอให้เจ็บคอ โดย คุณเบญจพร หิรัญสินสุนทร นักกายภาพบำบัดคลิก >> https://www.youtube.com/watchv=75wagXQG7nI

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

** แนะนำโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 Healthy Start Program (จำนวน 6 ครั้ง) โดย ผศ.ดร. สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/readpackage/29
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่